No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 241 (เล่ม 24)

ไปสองสามบ้านไม่ได้อะไร ๆ มาอยู่ก็ดี เมื่ออาบน้ำในสระโบกขรณีอันเย็น
แล้วเข้าไปสู่ที่พักอาศัย นอนในเตียงครู่หนึ่งแล้วลุกขึ้นมานั่งก็ดี ย่อมได้กำลัง
ราวกะบุคคลอื่นนำมาใส่ให้ในร่างกาย. ก็บุคคลเที่ยวไปในภายนอก ผิวพรรณ
ในกายย่อมคล้าไปด้วยลมและแดด เมื่อเข้าไปสู่ที่พักอาศัยปิดประตูแล้วนอน
สักครู่หนึ่ง ความสืบต่อแห่งวิสภาคะย่อมเข้าไปสงบระงับ ความสืบต่อแห่ง
สภาคะย่อมก้าวลง ย่อมได้ผิวพรรณวรรณะ ราวกะบุคคลนำใส่ไว้ให้. ก็เมื่อ
บุคคลเที่ยวไปภายนอก หนามย่อมทิ่มแทง ตอไม้ย่อมกระทบ อันตราย
ทั้งหลายมีงูเป็นต้นและโจรภัย ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเข้าไปสู่ที่พักอาศัยปิดประตู
นอนแล้ว อันตรายทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมไม่มี เมื่อสาธยายยอยู่ ปีติและความสุข
ในธรรมย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำกรรมฐานไว้ในใจอยู่ ความสุขอันสงบย่อมเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลเที่ยวไปภายนอกเหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออก ตาทั้งสองย่อมฝ้าฟาง
ในเวลาที่เข้าไปสู่เสนาสนะย่อมเป็นราวกะว่าตกลงไปในหลุม เตียงและตั่งย่อม
ไม่ปรากฏ ก็เมื่อบุคคลนอนพักสักครู่หนึ่ง ความผ่องใสแห่งตาก็จะมีได้ ราว
กะว่าบุคคลนำมาใส่ไว้ให้ ช่องลมประตูหน้าต่างและเตียงตั่งย่อมปรากฏ ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ
อุปสฺสยํ แปลว่า ก็บุคคลใดให้ที่พักพาอาศัย บุคคลนั้น ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ดังนี้.
บทว่า อมตํ ทโท จ โส โหติ อธิบายว่า เมื่อบุคคลยังบิณฑบาต
ให้เต็มด้วยโภชนะอันประณีต แล้วถวายอยู่ ชื่อว่า ให้ความไม่ตาย. บทว่า
โย ธมฺมมนุสาสติ อธิบายว่า บุคคลใด ย่อมพร่ำสอนธรรม ย่อมบอก
อรรถกถา ย่อมสอนบาลี ย่อมแก้ปัญหาที่ถามแล้ว ย่อมบอกกรรมฐาน
ย่อมทำธรรมสวนะ แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า ย่อมพร่ำสอนธรรม. อนึ่ง การให้

241
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 242 (เล่ม 24)

ธรรมนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นเลิศกว่าการให้ทั้งหมด ข้อนี้ สมจริง
ดังที่ตรัสไว้ว่า
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดี
ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.
จบอรรถกถากินททสูตรที่ ๒

242
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 243 (เล่ม 24)

๓. อันนสูตร
ว่าด้วยผลของการให้อาหาร
[๑๓๙] เทวดากราบทูลว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็
พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น เออ ก็ผู้ที่ไม่
พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้.
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้
อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นแลย่อม
พะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ
เหตุนั้น บุคคลพึงนำความตระหนี่
ออกไปเสีย พึงข่มความตระหนี่ซึ่งเป็น
ตัวมลทินแล้วให้ทาน เพราะบุญทั้งหลาย
เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า.

243
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 244 (เล่ม 24)

อรรถกถาอันนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอันนสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บทว่า อภินนฺทติ แปลว่า ย่อมปรารถนา. บทว่า ภชติ แปลว่า
ย่อมมาถึงเขา คือว่า อานิสงส์นั้นย่อมติดตามไปข้างหลัง ราวกะอานิสงส์ที่ติดตาม
จิตตคหบดี และพระสีวลีเถระเป็นต้น. บทว่า ตสฺมา อธิบายว่า เพราะ
การให้อาหารนั่นแหละ ย่อมงามไปในโลกนี้และในโลกหน้า เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลพึงนำความตระหนี่ออก พึงข่มความ
ตระหนี่ซึ่งเป็นมลทินแล้วให้ทาน. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอันนสูตรที่ ๓

244
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 245 (เล่ม 24)

๔. เอกมูลสูตร
ว่าด้วยปริศนาธรรม
[๑๔๑] เทวดากราบทูลว่า
บาดาล มีรากอันเดียว มีความ
วนสอง มีมลทินสาม มีเครื่องลาดห้า เป็น
ทะเล หมุนไปได้สิบสองด้าน ฤาษีข้ามพ้น
แล้ว.
อรรถกถาเอกมูลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเอกมูลสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
บทว่า เอกมูลํ ได้แก่อวิชชาเป็นราก (มูล) แห่งตัณหา ทั้งตัณหา
ก็เป็นราก (มูล) แห่งอวิชชา แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาตัณหา. ก็ตัณหานั้น
ย่อมหมุนเป็นไปสองอย่าง คือ ด้วยสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ เพราะเหตุนั้น
ตัณหานั้น จึงชื่อว่า มีความหมุนเป็นสอง. ตัณหานั้น ชื่อว่า มีมลทินสาม
มีราคะเป็นต้น. โมหะ ก็ชื่อว่ามีมลทินในที่นั้นเพราะเป็นเงื่อนแห่งสหชาตของ
ตัณหานั้น. ราคะโทสะ มีกามคุณห้าเป็นเครื่องลาดของตัณหานั้น เพราะเป็น
เงื่อนแห่งอุปนิสสยะ (คือที่อาศัยอย่างมั่นคง). ตัณหานั้นแหละแผ่ไปในธรรม

245
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 246 (เล่ม 24)

เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีเครื่องลาด ๕. ก็ตัณหานั่นแหละ ชื่อว่า
เป็นสมุทร (ทะเล) เพราะอรรถว่า ไม่รู้จักเต็ม. ตัณหานั้น ย่อมหมุนเวียน
เปลี่ยนไปในอายตนะ ๑๒ ทั้งภายในและภายนอก เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น
จึงชื่อว่าหมุนไปได้ ๑๒ ด้าน. ก็ตัณหานั้น ท่านเรียกว่า บาดาล เพราะ
อรรถว่า ไม่ตั้งมั่น. ฤาษีข้ามแล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ย่อมก้าวล่วงซึ่งบาดาล
(ตัณหา) นั้นซึ่งมีรากเดียว ฯลฯ.
จบอรรถกถาเอกมูลสูตรที่ ๔

246
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 247 (เล่ม 24)

๕. อโนมิยสูตร
ว่าด้วยเทวดาสรรเสริญ
[๑๔๒] เทวดากราบทูลว่า
ท่านทั้งหลายเชิญดูพระพุทธเจ้าพระ-
องค์นั้น ผู้มีพระนามไม่ทราม ผู้ทรงเห็น
ประโยชน์อันละเอียด ผู้ให้ซึ่งปัญญา
ไม่ทรงข้องอยู่ในอาลัยคือกาม ตรัสรู้ธรรม
ทุกอย่าง มีพระปรีชาดี ทรงก้าวไปในทาง
อันประเสริฐ ผู้ทรงแสวงคุณอันใหญ่.
อรรถกถาอโนมิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอโนมิยสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า อโนมนามํ อธิบายว่า มีพระนามอันไม่บกพร่อง มีพระนาม
บริบูรณ์ เพราะความที่พระองค์ทรงประกอบด้วยคุณทั้งปวง. บทว่า นิปุณตฺถ-
ทสฺสํ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์ทั้งหลายละเอียดโดยมี
ความแตกต่างกันแห่งขันธ์เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงเห็นประโยชน์
อันละเอียด. บทว่า ปญฺญาททํ อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้ให้ซึ่งปัญญา เพราะสามารถ

247
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 248 (เล่ม 24)

บอกปฏิปทาเพื่อให้บรรลุถึงปัญญา. บทว่า กามาลเย อสตฺตํ ได้แก่ ไม่ทรง
ข้องในอาลัย คือกามคุณ ๕. บทว่า กมมานํ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถึงความผ่องใสที่มหาโพธิ์นั่นแหละ ด้วยอริยมรรค มิใช่ทรงถึงใน
บัดนี้. ก็คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาอดีตกาล. บทว่า มเหสึ ได้แก่ ผู้ค้นหา
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ คือ สีลขันธ์เป็นต้น ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอโนมิยสูตรที่ ๕

248
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 249 (เล่ม 24)

๖. อัจฉราสูตร
ว่าด้วยยานไปพระนิพพาน
[๑๔๓] เทวดาทูลถามว่า
ป่าชัฏชื่อโมหนะ อันหมู่นางอัปสร
ประโคมแล้ว อันหมู่ปีศาจสิงอยู่แล้ว
ทำไฉนจึงจะหนีไปได้.
[๑๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้น
ชื่อว่าไม่มีภัย รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง ประ-
กอบด้วยล้อคือธรรม หิริเป็นฝาของรถนั้น
สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น เรากล่าวธรรม
มีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถี ยานชนิด
นี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม
เขา (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วย
ยานนี้แหละ.

249
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 250 (เล่ม 24)

อรรถกถาอัจฉราสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัจฉราสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า อจฺฉราคณสงฺฆุฏฺฐํ ความว่า ได้ยินว่า เทวบุตรนี้บวชใน
พระศาสนาของพระศาสดา บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ ปวารณาแล้วในกาลแห่งตน
มีพรรษา ๕ ทำมาติกาทั้งสองให้แคล่วคล่องแล้ว ศึกษาแล้วถึงสิ่งที่ควรทำและ
ไม่ควรทำ เรียนพระกรรมฐานอันเป็นที่พอใจแล้ว เป็นผู้ประพฤติเบาพร้อม
เข้าไปสู่ป่า คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอนุญาตว่า มัชฌิมยามอันใด เป็นส่วน
แห่งการนอนดังนี้ แม้เมื่อมัชฌิมยามนั้นถึงพร้อมแล้ว เราก็ยังกลัวต่อความ
ประมาท ดังนี้ จึงสละเตียงนอนแล้ว พยายามทั้งกลางคืนและกลางวันทำ
กรรมฐานนั่นแหละไว้ในใจ.
ลำดับนั้น ลมทั้งหลายเพียงดังศัสตราเกิดขึ้นในภายในแห่งภิกษุนั้น
ทำลายชีวิตเสียแล้ว. ภิกษุนั้นได้ทำกาละในเพราะธุระ คือความเพียรนั่นแหละ.
อนึ่ง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จงกรมอยู่ในเพราะการจงกรมก็ตาม ยืนอยู่เพราะ
อาศัยส่วนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไว้ก็ตาม วางจีวรไว้ที่สุดแห่งที่จงกรมเหนือ
ศรีษะแล้วนั่งหรือนอนก็ตาม กำลังแสดงธรรมบนธรรมาสน์อันเขาตกแต่งใน
ท่ามกลางแห่งบริษัทก็ตาม ย่อมกระทำกาละ ภิกษุนั้นทั้งหมดชื่อว่ากระทำกาละ
ในเพราะธุระ คือความเพียร. แม้ภิกษุนี้ก็ทำกาละแล้ว ในที่เป็นที่จงกรม
เพราะความที่ตนเป็นผู้มีอุปนิสัยน้อยจึงยังมิได้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ได้ถือ
ปฏิสนธิในภพดาวดึงส์ที่ประตูวิมานใหญ่ ราวกะว่าหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น
อัตภาพของเทวบุตรนั้นมีสามคาวุตเกิดขึ้น เหมือนเสาระเนียดปิดทองในขณะ
นั้นนั่นแหละ. ภายในวิมานนางอัปสรประมาณหนึ่งพันเห็นเทวบุตรนั้น แล้ว

250