No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 536 (เล่ม 63)

พระองค์ทรงใคร่จะฆ่าข้าพระองค์ ก็จงฆ่าด้วยดาบเล่มนี้ ถ้าพระองค์ทรงใคร่
จะพระราชทานอภัย ก็จงพระราชทาน พระราชาตรัสตอบว่า ดูก่อนบัณฑิต
ข้าให้อภัยแก่เธอจริง ๆ เธออย่าคิดอะไรเลย พระราชาจุลนีพรหมทัตกับมโหสถ
โพธิสัตว์ทั้งสองต่างจับดาบทำสาบานเพื่อไม่ประทุษร้ายต่อกันและกัน ลำดับ
นั้น พระเจ้าจุลนีตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนบัณฑิต เธอเป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยกำลังปัญญาอย่างนี้ เหตุไรไม่เอาราชสมบัติเสีย มโหสถทูลตอบว่า ถ้า
พระองค์อยากได้ ก็จะฆ่าพระราชาในสกลชมพูทวีปเสียในวันนี้แล้ว เอาราช-
สมบัติ ก็แต่การฆ่าผู้อื่นแล้วถือเอายศ นักปราชญ์ทั้งหลายไม่สรรเสริญ ลำดับ
นั้นพระราชาตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต มหาชนออกจากอุโมงค์ไม่ได้ก็คร่ำครวญ
เธอจงเปิดประตูอุโมงค์ให้ชีวิตทานแก่มหาชน มโหสถเปิดประตูอุโมงค์
อุโมงค์ทั้งสิ้นก็มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มหาชนกลับได้ความยินดี พระราชา
ทั้งปวงออกจากอุโมงค์กับเสนาไปสู่สำนักมโหสถ มโหสถสถิตอยู่ ณ พลับพลา
อันกว้างขวางกับพระราชาจุลนี ลำดับนั้น พระราชาเหล่านั้นตรัสกะมโหสถว่า
พวกข้าพเจ้าได้ชีวิตเพราะอาศัยท่าน ถ้าท่านไม่เปิดประตูอุโมงค์อีกครู่เดียว
ข้าพเจ้าทั้งปวงก็จักถึงความตายในอุโมงค์นั้นนั่นเอง มโหสถทูลตอบว่า ข้า
แต่มหาราชทั้งหลาย พระองค์ไม่เสียพระชนมชีพเพราะอาศัยข้าพระองค์ แต่
ในบัดนี้ก็หาไม่ แม้ในกาลก่อนพระองค์ก็ได้อาศัยข้าพระองค์จึงยังดำรงพระ-
ชนมชีพอยู่ พระราชาเหล่านั้น ตรัสถามว่า เมื่อไร บัณฑิต มโหสถบันฑิต
จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์ทรงฟัง ทรงระลึกถึงกาลเมื่อพระเจ้าจุลนี
ยึดราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ ยกเสียแต่เมืองของพวกข้าพระองค์ แล้วกลับ
อุตตรปัญจาลราชธานี แล้วจัดแต่งสุราเพื่อดื่มชัยบานในสวนหลวงได้หรือไม่
พระราชาเหล่านั้นรับว่าระลึกได้ มโหสถจึงทูลว่า ในกาลนั้น พระราชาจุลนี
กับเกวัฏผู้มีความคิดชั่ว ประกอบกิจนั้นเพื่อปลงพระชนม์เหล่าพระองค์ด้วยสุรา

536
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 537 (เล่ม 63)

ที่ประกอบด้วยยาพิษและมัจฉมังสะเป็นต้น ทีนั้นข้าพระองค์จึงรำพึงว่า เมื่อ
เรายังมีชีวิตอยู่ เหล่าพระองค์จงอย่าได้เสียพระชนมชีพโดยหาที่พึ่งมิได้เลย
คิดในใจดังนี้จึงส่งพวกคนของข้าพระองค์ไป ให้ทำลายภาชนะทั้งปวง ทำลาย
ความคิดของพวกนั้นเสีย ได้ให้ชีวิตทานแด่พระองค์ทั้งหลาย พระราชาเหล่า
นั้นทั้งหมดได้สดับคำของมโหสถ ก็มีพระมนัสหวาดเสียว จึงทูลถามพระเจ้า
จุลนีว่า จริงหรือไม่ พระเจ้าข้า พระเจ้าจุลนีตรัสตอบว่า จริง ดีฉันเชื่อ
ถ้อยคำของอาจารย์เกวัฏได้ทำอย่างนั้น มโหสถบัณฑิตได้กล่าวจริงทีเดียว
พระราชาเหล่านั้นต่างสวมกอดพระมหาสัตว์ ตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ท่านได้
เป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้รอดชีวิตเพราะท่าน ตรัสฉะนี้แล้ว
บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชาภรณ์ทั้งปวง มโหสถทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ว่า ข้า
แต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าได้ทรงคิดเลย นั่นเป็นโทษของการส้องเสพ
ด้วยมิตรลามกนั่นเอง ขอพระองค์ยังพระราชาเหล่านั้นให้งดโทษ พระราชา
พรหมทัตตรัสว่า เราได้ทำกรรมเห็นปานนี้แก่พวกท่านเพราะอาศัยคนชั่ว นั่น
เป็นความผิดของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายจงงดโทษแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ทำ
กรรมเห็นปานนี้อีก รับสั่งฉะนั้นแล้วให้พระราชาเหล่านั้น มาโทษ พระราชา
เหล่านั้นแสดงโทษกะกันและกัน แล้วเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมต่อกัน ลำดับ
นั้น พระเจ้าจุลนีให้นำขาทนียะและโภชนียะเป็นอันมาก และดนตรีของหอม
ดอกไม้เป็นต้นมา เล่นอยู่ในอุโมงค์กับด้วยกษัตริย์ทั้งปวงตลอดสัปดาห์แล้ว
เข้าสู่พระนคร ให้ทำสักการะใหญ่แก่พระมหาสัตว์ แวดล้อมไปด้วยพระราชา
ร้อยเอ็ด ประทับนั่ง ณ พื้นพระราชมณเฑียรตรัสด้วยมีพระราชประสงค์จะให้
มโหสถบัณฑิตอยู่ในราชสำนักของพระองค์ ว่า
ข้าจะให้เครื่องเลี้ยงชีพ การบริหาร เบี้ยเลี้ยง
และบำเหน็จเพิ่มขึ้น ๒ เท่า และให้โภคสมบัติอัน

537
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 538 (เล่ม 63)

ไพบูลย์อื่น ๆ เจ้าจงใช้สอยสิ่งที่ปรารถนา จงรื่นรมย์
เถิด อย่ากลับไปหาพระเจ้าวิเทหราชเลย พระเจ้า
วิเทหราชจักทำอะไรได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตึ ได้แก่ เครื่องเป็นไปแห่งชีวิตที่
อาศัยได้. บทว่า ปริหารํ ได้แก่ ให้คามและนิคม. บทว่า ภตฺตํ ได้แก่
อาหาร. บทว่า เวตนํ ได้แก่ เสบียง. บทว่า โภเค ความว่า ข้าจะให้
โภคสมบัติอันไพบูลย์แม้อื่น ๆ แก่เจ้า.
ฝ่ายมโหสถบัณฑิตเมื่อจะทูลห้ามพระเจ้าจุลนี ได้ทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใดสละท่านผู้ชุบเลี้ยง
ตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อมถูกตนเองและผู้อื่น
ติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทหราชยังทรงพระชนม์
อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึงเป็นราชบุรุษของพระ-
ราชาอื่นเพียงนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใดสละ
ท่านผู้ชุบเลี้ยงตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อมถูก
ตนเองและผู้อื่นติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทหราช
ยังดำรงพระชนม์อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึงอยู่ใน
แว่นแคว้นของพระราชาอื่นเพียงนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตโน จ ปรสฺส จ ความว่า บุคคล
ย่อมติเตียนตนด้วยตนว่า บาปเห็นปานนี้ อันเราผู้สละท่านผู้ชุบเลี้ยงตนเพราะ
เหตุแห่งทรัพย์กระทำแล้ว แม้ผู้อื่นก็ย่อมติเตียนด้วยเหตุนี้ว่า ผู้นี้มีธรรม
เลวทราม สละท่านผู้ชุบเลี้ยงตนมาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ เพราะเหตุนั้น เมื่อ
พระเจ้าวิเทหราชยังดำรงพระชนม์อยู่ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในแว่นแคว้น ของ
พระราชาอื่นได้.

538
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 539 (เล่ม 63)

ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีตรัสกะมโหสถว่า แน่ะบัณฑิต ถ้าอย่างนั้น
ท่านจงให้ปฏิญญาว่าจะมาในนครนี้ ในเมื่อพระราชาของท่านทิวงคตแล้ว
มโหสถทูลสนองว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่จักมา ลำดับนั้น
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงทำมหาสักการะแก่พระโพธิสัตว์ตลอดสัปดาห์ ครั้น
ล่วงไปอีกสัปดาห์ เวลาที่มโหสถทูลลา เมื่อจะตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ข้าให้สิ่ง
นี้ ๆ แก่เจ้า จึงตรัสคาถาว่า
ดูก่อนมโหสถบัณฑิต ข้าให้ทอง ๑,๐๐๐ นิกขะ
และบ้าน ๘๐ บ้านในแคว้นกาสีแก่เจ้า ข้าให้ทาสี
๔๐๐ คน และภรรยา ๑๐๐ คนแก่เจ้า เจ้าจงพาเสนางค-
นิกรทั้งปวงไปโดยสวัสดีเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺขสหสฺสํ ความว่า ๕ สุวัณณะเป็น
๑ นิกขะ ให้ทอง ๑,๐๐๐ นิกขะ. บทว่า คาเม ความว่า บ้านเหล่าใดเก็บ
ส่วยได้ปีละหนึ่งแสนกหาปณะ ข้าให้บ้านเหล่านั้นแก่เจ้า. บทว่า กาสิสุ ได้แก่
ในแคว้นของประชาชนชาวกาสี.
กาสิกรัฐนั้นอยู่ใกล้วิเทหรัฐ เพราะฉะนั้น พระเจ้าจุลนีจึงประทานบ้าน
๘๐ บ้านในกาสิกรัฐนั้นแก่มโหสถ ฝ่ายมโหสถทูลพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์
อย่าทรงวิตกถึงพระราชวงศ์เลย ข้าพระองค์ได้ทูลพระราชาของข้าพระองค์ไว้
ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จไปกรุงมิถิลาว่า ขอพระองค์จงตั้งพระนางนันทาเทวี
ไว้ในที่พระราชชนนี จงตั้งพระปัญจาลจันทกุมารไว้ในที่พระกนิษฐภาดา ทูล
ฉะนั้นแล้ว ได้อภิเษกพระนางปัญจาลจันทีราชธิดาของพระองค์กับพระเจ้า
วิเทหราช แล้วจึงได้ส่งเสด็จพระเจ้าวิเทหราช ข้าพระองค์จักส่งพระราชมารดา
พระนางนันทาเทวี และพระราชโอรสของพระองค์กลับมาโดยเร็วทีเดียว
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต แล้วยังมโหสถให้รับฝากข้า

539
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 540 (เล่ม 63)

ชายหญิงโคกระบือและเครื่องประดับ และทองเงินช้างม้ารถอันตกแต่งแล้ว
เป็นต้นที่พึงพระราชทานแก่พระราชธิดา ด้วยพระดำรัสว่า เจ้าพึงให้ทรัพย์
เหล่านั้นแก่พระปัญจาลจันทีราชบุตรีข้า เมื่อทรงพิจารณากิจอันควรทำแก่
เสนาพาหนะ จึงตรัสว่า
พวกเจ้าจงให้อาหารแก่ช้างและม้าเพิ่มขึ้นเป็น
สองเท่า เพียงใด จงเลี้ยงดูกองรถและกองราบให้อิ่ม
หนำด้วยข้าวและน้ำ เพียงนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว ความว่า มิใช่เพิ่มเป็นสองเท่า
อย่างเดียวเท่านั้น พระเจ้าจุลนีตรัสว่า จงให้อาหารมีข้าวเหนียวและข้าวสาลี
เป็นต้น แก่ช้างและม้าทั้งหลายจนเพียงพอ. บทว่า ตปฺเปนฺตุ ความว่า จงให้
เท่าที่ไปไม่ลำบากในระหว่างทาง ให้อิ่มหนำ.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงส่งมโหสถบัณฑิตไป พระเจ้าจุลนี
ตรัสว่า
พ่อบัณฑิต เจ้าจงพากองช้าง กองม้า กองรถ
กองราบไป ขอพระเจ้าวิเทหมหาราชจงทอดพระเนตร
เห็นเจ้าผู้ไปถึงกรุงมิถิลา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิถิลํ คตํ ความว่า ขอพระเจ้าวิเทหราช
จงทอดพระเนตรเห็นเจ้าถึงกรุงมิถิลาโดยสวัสดี.
พระเจ้าจุลนีทรงทำสักการะใหญ่แก่มโหสถบัณฑิตแล้วทรงส่งไป ด้วย
ประการฉะนี้ แม้พระราชาร้อยเอ็ดเหล่านั้น ก็ทำมหาสักการประทานบรรณา-
การเป็นอันมาก ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ในสำนักของพระราชาร้อยเอ็ด
เหล่านั้นก็แวดล้อมมโหสถ มโหสถเดินทางไปด้วยบริวารมากในระหว่างทาง
ได้ส่งคนไปเก็บส่วยแต่บ้านที่พระเจ้าจุลนีประทาน ถึงวิเทหรัฐ ฝ่ายอาจารย์

540
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 541 (เล่ม 63)

เสนกะได้วางคนไว้ในระหว่างทางสั่งว่า เจ้าจงดูพระเจ้าจุลนีเสด็จมาหรือไม่
เสด็จมา และบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งมา จงบอกข้า ฝ่ายคนผู้รับคำสั่งของเสนกะ
เห็นมโหสถมาแต่ไกลราว ๓ โยชน์จึงมาแจ้งแก่เสนกะว่า มโหสถมากับบริวาร
เป็นอันมาก เสนกะได้ฟังประพฤติเหตุจึงได้ไปสู่ราชสำนัก ฝ่ายพระเจ้า
วิเทหราชประทับอยู่ ณ พื้นปราสาท ทอดพระเนตรภายนอกทางพระแกล
เห็นกองทัพใหญ่ ทรงรำพึงว่า เสนาของมโหสถน้อย ก็เสนานี้ปรากฏว่ามาก
เหลือเกิน พระเจ้าจุลนีเสด็จมากระมังหนอ ทรงรำพึงดังนี้ก็ทั้งทรงกลัวทั้งทรง
สะดุ้ง เมื่อจะตรัสถามอาจารย์ทั้ง ๔ จึงตรัสว่า
เสนาคือกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบนั้น
ปรากฏมากมาย เป็นจตุรงคินีเสนาที่น่ากลัว บัณฑิต
ทั้งหลายสำคัญอย่างไรหนอ.
ลำดับนั้น เสนกะเมื่อจะกราบทูลข้อความนั้น จึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความยินดีอย่างสูงสุด
ย่อมปรากฏเฉพาะแด่พระองค์ มโหสถพากองทัพ
ทั้งปวงมาถึงแล้วโดยสวัสดี.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำของเสนกะจึงตรัสว่า ดูก่อนท่านเสนกะ
เสนาของมโหสถบัณฑิตน้อย ก็แต่นี่มากมาย เสนกะทูลตอบว่า มโหสถจัก
ทำให้พระเจ้าจุลนีทรงเลื่อมใส พระเจ้าจุลนีทรงเลื่อมใสแล้วจักพระราชทาน
เสนาแก่มโหสถ พระเจ้าวิเทหราชจึงให้เอากลองตีป่าวร้องในพระนครว่า
ชาวเมืองทั้งหลายจงตกแต่งพระนครต้อนรับมโหสถบัณฑิต ชาวพระนครก็ทำ
ตามประกาศ มโหสถเข้าพระนครไปสู่ราชสำนัก ถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช
แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จลุกขึ้นสวมกอด
มโหสถแล้วประทับเหนือบัลลังก์อันประเสริฐ เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารจึงตรัสว่า

541
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 542 (เล่ม 63)

คน ๔ คน นำคนตายไปทิ้งไว้ในป่าช้าแล้วกลับ
ไป ฉันใด พวกเราทิ้งเจ้าไว้ในกัปปิลรัฐแล้วกลับมา
ในที่นี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าเปลื้องตนพ้น
มาได้เพราะเหตุอะไร เพราะปัจจัยอะไร หรือเพราะ
ผลอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร ชนา ความว่า แน่ะบัณฑิต
คน ๔ คนนำคนตายไปป่าช้าด้วยเตียง ทิ้งคนตายนั้นไว้ในป่าช้านั้น ไม่เหลียว
แลไป ฉันใด พวกเราทิ้งเจ้าไว้ในกัปปิลรัฐมาที่นี้ ก็ฉันนั้น. บทว่า วณฺเณน
ได้แก่ ด้วยเหตุ. บทว่า เหตุนา ได้แก่ ด้วยปัจจัย. บทว่า อตฺถชาเตน
ได้แก่ ด้วยผล. บทว่า ปริโมจยิ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชตรัสถาม
มโหสถว่า เจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก เปลื้องตนพ้นมาได้ ด้วยเหตุอะไร
ด้วยปัจจัยอะไร ด้วยผลอะไร.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลตอบว่า
ข้าแต่พระจอมวิเทหรัฐ ข้าพระองค์ป้องกันข้อ
ความด้วยข้อความ ป้องกันความคิดด้วยความคิด
พระเจ้าข้า ใช่แต่เท่านั้น ข้าพระองค์ยังป้องกันพระ-
ราชา ดังสาครกั้นล้อมชมพูทวีปไว้ฉะนั้น.
เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์ป้องกัน
ข้อความที่พวกนั้นคิดไว้ ด้วยข้อความที่ข้าพระองค์คิดแล้ว ข้าพระองค์ป้องกัน
ความคิดที่พวกนั้นคิดไว้ ด้วยความคิดของข้าพระองค์ ใช่แต่เท่านั้น ข้า-
พระองค์ยังได้ป้องกัน พระราชาแม้นั้นผู้มีพระราชาร้อยเอ็ดเป็นบริวารถึงเพียงนี้
ทีเดียว ดุจสาครกั้นล้อมชมพูทวีปไว้ฉะนั้น มโหสถกล่าวกรรมที่ตนทำทั้งหมด
โดยพิสดาร.

542
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 543 (เล่ม 63)

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงโสมนัส ลำดับนั้น
มโหสถบัณฑิตเมื่อจะทูลถึงบรรณาการที่พระเจ้าจุลนีพระราชทานแก่ตนให้
ทรงทราบ จึงทูลว่า
พระเจ้าจุลนีพระราชทานทอง ๑,๐๐๐ นิกขะ บ้าน
๘๐ บ้านในแคว้นกาสี ทาสี ๔๐๐ คน และภรรยา
๑๐๐ คนแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้พาเสนางคนิกร
ของข้าพระองค์ทั้งหมดมาในที่นี้โดยสวัสดี.
แต่นั้น พระราชาทรงยินดีร่าเริงเหลือเกิน เมื่อจะตรัสสรรเสริญคุณ
ของพระมหาสัตว์ จึงทรงเปล่งอุทานนั้นนั่นแลว่า
แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่าบัณฑิต
เป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้องพวกเรา
ผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนก
ที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.
ฝ่ายเสนกบัณฑิตเมื่อจะรับพระราชดำรัส ได้กล่าวคาถานั้นนั่นแลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายนำความ
สุขมาแท้จริงอย่างนี้ทีเดียว มโหสถปลดเปลื้องพวกเรา
ผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนี้
ที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชให้ตีกลองป่าวร้องในพระนครว่า ชาว-
เมืองจงเล่นมหรสพใหญ่ตลอดสัปดาห์ คนเหล่าใดมีความรักในตัวเรา คน
เหล่านั้นทั้งหมดจงทำสักการะและสัมมานะแก่มโหสถบัณฑิตเถิด.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
ชาวเมืองซึ่งนับว่าเกิดในแคว้นมคธ จงดีดพิณ
ทั้งปวง จงตีกลองเล็กกลองใหญ่และมโหระทึก จงพา

543
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 544 (เล่ม 63)

กันโห่ร้องบันลือเสียงให้เซ็งแซ่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาหญฺญนฺตุ ได้แก่ จงประโคมดนตรี.
บทว่า มาคธา สํขา ความว่า นับว่าเกิดในมคธรัฐ. บทว่า ทุนฺทภี ได้แก่
กองใหญ่.
ลำดับนั้น ชาวเมืองและชาวชนบทเหล่านั้น ตามปกติก็ใคร่จะกระทำ
สักการะแก่มโหสถบัณฑิตอยู่แล้ว ครั้นได้ยินเสียงกลองป่าวร้องก็ได้ทำสักการะ
กันเหลือล้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
พวกฝ่ายใน พวกกุมาร พ่อค้า พราหมณ์
กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวชนบทและ
ชาวนิคม ร่วมกันนำข้าวน้ำเป็นอันมากมาให้แก่มโหสถ
บัณฑิต ชนเป็นอันมากได้เห็นมโหสถบัณฑิตกลับมา
สู่กรุงมิถิลา ก็พากันเลื่อมใส ครั้นมโหสถบัณฑิต
ถึงแล้ว ก็โบกผ้าอยู่ทั่วไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอโรธา จ ความว่า พวกฝ่ายในมี
พระนางอุทุมพรเทวีเป็นต้น. บทว่า อภิหารยุํ ความว่า ให้นำไปยิ่ง คือ
ส่งไป. บทว่า พหุชฺชโน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเป็นอันมาก
ทั้งชาวพระนคร ทั้งชาวบ้านสี่ประตูเมือง ทั้งชาวชนบท ได้เลื่อมใสแล้ว.
บทว่า ทิสฺวา ปณฺฑิตมาคเต ความว่า เมื่อมโหสถบัณฑิตมากรุงมิถิลา
เห็นมโหสถบัณฑิตนั้น. บทว่า ปวตฺตถ ความว่า เมื่อมโหสถบัณฑิตถึง
กรุงมิถิลา มหาชนดีใจกล่าวว่า มโหสถบัณฑิตนี้ปลดเปลื้องพระราชาของพวก
เราที่ตกอยู่ในอำนาจของปัจจามิตรให้ปลอดภัยก่อน ภายหลังยังพระราชา
ร้อยเอ็ดให้ขมาโทษกันและกันทำให้สามัคคีกัน ยังพระเจ้าจุลนีให้เลื่อมใสพา
เอายศใหญ่ที่พระเจ้าจุลนีประทานมาแล้ว ได้โบกผ้ากันอยู่ทั่วไป.

544
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 545 (เล่ม 63)

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ไปสู่ราชสำนักในวันสุดมหรสพกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ควรที่พระองค์จะส่งพระราชมารดา พระราชเทวี และ
พระราชโอรสของพระเจ้าจุลนีไปเสียโดยเร็ว พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำ
มโหสถก็ตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงส่งไปเสีย มโหสถทำสักการะใหญ่แก่กษัตริย์
ทั่ง ๓ นั้น และทำสักการสันมานะแก่เสนาผู้มากับตน ส่งกษัตริย์ทั้ง ๓ แม้นั้น
กับพวกชนของตนไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ส่งภรรยา ๑๐๐ คนและทาสี
๔๐๐ คน ที่พระเจ้าจุลนีพระราชทานแก่ตน มอบถวายไปกับพระนางนันทา-
เทวี และส่งแม้เสนีผู้มากับด้วยตนไปกับชนเหล่านั้น.
พระนางนันทาเทวีสวมกอดพระธิดาจุมพิตที่พระเศียรแล้วตรัสว่า แม่
ลาเจ้าละ แน่ไปละ ตรัสฉะนี้ทรงกันแสงคร่ำครวญด้วยศัพท์สำเนียงอันดัง
ฝ่ายพระนางปัญจาลจันทีผู้พระธิดาทรงกราบพระราชมารดาแล้วทรงโศกาดูรทูล
ว่า พระมารดาอย่าละทิ้งลูกก่อน กษัตริย์ทั้ง ๓ ออกจากพระนครด้วยบริวาร
เป็นอันมากถึงอุตตรปัญจาลนครโดยลำดับ ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัต
ตรัสถามพระราชมารดาว่า ข้าแต่พระมารดา พระเจ้าวิเทหราชทรงทำอนุเคราะห์
แด่พระองค์อย่างไร พระนางเจ้าสลากราชชนนีตรัสตอบว่า พ่อตรัสอะไร
พระเจ้าวิเทหราชตั้งแม่ไว้ในฐานเป็นเทวดาได้ทำสักการะแก่เราดังนั้นทาเทวีไว้
ในฐานเป็นพระราชมารดา ตั้งพ่อปัญจาลจันทกุมารในฐานเป็นราชกนิษฐภาดา
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับพระราชชนนีรับสั่งก็ทรงยินดียิ่งนัก แล้วส่งบรรณาการ
เป็นอันมากไปถวายพระเจ้าวิเทหราช จำเดิมแต่นั้นกษัตริย์เจ้าพระนครทั้ง ๒
ก็พร้อมเพรียงชื่นชมอยู่แล.
จบมหาอุมมังคกัณฑ์

545