No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 158 (เล่ม 64)

ฝ่ายพระราชา ทรงมีรับสั่งให้เรียกราชบุรุษทั้งหลายมาแล้วสั่งว่า ดู
ก่อนพ่อทั้งหลาย เราฆ่าบุตร ธิดาและภรรยาทั้งหลายของเราบูชายัญแล้ว
เราจักไปสู่เทวโลก เจ้าจงไปทูลพระราชบุตร พระราชธิดา และพระมเหสี
เหล่านั้นแล้วพามาสู่ที่นี้ทั้งสิ้น ดังนี้แล้ว เพื่อจะให้ราชบุรุษนำพระราชบุตร
ทั้งหลายมาก่อน จึงได้ตรัสว่า
พวกเจ้าจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย คือพระจันท-
กุมาร พระสุริยกุมาร พระภัททเสนกุมาร พระสูรกุมาร
พระรามโคตตกุมารว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่
กัน เพื่อประโยชน์แก่ยัญ อันจะพึงบูชา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทญฺจ สุริยญฺจ ความว่า พระ-
จันทกุมารและพระสุริยกุมารทั้ง ๒ เป็นพระราชบุตรของพระนางโคตมีเทวี
พระอัครมเหสี พระภัททเสนกุมาร พระสูรกุมาร พระรามโคตตกุมาร เป็น
พระภาดาต่างมารดาของพระจันทกุมารแลพระสุริยกุมารเหล่านั้น. บทว่า ปสุ
กิร โหถ ความว่า ขอท่านจงอยู่เป็นเป็นหมู่เป็นกองในที่เดียวกัน อธิบายว่า
จงอย่ากระจัดกระจายกัน.
ราชบุรุษเหล่านั้นไปยังสำนักพระจันทกุมารก่อนแล้วทูลว่า ดูก่อนพ่อ
กุมาร ดังได้สดับมาว่าพระราชบิดาของพระองค์ ทรงพระประสงค์จะฆ่าพระ-
องค์แล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงสั่งพวกข้าพระองค์มาเพื่อคุมพระองค์ไป.
พระจันทกุมารตรัสว่า พระราชานั้นใช้ให้ท่านมาจับเราตามคำของ
ใคร ? ราชบุรุษทูลว่า ตามคำของกัณฑหาลพราหมณ์ พระเจ้าข้า.
จันทกุมาร ตรัสถามว่า อย่างไรพระองค์ทรงใช้ให้ท่านมาจับเรา
คนเดียว หรือว่าให้จับคนอื่นด้วย.

158
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 159 (เล่ม 64)

ราชบุรุษทูลว่า พระองค์โปรดให้จับผู้อื่นด้วย ได้ยินว่า พระองค์ทรง
ใคร่จะบูชาด้วยหมวด ๔ แห่งสัตว์ทั้งปวง พระจันทกุมารคิดว่า กัณฑหาล
พราหมณ์นี้มิได้จองเวรกัปด้วยผู้อื่น แต่เมื่อไม่ได้กระทำการปล้นทางวินิจฉัย
อรรถคดี ก็จะฆ่าคนเสียเป็นอันมาก เพราะจิตคิดจองเวรในเราแต่ผู้เดียว เมื่อ
เราได้ช่องเฝ้าพระราชบิดา ความพ้นภัยของคนทั้งหมดนี้ จักเป็นภาระของเรา
เป็นแน่. ลำดับนั้น พระจันทกุมารจึงตรัสแก่ราชบุรุษว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง
ทำตามพระราชบัญชาของพระบิดาเถิด. ราชบุรุษเหล่านั้นนำพระจันทกุมารมา
ให้ประทับที่พระลานหลวง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งนำพระราชกุมารอื่นอีก ๓
พระองค์มาประทับใกล้ๆ กันแล้ว ก็ทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ
ข้าพระองค์ได้นำพระราชโอรสทั้งหลายของพระองค์มาแล้ว. พระราชานั้น ได้
ทรงสดับคำของราชบุรุษเหล่านั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย บัดนี้เจ้าจงไป
นำพระราชธิดาทั้งหลายของเรามาแล้ว จึงให้ประทับในที่ใกล้แห่งพระภาดาของ
เธอ. เพื่อจะให้เขานำพระราชธิดาทั้ง ๔ มา จึงตรัสพระคาถานอกนี้ว่า
เจ้าทั้งหลายจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย คือพระ
อุปเสนากุมาร พระโกกิลากุมารี พระมุทิตากุมารี
และพระนันทากุมารีว่า ขอท่านหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ.
ราชบุรุษเหล่านั้นไปสู่สำนักพระราชธิดาทั้งหลายด้วยคิดว่า เราจัก
กระทำด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล้วนำพระธิดาเหล่านั้น ผู้กำลังทรงกรร-
แสงคร่ำครวญให้มาประทับในที่ใกล้พระภาดา. จากนั้นพระราชา เมื่อจะให้
ราชบุรุษไปคุมพระมเหสีทั้งหลายของพระองค์มา จึงตรัสพระคาถานอกนี้ว่า
อนึ่ง เจ้าทั้งหลายจงไปทูลพระนางวิชยา พระ-
นางเอราวดี พระนางเกศินีและพระนางสุนันทา ผู้เป็น

159
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 160 (เล่ม 64)

มเหสีของเรา ผู้สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ
ว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺณวรูปปนฺนา ความว่า ท่านทั้งหลาย
จงทูลพระมเหสีแม้เหล่านี้ ผู้เลอโฉม ผู้สมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งสัตว์อันอุดม
๖๔ ประการ
ราชบุรุษเหล่านั้น ก็นำพระนางทั้ง ๔ อันกำลังปริเทวนาการคร่ำ
ครวญอยู่แม้เหล่านั้นมา ให้ประทับอยู่ในที่ใกล้พระกุมาร. ลำดับนั้นพระราชา
เมื่อจะทรงให้ราชบุรุษนำเศรษฐีทั้ง ๔ มา ตรัสพระคาถานอกนี้ว่า
เจ้าทั้งหลายจงไปบอกคฤหบดีทั้งหลายคือ ปุณณ-
มุขคฤหบดี ภัททิยคฤหบดี สิงคาลคฤหบดี และ
วัฑฒคฤหบดีว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน เพื่อ
ประโยชน์แก่การบูชายัญ.
ราชบุรุษทั้งหลายก็ไปนำคฤหบดีเหล่านั้นมา เมื่อพระราชาให้จับกุม
พระกุมาร และพระมเหสีทั้งหลาย ทั่วพระนคร ไม่มีใคร ๆ ได้กล่าวคำ
อะไรเลย แต่ตระกูลแห่งเศรษฐีทั้งหลาย ย่อมมีเครือญาติเกี่ยวพันกันเป็น
อันมาก เพราะฉะนั้นในกาลที่เศรษฐีเหล่านั้นถูกจับกุม มหาชนจึงพากันกำเริบ
ขึ้นทั่วพระนคร. คนเหล่านั้นพูดกันว่า เราจักไม่ยอมให้พระราชาฆ่าเศรษฐีบูชา
ยัญ ดังนี้แล้วก็พากัน แวดล้อมเศรษฐีไว้. ลำดับนั้น เศรษฐีเหล่านั้น มี
หมู่ญาติห้อมล้อมอยู่รอบด้าน ถวายบังคมพระราชาแล้ว ก็ขอประทานชีวิต
ของตน.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
คฤหบดีเหล่านั้น เกลื่อนกล่นไปด้วยบุตรและ-
ภรรยา มาพร้อมกัน ณ ที่นั้น ได้กราบทูลพระราชา

160
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 161 (เล่ม 64)

ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์ทรงกระทำข้าพระองค์
ทุกคนให้เป็นคนมีแหยม หรือขอจงทรงประกาศ
ข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นข้าทาสเถิด พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพ สิขิโน ความว่า ขอพระองค์
จงทรงกระทำให้ข้าพระองค์ทุกคนมุ่นจุกผมบนกระหม่อม จงกระทำให้พวกข้า
พระองค์เป็นคนรับใช้ของพระองค์ ข้าพระองค์จักกระทำหน้าที่เป็นคนรับใช้ของ
พระองค์. บทว่า อถ วา โน ทาเส สาเวหิ ความว่า เมื่อไม่ไว้พระทัย
เชื่อข้าพระองค์ ก็จงให้ประชุมกองทัพทั้งหมด แล้วจงประกาศในท่ามกลาง
กองทัพเหล่านั้น ให้พวกข้าพระองค์เป็นทาส ข้าพระองค์ทั้งหลายก็จักกระทำ
วัตรของทาสแด่พระองค์.
คฤหบดีเหล่านั้น แม้ทูลอ้อนวอนขอชีวิตอยู่อย่างนี้ ก็หาอาจได้ไม่.
ราชบุรุษทั้งหลายให้คฤหบดีทั้งหมดนั้นถอยกลับไปแล้ว ก็คุมเอาพวกเขาไป
ให้นั่งในที่ใกล้พระราชกุมารนั่นแล.
ภายหลังพระราชา เมื่อจะทรงสั่งราชบุรุษเพื่อให้นำสัตว์ทั้งหลายมีช้าง
เป็นต้นจึงตรัสว่า
เจ้าทั้งหลายจงรีบนำช้างของเรา คือช้างอภยังกร
ช้างนาฬาคิรี ข้างอัจจุคคตะ ช้างวรุณทันตะ ช้างเหล่า
นี้จักเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ เจ้าทั้งหลาย
จงรีบไปนำมาซึ่งม้าอัสดรของเรา คือม้าเกศี ม้าสุรามุข
ม้าปุณณมุข ม้าวินัตกะ ม้าเหล่านั้น จกเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์แก่การบูชายัญเจ้าทั้งหลายจงรีบไปนำมาซึ่ง
โคอุสุภราชของเรา คือโคยูถปติ โคอโนชะ โคนิสภะ

161
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 162 (เล่ม 64)

โคควัมปติ จงต้อนโคเหล่านั้นทั้งหมด เข้าเป็นหมู่
กัน เราจักบูชายัญ จักให้ทาน อนึ่ง จงตระเตรียม
ทุกสิ่งให้พร้อม วันพรุ่งนี้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เรา
จักบูชายัญ เจ้าทั้งหลายจงนำเอาพวกกุมารมา จง
รื่นรมย์ตลอดราตรีนี้ เจ้าจงตั้งไว้แม้ทุกสิ่ง วันพรุ่งนี้
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เราจะบูชายัญ เจ้าทั้งหลาย จง
ไปทูลพระกุมาร ณ บัดนี้วันนี้เป็นคือสุดท้าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุหํ กโรนฺตุ สพฺพํ ความว่า จง
กระทำให้เป็นหมวดละสิ่ง ๆ ไม่ใช่แต่สัตว์ทั้งหมดมีประมาณเท่านี้ แม้สัตว์ทั้ง
ปวงที่เหลือจากนี้ จำพวกสัตว์ ๔ เท้าก็ดี จำพวกนกก็ดี ก็จงกระทำให้เป็น
หมวดละ ๔ แล้วรวมไว้เป็นกอง เราจักบูชายัญอันประกอบด้วยหมวด ๔ แห่ง
สัตว์ทุกชนิด เราจักให้ทานแก่ยาจกทั้งหลาย และสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.
บทว่า สพฺพํปิ ปฏิยาเทถ ความว่า จงจัดตั้งสิ่งที่เหลือที่เรากล่าว
แล้วนั้น. บทว่า อุคฺคตมฺหิ ความว่า ส่วนเราจักบูชายัญในวันพรุ่งนี้ แต่
เช้าตรู่ ในเมื่อพระอาทิตย์อุทัย. บทว่า สพฺพํปิ อุปฏฺฐเปถ ความว่า
จงจัดตั้งเครื่องอุปกรณ์แก่ยัญแม้ที่เหลือทั้งหมด.
ส่วนพระราชมารดาและพระราชบิดาของพระราชานั้น ยังมีพระชนม์อยู่
ทั้งสองพระองค์. ลำดับนั้น พวกอำมาตย์จึงไปทูลพระราชมารดาว่า ข้าแต่
พระแม่เจ้า พระลูกเจ้าของพระองค์ทรงใคร่จะฆ่าพระราชบุตร และพระชายา
แล้วบูชายัญ. พระราชมารดาตรัสว่า พ่อเอ๋ย นี่เจ้าพูดอะไรอย่างนี้ แล้วก็
ข้อนพระทรวงเข้าด้วยพระหัตถ์ กรรแสงคร่ำครวญเสด็จมา ตรัสถามว่า
ดูก่อนลูก ได้ยินว่าพ่อจะกระทำยัญบูชาเห็นปานนี้จริงหรือ ?

162
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 163 (เล่ม 64)

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
พระราชมารดาเสด็จมาแต่พระตำหนัก ทรง
กรรแสงพลางตรัสถามพระเอกราชนั้นว่า พระลูกรัก
ได้ยินว่า พ่อจักบูชายัญด้วยพระราชบุตรทั้ง ๔ หรือ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ตํ ได้แก่ ซึ่งพระเจ้าเอกราชนั้น.
บทว่า สวิมานโต ได้แก่ จากพระตำหนักของพระองค์.
พระราชากราบทูลว่า
เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคน หม่อม
ฉันก็สละ หม่อมฉันบูชายัญ ด้วยบุตรทั้งหลาย แล้ว
จักไปสู่สุคติสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตา ความว่า เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร
นั่นแล บุตรแม้ทั้งหมดหม่อมฉันก็สละ เพื่อบูชายัญ.
ลำดับนั้น พระราชมารดาตรัสกะพระราชานั้นว่า
ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคำนั้น ข่าวที่ว่า สุคติจะมี
เพราะเอาบุตรบูชายัญ ทางนั้นเป็นทางไปนรก ไม่ใช่
ทางไปสวรรค์ ดูก่อนลูกโกณฑัญญะ พ่อจงให้ทาน
อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงเลย นี่เป็นทางไปสู่สุคติ
ทางไปสู่สุคติ ไม่ใช่เพราะเอาบุตรบูชายัญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรยาเนโส ความว่า นั่นเป็นทางแห่ง
อบาย ๔ ที่ชื่อว่า นรก เพราะไม่มีความแช่มชื่น. พระราชมารดา เรียกพระ
ราชาด้วยพระโคตรว่า โกณฑัญญะ. บทว่า ภูตภพฺยานํ ความว่า แก่สัตว์
ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว และแก่สัตว์ที่จะพึงเกิด. บทว่า ยญฺเญน ความว่า ชื่อว่า
ทางไปสวรรค์ ย่อมไม่มีด้วยการฆ่าบุตรและธิดาบูชายัญเห็นปานนี้.

163
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 164 (เล่ม 64)

พระราชาทูลว่า
คำของอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่ หม่อมฉัน จักฆ่า
จันทกุมาร และสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลาย อันสละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจริยานํ วจนํ ความว่า ข้าแต่พระ
แม่เจ้า มตินี้จะเป็นของข้าพระองค์ก็หามิได้ คำกล่าวนี้ คำสั่งสอนนี้ เป็นของ
กัณฑหาลาจารย์ ผู้ยังข้าพระองค์ให้ศึกษาซึ่งความพระพฤติชอบ เพราะฉะนั้น
ข้าพระองค์จักฆ่าบุตรทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อบูชายัญแล้วด้วยบุตรอันสละได้ยาก
ข้าพระองค์จักไปสู่สวรรค์.
ลำดับนั้น พระราชมารดา เมื่อมิอาจจะยังพระราชาให้เชื่อถือพระ
วาจาของพระองค์ได้ ก็เสด็จหลีกไป พระราชบิดา ได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว
ก็เสด็จมาทรงได้ถามพระเจ้าเอกราชนั้น
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
แม้พระเจ้าวสวัตดีพระราชบิดาได้ตรัสถามพระ-
ราชโอรสของพระองค์นั้นว่า ดูก่อนลูกรัก ทราบว่าพ่อ
จักบูชายัญด้วยโอรสทั้ง ๔ หรือ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสวตฺติ นี้เป็นชื่อของพระราชานั้น.
พระราชาทูลว่า
เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคน หม่อมฉันก็
สละ หม่อมฉันบูชายัญ ด้วยบุตรทั้งหลายแล้ว จักไป
สู่สุคติสวรรค์.
ลำดับนั้น พระราชบิดาตรัสว่า

164
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 165 (เล่ม 64)

ลูกเอ๋ย พ่อจงอย่าเชื่อคำนั้น ข่าวที่ว่าสุคติ จะ
มีเพราะฆ่าบุตรแล้วบูชายัญ ทางนั้นเป็นทางไปสู่นรก
หาใช่หนทางไปสู่สวรรค์ไม่ ดูก่อนโกณฑัญญะ พ่อจง
ให้ทาน ไม่เบียดเบียนซึ่งสัตว์ทั้งวง อันเกิดมาแล้ว
และจะพึงเกิด นี้เป็นทางไปสู่สุคติ มิใช่ทางที่ไปด้วย
การฆ่าบุตรบูชายัญ.
พระราชาตรัสว่า
คำของอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่ หม่อมฉันจักฆ่า
จันทกุมาร และสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลายอันสละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติสวรรค์.
ลำดับนั้น พระราชบิดาจึงตรัสกะพระราชาว่า
ดูก่อนโกณฑัญญะ พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียด
เบียนสัตว์ทั้งปวงเลย พ่อจงเป็นอันพระราชบุตรห้อม
ล้อมรักษากาสิกรัฐ. และชนบทเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตปริวุโต แปลว่า อันบุตรทั้งหลาย
ห้อมล้อมแล้ว. บทว่า รฏฺฐํ ชนปทญฺจ ความว่า ท่านสามารถจะรักษา
กาสิกรัฐทั้งสิ้น และชนบท อันเป็นส่วนนั้น ๆ ของกาสิกรัฐนั้นนั่นแล.
ครั้งนั้นพระราชบิดาก็หาอาจกระทำ ให้พระเจ้าเอกราช ทรงเชื่อถือ
พระราชดำรัสของพระองค์ไม่ ลำดับนั้น พระจันทกุมารทรงพระดำริว่า
อาศัยเราผู้เดียว ทุกข์เกิดขึ้นแล้วแก่คนมีประมาณเท่านี้ เราจะทูลวิงวอนพระ
ราชบิดาของเรา แล้วปล่อยชนมีประมาณเท่านี้เสียให้พ้นจากทุกข์ คือความ
ตาย พระองค์เมื่อจะทรงเจรจากับด้วยพระราชบิดาตรัสว่า

165
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 166 (เล่ม 64)

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ฆ่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์
ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิด พระ
เจ้าข้า ถึงแม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกจองจำด้วย
โซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้างและม้าให้เขา ขอเดชะ อย่า
ได้ทรงฆ่าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราช
ทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาล-
ปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
ก็จองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้เขา ขอเดชะ
อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสีย โปรดพระราช
ทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาล-
ปุโรหิต ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิดพระเจ้าข้า
ถึงแม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น
ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิคฬพนฺธกาปิ ความว่า ถึงแม้
ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่. บทว่า ยสฺส โหนฺติ ตว กามา
ความว่า แม้ถ้าท่านปรารถนาจะให้แก่กัณฑหาลปุโรหิต ท่านจงกระทำพวก
ข้าพระองค์ให้เป็นทาสแล้วให้กัณฑหาลปุโรหิตเถิด แล้วกล่าวว่า พวกเราจัก
กระทำกรรมคือ ความเป็นทาสแก่กัณฑหาลปุโรหิต ด้วยบทว่า อปิ รฏฺฐา นี้
ท่านบ่นพร่ำว่า ถ้าพวกข้ามีโทษอะไร ๆ ท่านจงขับพวกข้าพระองค์เสียจาก
แว่นแคว้น อนึ่ง พวกข้าพระองค์ถูกขับไล่จากพระนครแล้ว จักถือกระเบื้อง
เที่ยวขอทาน เหมือนคนกำพร้า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าข้าพระองค์
เลย จงให้ชีวิตแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด.

166
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 167 (เล่ม 64)

พระราชาได้ทรงฟังคำพร่ำกล่าวมีประการต่าง ๆ นั้น ของพระราช
กุมารแล้ว ถึงซึ่งความทุกข์ ประหนึ่งว่าพระอุระจะแตก มีพระเนตรนองด้วย
พระอัสสุชล ประกาศว่า ใครๆ ย่อมไม่ได้เพื่อฆ่าลูกเรา ความตองการด้วย
เทวโลกไม่มีแก่เราแล้ว เพื่อจะปล่อยคนทั้งปวงนั้น จึงตรัสคาถาว่า
เจ้าพร่ำเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต ย่อมให้ทุกข์แก่เรา
นักแล พวกท่านจงปล่อยพระกุมารทั้งหลาย ไป ณ
บัดนี้ เราขอพอกันทีด้วยการเอาบุตรบูชายัญ.
ราชบุรุษทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว ก็
ปล่อยสัตว์ที่รวมไว้เป็นหมู่ ๆ นั้นทั้งสิ้น ตั้งต้นแต่พระราชบุตรทั้งหลาย
ตลอดไปถึงหมู่หกเป็นที่สุด.
ฝ่ายกัณฑหาลพราหมณ์กำลังจัดแต่งกรรมอยู่ในหลุมยัญ ลำดับนั้น
บุรุษคนหนึ่งกล่าวกะกัณฑหาละนั้นว่า เฮ้ย กัณฑหาละ คนชั่วร้าย พระราชบุตร
และราชธิดาทั้งหลายนั้น พระราชาทรงปล่อยไปแล้ว เจ้าต้องฆ่าลูกเมียของ
ตนเอง เอาเลือดในลำคอของคนเหล่านั้นบูชายัญ กัณฑหาลพราหมณ์นั้นคิดว่า
นี่พระราชาทรงกระทำอย่างไรหนอ ลุกขึ้นแล่นมาด้วยกำลังเร็ว ประหนึ่งว่า
ถูกไฟประลัยกัลป์เผาอยู่ฉะนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าพระองค์ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียวว่า การ
บูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้แสนยาก บัด
นี้ พระองค์ทรงกระทำยัญ ที่ข้าพระองค์ตระเตรียม
ไว้แล้ว ให้กระจัดกระจาย เพราะเหตุไร ชนเหล่าใด
บูชายัญเองก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่น บูชายัญก็ดี
อนึ่งชนเหล่าใดอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของบุคคล
ผู้บูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ.

167