No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 13 (เล่ม 25)

๕. ทุติยปาสสูตร
พระพุทธเจ้าตรัสการพ้นจากบ่วงมาร
[๔๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุง
พาราณสี ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจาก
บ่วงทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้
เธอทั้งหลายก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่
มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ไปทาง
เดียวกัน ๒ รูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้อง
ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ. บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในจักษุน้อย
มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมเสีย ผู้รู้ทั่วถึงซึ่งธรรมยังจักมี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.
[๔๒๙] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

13
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 14 (เล่ม 25)

ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้วด้วยบ่วง
ทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของ
มนุษย์ ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้ว ด้วย
เครื่องพันธนาการอันใหญ่ ดูก่อนสมณะ
ท่านจักไม่พ้นเราไปได้.
[๔๓๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาปจึง
ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้ง
ที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เรา
เป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องพันธนาการอัน
ใหญ่ ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งความพินาศ
ท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.

14
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 15 (เล่ม 25)

อรรถกถาทุติยปาสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ ๕ ต่อไป:-
บทว่า มุตฺตาหํ แปลว่า เราพ้นแล้ว. สูตรต้นตรัสภายในพรรษา
ส่วนสูตรนี้ ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว. บทว่า จาริกํ ได้แก่
จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง.
บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อ
ไปทางเดียวกัน ๒ รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่ง ก็จำต้องยืนนิ่ง
เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า กลฺยาณํ ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญ
ในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่า เบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดนี้มี ๒ คือ ศาสนาและเทศนา. ใน ๒ อย่างนั้น ศีล เป็นเบื้องต้น
ของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีก
นัยหนึ่ง ศีล และสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผล
นิพพานเป็นที่สุด อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง
ผลนิพพานเป็นที่สุด. ส่วนเทศนา สำหรับคาถา ๔ บทก่อน บทที่ ๑ เป็น
เบื้องต้น บทที่ ๒-๓ เป็นท่ามกลาง บทที่ ๔ เป็นที่สุด สำหรับ ๕ บท
หรือ ๖ บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง.
สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น. คำนิคมลงท้าย
ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ
มาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น
คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.

15
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 16 (เล่ม 25)

บทว่า สาตฺถํ ได้แก่ แสดงให้พร้อมอรรถ. บทว่า สพฺยญฺชนํ
ได้แก่ จงแสดงให้บริบูรณ์ด้วยพยัญชนะและบท. บทว่า เกวลปริปุณฺณํ
แปลว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนาพรหมจรรย์ที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. บทว่า
ปกาเสถ ได้แก่ กระทำให้แจ้ง.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่มีสภาพธุลี คือกิเลสน้อย ใน
จักษุคือปัญญา อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถา
๔ บท ประหนึ่งปิดไว้ด้วยม่านผ้าเนื้อละเอียด มีอยู่. บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า
เพราะไม่ได้ฟังธรรม. บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมจากธรรม โดย
ไม่เสื่อมจากลาภ. บทว่า เสนานิคโม ได้แก่ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในโอกาสที่ตั้ง
กองทัพของเหล่ามนุษย์ต้นกัป อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านเสนานิคมของ .
บิดานางสุชาดา. บทว่า เตนุปสงฺกมิสฺสามิ ความว่า เราส่งพวกเธอไป
ให้สร้างสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ถูกพวกอุปัฏฐากเป็นต้น บำเรออยู่หามิได้.
แต่เราครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์ ๑,๕๐๐ แก่ชฏิลสามพี่น้องแล้วเข้าไปก็เพื่อ
แสดงธรรมอย่างเดียว. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณ
โคดมนี้ ส่งพระภิกษุ ๖๐ รูปไปด้วยกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒
รูป จงแสดงธรรม ประหนึ่งทำการรบใหญ่ ก็เมื่อพระสมณโคดมนี้แม้องค์
เดียวแสดงธรรมอยู่ เรายังไม่มีความสบายใจเลย เมื่อภิกษุเป็นอันมากแสดง
อยู่อย่างนี้ เราจักมีความสบายใจได้แค่ไหนเล่า จำเราจักห้ามกัน พระสมณโคดม
นั้นเสีย ดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้า.
จบอรรถกถาทุติยปาสสูตรที่ ๕

16
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 17 (เล่ม 25)

๖. สัปปสูตร
มารนิรมิตเพศเป็นพระยางู
[๔๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันอันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับนั่งกลางแจ้งในราตรีอันมืดสนิท
ทั้งฝนก็ลงเม็ดประปรายอยู่.
[๔๓๒] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เกิดความกลัว ความ
ครั้นคร้าม ขนลุกขนพองแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงนิรมิตเพศเป็นพระยางูใหญ่
เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ กายของพระยางูนั้นเป็นเหมือนเรือ
ลำใหญ่ที่ขุดด้วยซุงทั้งต้น พังพานของมันเป็นเหมือนเสื่อลำแพนผืนใหญ่
สำหรับ ปูตากแป้งของนักผลิตสุรา นัยน์ตาของมันเป็นเหมือนถาดสำริดขนาด
ใหญ่ของพระเจ้าโกศล ลิ้นของมันแลบออกจากปากเหมือนสายฟ้าแลบ ขณะ
เมฆกำลังกระหึ่ม เสียงหายใจเข้าออกของมัน เหมือนเสียงสูบช่างทองที่กำลัง
พ่นลมอยู่ฉะนั้น.
[๔๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
ดังนี้ จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
มุนีใดเสพเรือนว่างเปล่าเพื่ออยู่อาศัย
มุนีนั้นสำรวมตนแล้ว สละความอาลัยใน
อัตภาพนั้นเที่ยวไป เพราะการสละความ
อาลัยในอัตภาพแล้วเที่ยวไปนั้น เหมาะสม
แก่มุนีเช่นนั้น.

17
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 18 (เล่ม 25)

สัตว์ที่สัญจรไปมาก็มาก สิ่งที่น่ากลัว
ก็มา อนึ่ง เหลือบยุง และสัตว์เลื้อยคลาน
ก็ชุกชุม (แต่) มหามุนีผู้อยู่ในเรือนว่าง-
เปล่า ย่อมไม่ทำแม้แต่ขนให้ไหว เพราะ
สิ่งที่น่ากลัวเหล่านั้น.
ถึงแม้ท้องฟ้าจะแตก แผ่นดินจะไหว
สัตว์ทั้งหลายพึงสะดุ้งกลัวกันหมดก็ตามที
แม้ถึงว่าหอกจะจ่ออยู่ที่อกก็ตามเถิด พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงป้องกันเพราะ
อุปธิ (คือขันธ์) ทั้งหลาย.
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

18
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 19 (เล่ม 25)

อรรถกถาสัปปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสัปปสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า โสณฺฑิกา กิลญฺชํ ได้แก่ เสื่อลำแพน สำหรับเกลี่ยแป้ง
ของพวกทำสุรา. บทว่า โกสลิกา กํสจาฏิ ได้แก่ ภาชนะใส่ของเสวยขนาด
ล้อรถ ของพระเจ้าโกศล. บทว่า คฬคฬายนฺเต ได้แก่ ออกเสียงดัง บทว่า
กมฺมารคคฺคริยา ได้แก่ สูบเตาไฟของช่างทอง. บทว่า ธมมานาย ได้แก่
ให้เต็มด้วยลมในกระสอบหนัง. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า มารคิดว่า
พระสมณโคดม ประกอบความเพียรเนือง ๆ นั่งเป็นสุข จำเราจักกระทบ
กระเทียมเขาดู แล้วเนรมิตอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้วจึงเดินด้อม ๆ ณ
ที่ทรงทำความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นด้วยแสงฟ้าแลบ ทรงนึกว่า
สัตว์ ผู้นี้เป็นใครกันหนอ ก็ทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมาร ดังนี้
บทว่า สุญฺญเคหานิ แปลว่า เรือนว่าง. บทว่า เสยฺยา ความว่า
ผู้ใดเสพเรือนว่างทั้งหลาย เพื่อจะนอน คือเพื่อต้องการอย่างนี้ว่า เราจักยืน
จักเดิน จักนั่ง จักนอน. บทว่า โส มุนิ อตฺตสญฺญโต ความว่า
พุทธมุนีใด สำรวมตัวแล้ว เพราะไม่มีการคะนองมือและเท้า. บทว่า โวสฺสชฺช
จเรยฺย ตตฺถ โส ความว่า พุทธมุนีนั้น สละความอาลัยเยื่อใยใน
อัตภาพนั้น พึงจาริกไป. บทว่า ปฏิรูปํ หิ ตถาวิธสฺส ตํ ความว่า
ความสละความเยื่อใยในอัตภาพนั้นจาริกไป ของพุทธมุนี ผู้เช่นนั้น คือผู้ดำรง
อยู่อย่างนั้น ก็เหมาะ ก็ชอบ ก็สมควร.
บทว่า จรกา ได้แก่ สัตว์ผู้สัญจรไปมีสีหะและเสือเป็นต้น . บทว่า
เภรวา ได้แก่ สภาพที่น่ากลัว ทั้งมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ บรรดาสภาพ

19
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 20 (เล่ม 25)

ที่น่ากลัวเหล่านั้น สัตว์มีสีหะ และเสือเป็นต้น ชื่อว่า. สภาพที่น่ากลัวมีวิญญาณ
ตอไม้และจอมปลวกเป็นต้น ในเวลากลางคืน ชื่อว่า สภาพที่น่ากลัวไม่มีวิญญาณ
เป็นความจริง สภาพที่น่ากลัวแม้เหล่านั้น ย่อมปรากฏเป็นประหนึ่งยักษ์ใน
เวลานั้น เชือกและเถาวัลย์เป็นต้น ก็ปรากฏประหนึ่งงู. บทว่า ตตฺถ ความว่า
พุทธมุนี เข้าไปสู่เรือนว่าง ไม่ทำอาการแม้เพียงขนลุก ในสภาพที่น่ากลัว
เหล่านั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการกำหนดสิ่งที่มิใช่ฐานะ
จึงตรัสว่า นภํ ผเลยฺย เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผเลยฺย ได้แก่
ท้องฟ้าจะพึงแตกเป็นริ้ว ๆ ประหนึ่งตีนกา. บทว่า จเลยฺย ได้แก่ แผ่นดิน
จะพึงไหว เหมือนหยาดน้ำบนใบบัวที่ต้องลม. บทว่า สลฺลมฺปิ เจ อุรสกํ
ปสฺเสยฺยุํ ความว่า แม้ว่าคนทั้งหลาย จะพึงจ่อหอกและหลาวอันคมไวั
ตรงอก. บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในเพราะอุปธิ คือขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า
ตาณํ น กโรนฺติ ความว่า คนทั้งหลาย เมื่อเขาจ่อหลาวอันคมไว้ตรงอก
ก็หนีเข้าระหว่างที่กำบังและภายในกระท่อมเป็นต้น เพราะความกลัว ชื่อว่า
กระทำการป้องกัน. แต่พระพุทธะทั้งหลาย ไม่กระทำการป้องกันเห็นปานนั้น
เพราะท่านเพิกถอนความกลัวหมดทุกอย่างแล้ว.
จบอรรถกถาสัปปสูตรที่ ๖

20
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 21 (เล่ม 25)

๗. สุปปติสูตร
ว่าด้วยสำเร็จสีหไสยาสน์
[๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้งเกือบตลอดราตรี
ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหารทรงสำเร็จสีหไสยาสน์
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลี่อมพระบาทด้วยพระบาท ทรงมีพระสติ-
สัมปชัญญะ ทรงทำความหมายในอันจะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย.
[๔๓๕] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า
ท่านหลับหรือ ท่านหลับเสีย
ทำไมนะ ท่านหลับเป็นตายเทียวหรือนี่
ท่านหลับโดยสำคัญว่า เรือนว่างเปล่า
กระนั้นหรือ เมื่อตะวันโด่งแล้ว ท่านยัง
จะหลับอยู่หรือนี่.
[๔๓๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีตัณหาดุจข่าย
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ สำหรับจะนำ
ไปสู่ภพไหน ๆ ย่อมบรรทมหลับ เพราะ

21
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 22 (เล่ม 25)

ความสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งปวง กงการอะไร
ของท่านในเรื่องนี้เล่ามารเอ๋ย.
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก
เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.
อรรถกถาสุปปติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุปปติสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
บทว่า ปาเท ปกฺขาเลตฺวา ได้แก่ ทรงล้างพระบาทเพื่อให้ยึดถือ
ธรรมเนียมไว้. ก็ผงธุลี ย่อมไม่ติดในพระสีรระของพระพุทธะทั้งหลาย. แม้
แต่น้ำก็กลิ้งไปเหมือนน้ำที่ใส่ในใบบัว. อีกนัยหนึ่ง การล้างเท้าในที่ล้างเท้าเข้า
บ้าน เป็นธรรมเนียมของนักบวชทั้งหลาย ธรรมดาพระพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่า
ไม่ทรงทำลายธรรมเนียมในข้อนั้น ก็พระพุทธะทั้งหลาย ตั้งอยู่ในหัวข้อแห่ง
ธรรมเนียมย่อมล้างพระบาท. จริงอยู่ ถ้าพระตถาคต ไม่พึงสรงน้ำไม่ล้าง
พระบาทไซร้ คนทั้งหลายก็จะพึงพูดว่า ผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงละเลยกิริยาของมนุษย์ จึงทรงล้างพระบาท. บทว่า
สโต สมฺปชาโน ได้แก่ทรงประกอบด้วยสติสัมชัญญะ ที่กำหนดเอาความ
หลับเป็นอารมณ์. ด้วยบทว่า อุปสงฺกมิ ท่านกล่าวว่า มารคิดว่า พระสมณ
โคดม ทรงจงกรมในที่แจ้งตลอดคืนยังรุ่ง แล้วเข้าพระคันธกุฏี บรรทม คง
จักบรรทมเป็นสุขอย่างเหลือเกิน จำเราจักแกล้งเธอ แล้วจึงไปเฝ้า.
ด้วยบทว่า กึ โสปฺปสิ มารกล่าวว่า ท่านหลับหรือ การหลับของ
ท่านนี้เป็นอย่างไร. บทว่า กึ นุ โสปฺปสิ ได้แก่ เพราะเหตุไร ท่านจึง

22