No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 178 (เล่ม 28)

กาย แม้เขาบริหารอย่างนี้ ก็แตกกายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
เพราะเหตุนั้นกายจึงต้องแตกและเรี่ยรายไป อธิบายว่า มีสภาวะเป็นอย่าง
นั้น. ในพระสูตรนั้น ตรัสถึงความเจริญด้วยบทว่า กาย เกิดแต่มารดาบิดา
การเติบโตด้วย ข้าวสุกและขนมสด และการประคบประหงม. ตรัสถึง
ความเสื่อมด้วยบทว่าไม่เที่ยง แตก และการกระจัดกระจาย อีกอย่างหนึ่ง
ตรัสการเกิดขึ้นด้วยบทก่อน ๆ และการดับไปด้วยบทหลัง ๆ. ทรงแสดง
ความต่างแห่งการเจริญ การเสื่อมและการบังเกิดแห่งกาย ซึ่งประชุมด้วย
มหาภูตรูป ๔ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาอุททกสูตรที่ ๑๐
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมสังคัยหสูตร ๒. ทุติยสังคัยหสูตร ๓. ปริหานสูตร
๔. ปมาทวิหารสูตร ๕. สังวรสูตร ๖. สมาธิสูตร ๗ ปฏิสัลลีนสูตร
๘. ปฐมนตุมหากสูตร ๙. ทุติยนตุมหากสูตร ๑๐. อุททกสูตร
รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์ คือ
๑. อวิชชาวรรค ๒. มิคชาลวรรค ๓. คิลานวรรค ๔. ฉันนวรรค
๕. ฉฬวรรค.
จบ ฉฬวรรคที่ ๕
จบ ทุติยปัณณาสก์

178
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 179 (เล่ม 28)

๓. ตติยปัณณาสก์
โยคักเขมีวรรคที่ ๑
๑. โยคักเขมีสูตร
ว่าด้วยผู้เกษมจากโยคะ
[ ๑๕๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็น
เหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรม-
ปริยายอันเป็นเหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะเป็นไฉน ธรรมปริยายอัน
เป็นเหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียร
ที่ควรประกอบเพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคต บัณฑิตจึง
เรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก อาศัยความใคร่ ชวนได้กำหนัด
อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควร
ประกอบเพื่อละธรรมารมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคต บัณฑิตจึง
เรียกว่าผู้เกษมจากโยคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรมปริยายอันเป็น
เหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะ.
จบ โยคักเขมีสูตรที่ ๑

179
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 180 (เล่ม 28)

ตติยปัณณาสก์
โยคักเขมีวรรคที่ ๑
อรรถกถาโยคักเขมีสูตรที่ ๑
โยคักเขมีวรรค โยคักเขมีสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โยคกฺเขมปริยายํ ได้แก่เป็นธรรมปริยาย อันเป็นเหตุ
ของบุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะ. บทว่า ธมฺมปริยายํ แปลว่า เป็นเหตุ
แห่งธรรม. บทว่า อกฺขาสิ โยคํ ได้แก่ กล่าวความประกอบ บทว่า
ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่ทรงเป็นผู้เกษมจากโยคะ เพราะเรียกเอาเอง
หรือเพราะละโยคะได้ เพราะละโยคะได้ มิใช่มีเพราะเรียกเอาเองฉะนั้น.
จบ อรรถกถาโยคักเขมีสูตรที่ ๑
๒. อุปาทายสูตร
ว่าด้วยความสุขความทุกข์อาศัยอะไรเกิด
[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
อะไรมี สุขและทุกข์อันเป็นภายในอาศัยอะไรเกิดขึ้น.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวก
ข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล.

180
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 181 (เล่ม 28)

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายใน
อาศัยจักษุเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อใจมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายในอาศัยใจเกิดขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ . ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุข
สละทุกข์อันเป็นภายใน ไม่อาศัยสิ่งนั้นพึงเกิดขึ้นหรือ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุข
และทุกข์อันเป็นภายใน ไม่อาศัยสิ่งนั้นพึงเกิดขึ้นหรือ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ อุปาทายสูตรที่ ๒

181
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 182 (เล่ม 28)

อรรถกถาอุปาทายสูตรที่ ๒
ในอุปาทายสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสุขและทุกข์ฝ่ายเวทนา. แต่สุขและทุกข์
ฝ่ายเวทนานั้น เป็นสุขและทุกข์ ฝ่ายวิบาก จึงจะควร.
จบ อรรถกถาอุปาทายสูตรที่ ๒
๓. ทุกขสูตร
ว่าด้วยความเกิดและความดับแห่งทุกข์
[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ
แห่งทุกข์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน ความเกิดแห่ง
ทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรมทั้ง ๓ ประการ
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์
เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้แลเป็นความเกิด
แห่งทุกข์.
[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความ
ดับแห่งทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ

182
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 183 (เล่ม 28)

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้แลเป็น
ความดับแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวม
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดย
ไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ
อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์.
จบ ทุกขสูตรที่ ๓
อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๓
ในทุกขสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ในวัฏฏะ.
จบ อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๓
๔. โลกสูตร
ว่าด้วยความเกิดและความดับแห่งโลก
[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ
แห่งโลก เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน ความเกิดแห่ง
โลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการ

183
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 184 (เล่ม 28)

เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติ
เป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสนี้เป็นความเกิดแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์เกิดมโน-
วิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด
เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิด
แห่งโลก.
[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน ความ
ดับแห่งโลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เป็น
ความดับแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญาณ รวมธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 185 (เล่ม 28)

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก.
จบ โลกสูตรที่ ๔
อรรถกถาโลกสูตรที่ ๔
ในโลกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โลกสฺส ได้แก่สังขารโลก.
จบ อรรถกถาโลกสูตรที่ ๔
๕. เสยยสูตร
ว่าด้วยอะไรทำให้ประเสริฐกว่ากัน
[ ๑๕๘ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออะไรมีเพราะยึดมั่นอะไร ถือมั่นอะไร จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐ
กว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย
ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี เพราะยึดมั่นจักษุ ถือมั่นจักษุ
จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯลฯ

185
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 186 (เล่ม 28)

เมื่อใจมี เพราะยึดมั่นใจ ถือมั่นใจ จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่า
เขาเสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ยึดมั่นสิ่งนั้นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา
เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ไม่ยืดมั่นสิ่งนั่นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา
หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ.
ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 187 (เล่ม 28)

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
จบ เสยยสูตรที่ ๕
อรรถกถาเสยยสูตรที่ ๕
คำที่จะพึงกล่าวในเสยยสูตรที่ ๕ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน
ขันธิยวรรคนั่นแล.
จบ อรรถกถาเสยยสูตรที่ ๕
จบ โยคักเขมีวรรคที่ ๑
๖. สังโยชนสูตร๑
ว่าด้วยเหตุแห่งสังโยชน์
[ ๑๕๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่ง
สังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์
และสังโยชน์เป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือ
จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจในจักษุนั้น เป็นสังโยชน์ในจักษุนั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุ
แห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นสังโยชน์
ในใจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์
และสังโยชน์.
จบ สังโยชนสูตรที่ ๖
๑. ตั้งแต่สูตรที่ ๖-๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้.

187