No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 198 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุลฺลา มาลา ได้แก่ พวงดอกไม้. บทว่า
เตสชฺช ตัดเป็น เตสํ อชฺช. บทว่า เนตฺตึโส แก้เป็น อสิ. บทว่า
วิวตฺติสฺสติ แปลว่า จักตก. บทว่า อจิรา วต แปลว่า ไม่นานหนอ.
บทว่า น ผาเลติ แปลว่า ไม่แตก. บทว่า ตาว ทฬฺหพนฺธนญฺจ เม
อาสิ ความว่า จักมีเครื่องผูกมัดอันมั่นยิ่งนัก จักผูกมัดหทัยของเรา.
เมื่อพระนางจันทา คร่ำครวญอยู่อย่างนั้น การงานทุกอย่างในหลุม
ยัญสำเร็จแล้ว. อำมาตย์ทั้งหลายนำพระราชบุตรมาแล้ว ให้ก้มพระศอลงนั่ง
อยู่. กัณฑหาลพราหมณ์น้อมถาดทองคำเข้าไปใกล้แล้วหยิบดาบมาถือยืนอยู่
ด้วยหมายใจว่า เราจักตัดพระศอพระราชกุมาร พระนางจันทาเทวีเห็นดังนั้น
คิดว่า ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เราจักกระทำความสวัสดีของพระสวามีด้วยกำลัง
ความสัตย์ของเรา จึงประคองอัญชลีดำเนินไปในระหว่างแห่งที่ชุมนุมชนแล้ว
ทรงกระทำสัจกิริยา.
เมื่อเขาตกแต่งเครื่องบูชายัญทุกสิ่งแล้ว เมื่อพระ
จันทกุมารและพระสุริยกุมารประทับนั่ง เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญ พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราช
ประนมอัญชลีเสด็จดำเนินเวียนในระหว่างบริษัททั้ง
ปวงทรงกระทำสัจกิริยาว่า กัณฑหาละผู้มีปัญญาทราม
ได้กระทำกรรมอันชั่ว ด้วยความสัจจริงอันใด ด้วย
สัจจวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับพระสวามี
อมนุษย์เหล่าใดมีอยู่ในที่นี้ ยักษ์ สัตว์ ที่เกิดแล้วและ
สัตว์ที่จะมาเกิดก็ดี ขอจงกระทำความขวนขวายช่วย
เหลือข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับพระสวามี
เทวดาทั้งหลายที่มาแล้วในที่นี้ ปวงสัตว์ที่เกิดแล้วและ

198
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 199 (เล่ม 64)

สัตว์ที่จะมาเกิด ขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าผู้เสวงหาที่พึ่ง
ผู้ไร้ที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านทั้งหลาย ขออย่าให้
พวกข้าศึกชนะพระสวามีของข้าพเจ้าเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปกฺขตสฺมึ ความว่า เมื่อเขาจัดตก
แต่งเครื่องบูชายัญพร้อมทุกสิ่ง. บทว่า สมงฺคินี ความว่า ขอข้าพเจ้า จง
เป็นผู้ประกอบพร้อม คือประกอบเป็นอันเดียวกัน ได้แก่ เป็นผู้อยู่ร่วมกัน.
บทว่า เยธตฺถิ ตัดเป็น เย อิธ อตฺถิ ชนเหล่าใดมีอยู่ในที่นี้. บทว่า
ยกฺขภูตภพฺยานิ ความว่า ยักษ์กล่าวคือเทวดา ภูตกล่าวคือสัตว์ที่เจริญแล้ว
ดำรงอยู่ และเหล่าสัตว์ที่พึงเกิดกล่าวคือสัตว์ผู้เจริญในบัดนี้. บทว่า เวยฺยาวฏิกํ
ความว่า จงกระทำขวนขวายเพื่อข้าพเจ้า. ตายถ มํ ความว่า จงรักษาข้าพเจ้า.
บทว่า ยาจามิ โว ความว่า ข้าพเจ้าขอร้องท่านทั้งหลาย. บทว่า ปติมาหํ
ตัดเป็น ปติ อหํ. บทว่า อเชยฺยํ ความว่า ขอข้าศึกอย่าพึงชนะ คือไม่
ชนะ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับเสียงคร่ำครวญของพระนางจันทา
เทวีนั้นทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ในขณะนั้นนั่นเอง ฉวยเอาค้อนเหล็กอันลุกโพลง
แล้วเสด็จมาขู่พระราชาแล้ว ให้ปล่อยคนเหล่านั้นทั้งหมด.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
ท้าวสักกเทวราช ได้ทรงสดับเสียงคร่ำครวญ
ของพระนางจันทาเทวีนั้นแล้ว ทรงกวัดแกว่งค้อนยัง
ความกลัวให้เกิดแก่พระเจ้าเอกราชนั้นแล้ว ได้ตรัส
กะพระราชาว่า พระราชากาลี จงรู้ไว้อย่าให้เราตีเศียร
ของท่านด้วยค้อนเหล็กนี้ ท่านอย่าได้ฆ่าบุตรองค์ใหญ่

199
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 200 (เล่ม 64)

ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ พระราชากาลี
ท่านเคยเห็นที่ไหน ? คนผู้ปรารถนาสวรรค์ ฆ่าบุตร
ภรรยา เศรษฐี และคฤหบดีผู้ไม่คิดประทุษร้าย.
กัณฑหาลปุโรหิต และพระราชาได้ฟังพระดำรัส
ของท้าวสักกะ ได้เห็นรูปอันน่าอัศจรรย์แล้ว ให้เปลื้อง
เครื่องพันธนาการของสัตว์ทั้งปวง เหมือนดังเปลื้อง
เครื่องพันธนาการของคนผู้ไม่มีความชั่ว เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่ประชุมอยู่ ณ ที่
นั้นในกาลนั้นทุกคน เอาก้อนดินคนละก้อนทุ่มลง การ
ฆ่าซึ่งกัณฑหาลปุโรหิตได้มีแล้วด้วยประการดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมนฺสฺโส ได้แก่ ท้าวสักกเทวราช.
บทว่า พชฺฌสฺสุ แปลว่า ทรงรู้คือทรงกำหนด. บทว่า ราชกลิ ความว่า ดู
ก่อนพระราชาผู้กาลกิณี พระราชาผู้ลามก. บทว่า มา เตหํ ความว่า ดู
ก่อนพระราชาชั่ว ท่านจงรู้ อย่าให้เราดี คือประหารกระหม่อมของท่าน.
บทว่า โก เต ทิฏฺโฐ ความว่า ใครที่ไหน ที่ท่านเคยเห็น. ศัพท์ว่า หิ
ในบทว่า สคฺคกามา หิ นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ผู้ใคร่ต่อสวรรค์
คือผู้ปรารถนาสวรรค์. บทว่า ตํ สุตฺวา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กัณฑหาลปุโรหิตฟังคำแห่งท้าวสักกเทวราชแล้ว. บทว่า อพฺภูตมิทํ ความว่า
อนึ่งพระราชาทรงเห็นแล้วซึ่งการแสดงรูปแห่งท้าวสักกเทวราชนี้อันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยมีมาก่อนเลย. บทว่า ยถา ตํ ความว่า ให้ปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวง
เหมือนเปลื้องคนหาความชั่วมิได้ฉะนั้น. บทว่า เอเกกเลฑฺฑุมกํสุ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายทั้งปวงมีประมาณเท่าใด ประชุมกัน

200
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 201 (เล่ม 64)

แทบหลุมยัญนั้นกระทำเสียงเอิกเกริก ได้ให้การประหารกัณฑหาลปุโรหิตด้วย
ก้อนดินคนละก้อน. บทว่า เอส วโธ ความว่า นั่นได้เป็นกาฆ่ากัณฑหาล-
ปุโรหิต. อธิบายว่า ให้กัณฑหาลปุโรหิตถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นนั่นเอง.
ส่วนมหาชน ครั้นฆ่ากัณฑหาลพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เริ่มเพื่อจะฆ่าพระ-
ราชา. พระโพธิสัตว์สวมกอดพระราชบิดาไว้แล้ว มิได้ประทานให้เขาฆ่า.
มหาชนกล่าวว่า เราจะให้แต่ชีวิตเท่านั้นแก่พระราชาชั่วนั้น แต่พวกเราจะไม่
ยอมให้ฉัตรและที่อยู่อาลัยในพระนครแก่พระราชานั่น เราจักทำพระราชาให้
เป็นคนจัณฑาลแล้วให้ไปอยู่เสียภายนอกพระนคร แล้วก็ให้นำออกเสียซึ่งเครื่อง
ทรงสำหรับพระราชา ให้ทรงผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด ให้โพกพระเศียร ด้วยท่อน
ผ้าย้อมด้วยขมิ้น กระทำให้เป็นจัณฑาลแล้ว ส่งไปสู่ที่เป็นอยู่ของคนจัณฑาล.
ส่วนคนพวกใด บูชายัญอันประกอบด้วยการฆ่าปศุสัตว์ก็ดี ใช้ให้บูชาก็ดี
พลอยยินดีตามก็ดี ชนเหล่านั้นได้เป็นคนมีนิรยาบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทั้ง
สิ้นทีเดียว.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
คนทำกรรมชั่วโดยวิธีใดแล้ว ต้องตกนรกทั้ง
หมด คนทำกรรมชั่วแล้ว ไปจากโลกนี้ไม่ได้สุคติเลย.
แม้มหาชนเหล่านั้น ครั้นนำคนกาลกิณีทั้งสองนั้นออกไปแล้ว ก็นำมา
ซึ่งเครื่องอุปกรณ์แห่งพิธีอภิเษก แล้วทรงอภิเษกพระจันทกุมารในที่นั้นนั้น
นั่นเอง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว
ผู้ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือพระราชา

201
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 202 (เล่ม 64)

ทั้งหลายประชุมนักอภิเษกจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้งปวง
หลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมกันอยู่ ณ
ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทวดาทั้งหลายประชุมพร้อมกัน
อภิเษกพระจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจาก
เครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น
ในกาลนั้น คือ เทพกัญญาทั้งหลาย ประชุมพร้อมกัน
อภิเษกพระจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจาก
เครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่ประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น ใน
กาลนั้น คือ พระราชาทั้งหลายประชุมพร้อมกัน ต่าง
แกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่อง
จองจำแล้ว ผู้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น คือ ราช
กัญญาทั้งหลาย ประชุมพร้อมกันต่างก็แกว่งผ้าและ
โบกธง เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพันจากเครื่องจองจำแล้ว
ผู้ที่มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น ในกาลนั้น คือ เทพ-
บุตรทั้งหลาย ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง
เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มา
ประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทพกัญญา
ทั้งหลาย ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง เมื่อ
สัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ชนเป็นอัน
มากต่างก็รื่นรมย์ยินดี พวกเขาได้ประกาศความยินดี
ในเวลาที่พระจันทกุมารเสด็จเข้าสู่พระนคร และได้
ประกาศความหลุดพ้นจากเครื่องจองจำของสัตว์ทั้ง
ปวง.

202
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 203 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชปริสา จ ความว่า ฝ่ายบริษัทแห่ง
พระราชาทั้งหลาย ก็ได้ถวายน้ำอภิเษกกะพระจันทกุมารนั้น ด้วยสังข์ทั้ง ๓.
บทว่า ราชกญฺญาโย ความว่า แม้ขัตติยราชธิดาทั้งหลายก็ถวายน้ำอภิเษก
พระจันทกุมาร. บทว่า เทวปริสา ความว่า ท้าวสักกเทวราช ก็ถือสังข์
วิชัยยุตรถวายน้ำอภิเษกพร้อมด้วยเทพบริษัท. บทว่า เทวกญฺญาโย ความ
ว่า แม้นางสุชาดาเทพธิดา พร้อมด้วยนางเทพกัญญาทั้งหลาย ก็ถวายน้ำ
อภิเษก. บทว่า เจลุกฺเขปมกรุํ ความว่า ได้ให้ยกธงทั้งหลายพร้อมผ้าสี
ต่าง ๆ ชักขึ้นซึ่งผ้าห่มทั้งหลายทำให้เป็นแผ่นผ้าในอากาศ. บทว่า ราชปริสา
ความว่า ราชบริษัททั้งหลาย และอีก ๓ เหล่า (คือราชกัญญา เทวบริษัท
เทพกัญญา) ซึ่งเป็นผู้กระทำอภิเษกพระจันทกุมาร รวมเป็นสี่หมู่ด้วยกัน ได้
กระทำการชัก โบกผ้าและธงนั่นแล. บทว่า อานนฺทิโน อหุวาทึสุ ความ
ว่า คนทั้งหลายผู้บันเทิงทั่ว บันเทิงยิ่งแล้ว. บทว่า นนฺทิปฺปเวสนครํ
ความว่า คนทั้งหลายผู้บันเทิงร่าเริงทั่วแล้ว ในกาลที่พระจันทกุมารเสด็จเข้า
สู่พระนครให้กั้นฉัตร แล้วตีกลองอานันทเถรีร้องประกาศไปทั่วพระนคร. ถาม
ว่า เพื่อประโยชน์อะไร ? แก้ว่า พระจันทกุมารของเราทั้งหลายพ้นแล้วจาก
เครื่องจองจำฉันใด คนทั้งปวงหลุดพ้นจากการจองจำฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พนฺธโมกฺโข อโฆสถ ได้ประกาศการพ้นจากเครื่อง
จำดังนี้.
ลำดับนั้นแล พระโพธิสัตว์ทรงเริ่มตั้งวัตรปฏิบัติต่อพระราชบิดา.
พระราชบิดาไม่ได้เสด็จเข้าสู่พระนคร. ในกาลเมื่อเสบียงอาหารสิ้นไป พระ-
โพธิสัตว์ ก็เสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่กิจต่าง ๆ มีการเล่นสวนเป็นต้น ก็เข้าไป
เฝ้าพระราชบิดานั้น แต่ก็มิได้ถวายบังคม. ฝ่ายพระเจ้าเอกราชกระทำอัญชลี

203
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 204 (เล่ม 64)

แล้วตรัสว่า ขอพระองค์จงทรงมีพระชนม์ยืนนาน พระเจ้าข้า. เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ตรัสถามว่า พระบิดาต้องประสงค์ด้วยสิ่งใด พระเจ้าเอกราชจึงทูล
ความปรารถนาแล้ว. พระโพธิสัตว์ก็โปรดให้ถวายค่าจับจ่ายใช้สอยแก่พระ-
ราชบิดา. พระโพธิสัตว์นั้นครองราชสมบัติโดยเที่ยงธรรมแล้ว ในกาลเป็นที่สุด
แห่งอายุก็ได้เสด็จไปยังเทวโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ประกาศ
อริยสัจแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น
แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตพยายามเพื่อฆ่าคนเป็นอันมาก เพราะอาศัยเราแม้
ผู้เดียว ดังนี้แล้วจึงทรงประชุมชาดก. กัณฑหาลพราหมณ์ ในกาลนั้น ได้
เป็นพระเทวทัต พระนางโคตมีเทวี เป็นพระมหามายา พระนางจันทาเทวี
เป็นราหุลมารดา พระวสุละ เป็นพระราหุล พระเสลากุมารี เป็นอุบลวรรณา
พระสุรกุมาร เป็นพระอานนท์ พระรามโคตตะ๑ เป็นกัสสปะ พระภัททเสนเป็น
โมคคัลลานะ พระสุริยกุมารเป็นพระสารีบุตร ท้าวสักกเทวราช เป็นอนุรุทธะ
บริษัทในกาลนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระจันทกุมารนั้น คือเราสัมมา-
สัมพุทธะดังนี้แล.
จบอรรถกถาจันทกุมารชาดกที่ ๗
๑. บาลีเป็น วามโคตตะ

204
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 205 (เล่ม 64)

๘. มหานารทกัสสปชาดก
พระมหานารทกัสสปทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
[๘๓๔] พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า อังคติ
เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ ทรงมีพระราชยาน
พระราชทรัพย์มากมาย ทรงมีพลนิกายเหลือที่จะนับ
ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ ขณะปฐมยาม
พระองค์ประชุมเหล่าอำมาตย์ราชบัณฑิต ผู้ถึงพร้อม
ด้วยการศึกษาเล่าเรียน เฉลียวฉลาด ผู้ที่ทรงเคยรู้จัก
ทั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑
สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตอำมาตย์ ๑ แล้วตรัสถามตาม
ลำดับว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวไปตามความพอใจของ
ตน ๆ ว่า ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์
แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้เราทั้งหลายพึงยังฤดูเช่นนี้
ให้เป็นไปด้วยความยินดีอะไร.
[๘๓๕] ลำดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่
พระราชาว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง
จัดพลช้าง พลม้า พลเสนา จะนำชายฉกรรจ์ออกรบ
พวกใดยังไม่มาสู่อำนาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็จะ
นำมาสู่อำนาจ นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า
เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะผู้ที่เรายังไม่ชนะ (ขอเดชะ

205
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 206 (เล่ม 64)

ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยการรบ นี้เป็นเพียงความ
ความคิดของข้าพระพุทธเจ้า).
[๘๓๖] สุนามอำมาตย์ได้ฟังคำของอลาตเสนาบดี
แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวกศัตรู
ของพระองค์มาสู่พระราชอำนาจหมดแล้ว ต่างพากัน
วางศัสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้เป็นวัน
มหรสพสนุกสนานยิ่ง การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบ
ใจ ชนทั้งหลายจงรีบนำข้าวน้ำ และของควรเคี้ยวมา
เพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์
ด้วยกามคุณ และในการฟ้อนรำขับร้องการประโคม
เถิด พระเจ้าข้า.
[๘๓๗] วิชยอำมาตย์ได้ฟังคำของสุนามอำมาตย์
แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กามคุณทุก
อย่างบำเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิด
เพลินด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้โดยไม่
ยากเลย ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์กามคุณ
ทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระบาท วันนี้
เราทั้งหลายควรพากันไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้
เป็นพหูสูตรู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่าน
จะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่า.
[๘๓๘] พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับคำของวิชย-
อำมาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า ตามที่วิชยอำมาตย์พูดว่า วันนี้
เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์

206
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 207 (เล่ม 64)

ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่ง
ท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่านั้น แม้
เราก็ชอบใจ ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ทุกท่านจงลงมติว่า วันนี้
เราทั้งหลายควรจะเข้าไปหาใครผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้ง
อรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณซึ่งพึงกำจัดความสงสัยของ
พวกเราได้.
[๘๓๙] อลาตเสนาบดี ได้ฟังพระดำรัสของ
พระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า มีอเจลกที่โลก
สมมติว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน อเจลกผู้นี้
ชื่อว่าคุณะ ผู้กัสสปโคตรเป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ
เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ขอเดชะ เราทั้งหลายควรเข้าไป
หาเธอ เธอจักกำจัดความสงสัยของเราทั้งหลายได้.
[๘๔๐] พระราชาได้ทรงสดับคำของอลาตเสนา-
บดีแล้ว ได้ตรัสสั่งสารถีว่า เราจะไปยังมฤคทายวัน
ท่านจงนำยานเทียมม้ามาที่นี่.
[๘๔๑] พวกนายสารถีได้จัดพระราชยาน อัน
ล้วนแล้วไปด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถ
พระที่นั่งรองอันขาวผุดผ่อง ดังพระจันทร์ในราตรี ที่
ปราศจากมลทินโทษ มาถวายแก่พระราชา รถนั้น
เทียมด้วยม้าสินธพสี่ตัว ล้วนมีสีดังสีดอกโกมุท เป็น
ม้ามีฝีเท้าเร็วดังลมพัด วิ่งเรียบประดับด้วยดอกไม้
ทอง พระกลด ราชรถม้า และวีชนี ล้วนมีสีขาว
พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จออกย่อม

207