No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 188 (เล่ม 28)

๗. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอุปาทาน
[ ๑๖๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่ง
อุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงพึง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทาน
และอุปาทานเป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือ
จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจในจักษุนั้น เป็นอุปาทานในจักษุนั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุ
แห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นอุปาทาน
ในใจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งอุปาทาน
และอุปาทาน.
จบ อุปาทานสูตรที่ ๗
๘. ปฐมอปริชานสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่รู้ไม่สิ้นทุกข์ผู้รู้ย่อมสิ้นทุกข์
[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย
ไม่ละจักษุ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย
ไม่ละใจ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลรู้ยิ่งกำหนดรู้
หน่าย ละจักษุ ย่อมควรสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละใจ
ย่อมควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย
ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละ

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 189 (เล่ม 28)

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง
กำหนดรู้ หน่าย ละรูป ย่อมควรสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย
ละเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมควรสิ้นทุกข์.
จบ ปฐมอปริชานสูตรที่ ๘
๙. ทุติยอปริชานสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
[๑๖๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระตำหนัก
ซึ่งก่ออิฐด้วยกระเบื้อง ของหมู่พระประยูรญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับพักอยู่ในที่สงัด ได้ทรงภาษิตธรรมปริยายนี้ว่า อาศัย
จักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึง
เกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์
เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้.

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 190 (เล่ม 28)

[ ๑๖๓ ] อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการ
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นและดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทาน
จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจ
และธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพที่ดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
จบ ทุติยอปริชานสูตรที่ ๙
๑๐. อุปัสสุติสูตร
ว่าด้วยปริยัติธรรมเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
[๑๖๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นแล้ว ตรัสถามเธอว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว
พระเจ้าข้า.

190
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 191 (เล่ม 28)

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจงเรียน จงเล่าเรียน จงทรงจำธรรมปริยายนี้
ไว้เถิด เพราะว่าธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์.
จบ อุปัสสุติสูตรที่ ๑๐
จบ โยคักเขมีวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โยคักเขมีสูตร ๒. อุปาทายสูตร ๓. ทุกขสูตร ๔. โลกสูตร
๕. เสยยสูตร ๖. สังโยชนสูตร ๗. อุปาทานสูตร ๘. ปฐมอปริชาน-
สูตร ๙. ทุติยอปริชานสูตร ๑๐. อุปัสสุติสูตร.

191
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 192 (เล่ม 28)

โลกกามคุณวรรคที่ ๒
๑. ปฐมมารปาสสูตร๑
ว่าด้วยอายนตะ ๖ เป็นบ่วงแห่งมาร
[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง
ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน
หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูก
มารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา.
ว่าด้วยผู้ไม่เพลิดเพลินในอายตนะ ๖ ย่อมพ้นจากบ่วงแห่งมาร
[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอัน
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่
ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำ
๑. สูตรที่ ๑ - ๒ แก้วรวมไว้ท้ายสูตรที่ ๒

192
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 193 (เล่ม 28)

ตามความปรารถนา ไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะ
พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่
ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น
ไม่พัวพันธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่
ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมาร
ผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำตามความปรารถนาไม่ได้.
จบ ปฐมมารปาสสูตรที่ ๑
๒. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยการตกอยู่และไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร
[๑๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
หากภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
พัวพันอยู่ในรูป ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มี
บาปทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้
แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่
ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพัน
ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ ไปสู่ที่อยู่
ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา.

193
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 194 (เล่ม 28)

[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากรูป ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจ
ของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ
ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจาก
ธรรมารมณ์ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร อันมารผู้มี
บาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้.
จบ ทุติยมารปาสสูตรที่ ๒
โลกกามคุณวรรคที่ ๒
อรรถกถามารปาสสูตรที่ ๑ - ๒
โลกกามคุณวรรค มารปาสสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในบทว่า อาวาสคโต ได้แก่ไปสถานที่อยู่. บทว่า มารสฺส วสคโต
ได้แก่ตกไปอยู่ในอำนาจมารแม้ทั้ง ๓. บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส มารปาโส
ได้แก่บ่วงแห่งมาร ที่สวมคล้องไว้ ที่คอของมารนั้น สูตรที่ ๒ ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถามารปาสสูตรที่ ๑ - ๒

194
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 195 (เล่ม 28)

๓. ปฐมโลกกามคุณสูตร
ว่าด้วยโลกในวินัยของพระอริยะ
[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามี
ได้กล่าวว่า ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และ
เรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ครั้นพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้น
กล่าวกันว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศข้อนี้
แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่
ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้ ลำดับ
นั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า ท่านพระอานนท์นี้พระศาสดา และเพื่อน
พรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านย่อมสามารถเพื่อ
จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ
ให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์
ถึงที่อยู่ แล้วเรียนถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด.
[๑๗๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์
ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน
พระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศข้อนี้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนก

195
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 196 (เล่ม 28)

เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อ
พระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกเราจึงใคร่ครวญดูว่า ใครหนอจะช่วย
จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ พวกเราจึงคิดได้ว่า ท่าน
พระอานนท์นี้ อันพระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่อง
สรรเสริญ ทั้งท่านพระอานนท์นี้ย่อมสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้
โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร เราพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้ว
ไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ขอท่านพระอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อ
ความเถิด.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือน
บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับล่วงเลยราก
ล่วงเลยลำต้นแห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มา
สำคัญแก่นไม้ จะพึงแสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น คือ
พวกท่านล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่เฉพาะหน้า ในฐานะเป็น
ศาสดาของท่านทั้งหลายไปเสีย มาสำคัญเนื้อความที่จะไต่ถามนี้ แท้จริง
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น
พระองค์เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว
เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของ
แห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้ เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อ
ความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่ท่านทั้งหลาย
อย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.

196
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 197 (เล่ม 28)

ภิ. ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์
เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว
เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของ
แห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรงมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความ
ข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกเราอย่างใด
พวกเราควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น ก็แต่ว่าท่านอานนท์ก็เป็นผู้ที่
พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่าน
ก็สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอท่านอย่า
ได้หนักใจโปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด.
[๑๗๑] อา. อาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จง
คอยฟัง จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์
แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจาก
พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว อาวุโสทั้งหลาย
ข้าพเจ้าย่อมทราบเนื้อความแห่ลอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ อาวุโสทั้งหลาย บุคคล
ย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลกด้วยธรรมอันใด ธรรมนี้เรียกว่า
โลกในวินัยของพระอริยะ อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลก
ว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอะไรเล่า อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความ

197