No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 318 (เล่ม 64)

เสมอกันกับเรา ในราชสกุลนี้มนุษย์คนไรซึ่งจะมีชาติ
สกุลสมควรกับพระราชาไม่มี ลูกทั้งหลายพึงถวาย
บังคมกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
พระองค์อย่าได้รับสั่งอย่างนั้นเลยพระเจ้าข้า เพราะ
ข้อนี้มิใช่ธรรมเนียม ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีชาติต่ำต้อย ไม่สมควรมีอาสนะเสมอด้วยพระองค์ผู้
สูงศักดิ์ เหมือนสุนัขจิ้งจอกผู้มีชาติต่ำต้อย จะพึงมี
อาสนะเสมอด้วยพระยาไกรสรราชสีห์อย่างไรได้
พระเจ้าข้า.
จบลักขกัณฑ์
[๙๕๗ ] วิธุรบัณฑิตนั้น มีความดำริแห่งใจอัน
ไม่หดหู่ ได้กล่าวกะบุตร ธิดา ญาติ มิตรและเพื่อน
ที่สนิทว่า ดูก่อนลูกรักทั้งหลาย ลูกทั้งหลายจงมานั่ง
ฟังราชวัสดีธรรม อันเป็นเหตุให้บุคคลผู้เข้าไปสู่ราช
สกุลได้ยศ.
[๙๕๘] ผู้เข้าไปสู่ราชสกุล พระราชายังไม่ทรง
ทราบความสามารถย่อมไม่ได้ยศ ราชเสวกไม่ควร
กล้าเกินไป ไม่ควรขลาดเกินไป ควรเป็นผู้ไม่
ประมาทในกาบทุกเมื่อ เมื่อใดพระราชาทรงทราบ
ความประพฤติปรกติ ปัญญา และความบริสุทธิ์ของ
ราชเสวกนั้น เมื่อนั้น ย่อมทรงวางพระทัยและไม่
ทรงรักษาความลับ.

318
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 319 (เล่ม 64)

[๙๕๙] ราชเสวกอันพระราชาไม่ตรัสใช้ ไม่พึง
หวั่นไหวด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น ดังตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรง ฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงตั้งใจกระทำราชกิจ
ทุกอย่าง ให้เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรงดีฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๐] ราชเสวกต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจ
อันพระราชาตรัสใช้ กลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ไม่
พึงหวาดหวั่นในการกระทำราชกิจนั้น ๆ ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้ ทางใดที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อย
ดี สำหรับเสด็จพระราชดำเนิน ถึงพระราชาทรงอนุ-
ญาต ราชเสวกก็ไม่ควรเดินโดยทางนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๑] ราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติที่น่าใคร่
ทัดเทียมกับพระราชาในกาลไหนๆ ควรเดินหลังใน
ทุกสิ่งทุกอย่าง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกไม่ควรใช้สอยประดับประดาเสื้อผ้า มาลา
เครื่องลูบไล้ ทัดเทียมกับพระราชา ไม่พึงประพฤติ
อากัปกิริยา หรือพูดจาทัดเทียมกับพระราชา ควรทำ
อากัปกิริยาเป็นอย่างหนึ่ง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราช-
สำนักได้.
[๙๖๒] เมื่อพระราชาทรงพระสำราญอยู่กับหมู่
อำมาตย์อันพระสนมกำนัลในเฝ้าแหนอยู่ เสวกามาตย์

319
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 320 (เล่ม 64)

เป็นคนฉลาด ไม่พึงกระทำการทอดสนิทในพระสนม
กำนัลใน ราชเสวกไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน ไม่คนอง
กายวาจา มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์
สมบูรณ์ด้วยการตั้งใจไว้ดี ราชเสวกนั้นพึงอยู่ใน
ราชสำนักได้.
[๙๖๓] ราชเสวกไม่ควรเล่นหัว เจรจาปราศรัย
ในที่ลับกับพระสนมกำนัลใน ไม่ควรถือเอาทรัพย์จาก
พระคลังหลวง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกไม่พึงเห็นแก่การหลับนอนมากนัก ไม่พึงดื่ม
สุราจนเมามาย ไม่พึงฆ่าเนื้อในสถานที่พระราชทาน
อภัย ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกไม่
พึงขึ้นร่วมพระตั่ง ราชบัลลังก์ พระราชอาสน์ เรือและ
รถพระที่นั่ง ด้วยอาการทนงตนว่าเป็นคนโปรดปราน
ราชเสวยนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกต้อง
เป็นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ไม่ควรเฝ้าให้ไกลนัก
ใกล้นัก ควรยืนเฝ้าพอให้ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น
ถนัด ในสถานที่ที่พอจะได้ยินพระราชดำรัสเบื้อง
พระพักตร์ของพระราชา ราชเสวกไม่ควรทำความ
วางใจว่า พระราชาเป็นเพื่อนของเรา เพราะราชาเป็น
คู่กันกับเรา พระราชาทั้งหลายย่อมทรงพระพิโรธได้
เร็วไวเหมือนนัยน์ตาอันผงกระทบ ราชเสวกไม่ควร
ถือตัวว่าเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต พระราชทรงบูชา

320
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 321 (เล่ม 64)

ไม่ควรเพ็ดทูลถ้อยคำหยาบคายกะพระราชาซึ่งประทับ
อยู่ในราชบริษัท.
[๙๖๔] ราชเสวกผู้ได้รับพระราชทานพระทวาร
เป็นพิเศษ ก็ไม่ควรวางใจในพระราชาทั้งหลาย พึง
เป็นผู้สำรวมดำรงตนไว้เพียงดังไฟ ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระ-
ราชโอรสหรือพระราชวงศ์ ด้วยบ้าน นิคม แว่นแค้วน
หรือชนบท ราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูล
คุณหรือโทษ.
[๙๖๕] พระราชาจะทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้
แก่กรมช้าง กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ตามความ
ชอบในราชการของเขาราชเสวกไม่ควรทัดทานเขา
ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกผู้เป็น
นักปราชญ์ พึงโอนไปเหมือนคันธนูและพึงไหวไป
ตามเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทูลทัดทาน ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อย
เหมือนคันธนู พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา พึงเป็นผู้
รู้จักประมาณในโภชนะ มีปัญญาเครื่องรักษาตน
แกล้วกล้า ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๖] ราชเสวกไม่พึงสัมผัสหญิงนัก ซึ่งเป็น
เหตุให้สิ้นเดช ผู้สิ้นเดชย่อมได้ประสบโรคไอมองคร่อ
ความกระวนกระวายความอ่อนกำลัง ราชเสวกไม่ควร

321
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 322 (เล่ม 64)

พูดมากเกินไป ไม่ควรนิ่งทุกเมื่อ เมื่อถึงเวลาพึงเปล่ง
วาจาพอประมาณ ไม่พร่ำเพรื่อ เป็นคนไม่มักโกรธ
ไม่กระทบกระเทียบ เป็นคนพูดจริง อ่อนหวาน
ไม่ส่อเสียด ไม่ควรพูดถ้อยคำเพ้อเจ้อ ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๗] ราชเสวกพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประ-
พฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในสกุล มีวาจาอ่อนหวาน
กล่าววาจาอ่อนโยน ราชเสวยนั้นควรอยู่ในราช
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้ได้รับแนะนำดีแล้ว มี
ศิลป ฝึกฝนแล้ว เป็นผู้ทำประโยชน์ เป็นผู้คงที่
อ่อนโยน ไม่ประมาท สะอาดหมดจด เป็นคนขยัน
ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็น
ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม มีความเคารพยำเกรงใน
ท่านผู้เจริญ เป็นผู้สงบเสงี่ยม มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเว้น
ให้ห่างไกล ซึ่งทูตที่ส่งมาเกี่ยวด้วยความลับ พึงดูแล
แต่เจ้านายของตน ไม่ควรพูด (เรื่องลับ) ในสำนัก
ของพระราชาอื่น.
[๙๖๘] ราชเสวกพึงเข้าหาสมาคมกะสมณะและ
พราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต โดยเคารพ ราชเสวก
นั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกเมื่อได้เข้าหา
สมาคมกะสมณะและพราหมณ์ ผู้มีศีลเป็นพหูสูตแล้ว

322
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 323 (เล่ม 64)

พึงสมาทานรักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ ราชเสวกนั้น
ควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงบำรุงเลี้ยงสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต ด้วยข้าวและน้ำ
ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกผู้หวัง
ความเจริญแก่ตน พึงเข้าไปสมาคมคบหาละสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีปัญญา.
[๙๖๙] ราชเสวกไม่พึงทำทาน ที่เคยพระราช-
ทานในสมณพราหมณ์ให้เสื่อมไป อนึ่ง เห็นพวก
วณิพกซึ่งมาในเวลาพระราชทานไม่ควรห้ามอะไรเลย
ราชเสวกพึงมีปัญญา สมบูรณ์ด้วยความรู้ ฉลาดใน
วิธีจักราชกิจ รู้จักกาล รู้จักสมัย ราชเสวยนั้นควร
อยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นคนขยันหมั่นเพียร
ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่องพิจารณาในการงานที่
ตนพึงทำ จัดการงานให้สำเร็จด้วยดี ราชเสวกนั้น
ควรอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๗๐] อนึ่ง ราชเสวกพึงไปตรวจตราดูลาน
ข้าวสาลีปศุสัตว์และนาเสมอๆ พึงตวงข้าวเปลือกให้รู้
ประมาณแล้ว ให้เก็บไว้ในฉาง พึงนักบริวารชนใน
เรือนแล้ว ให้หุงต้มพอประมาณ ไม่ควรตั้งบุตรธิดา
พี่น้อง หรือวงศ์ญาติ ผู้ไม่ตั้งอยู่ในศีลให้เป็นใหญ่
เพราะคนเหล่านั้นเป็นคนพาล ไม่จัดว่าเป็นพี่น้อง คน
เหล่านั้น เป็นเหมือนคนที่ตายไปแล้ว แต่เมื่อเขา

323
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 324 (เล่ม 64)

เหล่านั้นมาหาถึงสำนัก ก็ควรให้ผ้านุ่งห่มและอาหาร
ควรตั้งพวกทาสหรือกรรมกร ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีล เป็น
คนขยันหมั่นเพียร ให้เป็นใหญ่.
[๙๗๑] ราชเสวกพึงเป็นผู้มีศีล ไม่โลภมาก พึง
ประพฤติตามเจ้านาย ประพฤติประโยชน์แก่เจ้านาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราช
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัย และ
พึงปฏิบัติตามพระราชประสงค์ ไม่ควรประพฤติขัดต่อ
พระราชประสงค์ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาท ในเวลาผลัด
พระภูษาทรง และในเวลาสรงสนาน แม้จะถูกกริ้วก็
ไม่ควรโกรธตอบ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนัก
ได้.
[๙๗๒] บุรุษผู้หวังความเจริญแก่ตน พึงกระทำ
อัญชลีในหม้อน้ำและพึงกระทำประทักษิณนกแอ่นลม
อย่างไร เขาจักไม่พึงนอบน้อมพระราชา ผู้เป็นนัก
ปราชญ์สูงสุด พระราชทานสมบัติอันน่าใคร่ทุกอย่าง
เล่า เพราะพระราชาทรงพระราชทานที่นอน ผ้านุ่ง
ผ้าห่ม ยวดยาน ที่อยู่อาลัย บ้านเรือน ยังโภคสมบัติ
ให้ตกทั่วถึง เหมือนมหาเมฆยังน้ำฝนให้ตกเป็นประ-
โยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไปฉะนั้น ดูก่อนเจ้าทั้งหลายนี้ชื่อ
ว่าราชวัสดี เป็นอนุศาสน์สำหรับราชเสวก นรชน

324
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 325 (เล่ม 64)

ประพฤติตาม ย่อมยังพระราชาให้โปรดปราน และ
ย่อมได้การบูชาในเจ้านายทั้งหลาย.
(นี้) ชื่อราชวัสดี.
[๙๗๓] วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา
ครั้นพร่ำสอนหมู่ญาติอย่างนี้แล้ว หมู่ญาติมิตรห้อม
ล้อมเข้าไปเฝ้าพระราชาถวายบังคมยุคลบาทด้วยเศียร
เกล้า และทำประทักษิณท้าวเธอ แล้วประคองอัญชลี
กราบบังคมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบศัตรู
มาณพนี้ปรารถนาจะทำตามความประสงค์ จึงจะนำเข้า
พระองค์ไป ข้าพระองค์จะกราบทูลประโยชน์แห่ง
ญาติทั้งหลาย ขอเชิญพระองค์ทรงสดับประโยชน์นั้น
ขอพระองค์ ได้ทรงพระกรุณาเอาพระทัยใส่ดูแลบุตร
ภรรยาของข้าพระองค์ ทั้งทรัพย์อย่างอื่นๆ ที่มีอยู่ใน
เรือน โดยที่หมู่ญาติของข้าพระองค์จะไม่เสื่อมในภาย
หลัง ในเมื่อข้าพระองค์ถวายบังคมลาไปแล้ว ความ
พลั้งพลาดของข้าพระองค์นี้ เหมือนบุคคลพลาดลุ้ม
บนแผ่นดิน ย่อมกลับตั้งอยู่บนแผ่นดินนั้นเอง ฉะนั้น
ข้าพระองค์ย่อมเห็นโทษนี้.
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๙๗๔] ท่านไม่อาจจะไปนั่นแลเป็นความพอใจ
ของเรา เราจะสั่งให้ฆ่าตัดออกเป็นท่อน ๆ แล้วหมก
ไว้ให้มิดชิดในเมืองนี้ ท่านอยู่ในที่นี้แหละ การทำ

325
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 326 (เล่ม 64)

ดังนี้ เราชอบใจ ดูก่อนบัณฑิตผู้มีปัญญาอันสูงสุด
กว้างขวางดุจแผ่นดิน ท่านอย่าไปเลย.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๙๗๕] ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอย่าทรงตั้ง
พระราชหฤทัย ไว้ในอธรรมเลย ขอจงทรงประกอบ
พระองค์ไว้ในอรรถและในธรรมเถิด กรรมอันเป็น
อกุศลไม่ประเสริฐ บัณฑิตติเตียนว่า ผู้ทำกรรมอัน
เป็นอกุศลพุงเข้าถึงนรกในภายหลัง นี่ไม่ใช่ธรรมเลย
ไม่เข้าถึงกิจที่ควรทำ ข้าแต่พระจอมประชาชน ธรรม-
ดานายผู้เป็นใหญ่ของทาส จะทุบตีก็ได้ จะเผาก็ได้
จะฆ่าเสียก็ได้ ข้าพระองค์ไม่มีความโกรธเลย และ
ข้าพระองค์ขอกราบทูลลาไป.
[๙๗๖] พระมหาสัตว์นั้นมีเนตรทั้งสองนองด้วย
น้ำตา กำจัดความกระวนกระวายในหทัยแล้ว สวม
กอดบุตรผู้ใหญ่ แล้วเข้าไปยังเรือนใหญ่.
[๙๗๗] บุตรพันหนึ่ง ธิดาพันหนึ่ง ภรรยาพัน
หนึ่ง และทาสเจ็ดร้อย ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิตต่าง
ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือกกลับ
ทับกันไป เหมือนป่าไม่รังถูกลมพัดลิมระเนระนาดทับ
กันไป ฉะนั้น พระสนมกำนัล พระราชกุมาร พวก
พ่อค้า ชาวนา และพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างก็มาประ
คองแขนร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต

326
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 327 (เล่ม 64)

พวกกองช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า.... ชาว
ชนบทและชาวนิคม ต่างมาประชุมประคองแขนร้องไห้
คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิตภรรยาพันหนึ่ง
และทาสีเจ็ดร้อย ต่างพากันประคองแขนร้องไห้คร่ำ-
ครวญว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงจักละดิฉันทั้งหลายไป
พระสนมกำนัล พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนาและ
พราหมณ์ทั้งหลาย พวกกองช้าง กองม้า กองรถ
กองเดินเท้า.... ชาวชนบท และชาวนิคม ต่างมา
ประชุมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า เพราะเหตุไร
ท่านจึงจักละข้าพเจ้าทั้งหลายไป.
[๙๗๘] พระมหาสัตว์ กระทำกิจทั้งหลายใน
เรือนสั่งสอนคนของตน คือ มิตร สหาย คนใช้
บุตรธิดา ภรรยา และพวกพ้อง จัดการงาน บอก
มอบทรัพย์ในเรือน ขุนทรัพย์และการส่งหนี้เสร็จแล้ว
ได้กล่าวกะปุณณกยักษ์ว่า ท่านได้พักอยู่ในเรือนของ
ข้าพเจ้า ๓ วันแล้ว กิจที่จะพึงทำในเรือนของข้าพเจ้า
ทำเสร็จแล้ว อนึ่ง บุตรและภรรยาข้าพเจ้าได้สั่งสอน
แล้ว ข้าพเจ้ายอมทำกิจตามอัธยาศัยของท่าน.
[๙๗๙] ดูก่อนมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวง
ถ้าแลท่านสั่งสอนบุตร ภรรยาและคนอาศัยแล้ว เชิญ
ท่านมารีบไปในบัดนี้ เพราะหนทางข้างหน้ายังไกลนัก
ท่านอย่ากลัวเลย จงจับหางม้าอาชาไนย การเห็นชีว-
โลกของท่านนี้ เป็นการเห็นครั้งที่สุด.

327