บะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเป็นอาหารดิบที่ชาวโลกรู้กันอยู่ จัดเป็นหุงต้ม ไม่ใช่อุ่น พระรับต้องอาบัติทุกกฏ
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต รับข้าวสารได้ ในกรณีนี้เท่านั้น เมื่อไปถึงหมู่บ้านปลายทางแล้วต้องสละออกทันที ฉะนั้น รับถูกต้องตามที่ทรงอนุญาตไว้ จึงจะเป็นกัปปิยะ ไม่ถูกต้องตามที่ทรงอนุญาตไว้ เป็นอกัปปิยะ
...มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียวต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ พึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน ต้องการเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไร ๆ เลย...
สอดคล้องกับ ข้อพระวินัยที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ 7 อย่าง เช่นเดียวกันกับข้อรับข้าวสาร แม้พระที่รับมาแล้วจะสละให้โรงครัวทำให้สุกก็ตาม (ทำให้เป็นกัปปิยะ) พระนั้นต้องอาบัติทุกกฏ และจะฉันบะหมี่นั้นไม่ได้เลย แต่รูปอื่นฉันได้ (เพระฉันของที่เป็นกัปปิยะแล้ว และก็ไม่ได้รับของที่เป็นอกัปปิยะนั้น)
แต่บางที่ ก็อธิบายว่า บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ผ่านขบวนการทำให้สุกมาแล้ว แล้วก็เอาพระวินัยข้ออนุญาตอุ่นภัตตาหาร มาประกบเข้าใส่ แล้วตีความว่า เป็นอุ่น ไม่ใช่หุงต้ม แต่ผู้เขียนเห็นว่า ขัดกับข้อที่กล่าวมาข้างต้น เพราะโดยปกติ คนจะไม่กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดิบ นอกจากนี้ยังทำให้ ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ และที่ไม่กิน ไม่ใช่ว่า "มันสุกแล้วเย็น" แต่ไม่กินเพราะ "มันดิบต้องต้ม" ฉะนั้น ก็ยอมรับและรับรู้กันอยู่ จึงจัดเป็นอาหารดิบที่ต้องต้มก่อนโดยธรรมชาติของมัน เมื่อนำมาฉีกซอง ใส่น้ำร้อนต้ม จัดเป็นหุงต้ม ไม่ใช่อุ่น
ถ้าอุ่นจะหมายถึง ช่วงเวลาอันสั้น คือ ดิบ -> ทำให้สุก -> เย็น -> เอาไปอุ่น โดยคงลักษณะเดิมไว้ ไม่ได้เอาอะไรใส่เพื่มเข้าไป อันนี้เรียกว่าอุ่น แต่ถ้าฉีกซองมาใหม่ ๆแล้วก็ต้ม อันนี้ไม่เรียกว่าอุ่น แต่เป็นหุงต้ม ฉะนั้น จึงไม่เข้าข้อที่ว่า อุ่น
การรับข้าวสาร เป็นพระวินัยที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะในบางคราวเท่านั้น ในคราวหนทางกันดาร อัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร เป็นเสบียงเดินทาง ไม่ใช่รับทั่วไปได้
ทายกควรฉลาดในการให้ ให้ของสมควร ดังที่ตรัสไว้ใน สัปปุริสทาน ถ้าให้อกัปปิยะวัตถุ (กรณีนี้เป็นทุกกฎวัตถุ) เป็นบาปด้วย ไม่ใช่ไม่บาป พระพุทธเจ้าตรัสเป็นตัวอย่างให้แล้ว ตรงนี้