No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 19 (เล่ม 34)

อรรถกถามลสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในมลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
ภาวะของบุคคลทุศีล ชื่อว่า ทุสสียะ. ทุสสีลยะนั้นแหละเป็น
มลทิน จึงชื่อว่า ทุสสีลยมละ.
ความหมายของมลทิน
ถามว่า ที่ชื่อว่ามลทิน เพราะหมายความว่าอย่างไร.
ตอบว่า เพราะหมายความว่าตามเผาไหม้ ๑ เพราะหมายความว่า มี
กลิ่นเหม็น ๑ เพราะหมายความว่า ทำให้เศร้าหมอง ๑.
อธิบายว่า มลทินนั้น ย่อมตามเผาไหม้สัตว์ ในอบายทั้งหลาย
มีนรกเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะหมายความว่า ตาม
เผาไหม้บ้าง.
บุคคลเกลือกกลั้วด้วยมลทินนั้น เป็นที่น่ารังเกียจ ทั้งในสำนักมารดา
บิดา ทั้งภายในภิกษุสงฆ์ ทั้งในโพธิสถาน และเจดียสถาน และกลิ่นอันเกิด
จากความไม่ดีของเขา ย่อมฟุ้งไปในทุกทิศว่า ผู้นั้นทำบาปกรรมเห็นปานนี้
เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นบ้าง.
บุคคลผู้เกลือกกลั้วด้วยมลทินนั้น ย่อมได้รับความเดือดร้อนในที่ที่ไป
ถึง และกายกรรมเป็นต้นของเขาก็ไม่สะอาด ไม่ผ่องใส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
เป็นมลทิน เพราะหมายความว่า ทำให้เศร้าหมองบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง มลทินนั้น ย่อมทำเทวสมบัติ มนุษยสมบัติ และ
นิพพานสมบัติให้เหี่ยวแห้งไป เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าเป็นมลทิน เพราะ
หมายความว่า ทำให้เหี่ยวแห้งบ้าง.

19
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 20 (เล่ม 34)

แม้ในมลทิน คือริษยา และมลทินคือความตระหนี่ ก็มีนัย อย่างนี้
เหมือนกัน.
จบอรรถกถามลสูตรที่ ๑๐
จบพาลวรรควรรณนาที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในพาลวรรคนี้ คือ
๑. ภยสูตร ๒. ลักขณสูตร ๓. จินตสูตร ๔. อัจจยสูตร ๕.
อโยนิโสสูตร ๖. อกุสลสูตร ๗. สาวัชชสูตร ๘. สัพยาปัชชสูตร ๙.
ขตสูตร ๑๐. มลสูตร และอรรถกถา.

20
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 21 (เล่ม 34)

รถการวรรคที่ ๒
๑. ญาตกสูตร
ว่าด้วยปฏิบัติเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม
๓ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสิ่งอันมิใช่ความ
สุขแก่ชนมาก เพื่อความเสื่อม เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ชนมากทั้ง
เทวดาทั้งมนุษย์ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมอันไม่
สมควร ชักชวนในวจีกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในธรรมทั้งหลายอันไม่สมควร
ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอัน
ไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเจริญ
เพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ชนมากทั้งเทวดาทั้งมนุษย์ ธรรม ๓ ประการเป็น
ไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมอันสมควร ชักชวนในวจีกรรมอันสมควร
ชักชวนในธรรมอันสมควร ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ประการนี้แล
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก ฯลฯ
จบญาตกสูตรที่ ๑

21
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 22 (เล่ม 34)

รถการวรรควรรณนาที่ ๒
อรรถกถาญาตกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในญาตกสูตร แห่งรถการวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม
บทว่า ญาตโก ได้แก่ ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือ ประชาชนรู้จักกันทั่ว
แล้ว ได้แก่ ปรากฏแล้ว. บทว่า อนนุโลมิเก ความว่า กายกรรม ชื่อ
ว่า อนนุโลมิกะ เพราะหมายความว่า ไม่เหมาะสมแก่ศาสนา. ในกายกรรม
อันไม่เหมาะสมนั้น. บทว่า กายกมฺเม ได้แก่ ในกายทุจริต มีปาณาติบาต
เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริตนั้นเป็นของหยาบ แก่ภิกษุสามารถจะชักชวน
ให้สมาทาน ในกายทุจริตเป็นต้นนี้ได้ คือชักชวนให้สมาทานคือให้ยึดถือใน
กรรมเห็นปานนี้ว่า การนอบน้อมทิศทั้งหลายสมควร การทำพลีกรรมให้ภูต
ย่อมควร แม้ในวจีกรรม มุสาวาทเป็นต้น เป็นของหยาบ แต่ภิกษุนั้น จะ
ชักชวนให้สมาทานในวจีกรรมเห็นปานนี้ ว่า ขึ้นชื่อว่า การพูดเท็จแก่คนโง่
นี้ว่าไม่มี เพราะไม่ประสงค์จะให้* ของ ๆ ตนแก่ผู้อื่น ก็ควรพูดได้. แม้ใน
มโนกรรม อภิชฌาเป็นต้นก็เป็นของหยาบ แต่ภิกษุเมื่อบอกกัมมัฏฐานผิด
พลาดไป ก็ไม่ชื่อว่าชักชวนให้สมาทานในมโนกรรมอันสมควร เหมือนพระ-
เถระชาวทักษิณวิหาร ฉะนั้น.
* ปาฐะว่า อทาตุกาโม ฉบับพม่าเป็น อทาตุกาเมน แปลตามฉบับพม่า

22
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 23 (เล่ม 34)

พระเถระชาวทักษิณวิหาร
เล่ากันมาว่า บุตรขุนนางคนหนึ่งเข้าไปหาพระเถระนั้นแล้วถามว่า
บุคคลเมื่อจะเจริญเมตตา ควรเจริญเมตตาในบุคคลเช่นไรก่อน. พระเถระไม่
ยอมบอกถึงบุคคลผู้เป็นสภาคและวิสภาคกัน แต่กลับบอกว่าในบุคคลผู้เป็น
ที่รัก. บุตรขุนนางนั้น มีภรรยาเป็นที่รักใคร่. เขาจึงแผ่เมตตาไปหานาง
พลางถึงความคลุ้มคลั่ง.
ถามว่า ก็ภิกษุ ผู้บอกกัมมัฏฐาน นี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากอย่างไร.
ตอบว่า ก็เพราะ บริวารชนของภิกษุเห็นปานนี้มีสัทธิวิหาริกเป็น
ต้น และมีอุปัฏฐากเป็นต้น รวมทั้งเทวดาที่เหลือ ผู้เป็นมิตรของเทวดาเหล่า
นั้น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่อารักขเทวดาของบริวารชนเหล่านั้นจนกระทั่งถึงพรหมโลก
ต่างจะพากันทำตามที่ภิกษุนั้นทำแล้วเทียว ด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ไม่รู้แล้วจักไม่
ทำ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ด้วย
ประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ในธรรมฝ่ายขาว พึงทราบกายกรรมและวจีกรรม ด้วยสามารถแห่ง
เจตนาทั้งหลาย มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้นนั่นแล. ฝ่าย
ภิกษุผู้บอกกัมมัฏฐานมิให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่าสมาทานให้ดำรงอยู่ในธรรมที่
เหมาะสม เหมือนพระติสสเถระผู้ชำนาญใน ๔ นิกาย ชาวโกลิตวิหารฉะนั้น.
พระติสสเถระ
เล่ากันว่า พระทัตตาภยเถระ ผู้เป็นพี่ชายคนโตของพระติสสเถระนั้น
อยู่ในเจติยวิหาร เมื่อโรคชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ให้เรียกพระน้องชายมาแล้วบอก
ว่า คุณ คุณช่วยบอกกัมมัฏฐานสักข้อหนึ่งที่เบา ๆ แก่ผมทีเถิด.

23
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 24 (เล่ม 34)

พระน้องชายเรียนว่า หลวงพี่ขอรับ ประโยชน์อะไรด้วยกัมมัฏฐาน
ข้ออื่น หลวงพี่ควรกำหนดกวฬิงการาหาร.
พระพี่ชายถามว่า คุณ กวฬิงการาหารนี้มีประโยชน์อย่างไร.
พระน้องชายตอบว่า หลวงพี่ขอรับ กวฬิงการาหารเป็นอุปาทายรูป
และเมื่อเห็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่งแล้ว อุปาทายรูป ๒๓ ก็ย่อมปรากฏชัดด้วย.
พระพี่ชายนั้น ได้ฟังดังนี้นั้นแล้ว ตอบว่า คุณ กัมมัฏฐานเท่านี้ก็เห็น
จะพอเหมาะแหละนะ ดังนี้แล้ว ส่งพระน้องชายนั้นกลับไป กำหนดกวฬิง-
การาหาร แล้วกำหนดอุปาทายรูป กลับไปกลับมา ก็ได้สำเร็จเป็นพระ
อรหันต์. ทันใดนั้น พระพี่ชายก็เรียกพระเถระ น้องชายนั้น ผู้ซึ่งยังไม่ทัน
ออกไปพ้นนอกวิหารเลย มาบอกว่า คุณ คุณเป็นที่พึ่งอย่างใหญ่หลวงของ
ผมแล้วนะ ดังนี้แล้ว บอกคุณที่ตนได้แล้วแก่พระเถระน้องชาย.
บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า ก็บริวารชนของภิกษุแม้นี้ มีสัทธิ-
วิหาริกเป็นต้น ต่างพากันทำตามสิ่งที่ภิกษุนั้นทำแล้วเทียวด้วยคิดว่า ภิกษุนี้
ไม่รู้แล้วจักไม่ทำ อุปัฏฐากเป็นต้นก็เหมือนกัน เทวดาทั้งหลาย คือ อารักข-
เทวดาของบริวารชนเหล่านั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดาเหล่านั้น
และอากาศเทวดาผู้เป็นมิตรของภุมมเทวดาเหล่านั้น รวมถึงเทวดาที่บังเกิด
ในพรหมโลก ก็พากันทำตามสิ่งที่ภิกษุนั้นทำแล้วเหมือนกัน ภิกษุชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาญาตกสูตรที่ ๑

24
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 25 (เล่ม 34)

๒. สรณียสูตร
ว่าด้วยสถานที่ที่กษัตริย์และภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ ตำบลนี้ย่อมเป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก สถานที่ ๓ ตำบลไหนบ้าง ?
พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกประสูติ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ ๑
อีกข้อหนึ่ง พระราชาได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ณ ตำบลใด ตำบล
นี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ ๒
อีกข้อหนึ่ง พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ทรงผจญสงครามได้
ชัยชนะแล้วยึดสนามรบนั้นไว้ได้ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพ
แห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ ๓ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย
สถานที่ ๓ ตำบล เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ ตำบลนี้ก็เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่ง
ภิกษุฉันนั้นเหมือนกัน สถานที่ ๓ ตำบลไหนบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นอนคาริยะ ณ
ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบลที่ ๑
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุรู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความ
ดับทุกข์ ... นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบลที่ ๒

25
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 26 (เล่ม 34)

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง
อยู่ในปัจจุบันนี้ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบล
ที่ ๓ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ ตำบลเป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งภิกษุ.
จบสรณียสูตรที่ ๒
อรรถกถาสรณียสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสารณียสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
สิ่งประทับใจ ๓ ประการ
บทว่า ขตฺติยสฺส ได้แก่ เป็นกษัตริย์โดยกำเนิด. บทว่า มุทฺธา
ภิสิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ด้วยการอภิเษกเป็นพระราชา.
บทว่า สรณียานิ โหนฺติ ความว่า ไม่ถูกลืม. บทว่า ชาโต แปลว่า
บังเกิดแล้ว. บทว่า ยาวชีวํ สรณียํ ความว่า ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์อยู่
พระมหากษัตริย์ไม่สามารถจะทรงทราบอะไร ๆ ที่เกี่ยวกับพระองค์ได้เลย
(ก็จริง) แต่ว่าในเวลาต่อมา ทรงสดับเรื่องราวที่เหล่าพระประยูรญาติ มี
พระชนกชนนีเป็นต้น หรือผู้ที่อยู่ด้วยกันทูลว่า พระองค์ทรงพระราชสมภพ
ในชนบทโน้น ในนครโน้น ในวันโน้น ในนักษัตรโน้น ตั้งแต่วันนั้นมา
(เรื่องราวที่พระประยูรญาติตรัสเล่าให้ฟัง) เป็นเรื่องราวที่พระองค์จะต้อง
ระลึกไว้ คือไม่ทรงลืมตลอดพระชนม์ชีพทีเดียว.

26
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 27 (เล่ม 34)

ความจริง พระเจ้าปากิตนันทะ ไม่มีกิจที่จะต้องกระทำด้วย
ชาติ และฐานะเป็นต้นเลย. แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำเหตุการณ์นี้มา
ก็เพื่อทรงแสดงบุคคล ๓ จำพวก ซึ่งเปรียบด้วยพระราชานั้น เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า เอวเมว
โข ภิกขเว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อนคาริยํ ปพฺพชิโต โหติ นี้
พึงทราบว่า จตุปาริสุทธิศีล อาศัยบรรพชานั่นแล. บทว่า สรณียํ โหติ
ความว่า (สถานที่ที่ภิกษุปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ออก
จากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนนี้) เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือไม่ลืม
ตลอดชีวิตเลยทีเดียว อย่างนี้ว่า เราบวชแล้วที่โคนต้นไม้โน้น ในที่จงกรม
โน้น ในโรงอุปสมบทโน้น ในวิหารโน้น ในชนบทโน้น ในรัฐโน้น.
บทว่า อิทํ ทุกขํ ความว่า ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์นอกเหนือ
ไปจากนี้. บทว่า อยํ ทุกฺขสมุทโย ความว่า เหตุเกิดทุกข์มีเพียงเท่านี้
ไม่มีเหตุเกิดทุกข์นอกเหนือไปจากนี้. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโสดาปัตติมรรคไว้ด้วยสัจจะ ๔ ในสูตรนี้
ดังพรรณนามาฉะนี้. ส่วนกสิณบริกรรม และวิปัสสนาญาณ อาศัยมรรคทั้งนั้น.
บทว่า สรณียํ โหติ ความว่า (สถานที่ที่ภิกษุได้สำเร็จเป็นพระ-
โสดาบัน) เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือ ไม่ลืมตลอดชีวิตว่า เรา
สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น. บทว่า อาสวานํ
ขยา แปลว่า เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. บทว่า อนาสวํ เจโต
วิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่ผลปัญญา. บทว่า
สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า การทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาอัน

27
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 28 (เล่ม 34)

วิเศษยิ่ง ด้วยตนเองทีเดียว. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ ได้แก่ ได้อยู่.
บทว่า สรณียํ ความว่า ธรรมดาว่า สถานที่ที่ตนเองได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือ ไม่ลืมตลอดชีวิตว่า เราได้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์ ที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระธรรมเทศนาตามอนุสนธิ ดังว่า
มานี้แล.
จบอรรถกถาสรณียสูตรที่ ๒
๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยบุคลล ๓ จำพวกในทางโลกและทางธรรม
[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก บุคคล
๓ จำพวกไหน คือ บุคคลผู้ไร้ความหวัง บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง บุคคล
ผู้สิ้นความหวังแล้ว
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้ไร้ความหวัง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลคนดีดพิณก็ดี
ตระกูลพรานก็ดี ตระกูลช่างทำรถก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจน
ขัดสนข้าวน้ำโภชนะ เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้
โดยฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค คือ ตาบอดบ้าง
เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ

28