No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 208 (เล่ม 64)

งดงามดังพระจันทร์ หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญขี่
บนหลังม้าถือหอกดาบตามเสด็จ พระเจ้าวิเทหราช
มหากษัตริย์พระองค์นั้น เสด็จถึงมฤคทายวันโดยครู่
เดียว เสด็จลงจากราชยานแล้วทรงดำเนินเข้าไปหา
คุณาชีวก พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ก็ในกาลนั้น มี
พราหมณ์และคฤหบดีมาประชุมกันอยู่ในพระราช-
อุทยานนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพระราชา
มิให้ลุกหนีไป.
[๘๔๒] ลำดับนั้น พระราชาเสด็จเข้าไปประทับ
นั่งเหนืออาสนะ อันปูลาดด้วยพระยี่ภู่มีสัมผัสอ่อนนิ่ม
ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทรงปราศรัยไต่ถามทุกข์สุข
ว่า ผู้เป็นเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กำเริบเสียดแทง
หรือ ผู้เป็นเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยไม่ฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑ-
บาตพอเยียวยาชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ ผู้เป็นเจ้ามีอาพาธ
น้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปจากปรกติหรือ.
[๘๔๓] คุณชีวกทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหราช
ผู้ทรงยินดีในวินัยว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระ-
พุทธเจ้าสบายดีอยู่ทุกประการ บ้านเมืองของพระองค์
ไม่กำเริบหรือ ช้างม้าของพระองค์หาโรคมิได้หรือ
พาหนะยังพอเป็นไปแหละหรือ พยาธิไม่มีมาเบียด
เบียนพระสรีระของพระองค์แลหรือ.
[๘๔๔] เมื่อคุณาชีวกทูลปราศรัยแล้ว ทันทีนั้น
พระราชาผู้เป็นจอมทัพ ทรงใคร่ธรรมได้ตรัสถาม

208
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 209 (เล่ม 64)

อรรถธรรมและเหตุว่าท่านกัสสปะ นรชนพึงประพฤติ
ธรรมในมารดาและบิดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมใน
อาจารย์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรและภรรยา
อย่างไร พึงประพฤติธรรมในวุฒิบุคคลอย่างไร พึง
ประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์อย่างไร พึง
ประพฤติธรรมในพลนิกายอย่างไร และพึงประพฤติ
ธรรมในชนบทอย่างไร ชนทั้งหลายประพฤติธรรม
อย่างไรละโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวก
ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมไฉนจึงตกลงไปในนรก.
[๘๔๕] คุณาชีวกกัสสปโคตร ได้ฟังพระดำรัส
ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชา ขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของ
พระองค์ ผลแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วเป็นบุญเป็นบาป
ไม่มี ขอเดชะ ปรโลกไม่มี ใครเล่าจากปรโลกนั้นมา
ในโลกนี้ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดาจักมีที่ไหนขึ้น
ชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้ สัตว์เสมอ
กันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มีกำลัง
หรือความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความหมั่นจักได้รับผลแต่ที่
ไหน สัตว์ที่เกิดตามกันมา เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือ
ใหญ่ สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรได้ ในข้อนั้น ผลทานจักมีแต่
ที่ไหน ผลทานไม่มี ความเพียรไม่มีอำนาจ ทานคนโง่
บัญญัติไว้ คนฉลาดรับทาน คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาด
เป็นผู้ไม่มีอำนาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.

209
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 210 (เล่ม 64)

[๘๔๖] รูปกายอันเป็นที่รวม ดิน น้ำ ลม ไฟ
สุข ทุกข์และชีวิต ๘ ประการนี้ เป็นของเที่ยง ไม่
ขาดสูญ ไม่กำเริบ รูปกาย ๗ ประการนี้ ของสัตว์
เหล่าใด ชื่อว่าขาดไม่มี ผู้ที่ถูกฆ่าหรือถูกตัด หรือ
เบียดเบียนใครๆ ไม่มี ศัสตราทั้งหลายพึงเป็นไปใน
ระหว่างรูปกาย ๓ ประการนี้ ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วย
ดาบอันคม ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดร่างกายเหล่านั้น ในการ
ทำเช่นนั้น ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน สัตว์ทุกจำพวกท่อง
เที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง
เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะสำรวมด้วยดีก็บริสุทธิ์ไม่ได้
เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะประพฤติความดีมากมาย
ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าแม่กระทำบาปมากมาย ก็ไม่ล่วง
ขณะนั้นไป ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์
ย่อมมีได้โดยลำดับเมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราไม่ล่วงเลย
เขตอันแน่นอนนั้นเหมือนคลื่นไม่ล่วงเลยฝั่งไป ฉะนั้น.
[๘๔๗] อลาตเสนาบดีได้ฟังคำของคุณาชีวก
กัสสปโคตรแล้วได้กล่าวขึ้นว่า ท่านผู้เจริญกล่าวฉันใด
คำนั้นข้าพเจ้าชอบใจฉันนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติ
หนหลังของตนได้ชาติหนึ่ง คือในชาติก่อนข้าพเจ้า
เกิดในเมืองพาราณสีอันเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นนายพราน
ฆ่าโค ชื่อปิงคละ ข้าพเจ้าได้ทำบาปกรรมไว้มาก ได้
ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต คือ กระบือ สุกร แพะ เป็นอันมาก
ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในตระกูลเสนาบดี
อันบริบูรณ์นี้ บาปไม่มีผลแน่ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องไปนรก.

210
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 211 (เล่ม 64)

[๘๔๘] ครั้งนั้น ในมิถิลานครนี้ มีคนเข็ญใจ
เป็นทาสเขาผู้หนึ่ง ชื่อวีชกะ รักษาอุโบสถศีล ได้เข้า
ไปยังสำนักของคุณาชีวกได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวก
และอลาตเสนาบดีกล่าวกันอยู่ ถอนหายใจฮึดฮัด
ร้องไห้น้ำตาไหล.
[๘๔๙] พระเจ้าวิเทหรา ได้ตรัสถามนายวีชกะ
นั้นว่า สหายเอ๋ย เจ้าร้องไห้ทำไม เจ้าได้ฟังได้เห็น
อะไรมาหรือ เจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้
เราทราบ.
[๘๕๐] นายวีชกะได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้า
วิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่มีทุกข-
เวทนาเลย ข้าแต่พระมหาราชา ขอได้ทรงพระกรุณา
ฟังข้าพระพุทธเจ้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึง
ความสุขสบายของตนในชาติก่อนได้ คือ ในชาติก่อน
ข้าพระพุทธเจ้าเกิดเป็นภาวเศรษฐียินดีในคุณธรรมอยู่
ในเมืองสาเกต ข้าพระพุทธเจ้านั้นอบรมตนดีแล้ว ยิน
ดีในการบริจาคทานแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
มีการงานอันสะอาด ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบาป-
กรรมที่ตนกระทำแล้วไม่ได้เลย.
ข้าแต่พระเจ้าวิเทหราช ข้าพระพุทธเจ้าจุติจาก
ชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภทาสีหญิง
ขัดสนในมิถิลามหานครนี้ จำเดิมแต่เวลาที่เกิดแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าก็ยากจนเรื่อยมา แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะ

211
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 212 (เล่ม 64)

เป็นคนยากจนอย่างนี้ก็ตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ
ได้ให้อาหารกึ่งหนึ่ง แก่ท่านที่ปรารถนา ได้รักษา
อุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ทุกเมื่อ ไม่ได้เบียด
เบียนสัตว์และไม่ได้ลักทรัพย์เลย กรรมทั้งปวงที่
ข้าพระพุทธเจ้าประพฤติดีแล้วนั้นไร้ผลเป็นแน่ ศีลนี้
เห็นจะไร้ประโยชน์ เหมือนอลาตเสนาบดีกล่าว ข้า
พระพุทธเจ้ากำเอาแต่ความปราชัยไว้ เหมือนนักเลง
ผู้มิได้ฝึกหัดฉะนั้นเป็นแน่ ส่วนอลาตเสนาบดีย่อมกำ
เอาแต่ชัยชนะไว้ ดังนักเลงผู้ชำนาญการพนัน ฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นประตูอันเป็นเหตุไปสู่สุคติเลย
ข้าแต่พระมหาราชา เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกแล้ว จึงร้องไห้.
[๘๕๑] พระเจ้าอังคติราชทรงสดับคำของนาย
วีชกะแล้ว ได้ตรัสว่า ประตูสุคติไม่มี ยังสงสัยอยู่อีก
หรือวีชกะ ได้ยินว่า สุขหรือทุกข์สัตว์ย่อมได้เองแน่
นอน สัตว์ทั้งปวงหมดจดได้ด้วยการเวียนเกิดเวียน
ตาย เมื่อยังไม่ถึงเวลาอย่ารีบด่วนไปเลย เมื่อก่อนแม้
เราก็เป็นผู้กระทำความดี ขวนขวายในพราหมณ์และ
คฤหบดีทั้งหลาย อนุศาสน์ราชกิจอยู่เนือง ๆ งดเว้น
จากความยินดีในกามคุณตลอดกาลประมาณเท่านี้.
[๘๕๒] ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายจะได้พบกัน
อีก ถ้าเราทั้งหลายจักมีการสมาคมกัน (เมื่อผลบุญ
ไม่มี จะมีประโยชน์อะไรด้วยการพบท่าน) พระเจ้า

212
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 213 (เล่ม 64)

วิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จกลับไปยังพระราช
นิเวศน์ของพระองค์.
[๘๕๓] ตั้งแต่รุ่งสว่าง พระเจ้าอังคติราชรับสั่ง
ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ในที่ประทับสำราญพระองค์
แล้วตรัสว่า จงจัดกามคุณทั้งหลายเพื่อเราไว้ในจันทก-
ปราสาทของเราทุกเมื่อ เมื่อข้อราชการลับและเปิดเผย
เกิดขึ้น ใคร ๆ อย่าเข้ามาหาเรา อำมาตย์ผู้ฉลาดใน
ราชกิจ ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑
อลาตเสนาบดี ๑ จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านั้น
พระเจ้าวิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า ท่าน
ทั้งหลายจงใส่ใจกามคุณให้มาก ไม่ต้องขวนขวายใน
พราหมณ์ คฤหบดี และกิจการอะไรเลย.
[๘๕๔] ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันที่ ๑๔ ราชกัญญา
พระนามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาที่โปรดปรานของ
พระเจ้าวิเทหราช ได้ตรัสกะพระพี่เลี้ยงว่า ขอท่าน
ทั้งหลายช่วยประดับให้ฉันด้วย และหญิงสหายทั้ง
หลายของเราก็จงประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์
ฉันจะไปเฝ้าพระชนกนาถ พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัด
มาลัย แก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดาและผ้า
ต่างๆ สี อันมีค่ามาก มาถวายแก่พระนางรุจาราช-
กัญญา หญิงบริวารเป็นอันมาก ห้อมล้อมพระนางรุจา
ราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณงามผุดผ่อง ประทับนั่งอยู่บน
ตั่งทอง งามโสภาราวกะนางเทพกัญญา.

213
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 214 (เล่ม 64)

[๘๕๕] ก็พระนางรุจาราชธิดานั้น ประดับด้วย
เครื่องสรรพาภรณ์เสด็จไป ณ ท่ามกลางหญิงสหาย
เพียงดังสายฟ้าแลบออกจากเมฆ เสด็จเข้าสู่จันทก-
ปราสาท พระราชธิดาเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช
ถวายบังคมพระชนกนาถ ผู้ทรงยินดีในวินัย แล้ว
ประทับอยู่ ณ ตั่งอันวิจิตรด้วยทองคำส่วนหนึ่ง.
[๘๕๖] ก็พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็น
พระนางรุจาราชธิดาผู้ประทับอยู่ท่ามกลางหญิงสหาย
ซึ่งเป็นดังสมาคมแห่งนางเทพอัปสร จึงตรัสถามว่า
ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาทและยังประพาสอยู่ใน
อุทยานเล่นน้ำในสระโบกขรณีเพลิดเพลินอยู่หรือ เขา
ยังนำของเสวยมากอย่างมาให้ลูกหญิงเสมอหรือ ลูก-
หญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้ต่างๆ ชนิด
มาร้อยพวงมาลัยและยังช่วยกันทำเรือนหลังเล็ก ๆ เล่น
เพลิดเพลินอยู่หรือ ลูกหญิงขาดแคลนอะไรบ้าง เขา
รีบนำสิ่งของมาให้ทันใจลูกอยู่หรือ ลูกรักผู้มีพักตร์
อันผ่องใส จงบอกความชอบใจแก่พ่อเถิด แม่สิ่งนั้น
จะเสมอดวงจันทร์ พ่อก็จักให้เกิดแก่ลูกจนได้.
[๘๕๗] พระนางรุจาราชธิดา ได้สดับพระดำรัส
ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหา
ราชา กระหม่อมฉันย่อมได้สั่งของทุก ๆ อย่างในสำนัก
ของทูลกระหม่อม พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ขอราช
บุรุษทั้งหลายจงนำพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาให้กระ-
หม่อมฉันจักให้ทานแก่วณิพกทั้งปวงตามที่ให้มาแล้ว.

214
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 215 (เล่ม 64)

[๘๕๘] พระเจ้าอังคติราชได้สดับพระดำรัสของ
พระนางรุจาราชธิดาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทำทรัพย์ให้
พินาศเสียเป็นอันมาก หาผลประโยชน์มิได้ ลูกหญิง
ยังรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์อยู่
ลูกหญิงไม่พึงบริโภคข้าวน้ำนั้นเป็นนิตย์ เพราะบุญ
ไม่มีจากการไม่บริโภคนั้น แม้วีชกบุรุษได้ฟังคำของ
คุณาชีวกกัสสปโคตรในกาลนั้น แล้วถอนหายใจ
ฮึดฮัด ร้องไห้น้ำตาไหล ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบเท่าที่
ลูกยังมีชีวิตอยู่ อย่าอดอาหารเลย ปรโลกไม่มี ลูกหญิง
จะลำบากไปทำไม ไร้ประโยชน์.
[๘๕๙] พระนางรุจาราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณ
งดงาม ทรงทราบกฏธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต
ชาติ ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว
กราบทูลพระชนกนาถว่า แต่ก่อนกระหม่อมฉันได้
ฟังมาเท่านั้น กระหม่อมฉันเห็นประจักษ์เองข้อนี้ว่า
ผู้ใดเข้าไปเสพคนพาล ผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลง
อาศัยคนหลงย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น อลาตเสนาบดี
และนายวีชกะสมควรจะหลง.
[๘๖๐] ขอเดชะ ส่วนพระองค์มีพระปรีชา ทรง
เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดรู้ซึ่งอรรถ จะทรงเป็นเช่น
กับพวกคนพาล เข้าถึงซึ่งทิฏฐิอันเลวได้อย่างไร ก็ถ้า
สัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
การบวชของคุณาชีวกก็ไม่มีประโยชน์ คุณาชีวกเป็น
คนหลงงมงาย ย่อมถึงความเป็นคนเปลือย เหมือน

215
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 216 (เล่ม 64)

ตั๊กแตนหลงบินเข้ากองไฟ ฉะนั้นคนเป็นอันมากผู้ไม่
รู้อะไร ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกว่า ความหมดจด
ย่อมไม่มีได้ด้วยสังสารวัฏ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว
จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม โทษคือความ
ฉิบหายที่ยึดไว้ผิดในเบื้องต้น ก็ยากที่จะเปลื้องได้
เหมือนปลาติดเบ็ด ยากที่จะเปลื้องตนออกจากเบ็ดได้
ฉะนั้น.
[๘๖๑] ข้าแต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันจักยก
ตัวอย่างมาเปรียบถวายเพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อม
บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้บางพวกย่อมรู้เนื้อความได้
ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนเรือของพ่อค้า บรรทุกสินค้า
หนักเกินประมาณ ย่อมนำสินค้าอันหนักยิ่งไปจมลง
ในมหาสมุทร ฉันใด นรชนสั่งสมบาปกรรมทีละน้อย ๆ
ก็ย่อมพาเอาบาปอันหนักยิ่ง ไปจมลงในนรก ฉะนั้น
ทูลกระหม่อมเพคะ อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดี
ยังไม่บริบูรณ์ก่อน อลาตเสนาบดียังสั่งสมบาปอันเป็น
เหตุให้ไปสู่ทุคติอยู่ ขอเดชะการที่อลาตเสนาบดีได้รับ
ความสุขอยู่ในบัดนี้ เป็นผลบุญที่ตนได้ทำไว้แล้วใน
ปางก่อนนั่นเอง บุญของอลาตเสนาบดีนั้นจะหมดสิ้น
อลาตเสนาบดีจึงมายินดีในอกุศลกรรมอันไม่ใช่คุณ
หลีกละทางตรงเดินไปตามทางอ้อม นรชนสั่งสมบุญ
ไว้แม้ทีละน้อยๆ ย่อมไปสู่เทวโลก เหมือนวีชกบุรุษ
ผู้เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม ย่อมมุ่งไปสู่สวรรค์ได้

216
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 217 (เล่ม 64)

เปรียบเหมือนตาชั่งที่กำลังชั่งของ ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง
เมื่อเอาของหนักออกเสีย ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้นฉะนั้น.
นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะ
ได้เสพบาปกรรม ที่ตนกระทำไว้ในปางก่อน บาป
ของเขาจะหมดสิ้น เขาจึงมายินดีในวินัยอย่างนั้น ทูล
กระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก ทรงดำเนินทาง
ผิดเลยเพคะ.
[๘๖๒] ข้าแต่พระราชบิดา บุคคลคบคนเช่น
ใดๆ เป็นบุรุษผู้มีศีลหรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขาย่อม
ตกอยู่ในอำนาจของผู้นั้น บุคคลกระทำคนเช่นใด
ให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อม
เป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
ได้ ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัย
ผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง
ฉะนั้น.
นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามกเป็นสหาย
เพราะกลัวจะแปดเปื้อน การเสพคนพาล ย่อมเป็น
เหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่น
เหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น ส่วนการคบหาสมาคมกับนัก
ปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม
แม่ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังรบไม้สำหรับห่อ

217