No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 148 (เล่ม 64)

กัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ ราชกัญญาทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์
ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุม
พร้อมกัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทพบุตรทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมพร้อม
กัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทพกัญญาทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ชนเป็นอันมากต่าง
ก็รื่นรมย์ยินดี พวกเขาได้ประกาศความยินดีในเวลา
ที่พระจันทกุมารเสด็จเข้าสู่พระนคร และได้ประกาศ
ความหลุดพ้นจากเครื่องจองจำของสัตว์ทั้งปวง.
จบจันทกุมารชาดกที่ ๗

148
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 149 (เล่ม 64)

อรรถกถาจันทกุมารชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัต
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชาสิ ลุทฺทกมฺโม ดังนี้.
เรื่องของพระเทวทัตนั้น มาแล้วในสังฆเภทกขันกะแล้วนั่นแล.
เรื่องนั้น นับจำเดิมแต่เวลาที่ท่านออกผนวชแล้วตราบเท่าถึงให้ปลงพระชนมชีพ
ของพระเจ้าพิมพิสาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นนั่นเอง.
ฝ่ายพระเทวทัต ครั้นให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ก็เข้า
ไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า ดูก่อนมหาราช มโนรถของพระองค์ถึงที่สุด
แล้ว ส่วนมโนรถของของอาตมา ก็ยังหาถึงที่สุดก่อนไม่. พระราชาได้ทรงฟัง
ดังนั้นจึงตรัสถามว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ก็มโนรถของท่านเป็นอย่างไร ?
พระเทวทัต. ดูก่อนมหาราช เมื่อฆ่าพระทสพลแล้วอาตมาจักเป็นพระพุทธเจ้า
มิใช่หรือ ? พระราชาตรัสถามว่า ก็ในเพราะเรื่องนี้ควรเราจะทำอย่างไรเล่า ?
เทวทัต. ดูก่อนมหาราช ควรจะให้นายขมังธนูทั้งหลายประชุมกัน. พระราชา
ทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ จึงให้ประชุมนายขมังธนูจำพวกที่ยิงไม่ผิดพลาด
รวม ๕๐๐ ตระกูล ทรงเลือกจากคนเหล่านั้นไว้ ๓๑ คน ตรัสสั่งว่า พ่อทั้ง
หลาย พวกเจ้าจงทำตามคำสั่งของพระเถระ ดังนี้แล้วจึงส่งไปยังสำนักพระ-
เทวทัต. พระเทวทัตเรียกผู้เป็นใหญ่ ในบรรดาพวกนายขมังธนูเหล่านั้นมา
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ พระสมณโคดมประทับอยู่ ณ เขาคิมฌกูฏ
เสด็จจงกรมอยู่ในที่พักกลางวันในที่โน้น. ส่วนท่านจงไปในที่นั้น ยิงพระสมณ-
โคดมด้วยลูกศรอาบด้วยยาพิษ ให้สิ้นพระชนมชีพแล้ว จงกลับโดยทางชื่อ
โน้น. พระเทวทัตนั้น ครั้นส่งนายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นไปแล้ว จึงพักนายขมังธนู

149
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 150 (เล่ม 64)

ไว้ในทางนั้น ๒ คน ด้วยสั่งว่า จักมีบุรุษคนหนึ่งเดินทางมาโดยทางที่พวกท่าน
ยืนอยู่ พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษนั้นเสีย แล้วกับมาโดยทางโน้น. ในทางนั้น
พระเทวทัตจึงวางบุรุษไว้สี่คนด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ จักมีบุรุษ
เดินมา ๒ คน ท่านจงปลงชีวิตบุรุษ ๒ คนนั้นเสีย แล้วกลับมาโดยทางชื่อโน้น.
ในทางนั้น พระเทวทัตวางคนไว้ ๘ คน ด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่
จักมีบุรุษ ๔ คนเดินทางมา พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง ๔ คนนั้นเสีย แล้ว
กลับโดยทางชื่อโน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตวางบุรุษไว้ ๑๖ คน ด้วยสั่งว่า
โดยทางที่พวกท่านไปยืนอยู่ จักมีบุรุษเดินมา ๘ คน ท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง
๘ คนนั้นเสีย แล้วจงกลับมาโดยทางชื่อโน้น. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระ-
เทวทัตจึงทำอย่างนั้น. แก้ว่า เพราะปกปิดกรรมชั่วของตน. ได้ยินว่า พระ-
เทวทัตได้ทำดังนั้น เพื่อจะปกปิดกรรมชั่วของตน.
ลำดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่ ขัดดาบแล้วทางข้างซ้าย ผูกแล่งและ
ศรไว้ข้างหลังจับธนูใหญ่ทำด้วยเขาแกะ ไปยังสำนักพระตถาคตเจ้า จึงยกธนู
ขึ้นด้วยสัญญาว่า เราจักยิงดังนี้แล้ว จึงผูกสอดลูกศร ฉุดสายมาเพื่อจะยิง ก็
ไม่สามารถจะยิงไปได้. พระศาสดา ได้ทรงให้คร่าธนูมาแล้ว หาได้ประทาน
ให้ยิงไปได้ไม่. นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น เมื่อไม่อาจแม้จะยิงลูกศรไปก็ดี ลดลง
ก็ดี ก็ได้เป็นคนลำบากใจ เพราะสีข้างทั้งสองเป็นเหมือนจะหักลง น้ำลายก็
ไหลนองออกจากปาก. ร่างกายทั้งสิ้นเกิดแข็งกระด้าง ได้เป็นเสมือนถึงอาการ
อันเครื่องยนต์บีบคั้น. นายขมังธนูนั้นได้เป็นคนอันมรณภัยคุกคามแล้วยืนอยู่.
ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ทรงเปล่ง
ด้วยเสียงอันไพเราะ ตรัสปลอบนายขมังธนูว่า พ่อบุรุษผู้โง่เขลาท่านอย่ากล่าว
เลย จงมาที่นี้เถิด. ในขณะนั้น นายขมังธนูก็ทิ้งอาวุธเสีย กราบลงด้วย
ศีรษะแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

150
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 151 (เล่ม 64)

โทษได้ล่วงข้าพระพุทธเจ้าแล้ว โดยที่เป็นคนเขลา คนหลง คนชั่วบาป ข้า
พระพุทธเจ้ามิได้รู้จักคุณของพระองค์ จึงได้มาแล้ว เพื่อปลงพระชนมชีพของ
พระองค์ ตามคำเสี้ยมสอนของพระเทวทัตผู้เป็นอันธพาล ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระสุคตขอพระองค์
จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้รู้โลก ขอพระองค์จงอดโทษ
ข้าพระพุทธเจ้า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดโทษให้ตนแล้วก็นั่งลงในที่สุด
ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย
ยังนายขมังธนูให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ดำรัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่าน
อย่าเดินทางไปตามทางที่พระเทวทัตชี้ให้ จงไปเสียทางอื่น แล้วส่งนายขมังธนู
นั้นไป. ก็แล้วครั้นส่งนายขมังธนูไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรมไป
ประทับอยู่ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง.
ลำดับนั้น เมื่อนายขมังธนูผู้ใหญ่มิได้กลับมา นายขมังธนูอีก ๒ คน
ที่คอยอยู่ก็คิดว่า อย่างไรหนอเขาจึงล่าช้าอยู่ ออกเดินสวนทางไป ครั้น
เห็นพระทศพล ก็เข้าไปถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดา
ครั้นทรงประกาศพระอริยสัจแก่ชนทั้ง ๒ ยังเขาให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
แล้วดำรัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าเดินไปทางที่พระเทวทัตบอก จงไป
โดยทางนี้ แล้วก็ส่งเขาไป โดยอุบายนี้ เมื่อทรงประกาศพระอริสัจ ยังนาย
ขมังธนูแม้นอกนี้ ที่มานั่งเฝ้า ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ก็ทรงส่งไปโดย
ทางอื่น.
ลำดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น กลับมาถึงก่อนก็เข้าไปหาพระเทวทัต
กล่าวว่า ข้าแต่พระเทวทัตผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้อาจปลงพระชนมชีพพระสัม-
มาสัมพุทธเจ้าไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ ทรง
อานุภาพอันยิ่งใหญ่. ส่วนบรรดานายขมังธนูเหล่านั้น รำพึงว่า เราทั้งหมด

151
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 152 (เล่ม 64)

นั้นอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รอดชีวิตแล้ว ก็ออกบรรพชาในสำนัก
พระศาสดา แล้วทรงบรรลุพระอรหัตทุกท่าน.
เรื่องนี้ได้ปรากฏในภิกษุสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ได้ยินว่าพระเทวทัต ได้กระทำความพยายาม เพื่อ
จะปลงชีวิตชนเป็นอันมาก เพราะจิตก่อเวรในพระตถาคตเจ้าพระองค์เดียว แต่
ชนเหล่านั้น อาศัยพระศาสดาได้รอดชีวิตแล้วทั้งสิ้น. ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออก
จากที่บรรทมอันประเสริฐได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพระ-
โสตธาตุอันเป็นทิพย์ เสด็จมายังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้
ทรงทราบ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน
กาลก่อน พระเทวทัต ก็กระทำความพยายามเพื่อจะฆ่าชนเป็นอันมาก อาศัย
เราผู้เดียว เพราะจิตมีเวรในเรา ดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเสีย เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ทูลวิงวอนจึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล กรุงพาราณสีนี้ ชื่อว่า เมือง
ปุปผวดี. พระโอรสของพระเจ้าวสวัตดีทรงพระนามว่าเอกราชได้ครองราช
สมบัติในเมืองนั้น . พระราชโอรสของพระองค์ ทรงพระนามว่า พระจันทกุมาร
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช. พราหมณ์ชื่อว่า กัณฑหาละ๑ ได้เป็นปุโรหิต.
เขาถวายอนุศาสน์ทั้งอรรถและธรรมแด่พระราชา. ได้ยินว่า พระราชา ครั้น
ทรงสดับว่า กัณฑหาละเป็นบัณฑิต ก็ทรงให้ดำรงไว้ในหน้าที่ตัดสินอรรถคดี.
ก็กัณฑหาลพราหมณ์นั้นเป็นคนมีจิตใจฝักใฝ่ในสินบน ครั้นได้รับสินบนแล้ว
ก็ตัดสินให้ผู้มิใช่เจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นเจ้าของมิให้ได้เป็นเจ้าของ. ครั้น
ภายหลังวันหนึ่ง มีบุรุษผู้แพ้คดีคนหนึ่ง โพนทนาด่าว่าอยู่ในที่เป็นที่วินิจฉัย
อรรถคดี ครั้นออกมาภายนอก เห็นพระจันทกุมารจะเสด็จมาสู่ที่เฝ้าพระราชา
๑.บาลีเป็น ขัณฑหาละ.

152
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 153 (เล่ม 64)

ก็กราบลงแทบพระบาทแล้วร้องไห้ พระจันทกุมารนั้นถามเขาว่า เรื่องอะไรกัน
บุรุษผู้เจริญ. เขาทูลว่า กัณฑหาลนี้ปล้นเขาในการตัดสินความ ถึงข้าพระองค์
เมื่อเขารับสินบนแล้ว เขาก็ทำให้ถึงความพ่ายแพ้ในอรรถคดีพระเจ้าข้า.
พระจันทกุมารตรัสปลอบว่า อย่ากลัวไปเลย ดังนี้แล้วก็ทรงพาบุรุษนั้น
ไปสู่โรงเป็นที่วินิจฉัยอรรถคดี กระทำผู้เป็นเจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ ผู้มิ
ใช่เจ้าของให้เป็นผู้มิใช่เจ้าของ. มหาชนพากันแซ่ซ้องสาธุการด้วยเสียงอันดัง.
พระราชา ได้ทรงสดับเสียงนั้นจึงตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร ? มีผู้ทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ได้ยินว่า มีอรรถคดีอันพระจันทกุมารทรงตัดสินแล้วโดยชอบธรรม
เสียงนั้นคือเสียงสาธุการของมหาชน. เพราะฟังเสียงนั้นพระราชาจึงเกิดปีติ.
พระจันทกุมารเสด็จมาถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว ก็ประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสกะท่านว่า แน่ะ พ่อได้ยินว่า
เจ้าได้ตัดสินความเรื่องหนึ่งหรือ ? พระจันทกุมารทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้า-
พระบาทได้ตัดสินเรื่องหนึ่ง พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้ากระนั้น ตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไปเจ้าคนเดียวจงยังการตัดสินอรรถคดีให้ดำเนินไปเถิด. แล้วทรง
ประทานหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีแก่พระกุมาร. ผลประโยชน์ของกัณฑหาล
พราหมณ์ ย่อมขาดไป. เขาก็ผูกอาขาดประพฤติเป็นผู้เพ่งโทษจะจับผิดใน
พระจันทกุมารตั้งแต่นั้นมา.
ส่วนพระราชานั้นเป็นผู้มีปัญญาอ่อน วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ได้ทรงสุบิน
เห็นปานนี้ว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นดาวดึงส์พิภพ มีซุ้มประตูอันประดับแล้ว
มีกำแพงแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีวิถีอันแล้วไปด้วย ทรายทอง กว้าง
ประมาณ ๖๐ โยชน์ ประดับไปด้วยเวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ เป็นที่
รื่นรมย์ไปด้วยสวนมีนันทวันเป็นต้น ประกอบด้วยสระโบกขรณี อันน่ายินดี

153
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 154 (เล่ม 64)

มีนันทโบกขรณีเป็นต้น มีหมู่เทพเกลื่อนกล่น. นางเทพอัสปร เป็นอันมาก
ก็ฟ้อนรำขับร้องและประโคมดนตรี ในเวชยันตปราสาท ในดาวดึงส์
พิภพนั้น. พระราชาได้ทรงเห็นดังนั้น ครั้นทรงตื่นบรรทม ใคร่จะเสด็จไปสู่
พิภพนั้น จึงทรงดำริว่า พรุ่งนี้ในเวลาที่อาจารย์กัณฑหาละมาเฝ้า เราจะถามถึง
หนทางอันเป็นที่ไปยังเทวโลก แล้วเราจักไปสู่เทวโลกโดยทางที่อาจารย์บอกให้
นั้น. พระราชานั้นก็เสด็จสรงสนานแต่เช้าตรู่ ทรงนุ่งห่มภูษา เสวยโภชนาหาร
อันมีรสเลิศต่าง ๆ ทรงไล้ทาเครื่องหอมแล้วเสด็จประทับนั่ง ส่วนกัณฑหาล-
พราหมณ์ อาบน้ำแต่เช้าตรู่ นุ่งผ้า บริโภคอาหาร ไล้ทาเครื่องหอมแล้ว
ไปยังที่บำรุงพระราชา เข้าไปยังพระราชนิเวศน์ แล้วทูลถามถึงพระสำราญ
ในที่พระบรรทม. ลำดับนั้น พระราชาประทานอาสนะแก่กัณฑหาลพราหมณ์
นั่นแล้ว จึงทรงถามปัญหา.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสคาถาว่า
พระราชาพระนามว่า เอกราช เป็นผู้มีกรรมอัน
หยาบช้า อยู่ในพระนคร ปุปผวดี ท้าวเธอตรัสถาม
กัณฑทาลปุโรหิต ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ เป็นผู้หลง
ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นผู้ฉลาดในธรรมวินัย ขอ
จงบอกทางสวรรค์แก่เรา เหมือนอย่างนรชนทำบุญ
แล้ว ไปจากภพนี้สู่สุคติภพ ฉะนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาสิ ความว่า ท่านเป็นพระราชา.
บทว่า ลุทฺทกกมฺโม ได้แก่ ท่านเป็นผู้มีกรรมอันหยาบช้าทารุณ. บทว่า
สคฺคานมคฺคํ ความว่า ทางแห่งสวรรค์. บทว่า ธมฺมวินยกุสโล ความว่า
ด้วยบทว่า ยถา นี้ ท่านถามว่า เหมือนอย่างว่าคนทั้งหลาย ทำบุญแล้วจาก

154
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 155 (เล่ม 64)

โลกนี้ไปสุคติด้วยประการใด ขอท่านจงบอกทางแห่งสุคติแก่ข้าพเจ้า โดยประการ
นั้น ก็ปัญหานี้ ท่านควรจะถามกะพระสัพพัญพุทธเจ้า หรือกะพระโพธิสัตว์.
เพราะไม่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า หรือพระสาวก ส่วนพระราชา
ทรงถามกะกัณฑหาลพราหมณ์ ผู้ไม่รู้อะไร ๆ เหมือนบุรุษผู้หลงทาง ๗ วัน
พึงถามกะบุรุษคนอื่นผู้หลงทาง มาประมาณกึ่งเดือน.
กัณฑหาลพราหมณ์ คิดว่า เวลานี้เป็นเวลาที่จะได้เห็นหลังปัจจามิตร
ของเรา บัดนี้เราจักกระทำพระจันทกุมารให้ถึงสิ้นชีวิตแล้ว จักทำมโนรถของ
เราให้สำเร็จบริบูรณ์ ครั้งนั้นกัณฑหาลพราหมณ์ ครั้นกราบทูลพระราชา
แล้วจงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ คนทั้งหลายให้ทาน
อันล่วงล้ำทาน ฆ่าแล้วซึ่งบุคคลอันไม่พึงฆ่า ชื่อว่า
ทำบุญแล้ว ย่อมไปสู่สุคติด้วยประการฉะนี้.
ความแห่งคำในคาถานั้นมีดังนี้ว่า ดูก่อนมหาราช ชื่อว่า บุคคลผู้
ไปสวรรค์ ย่อมให้ทานล่วงล้ำทาน ย่อมฆ่าบุคคลอันไม่ควรฆ่า ถ้าท่านปรารถนา
จะไปสุคติไซร้ แม้ท่านก็จงทำอย่างนั้นนั่นแล.
ลำดับนั้น พระราชา จึงตรัสถามถึงอรรถแห่งปัญหากะกัณฑหาล-
พราหมณ์นั้นว่า
ก็ทานอันล่วงล้ำทานนั้นอะไร ใครเป็นบุคคลอัน
ไม่พึงฆ่าในโลกนี้ ขอท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา เรา
จักบูชายัญ เราจะให้ทาน.
กัณฑหาลพราหมณ์ ทูลแก้ปัญหาแก่พระราชานั้นว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ยัญพึงบูชาด้วยพระ
ราชบุตรทั้งหลาย ด้วยพระมเหสีทั้งหลาย ด้วยชาว

155
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 156 (เล่ม 64)

นิคมทั้งหลาย ด้วยโคอุสภราชทั้งหลาย ด้วยม้าอาชา-
ไนยทั้งหลาย อย่างละ ๔ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ยัญพึงบูชาด้วยหมวด ๔ แห่งสัตว์ทั้งปวง.
กัณฑหาลพราหมณ์นั้น เมื่อจะถวายพยากรณ์แก่พระราชานั้น ถูก
พระราชานั้นทรงถามถึงทางไปสู่สวรรค์ แต่กลับพยากรณ์ทางไปนรก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺเตหิ ความว่า พระราชบุตรเป็นที่รัก
ทั้งหลาย พระธิดาทั้งหลายผู้เกิดแล้วแก่พระองค์ด้วย. บทว่า มเหสีหิ ได้แก่
ด้วยพระชายาทั้งหลาย. บทว่า เนคเมหิ แปลว่า ด้วยเศรษฐีทั้งหลาย.
บทว่า อุสเภหิ ความว่า อุสภราชทั้งหลายอันขาวปลอด. บทว่า อาชานีเยหิ
ความว่า ด้วยม้าอันเป็นมงคลทั้งหลาย. บทว่า จตูหิ ความว่า ข้าแต่พระ
องค์ผู้สมมติเทพ พึงบูชายัญด้วยหมู่ ๔ แห่ง สัตว์ทั้งปวงอย่างนี้คือ สัตว์
เหล่านี้ และสัตว์เหล่าอื่นทั้งหมด และสัตว์ ๔ เหล่ามีช้างเป็นต้น. กัณฑหาล-
พราหมณ์ ให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า พระราชาทั้งหลาย ผู้ทรงบูชายัญ
เมื่อได้ตัดศีรษะ แห่งสัตว์ทั้งหลาย มีพระราชบุตรเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยพระ
ขรรค์ ถือเอาโลหิตในลำคอด้วยถาดทองคำ ทิ้งลงไปในหลุมยัญแล้ว ย่อม
เสด็จไปสู่เทวโลกพร้อมทั้งพระสรีระกายนั่นเอง ข้าแต่มหาราช อันการให้ทาน
มีให้ของกิน และเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แก่สมณพราหมณ์ คนยากไร้ คนเดิน
ทางวณิพกและยาจก จะได้เป็นอติทาน ทานอันล่วงล้ำทานหามิได้เลย ส่วน
การฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า มีบุตรและธิดาเป็นต้น แล้วกระทำยัญบูชาด้วยเลือด
ในลำคอของคนจำพวกนั้น ชื่อว่า อติทาน กัณฑหาลพราหมณ์นั้น คิดดังนี้
ว่า ถ้าเราจักจับแต่พระจันทกุมารคนเดียว คนทั้งหลายจักสำคัญถึงเหตุเพราะ
จิตมีเวร เพราะฉะนั้น เขาจึงรวมพระจันทกุมารเข้าในระหว่างมหาชน.

156
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 157 (เล่ม 64)

ฝ่ายชนชาวพระราชวังใน ได้สดับเรื่องที่พระราชาและกัณฑหาละเหล่า
นั้นกล่าวอย่างนี้ จึงตกใจกลัว ร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังพร้อมเป็นเสียงเดียวกัน.
พระศาสดา เมื่อจะประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
เสียงกึกก้องน่ากลัว ได้เกิดขึ้นในพระราชวัง
เพราะได้สดับว่า พระกุมาร และพระมเหสีทั้งหลาย
จะต้องถูกฆ่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ความว่า เพราะได้ฟังว่า พระราช
กุมาร และพระมเหสีทั้งหลาย จะต้องถูกฆ่า. บทว่า เอโก ความว่า ได้มี
เสียงกึกก้องเป็นอันเดียวกัน ทั่วพระราชนิเวศน์. บทว่า เภสฺมา แปลว่า
น่ากลัว. บทว่า อจฺจุคฺคโต ความว่า ได้เกิดขึ้นอื้ออึง.
ในกาลนั้น ราชตระกูลทั้งสิ้น ได้เป็นดังป่าไม้รัง อันลมยุคันตวาต
พัดต้องหักโค่นลงแล้ว.
ฝ่ายพราหมณ์ ทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์อาจ
เพื่อกระทำยัญบูชานี้หรือ ๆ ไม่อาจ. ราชาตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ ท่านกลัว
อย่างไรเราบูชายัญแล้ว จักไปสู่เทวโลก. กัณฑหาลพราหมณ์ ทูลว่า ข้าแต่พระ
มหาราชเจ้า บุรุษทั้งหลาย เกิดมาเป็นคนขลาด มีอัธยาศัยอ่อนกำลัง ไม่ชื่อว่า
เป็นผู้สามารถเพื่อจะบูชายัญได้ ขอพระองค์จงให้ประชุมสัตว์ มีลมปราณทั้ง
ปวงไว้ในที่นี้ ข้าพระองค์จักกระทำกรรมในหลุมยัญ ดังนี้แล้วจึงพาพรรคพวก
ผู้มีกำลังสามารถของตนอันพอเพียง ออกจากพระนคร ไปกระทำหลุมยัญให้
มีพื้นราบเรียบสม่ำเสมอ แล้วล้อมรั้วไว้ เพราะเหตุไร ? เพราะว่า สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ทรงธรรม พึงมาแล้วห้ามการกระทำยัญนั้น เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์ในโบราณกาล จึงบัญญัติตั้งไว้ว่า หลุมยัญต้องล้อมรั้วจึงจะเป็นจารีต.

157