No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 23 (เล่ม 25)

หลับ. บทว่า ทุพฺภโต วิย ได้แก่ หลับเหมือนตาย และหลับเหมือนสลบ.
ด้วยบทว่า สุญฺญมคารํ มารกล่าวว่าท่านหลับด้วยคิดว่า เราได้เรือนว่างแล้ว
หรือ. บทว่า สุริเย อุคฺคเต ความว่า เมื่อตะวันโด่งแล้ว ก็บัดนี้ ภิกษุทั้ง
หลาย กำลังกวาด ตั้งน้ำฉันเตรียมตัวไปภิกขาจาร เหตุไร ท่านจึงยังนอนอยู่
เล่า.
บทว่า ชาลินี ความว่า ตัณหา ชื่อว่า ดุจข่าย โดยข่ายอันเป็นส่วน
ของตน ซึ่งครอบงำภพทั้งสาม ตามนัยที่ว่า ซึ่งว่าตัณหาวิจริต ๑๘ เพราะ
อาศัยอายตนะภายในเป็นต้น. บทว่า วิสฺตฺติกา ได้แก่ ตัณหาที่ชื่อว่าซ่านไป
เพราะซ่านไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้นในภพนั้น ๆ เพราะมีรากเป็นพิษและ
เพราะบริโภคเป็นพิษ. บทว่า กุหิญฺจิ เนตเว ได้แก่ เพื่อนำไปในที่ไหน ๆ.
บทว่า สพฺพูปธีนํ ปริกฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นอุปธิทั้งหมด ต่างโดยเป็น
ขันธ์ กิเลส อภิสังขารและกามคุณ. บทว่า กึ ตเวตฺถ มาร ความว่า ดู
ก่อนมาร ประโยชน์อะไรของท่านในเรื่องนี้เล่า เหตุไร ท่านจึงเลาะริมรั้ว
ติเตียน เหมือนแมลงวันตัวเล็ก ๆ ไม่อาจซ่อนตัวอยู่ในข้าวต้มที่ร้อน ๆ ได้.
จบอรรถกถาสุปปติสูตรที่ ๗

23
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 24 (เล่ม 25)

๘. นันทนสูตร
ว่าด้วยเหตุเศร้าโศกของนรชน
[๔๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
[๔๓๘] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้
กล่าวคาถานี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนมีบุตร ย่อมเพลิดเพลินเพราะ
บุตร คนมีโคก็ย่อมเพลิดเพลินเพราะโค
ฉันนั้นเหมือนกัน อุปธิทั้งหลายนั่นแล
เป็นเครื่องเพลิดเพลินของนรชน เพราะ
คนที่ไม่มีอุปธิหาเพลิดเพลินไม่.
[๔๓๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
คนมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร
คนมีโคก็ย่อมเศร้าโศกเพราะโค ฉันนั้น
เหมือนกัน อุปธิทั้งหลายนั่นแล เป็นเหตุ
เศร้าโศกของนรชน เพราะคนที่ไม่มีอุปธิ
หาเศร้าโศกไม่.

24
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 25 (เล่ม 25)

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาค เจ้า
ทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.
อรรถกถา
นันทนสูตรที่ ๘ มีเนื้อความกล่าวไว้ในเทวตาสังยุตทั้งนั้น.

25
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 26 (เล่ม 25)

๙. ปฐมอายุสูตร
ว่าด้วยอายุน้อย
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ดังนี้.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้ง
หลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์
สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนที่เป็นอยู่นาน ย่อม
เป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี หรือจะอยู่เกินไปได้บ้าง ก็มีน้อย.
[๔๔๑] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
อายุของมนุษย์ทั้งหลายยืนยาว คนดี
ไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย ควรประพฤติดุจ
เด็กอ่อนที่เอาแต่กินนม ฉะนั้น ไม่มีมัจจุ-
มาดอก.
[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย คนดี
ควรดูหมิ่นอายุนั้นเสีย ควรประพฤติดุจคน

26
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 27 (เล่ม 25)

ที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น การที่มัจจุไม่เมา
จะไม่มีเลย.
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก
เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นแล.
อรรถกถาปฐมอายุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอายุสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า อปฺปํ วา ภิยฺโรย ความว่า คนเมื่อเป็นอยู่เกินก็ไม่อาจเป็น
อยู่เกิน ๑๐๐ ปี คือเป็นอยู่ ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง. บทว่า อชฺฌภาสิ ความ
ว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมกล่าวว่า อายุของเหล่ามนุษย์น้อย จำเราจัก
กล่าวว่า อายุนั้นยืนยาวจึงพูดข่มเพราะเป็นผู้ชอบขัดคอ.
บทว่า น นํ หิเฬ ได้แก่ ไม่พึงดูหมิ่นอายุนั้นว่าอายุนี้น้อย. บทว่า
ขีรมตฺโตว ความว่า เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงายดื่มนม นอนบนเบาะ
กลับไปเหมือนไม่รู้สึกตัว บุคคลย่อมไม่คิดว่า อายุของใครน้อย หรือยืนยาว.
คนดีก็คิดอย่างนั้น. บทว่า จเรยฺยาทิตฺตสีโสว ได้แก่ รู้ว่าอายุน้อย พึง
ประพฤติตัวเหมือนคนมีศีรษะถูกไฟไหม้.
จบอรรถกถาปฐมอายุสูตรที่ ๙

27
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 28 (เล่ม 25)

๑๐. ทุติยอายุสูตร
ว่าด้วยอายุสิ้นไป
[๔๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุ-
วัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต. กรุงราชคฤห์.
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสข้อนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสัมปรายภพ ควรทำกุศล ควร
ประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดแล้วจะไม่ตายไม่มีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน
ที่เป็นอยู่นาน ย่อมเป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี หรือที่เกินขึ้นไปก็น้อย ดังนี้.
[๔๔๔] ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
วันคืนย่อมไม่ผ่านพ้นไป ชีวิตย่อม
ไม่สิ้นเข้า อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อม
ดำเนินตามไป ดุจกงจรตามทูบรถไป ฉะนั้น.
[๔๔๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป จึง
ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
วันคืนย่อมผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมสั้น
เข้า อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป
ดุจน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ฉะนั้น.

28
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 29 (เล่ม 25)

ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นแล.
จบทุติยอายุสูตร
จบ ปฐมวรรคที่ ๑
อรรถกถาทุติยอายุสูตรที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอายุสูตที่ ๑๐
บทว่า เนมิว รถกุพฺพรํ ความว่า รถที่แล่นไปทั้งวัน กงล้อก็แล่น
ตามไป ไม่ละทูบรถ ฉันใด อายุก็แล่นไปตามฉันนั้น.
จบอรรถกถาทุติยอายุสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรในปฐมวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ
๑. ตโปกรรมสูตร ๒. นาคสูตร ๓. สุภสูตร ๔. ปฐมปาสสูตร
๕. ทุติยปาสสูตร ๖. สัปปสูตร ๗. สุปปติสูตร ๘. นันทนสูตร
๙. ปฐมอายุสูตร ๑๐. ทุติยอายุสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

29
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 30 (เล่ม 25)

ทุติยวรรคที่ ๒
๑. ปาสาณสูตร
มารกลิ้งศิลาขู่พระพุทธเจ้า
[๔๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
กรุงราชคฤห์.
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในที่แจ้ว ในเวลากลางคืน
เดือนมืด และฝนกำลังตกประปรายอยู่.
[๔๔๗] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปต้องการจะยังความกลัว ความ
หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไป
ณ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ครั้นแล้ว กลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ๆ ไปใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๔๔๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป
จึงตรัสสำทับกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
แม้ถึงว่าท่านจะพึงกลิ้งภูเขาคิชฌกูฏ
หมดทั้งสิ้น ความหวั่นไหวก็จะไม่มีแก่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วโดย
ชอบแน่แท้.
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นเอง.

30
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 31 (เล่ม 25)

ทุติยวรรคที่ ๒
อรรถกถาปาสาณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปาสาณสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า นิสินฺโน ได้แก่ ประทับนั่ง กำหนดความเพียรตามนัยที่
กล่าวไว้แล้วในสูตรต้น ๆ นั่นแล. แม้มารก็รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ประทับนั่งสบาย จึงเข้าไปเฝ้าด้วยหมายจะแกล้ง. บทว่า ปคฺคเฬสิ ความว่า
มารยืนที่หลังเขา แงะก้อนหิน ก้อนหินทั้งหลายก็ตกกระทบกัน ไม่ขาดสาย.
บทว่า เกวลํ แปลว่า ทั้งสิ้น. แม้ทั้งหมดก็เป็นไวพจน์ของคำว่า เกวลํ
นั้นนั่นแล.
จบอรรถกถาปาสาณสูตรที่ ๑

31
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 32 (เล่ม 25)

๒. สีหสูตร
ว่าด้วยบันลือสีหนาท
[๔๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็สมัยนั้นแล พระองค์แวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ทรงแสดงธรรม
อยู่.
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
นี้แล แวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ แสดงธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้
ณ ที่พระสมณโคดมประทับอยู่. เพราะประสงค์จะยังปัญญาจักษุให้พินาศ.
[๔๕๐] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเข้าถึง
ประทับ ครั้นแล้ว กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นผู้องอาจในบริษัท บันลือ
สีหนาท ดุจราชสีห์ ฉะนั้นหรือ ก็ผู้ที่พอ
จะต่อสู้ท่านยังมี ท่านเข้าใจว่าเป็นผู้ชนะ
แล้วหรือ.
[๔๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ตถาคตเป็นมหาวีรบุรุษ องอาจใน
บริษัท บรรลุทสพลญาณ ข้ามตัณหา
อันเป็นเหตุข้องในโลกเสียได้ บันลืออยู่
โดยแท้.

32