No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 231 (เล่ม 24)

นรกอันร้ายกาจ ประสบทุกข์ตลอดกาล-
นาน ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใดแล ประกอบ
ด้วยความอดทนและความสงบในธรรมอัน
ประเสริฐ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ละร่างกาย
อันเป็นของมนุษย์ แล้วจักยังหมู่เทวดาให้
บริบูรณ์.
อรรถกถาปัชชุนนธีตุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา แปลว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะ อธิบายว่า
ธิดาของท้าวจาตุมหาราชิกาผู้เป็นเทวราชของวัสสวลาหก ชื่อว่า ท้าวปัชชุนนะ.
บทว่า อภิวนฺเท แปลว่า ย่อมไหว้ อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
หม่อมฉันย่อมไหว้พระยุคลบาทของพระองค์. บทว่า จกฺขุมตา แปลว่า
ผู้มีจักษุ อธิบายว่า เทพธิดากล่าวว่า สุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระตถาคต
ผู้มีจักษุด้วยจักษุ* ๕ ตามตรัสรู้แล้ว หม่อมฉันได้ยินแล้วในสำนักแห่งชน
เหล่าอื่นอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า สาหํทานิ ตัดบทเป็น สา อหํ อิทานิ
แปลว่า หม่อมฉันนั้น...ในกาลบัดนี้. บทว่า สกฺขิ ชานามิ แปลว่า
ย่อมรู้ประจักษ์ คือว่า ย่อมรู้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด. บทว่า
วิครหนฺตา แปลว่า ติเตียน คือได้แก่ ติเตียนอย่างนี้ว่า ธรรมนี้มีบทแห่ง
อักขระและพยัญชนะอันเลว หรือว่า ธรรมนี้ไม่เป็นนิยยานิกะ. บทว่า โรรุวํ
* จักษุ ๕ คือ มังสจักษุ, ทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ, และ สมันตจักษุ

231
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 232 (เล่ม 24)

แปลว่า โรรุวนรก อธิบายว่า โรรุวนรก มี ๒ คือ ธูมโรรุวนรก และ
ชาลโรรุวนรก. ในนรก ๒ นั้น ธูมโรรุวนรกมีอยู่ส่วนหนึ่ง ก็คำว่า ชาล-
โรรุวนรกนั้น เป็นชื่อของอเวจีมหานรก. เพราะว่า ในโรรุวนรกนั้น เมื่อ
ไฟโพลงอยู่ ๆ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมร้องบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น นรกนั้น ท่านจึง
เรียกว่า โรรุวะ ดังนี้. บทว่า โฆรํ แปลว่า ร้ายกาจ ได้แก่ ทารุณ.
บทว่า ขนฺติยา อุปสเมน อุเปตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความอดทน
และความสงบ อธิบายว่า ครั้นชอบใจแล้ว ครั้นอดทนแล้ว จึงชื่อว่า
ประกอบแล้วด้วยขันติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙

232
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 233 (เล่ม 24)

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร
คาถาของธิดาท้ายปัชชุนนะ
[๑๓๓] ข้าพเจ้าไค้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่า
มหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ
ชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณะงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๑๓๔] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา
มีวรรณะสว่างดังสายฟ้ามาแล้วในที่นี้ไหว้
พระพุทธเจ้า และพระธรรม ได้กล่าวแล้ว
ซึ่งคาถาทั้งหลายนี้มีประโยชน์เที่ยว หม่อม
ฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยายแม้มาก
ธรรมเช่นนั้นมีอยู่โดยปริยาย ธรรมเท่าใด
ที่หม่อมฉันศึกษาแล้วด้วยใจ หม่อมฉัน
จักกล่าวอรรถกถาอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ
ไม่ควรทำกรรมอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ
หรือด้วยกายอย่างไร ๆ ในโลกทั้งปวง

233
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 234 (เล่ม 24)

ใคร ๆ ละกามทั้งหลายแล้ว มีสติสัม-
ปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์.
จบ สตุลลปกายิกวรรค ที่ ๔
อรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-
บทว่า ธมฺมํ จ อธิบายว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อ จุลลโกกนทา
กล่าวว่า หม่อมฉันมาในที่นี้ ไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนตรัย คือ ซึ่งพระสงฆ์ด้วย
คำว่า จ ศัพท์ คือว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์. บทว่า อตฺถวตี
แปลว่า มีประโยชน์. บทว่า พหุนาปิ โข ตํ ความว่า ได้แก่เทพธิดาชื่อจุลล-
โกกนทานั้น ได้กล่าวธรรมใด แม้ธรรมนั้น หม่อมฉันก็พึงจำแนกได้โดยปริยาย
มาก. บทว่า ตาทิโส ธมฺโม แปลว่า ธรรมเช่นนั้น อธิบายว่า เทพธิดา
ชื่อจุลลโกกนทา ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ธรรมนี้มีการ
ดำรงอยู่อย่างนั้น มีส่วนเปรียบได้ดี เป็นธรรมควรแก่การจำแนกโดยปริยาย
ทั้งหลายมาก ดังนี้.
บทว่า ลปยิสฺสามิ แก้เป็น กถยิสฺสามิ อธิบายว่า เทพธิดา
จุลลโกกนทา กล่าวว่าธรรมอันหม่อมฉันศึกษาด้วยใจมีประมาณเท่าไร คือว่า

234
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 235 (เล่ม 24)

ธรรมมีประมาณมากเพียงใดที่หม่อมฉันเรียนด้วยใจ จักไม่กล่าวถึงประโยชน์
ของธรรมนั้นตลอดวัน คือ จักกล่าวโดยย่อ สักว่าครู่หนึ่งเท่านั้นเหมือนบุคคล
บีบคั้นรังผึ้ง ฉะนั้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐
และจบสตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
รวมสูตรที่กล่าวในสตุลลปกายิกวรรค คือ
๑. สัพภิสูตร ๒. มัจฉริสูตร ๓. สาธุสูตร ๔. นสันติสูตร
๕. อุชฌานสัญญิสูตร ๖. สัทธาสูตร ๗. สมยสูตร ๘. สกลิกสูตร
๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร ๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร รวมสูตร ๑๐ สูตรพร้อมทั้ง
อรรถกถา

235
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 236 (เล่ม 24)

อาทิตตวรรคที่ ๕
๑. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยผลของการให้ทาน
[๑๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
เทวดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๑๓๖] เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เมื่อเรือนลูกไฟไหม้แล้ว เจ้าของ
เรือนขนเอาภาชนะได้ออกไปได้ ภาชนะ
นั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งของ
ที่มิได้ขนออกไป ย่อมไหม้ในไฟนั้น
ฉันใด.
โลก (คือหมู่สัตว์) อันชราและมรณะ
เผาแล้ว ก็ฉันนั้น ควรนำออก (ซึ่งโภค-
สมบัติ) ด้วยการให้ทาน เพราะทานวัตถุ
ที่บุคคลให้แล้ว ได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว.

236
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 237 (เล่ม 24)

ทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีสุข
เป็นผล ที่ยังมิได้ให้ย่อมไม่เป็นเหมือน
เช่นนั้น โจรยังปล้นได้ พระราชายังริบได้
เพลิงยังไหม้ได้ หรือสูญหายไปได้.
อนึ่ง บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อม
ด้วยสิ่งเครื่องอาศัยด้วยตายจากไป ผู้มี
ปัญญารู้ชัด ดั่งนี้แล้ว ควรใช้สอยและ
ให้ทาน.
เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตามควร
แล้ว จะไม่ถูกติฉิน เข้าถึงสถานที่อัน
เป็นสวรรค์.
อรรถกถาอาทิตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวรรคที่ ๕ แห่งอาทิตตสูตรที่ ๑ ต่อไป :-
บทว่า ชราย มรเณน จ นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา อธิบายว่า
โลกคือหมู่สัตว์ถูกไฟทั้งหลาย ๑๑ กอง* มีราคะเป็นต้น แผดเผาแล้วเทียว.
บทว่า ทาเนน ได้แก่มีเจตนาในการให้ทาน. บทว่า ทินฺนํ โหติ สุนีภตํ
ความว่า เจตนาอันเป็นบุญในการให้ย่อมมีแก่ทายกนั่นแหละ เหมือนสิ่งของ
อันเจ้าของเรือนนำออกแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โจรา หรนฺติ
* ไฟ ๑๑ กองคือ ราคะ, โทสะ, โมหะ, ชาติ, ชรา, มรณะ, โสกะ, ปริเทวะ, ทุกข์, โทมนัส,
อุปายาส

237
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 238 (เล่ม 24)

อธิบายว่า เมื่อโภคะอันตนไม่ได้ให้แล้ว แม้โจรทั้งหลายก็ปล้นได้ แม้พระ-
ราชาทั้งหลายยังริบได้ แม้ไฟยังไหม้ได้ หรือสูญหายไป แม้ในที่อันตนเก็บ
ไว้แล้ว. บทว่า อนฺเตน แปลว่า ด้วยการตาย. บทว่า สรีรํ สปริคฺคหํ
อธิบายว่า ร่างกายและโภคะไม่พินาศไปด้วยสามารถแห่งอันตรายทั้งหลายมีโจร
เป็นต้น. บทว่า สคฺคมุเปติ อธิบายว่า ย่อมบังเกิดในสวรรค์เหมือนสาธุชน
ทั้งหลาย มีพระเวสสันดรผู้เป็นมหาราชเป็นต้น.
จบอรรถกถาอาทิตตสูตรที่ ๑

238
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 239 (เล่ม 24)

๒. กินททสูตร
ว่าด้วยเทวตาปัญหา ๕ ข้อ
[๑๓๗] เทวดาทูลถามว่า
บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลัง ให้
สิ่งอะไรชื่อว่าให้วรรณะ ให้สิ่งอะไรชื่อว่า
ให้ความสุข ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้จักษุ
และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ ขอพระองค์
ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้า
ชื่อว่าให้วรรณะ ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้
ความสุข ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
และผู้ที่ให้ที่พักพาอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่ง
ทุกอย่าง ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้
อมฤตธรรม.

239
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 240 (เล่ม 24)

อรรถกถากินททสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกินททสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า อนฺนโท อธิบายว่า บุคคลแม้มีกำลังมากแต่ไม่ได้กินอาหาร
หลาย ๆ วัน (สองสามวัน) ก็ไม่อาจเพื่อจะลุกขึ้น ส่วนบุคคลผู้มีกำลังทราม
ได้กินอาหารแล้ว ก็ย่อมถึงพร้อมด้วยกำลังได้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ดังนี้. บทว่า
วตฺถโท อธิบายว่า บุคคลแม้มีรูปงาม แต่มีผ้าสกปรก ดังผ้าขี้ริ้ว หรือไม่มี
ผ้าเลยย่อมเป็นผู้น่าเกลียด ถูกเหยียดหยาม ไม่น่าดู. บุคคลมีผ้าปกปิดดีแล้ว
ย่อมงามราวกะเทพบุตร เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ดังนี้. บทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลาย
มีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้า
ย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควร
แก่สมณะก็คือ รองเท้าสำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์ เพราะฉะนั้น บุคคล
ให้รองเท้า ไม้เท้าคนแก่ เตียง ตั่ง อนึ่ง บุคคลใดย่อมชำระหนทาง ย่อม
ทำบันได ย่อมทำสะพาน ย่อมมอบเรือให้แม้ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า ให้ยาน
เหมือนกัน. บทว่า สุขโท โหติ คือชื่อว่า ให้ความสุข ก็เพราะนำความสุข
ในยานมาให้. บทว่า จกฺขุโท โหติ อธิบายว่า ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่า
ให้จักษุ เพราะความที่บุคคลทั้งหลาย ถึงแม้มีตาก็ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้
ผู้ให้ประทีปโคมไฟนั้นย่อมได้แม้ซึ่งความถึงพร้อมเห่งทิพยจักษุเหมือนพระ-
อนุรุทธเถระ. บทว่า สพฺพโท โหติ อธิบายว่า ผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่างดังที่
กล่าวแล้วนั่นแหละ คือมีการให้กำลังเป็นต้น คือว่า เมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาต

240