No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 102 (เล่ม 52)

๗. คยากัสสปเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระคยากัสสปเถระ
[๓๔๑] เราลงไปลอยบาปในแม่น้ำคยา ที่ท่าคยผัคคุวันละ
๓ ครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น เพราะคิด
เห็นว่า บาปใดที่เราทำไว้ในชาติก่อน บัดนี้ เราจะลอย
บาปนั้นในที่นี้ ความเห็นอย่างนี้ ได้มีแก่เราในกาลก่อน
บัดนี้ เราได้ฟังวาจาอันเป็นสุภาษิต เป็นบทอันประกอบ
ด้วยเหตุผล แล้วพิจารณาเห็นเนื้อความได้ถ่องแท้ตาม
ความเป็นจริง โดยอุบายอันชอบ จึงได้ล้างบาปทั้งปวง
เป็นผู้ไม่มีมลทิน หมดจด สะอาด เป็นทายาทผู้บริสุทธิ์
ของพระพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุทรของพระ-
พุทธเจ้า เราได้หยั่งลงสู่กระแสน้ำ คือมรรคอันมีองค์ ๘
ลอยบาปทั้งปวงแล้ว เราได้บรรลุวิชชา ๓ และได้ทำกิจ
พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
จบคยากัสสปเถรคาถา
อรรถกถาคยากัสสปเถรคาถามีที่ ๗
คาถาของท่านพระคยากัสสปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปาโต มชฺฌนฺหิกํ
ดังนี้. เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้น อย่างไร ?
พระเถระแม้น ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๓๑
แต่ภัทรกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี บังเกิด

102
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 103 (เล่ม 52)

ในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ละการครองเรือนเพราะ
มีอัธยาศัยในการสลัดออก บวชเป็นดาบสสร้างอาศรมในราวป่า มีรากไม้
และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร. ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
เดียวไม่มีเพื่อน ได้เสด็จไปใกล้อาศรมของท่าน. ท่านถวายบังคมแล้ว
มีจิตเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งตรวจ
ดูเวลา แล้วได้น้อมผลพุทราอันน่ารื่นรมย์เข้าไปถวายแด่พระศาสดา. ด้วย
บุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาท
กาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ละการครองเรือน
เพราะมีอัธยาศัยในการสลัดออก บวชเป็นดาบส พร้อมด้วยดาบส ๒๐๐ คน
อยู่ที่คยาประเทศ. ก็เพราะท่านอยู่ที่คยาประเทศ และเป็นกัสสปโคตร
ท่านจึงได้ชื่อว่า "คยากัสสปะ."
ท่านอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานเอหิภิกขุปสัมปทา พร้อม
ด้วยบริษัท แล้วทรงโอวาทด้วยอาทิตตปริยายสูตร ดำรงอยู่ในพระอรหัต.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า
ครั้งนั้น เรานุ่งหนังเสือ ห่มผ้าคากรอง บำเพ็ญ
วัตรจริยาอย่างหนัก ใกล้อาศรมของเรามีต้นพุทรา ใน
กาลนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี เป็นเอก ไม่มีผู้
เสมอสอง ทรงทำโลกให้ช่วงโชติอยู่ตลอดกาลทั้งปวง
เสด็จเข้ามายังอาศรมของเรา เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส
และถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้มีวัตรอันงามแล้ว ได้เอามือ
ทั้งสองกอบพุทรา ถวายแด่พระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๓๑
แต่กัปนี้ เราได้ถวายพุทราใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น
๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๓๒.

103
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 104 (เล่ม 52)

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายพุทรา เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ...พระพุทธศาสนาเราได้ทำ
เสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน เมื่อจะ
พยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุการลอยบาปเป็นประธาน จึงได้กล่าว
๕ คาถาเหล่านั้นว่า
เราลงไปลอยบาปในแม่น้ำคยา ที่ท่าคยผัคคุวันละ
๓ ครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น เพราะคิดเห็น
ว่า บาปใดที่เราทำไว้ในชาติก่อน บัดนี้เราจะลอยบาป
นั้นในที่นี้ ความเห็นอย่างนี้ ได้มีแก่เราในกาลก่อน
คน เราได้ฟังวาจาอันเป็นสุภาษิต เป็นบทอันประกอบ
ด้วยเหตุผล แล้วพิจารณาเห็นเนื้อความได้ถ่องแท้ตาม
ความเป็นจริง โดยอุบายอันชอบ จึงได้ล้างบาปทั้งหมด
เป็นผู้ไม่มีมลทิน หมดจดสะอาด เป็นทายาทผู้บริสุทธิ์
ของพระพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุทรของพระ-
พุทธเจ้า เราได้ฟังและหยั่งลงสู่กระแสน้ำ คือมรรค อันมีองค์ ๘
ลอยบาปทั้งปวงแล้ว เราได้บรรลุวิชชา ๓ และได้ทำกิจ
พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
บรรดาคาถาเหล่านั้น อันดับแรก มีความสังเขปดังต่อไปนี้ว่า ใน
เวลาเช้า คือในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. ในเวลาเที่ยงวัน คือในเวลากลางวัน.
ในตอนเย็น คือในเวลาเย็น. อธิบายว่า วันละ ๓ ครั้ง คือ ๓ วาระ
เราลงน้ำ และเรานั้นเมื่อลง ไม่ลงไปในเวลาใดเวลาหนึ่ง คือในบางครั้ง

104
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 105 (เล่ม 52)

บางคราว โดยที่แท้พากันกำหนดว่า การลอยบาปในแม่น้ำคงคา เมื่อถึง
ผัคคุนีนักขัตฤกษ์ ในอุตตรกาลแห่งผัคคุนีมาสอันได้นามว่า คยผัคคุ
เราได้ประกอบพิธีลงสู่น้ำในแม่น้ำคยผัคคุ.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงอุบายอันเป็นเหตุประกอบพิธีการลงสู่น้ำในกาล
นั้น จึงกล่าวคาถาว่า ยํ มยา ดังนี้เป็นต้น.
คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า เมื่อก่อน คือก่อนแต่การเข้าถึงศาสนา
ของพระศาสดาได้มีความเห็นอย่างนี้ คือได้เห็นผิดแผกไปอย่างนี้ว่าบาป-
กรรมอันใด ที่เราสั่งสมไว้ในกาลก่อน คือในชาติอื่นแต่ชาตินี้ บาปกรรม
อันนั้น บัดนี้ลอยเสีย คือทำให้ปราศไป คายเสีย ด้วยการลงสู่น้ำ ในท่า
แม่น้ำคยานี้ และในแม่น้ำคยาผัคคุนี้.
บทว่า ธมฺมตฺถสหิตํ ปทํ เป็นบทแสดงไขโดยไม่ลบวิภัตติ, อธิบายว่า
เราได้สดับวาจาอันเป็นภาษิต คือพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอัน
เป็นส่วนที่ประกอบด้วยธรรมและอรรถ คืออันประกอบด้วยเหตุและผล
ในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด กระทำให้เป็นนิยยานิกะ นำสัตว์ออกด้วยดี
โดยแท้จริง แล้วพิจารณาอรรถแห่งทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า ถ่องแท้ เพราะ
เป็นของแท้โดยความเป็นปรมัตถ์ ชื่อว่าตามความเป็นจริง เพราะไม่มี
ความประพฤติผิดแผกในความเป็นอุบายแห่งความเป็นไป (ทุกข์) และ
การกลับ (นิโรธ) ตามสมควร. โดยอุบายอันแยบคาย คือ โดยภาวะ
แห่งกิจมีการกำหนดรู้เป็นต้น คือพิจารณาว่า ทุกขสัจควรกำหนดรู้,
สมุทัยสัจ ควรละ, นิโรธสัจ ควรกระทำให้แจ้ง, มรรคสัจ ควรทำให้เกิด
อธิบายว่า เห็นแล้ว แทงตลอดแล้วด้วยญาณจักษุ.
บทว่า นินฺหาตสพฺพปาโปมฺหิ ความว่า เป็นผู้คายบาปทั้งปวงด้วย

105
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 106 (เล่ม 52)

อริยมรรค อริยผล เพราะแทงตลอดสัจจะนั้นเอง ด้วยอาการอย่างนี้,
เพราะเหตุนั้นนั่นแล เราจึงเป็นผู้ชื่อว่า หมดมลทินแล้ว เพราะไม่มีมลทิน
โดยไม่มีมลทินคือราคะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแล เราจึงเป็นผู้ชื่อว่า
ล้างแล้วสะอาดหมดจด เพราะมีกายสมาจารหมดจด เพราะมีวจีสมาจาร
หมดจด และเพราะมีมโนสมาจารหมดจด ชื่อว่า เป็นทายาท เพราะเป็น
เบื้องต้นแห่งธรรมทายาทอันเป็นโลกุตระ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ผู้ชื่อว่า หมดจด เพราะหมดจดจากมลทินคือกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนา.
มีวาจา ประกอบความว่าเป็นโอรส คือเป็นบุตร ของพระผู้มีพระภาค-
พุทธเจ้านั้นนั่นเอง เพราะมีอภิชาติอันเกิดแต่ความพยายามคืออก อันมี
เทศนาญาณเป็นสมุฏฐาน. เพื่อจะประกาศความที่คนเป็นผู้อาบแล้วโดย
ปรมัตถ์แม้อีก จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า โอคยฺห เป็นต้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอคยฺห ความว่า ให้หยั่งลงแล้ว คือ
เข้าไปแล้วโดยลำดับ.
บทว่า อฏฺฐงฺคิกํ โสตํ ได้แก่ กระแสแห่งมรรค อันเป็นที่ประชุม
แห่งองค์ ๘ ด้วยองค์มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. บทว่า สพฺพปาปํ ปวาหยึ
ความว่า คายแล้วซึ่งมลทินคือบาปไม่มีส่วนเหลือ คือเป็นผู้อาบแล้วโดย
ปรมัตถ์ เพราะลอยเสียในแม่น้ำคืออริยมรรค. ต่อจากนั้นนั่นแล คำว่า
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้ มี
อรรถดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
จบอรรถกถาคยากัสสปเถรคาถาที่ ๗

106
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 107 (เล่ม 52)

๘. วักกลิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวักกลิเถระ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ป่าใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปราศจาก
โคจรเป็นที่เศร้าหมอง ถูกโรคลมครอบงำ จักทำอย่างไร ?
ท่านพระวักกลิเถระกราบทูลว่า
ข้าพระองค์จะยังปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไป
สู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอันเศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่ จัก
เจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗
อยู่ในป่าใหญ่ เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารภความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ มีความ
พร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้าพระองค์จึงจัก
อยู่ในป่าใหญ่ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้มี
พระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหทัยตั้งมั่น จึงเป็นผู้ไม่เกียจ-
คร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันอยู่ในป่าใหญ่.
จบวักกลิเถรคาถา
อรรถกถาวักกลิเถรคาถาที่ ๘
คาถาของท่านพระวักกลิเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วาตโรคาภินีโต
ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ในหังสวดีนคร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา

107
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 108 (เล่ม 52)

แล้ว ไปยังวิหารกับอุบาสกทั้งหลายผู้ไปยังสำนักพระศาสดา ยืนอยู่ท้าย
บริษัท ฟังธรรมอยู่ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้น้อมไปในศรัทธา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น
จึงถวายทานตลอด ๗ วัน ได้ตั้งความปรารถนาไว้ พระศาสดาทอด
พระเนตรเห็นความปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์.
แม้ท่านกระทำกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-
โลก ในกาลแห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
ในกรุงสาวัตถี. ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อท่านว่า วักกลิ. ท่านเจริญแล้ว
เรียนเวท ๓ ถึงความสำเร็จในศิลปะแห่งพราหมณ์ เห็นพระศาสดาแล้ว
ไม่อิ่มเพราะเห็นสมบัติพระรูปกาย จึงเที่ยวไปกับพระศาสดาเท่านั้น. คิดว่า
เมื่อเราอยู่ในท่ามกลางเรือน จักไม่ได้เห็นพระศาสดาตลอดกาลเป็นนิจ
จึงบวชในสำนักพระศาสดา ยืนอยู่ในที่ ๆ ตนสามารถเห็นพระทศพล
ในเวลาที่เหลือ เว้นเวลาฉันอาหาร และเวลาทำกิจด้วยสรีระ จึงละกิจ
อย่างอื่น เที่ยวแลดูแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น.
พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของเธอ เมื่อเธอเที่ยวไป
ด้วยการดูพระรูปเท่านั้น สิ้นกาลมากมาย ไม่ได้ตรัสอะไร ๆ รุ่งขึ้นวันหนึ่ง
จึงตรัสว่า วักกลิ จะประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอเห็นกายที่เปื่อยเน่านี้
วักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา วักกลิ ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า
เห็นธรรม วักกลิ เพราะเมื่อบุคคลเห็นธรรมชื่อว่าเห็นเรา เมื่อบุคคล
เห็นเราชื่อว่าเห็นธรรม ดังนี้.
เมื่อพระศาสดาแม้ตรัสอยู่อย่างนั้น ท่านก็ไม่สามารถจะละการดู
พระศาสดาไปในที่อื่นได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้

108
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 109 (เล่ม 52)

ไม่ได้ความสังเวชจักไม่ตรัสรู้ ดังนี้ ในวันเข้าพรรษา จึงขับไล่พระเถระ
ด้วยตรัสว่า หลีกไป วักกลิ. พระเถระถูกพระศาสดาทรงขับไล่ จึงไม่อาจ
จะอยู่ในที่พร้อมพระพักตร์ได้ จึงคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยความเป็น
อยู่ของเรา ที่จะไม่เห็นพระศาสดา ดังนี้แล้ว จึงขึ้นสู่ที่เหวที่ภูเขาคิชฌกูฏ.
พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นของเธอ จึงทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้
ความเบาใจจากสำนักเรา จะพึงยังธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล
ให้พินาศไป เมื่อจะทรงฉายพระรัศมีเพื่อแสดงพระองค์ จึงตรัส
พระคาถาว่า
ภิกษุผู้มากไปด้วยปราโมทย์ เลื่อมใสในพระพุทธ-
ศาสนาพึงบรรลุบทอันสงบ เป็นที่เข้าไปสงบแห่งสังขาร
เป็นสุข ดังนี้.
แล้วทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า มาเถิด วักกลิ. พระเถระคิดว่า เราเห็น
พระทศพลแล้ว แม้การตรัสเรียกว่า จงมา เราก็ได้แล้ว ดังนี้แล้วเกิดปีติ
และโสมนัสมีกำลัง ไม่รู้การไปของตนว่ามาจากไหน จึงแล่นไปในอากาศ
ในที่พร้อมพระพักตร์ของพระศาสดา ยืนอยู่บนเขาด้วยก้าวเท้าแรก รำพึง
ถึงคาถาที่พระศาสดาตรัส ข่มปีติในอากาศนั่นเอง บรรลุพระอรหัตพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาดังนี้ เรื่องนี้มาแล้วในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย และ
อรรถกถาแห่งธรรมบท.
ก็ในที่นี้ อาจารย์บางพวกกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ท่านพระวักกลิเถระ
อันพระศาสดาทรงโอวาทโดยนัยมีอาทิว่า เธอจะประโยชน์อะไร วักกลิ
ดังนี้ อยู่บนภูเขา เริ่มตั้งวิปัสสนา เพราะท่านมีศรัทธาเป็นกำลังนั่นเอง
วิปัสสนา จึงไม่ลงสู่วิถี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบดังนั้น จึงได้ให้

109
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 110 (เล่ม 52)

เธอชำระกรรมฐานให้หมดจดประทานให้ เธอไม่สามารถจะให้วิปัสสนาถึง
ที่สุดได้อีก. ลำดับนั้น โรคลมเพราะความบกพร่องอาหาร ได้เกิดขึ้น
แก่ท่าน, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าท่านถูกโรคลมเบียดเบียน จึง
เสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปราศจาก
โคจร เป็นที่เศร้าหมอง ลูกโรคลมครอบงำ จักทำอย่างไร
พระเถระได้ฟังดังนั้น จงได้กล่าว ๔ คาถา๑ว่า
ข้าพระองค์จะยังปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไป
สู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอันเศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่ จัก
เจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์
อยู่ในป่าใหญ่ เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารภความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ มีความ
พร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้าพระองค์จึงจักอยู่
ในป่าใหญ่ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้มีพระ-
องค์อันฝึกแล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น จึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันอยู่ในป่าใหญ่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาตโรคาภินีโต ความว่า ถูกโรคลม
ครอบงำ นำให้ถึงความไม่มีเสรีภาพ คือถูกพยาธิอันเกิดจากลมครอบงำ.
พระองค์เรียกพระเถระว่า ตวํ.
บทว่า วิหรํ ความว่า อยู่ด้วยอิริยาบถวิหารนั้น.
บทว่า กานเน วเน ความ ว่าในป่าอันเป็นดง อธิบายว่า ในป่าใหญ่.
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๒.

110
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 111 (เล่ม 52)

บทว่า ปวิฏฺฐโคจเร แปลว่า เป็นที่ปราศจากโคจร คือเป็นที่หาปัจจัย
ได้ยาก, ชื่อว่า เศร้าหมอง คือเป็นที่เศร้าหมอง เพราะไม่มีเภสัชมีเนยใส
เป็นต้น อันเป็นสัปปายะของโรคลม และเพราะเป็นภูมิภาคมีดินเค็ม.
บทว่า กถํ ภิกฺขุ กริสฺสสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ภิกษุ เธอจักทำอย่างไร ?
พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศการอยู่เป็นสุขแห่งตน ด้วย
ปีติและโสมนัสปราศจากอามิสดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปีติ สุเขน ด้วย
ปีติและสุข.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปีติ สุเขน ความว่า ด้วยปีติ อันมีความ
โลดลอย เป็นลักษณะ และมีการแผ่ซาบซ่านเป็นลักษณะ และด้วยสุข
อันสัมปยุตด้วยปีตินั้น.
บทว่า ผรมาโน สมุสฺสยํ ความว่า ข้าพระองค์จะยังรูปอันประณีต
อันเกิดจากปีติและสุขตามที่กล่าวแล้ว ให้แผ่ซ่านเข้าร่างกายทั้งสิ้น คือ
กระทำให้รูปถูกต้องไม่ขาดสาย.
บทว่า ลูขมฺปิ อภิสมฺโภนฺโต ความว่า ครอบงำ คือท่วมทับปัจจัย
อันเศร้าหมอง แม้อดกลั้นได้ยาก อันเป็นเหตุเป็นไปโดยความขัดเกลา
ซึ่งเกิดแต่การอยู่ป่า.
บทว่า วิหริสฺสามิ กานเน ความว่า ข้าพระองค์จักอยู่ในราวป่า
ด้วยสุขอันเกิดแต่ฌาน และสุขอันเกิดแต่วิปัสสนา. ด้วยเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า และข้าพระองค์เสวยสุขด้วยกาย (นามกาย ) และว่า
บุคคลพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับแห่งขันธ์
ทั้งหลายในกาลใด ๆ ในกาลนั้น ๆ เขาย่อมได้ปีติและ
ปราโมช นั้นเป็นอมตะของบุคคลผู้รู้อยู่.

111