No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 188 (เล่ม 64)

ภรรยาของเจ้าจงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็น
สามีเลย ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ฆ่าพระกุมาร
ทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวง ภรรยาของ
เจ้าจงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็นสามีเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมํ มยฺหํ ความว่า ความโศกเศร้าใจ
ของเรานี้ จัดเป็นทุกข์. บทว่า ปฏิมุญฺจตุ ความว่า จงเข้าไป คือจงถึง.
บทว่า โย ฆาเตสิ ความว่า เจ้าใดย่อมฆ่า. บทว่า อเปกฺขิเต ความว่า
เจ้าย่อมฆ่าผู้ที่ชาวโลกทั้งปวงหวังอยู่ คือปรากฏอยู่.
พระโพธิสัตว์เมื่อทูลวิงวอนที่หลุมยัญ จึงกล่าวว่า
ขอเดชะ อย่าได้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย
โปรดทรงพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นทาส
ของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่า ข้าพระ-
องค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้างและ
ม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสีย
เลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็น
ทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้า-
พระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูล
ช้างให้เขา ขอเดชะ โปรดพระราชทานข้าพระองค์
ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระ-
เจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วย
โซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรง
ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทาน

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 189 (เล่ม 64)

ข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิต
ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด พระเจ้าข้า ถึงแม้
ว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็
จะเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต ขอเดชะ หญิงทั้งหลายผู้
ปรารถนาบุตร แม้จะเป็นคนยากจน ย่อมวอนขอบุตร
ต่อเทพเจ้า หญิงบางพวกละปฏิภาณแล้ว ไม่ได้บุตร
ก็มี หญิงเหล่านั้น ย่อมกระทำความหวังว่า ขอลูก
ทั้งหลายจงเกิดแก่เรา แต่นั้นขอหลานจงเกิดอีก ข้า
แต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์รับสั่งให้ฆ่าข้าพระ-
องค์ทั้งหลาย เพื่อต้องการทรงบูชายัญ โดยเหตุอัน
ไม่สมควร ข้าแต่สมเด็จพระบิดา คนทั้งหลายเขาได้
ลูกเพราะความวิงวอนของเทพเจ้า ขอพระองค์อย่ารับ
สั่งให้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเลย อย่าทรงบูชายัญนี้
ด้วยบุตรทั้งหลายที่ได้มาโดยยากเลยพระเจ้าข้า ข้าแต่
สมเด็จพระบิดา คนทั้งหลายเขาได้บุตร เพราะความ
วิงวอนเทพเจ้า ขอพระองค์อย่ารับสั่ง ให้ฆ่าข้าพระ
องค์ทั้งหลายเลยพระเจ้าข้า ขอได้ทรงพระกรุณาโปรด
อย่าได้พรากข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้เป็นบุตรที่ได้มา
ด้วยความยากจากพระมารดาเลยพระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺยํ ความว่า แต่ก่อนพระองค์ผู้
สมมติเทพ นารีทั้งหลายผู้ไร้บุตรแม้เป็นผู้ยากจน เป็นผู้มีความต้องการบุตร
นำบรรณาการเป็นอันมาก ไปวอนขอเทพเจ้าว่า ขอเราจักได้ซึ่งลูกหญิง
หรือลูกชายดังนี้. บทว่า ปฏิภาณานิปิ หิตฺวา ความว่า แม้ละแล้ว

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 190 (เล่ม 64)

คือไม่ได้แล้วซึ่งการตั้งครรภ์ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช
ก็ครรภ์ของนารีทั้งหลาย ผู้ไม่ได้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมซูบซีดไป ฉิบ
หายไป. ในบรรดาหญิงเหล่านั้น บางพวกเมื่อไม่ได้บุตรก็ขอ, บางนางได้แล้วละ
การตั้งครรภ์ แล้วไม่บริโภค ก็ไม่ได้ซึ่งบุตร, บางนางเมื่อไม่ได้ความตั้งครรภ์
ก็ไม่ได้ซึ่งบุตร แต่มารดาของข้าพระบาท ได้แล้วซึ่งการตั้งครรภ์และบริโภค
และมิได้ปล่อยให้ครรภ์ที่เกิดขึ้นแล้ว พินาศไปเสีย จึงได้บุตรทั้งหลาย. พระราช
กุมารทรงวิงวอนว่า ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลาย อันเป็นราชบุตร
ที่ได้มาด้วยประการฉะนี้. บทว่า อสฺสาสกานิ ความว่า ข้าแต่มหาราช
สัตว์เหล่านี้ย่อมกระทำความหวังว่า อย่างไร ขอบุตรทั้งหลายจงเกิดแก่เรา.
บทว่า ตโต จ ปุตฺตา ความว่า ขอบุตรทั้งหลายจงเกิดแม้แก่บุตรทั้งหลาย
ของเราด้วย. บทว่า อถ โน อการณสฺมา ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์
ได้ชื่อว่า ฆ่าพวกข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญด้วยเหตุอันไม่
สมควรเลย. บทว่า อุปยาจิตเกน ได้แก่ ด้วยความวิงวอนเทพทั้งหลาย.
บทว่า กปณลทฺธเกหิ พระราชโอรสตรัสว่า ขอพระองค์จงอย่าได้กระทำ
ความพลัดพรากจากมารดาของพวกข้าพระองค์ กับพวกข้าพระองค์ ซึ่งเป็น
บุตรที่มารดาได้มาด้วยความยากเลย และจงอย่าทำความพลัดพรากข้าพระ-
องค์กับมารดาเลย.
พระจันทกุมาร แม้เมื่อทูลวิงวอนด้วยอาการอย่างนี้ ก็ไม่ตอบอะไร ๆ
จึงหมอบลงแทบบาทมูลของพระมารดา พลางปริเทวนาการกล่าวว่า
ข้าแต่พระมารดา พระมารดาย่อมย่อยยับ เพราะ
ทรงเลี้ยงลูกจันทกุมาร มาด้วยความลำบาก ลูกขอ
กราบพระบาทพระมารดา ขอพระราชบิดา จงทรง

190
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 191 (เล่ม 64)

ได้ปรโลกอันสมบูรณ์เถิด เชิญพระมารดาทรงสวม-
กอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทให้ลูกได้กราบไหว้
ลูกจะจากไป ณ บัดนี้ เพื่อประโยชน์แก่ยัญของพระ
ราชบิดาเอกราช เชิญพระมารดาสวมกอดลูก แล้ว
ประทานพระยุคลบาทให้ลูกกราบไหว้ ลูกจะจากไป
ณ บัดนี้ ทำความโศกเศร้าพระทัยให้พระมารดา
เชิญพระมารดาสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคล-
บาท ให้ลูกกราบไหว้ ลูกจะจากไป ณ บัดนี้ ทำ
ความโศกเศร้าใจให้แก่ประชุมชน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุทุกฺขโปสิยา ความว่า พระมารดา
ทรงเลี้ยงลูกมาโดยความลำบากมาก. บทว่า จนฺทํ ความว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า
พระองค์ทรงเลี้ยงซึ่งบุตรคือพระจันทกุมาร ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้พระแม่เจ้า
ย่อมทรงชราลง. บทว่า ลภตํ ตาโต ปรโลกํ ความว่า ขอพระราชบิดา
ของข้าพระองค์ จงได้ปรโลกอันสมบูรณ์ด้วยโภคะเถิด. บทว่า อุปคุยฺห
ความว่า จงสวมกอด คือโอบกอด. บทว่า ปวาสํ ความว่า เป็นการพลัดพราก
จากไปอย่างแท้จริง โดยมิได้หวนกลับมาอีก.
ลำดับนั้น พระมารดาของจันทกุมาร เมื่อจะทรงปริเทวนาการ จึง
ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า
ดูก่อนลูกโคตมีมาเถิดเจ้าจงรัดเมาลีด้วยใบบัว จง
ประดับดอกไม้อันแซมด้วยกลีบจำปา นี่เป็นปรกติของ
เจ้ามาแต่ก่อน มาเถิด เจ้าจงไล้ทาเครื่องลูบไล้ คือ
จุรณจันทน์แดงของเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย. เจ้าลูบไล้ด้วย
จุรณจันทน์แดงนั้นดีแล้ว ย่อมงดงามในราชบริษัท มา

191
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 192 (เล่ม 64)

เถิด เจ้าจงนุ่งผ้ากาสิกพัสตร์ อันเป็นผ้าเนื้อละเอียด
เป็นครั้งสุดท้าย ครั้นนุ่งผ้ากาสิพัสตร์นั้นแล้ว ย่อม
งดงามในบริษัท เชิญเจ้าประดับหัตถาภรณ์ อันเป็น
เครื่องประดับทองคำฝังแก้วมุกดาและแก้วมณี เจ้า
ประดับด้วยหัตถาภรณ์นั้นแล้วย่อมงดงามในบริษัท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทุมปตฺตานํ ความว่า ซึ่งเครื่อง
ประดับอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปทุมปัตตเวฐนะผ้าโพกสำหรับรัดเมาลีทำด้วยใบบัว
พระนางโคตมี ทรงพระประสงค์เอาเครื่องประดับนั้นนั่นแล จึงตรัสอย่างนั้น
อธิบายว่า เจ้าจงรวบขึ้นซึ่งเมาลีของเจ้าอันกระจัดกระจายแล้วจงพันด้วย
ปทุมปัตตเวฐนะ. ทรงเรียกพระจันทกุมารด้วยคำว่า โคตมิปุตฺต. บทว่า
จมฺปกทลมิสฺสาโย ความว่า เจ้าจงประดับระเบียบดอกไม้นานาชนิด
อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น แซมด้วยกลีบจำปาสอดสลับ ณ ภายใน. ด้วยบทว่า
เอสา เต นี้พระนางพร่ำว่า นี้เป็นปกติของเจ้ามาแต่ครั้งก่อน จงลูบไล้
เครื่องลูบไล้เครื่องจุรณจันทน์นั้นนั่นแลลูก. บทว่า เยหิ จ ความว่า เ จ้าลูบไล้
ด้วยเครื่องลูบไล้คือจันทน์แดงเหล่าใดแล้ว เจ้าจะงดงามในราชบริษัท เจ้าจงลูบ
ไล้ด้วยเครื่องลูบคือจุรณจันทน์แดงเหล่านั้นเถิด. บทว่า กาสิกํ ได้แก่ ผ้ากาสิก-
พัสตร์ อันมีค่าแสนหนึ่ง. บทว่า คณฺหสฺส ความว่า จงประดับ.
บัดนี้ พระนางจันทา ผู้เป็นอัครมเหสีของพระจันทกุมาร หมอบลง
แทบบาททูลของพระราชา พลางร่ำไรกล่าวว่า
พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองรัฐ ผู้เป็นทายาทของ
ชนบท เป็นเจ้าโลกองค์นี้ จักไม่ทรงยังความสิเนหาให้
เกิดในบุตรแน่ละหรือ.

192
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 193 (เล่ม 64)

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสพระคาถาว่า
ลูกทั้งหลายเป็นที่รักของเรา(ตนเองก็เป็นที่รัก)
อนึ่ง แม้เจ้าทั้งหลายผู้เป็นภรรยาก็เป็นที่รักของเรา แต่
เราปรารถนาสวรรค์ เหตุนั้นจึงได้ให้ฆ่าเจ้าทั้งหลาย.
เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้นว่า เพราะเหตุไรเราจึงไม่บังเกิดความรัก
ลูก แท้จริงบุตรทั้งหลายเป็นที่รักของเรา ไม่ใช่แต่พระโคตมีองค์เดียวเท่านั้น
แม้เราก็มีความรักบุตรทั้งหลาย ตนเองก็ดีก็เป็นที่รัก เจ้าทั้งหลายผู้เป็นสะใภ้
ก็ดี ภรรยาทั้งหลายก็ดี ก็เป็นที่รักของเราเหมือนกัน แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เรา
ปรารถนาซึ่งสวรรค์นั้น เพราะเหตุนั้น เราจักฆ่าเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ เจ้าอย่า
คิดไปเลย แม้เจ้าทั้งหลายของเราเหล่านั้น ก็ไปอยู่กับเราในเทวโลกทั้งสิ้น.
พระนางจันทาทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอจงทรงพระกรุณา
โปรดรับสั่งให้ฆ่าข้าพระบาทเสียก่อน ขอความทุกข์
อย่าได้ทำลายหทัยของข้าพระบาทเลย พระราชโอรส
ของพระองค์เป็นสุขุมาลชาติ ประดับแล้วงดงาม ข้าแต่
เจ้าชีวิต ขอได้โปรดฆ่าข้าพระบาทเสียก่อน ข้าพระ-
บาทจักเป็นผู้มีความโศกเศร้ากว่าจันทกุมาร ขอ
พระองค์จงทรงทำบุญให้ไพบูลย์ ข้าพระบาททั้งสอง
จะเที่ยวไปในปรโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฐมํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์จงทรงฆ่าข้าพระบาทก่อนกว่าพระสวามีของข้าพระบาท. บทว่า
ทุกฺขํ ความว่า ทุกข์แต่ความตาย ของพระจันทกุมารนั้น ขออย่าได้ยังหัวใจ
๑. ในอรรถกถา เพิ่มคำว่า อตฺตา จ ตนเองก็เป็นที่รัก

193
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 194 (เล่ม 64)

ของข้าพระบาทให้แตกเสียเลย. บทว่า อลงฺกโต ความว่า ประดับแล้วด้วย
อาการอย่างนี้คือพระกุมารองค์นี้องค์เดียว เขาประดับตกแต่งแล้วสำหรับข้า-
พระบาท บทนี้ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ไม่ทรงรักใคร่ซึ่ง
พระราชบุตรองค์นี้ว่าเป็นลูกของเรา. บทว่า หนฺทยฺย ตัดบทเป็น หนฺท อยฺย.
พระนางพร่ำเพ้อพลางทูลอย่างนี้กะพระราชา. บทว่า สโสกา ความว่า เป็น
ไปกับด้วยความโศกเศร้ากับพระจันทกุมาร. บทว่า เหสฺสามิ แปลว่า จักเป็น.
บทว่า วิจราม อโภ ปรโลเก ความว่า ข้าพระองค์แลพระจันทกุมารอัน
พระองค์ให้ฆ่ารวมกัน แม้ข้าพระองค์ทั้งสองจะเสวยสุขเที่ยวไปในปรโลก
ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำอันตรายแก่สวรรค์ของข้าพระบาททั้งสองเลย.
พระราชาตรัสว่า
ดูก่อนจันทาผู้มีตางาม เจ้าอย่าชอบใจความตาย
เลยเมื่อโคตมีบุตรผู้อันเราบูชายัญแล้ว พี่ผัวน้องผัว
ของเจ้าเป็นอันมาก จักยังเจ้าให้รื่นรมย์ยินดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา ตฺวํ จนฺเท รุจิ ความว่า เจ้าอย่า
ชอบใจความตายของตนเลย. บาลีว่า มา รุทิ ดังนี้ก็มี ความว่า อย่าร้องไห้
ไปเลย. บทว่า เทวรา ความว่า พี่ผัวน้องผัวของเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ.
ต่อแต่นั้น พระศาสดาจึงตรัสกึ่งคาถาว่า
เมื่อพระราชาตรัสอย่างนั้นแล้ว พระนางจันทา
เทวีก็ร่ำไห้ตีพระองค์ด้วยฝ่าพระหัตถ์.
ต่อแต่นั้น พระนางก็ทรงรำพันว่า
ไม่มีประโยชน์อะไรด้วยชีวิต เราจักดื่มยาพิษ
ตายเสียในที่นี้ พระญาติและมิตรของพระราชาพระ

194
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 195 (เล่ม 64)

องค์นี้ผู้มีพระทัยดี ซึ่งจะกราบทูลทัดทานพระราชาว่า
อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพระราชโอรสอันเกิดแต่พระอุระเลย
ย่อมไม่มีเลย พระญาติและมิตรของพระราชาองค์นี้ผู้มี
พระทัยดี ซึ่งจะกราบทูลทัดทานพระราชาว่าอย่าได้รับ
สั่งให้ฆ่าพระราชโอรส อันเกิดแต่พระอุระพระองค์นี้
เลยย่อมไม่มีเป็นแน่ทีเดียว บุตรของข้าพระบาทเหล่านี้
ประดับพวงดอกไม้สวมกำไลทองต้นแขน ขอพระราชา
จงเอาบุตรของข้าพระบาทเหล่านั้นบูชายัญ แต่ขอพระ
ราชทานปล่อยโคตมีบุตรเถิด ข้าแต่พระมหาราชา ขอจง
ทรงตัดแบ่งข้าพระบาทให้เป็นร้อยส่วนแล้วทรงบูชายัญ
ในสถานที่ ๗ แห่ง อย่าทรงฆ่าพระราชโอรสองค์ใหญ่
ผู้ไม่ผิดไม่ประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์เลย ข้าแต่
พระมหาราชา ขอจงตัดแบ่งข้าพระบาทให้เป็นร้อย
ส่วนแล้วทรงบูชายัญในสถานที่ ๗ แห่ง อย่าได้ทรงฆ่า
พระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวงเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ ความว่า เมื่อพระเจ้าเอกราชตรัส
อย่างนั้น. ด้วยบทว่า หนฺติ พระนางทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
เหตุไรหรือพระองค์จึงตรัสเช่นนั้น แล้วทุบตีพระองค์ด้วยฝ่าพระหัตถ์. บทว่า
ปิสฺสามิ แปลว่า จักดื่ม. บทว่า อิเม เตปิ ความว่า ทรงจับมือ
เด็ดที่เหลือแม้เหล่านี้ตั้งต้นแต่วสุลกุมาร ประทับยืนอยู่ใกล้บาทมูลของพระราชา
แล้วได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า คุณิโน ความว่า ประกอบด้วยอาภรณ์คือ
กลุ่มดอกไม้. บทว่า กายุรธาริโน ความว่า ทรงไว้ซึ่งเครื่องประดับคือกำไล

195
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 196 (เล่ม 64)

ทอง. บทว่า วิลสตํ ความว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ฆ่าข้าพระบาท
แล้วแบ่งเป็นร้อยส่วน. บทว่า สตฺตธา ความว่า จงบูชายัญในที่ ๗ แห่ง.
ดังนั้น พระนางจันทาเทวีนั้น ทรงคร่ำครวญในสำนักพระราชาด้วย
คาถาเหล่านี้แล้ว เมื่อไม่ได้มีความโล่งใจจึงเสด็จไปสำนักพระโพธิสัตว์นั่นแล
แล้วยืนร่ำไรอยู่. ลำดับนั้น พระจันทกุมารตรัสแก่พระนางจันทาว่า ดูก่อน
จันทา เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ เราให้อาภรณ์แก่เจ้ามากมายมีแก้วมุกดาเป็นต้น
เมื่อเรื่องนั้นๆ เจ้าเล่า เจ้ากล่าวแล้วด้วยดี แต่วันนี้เราจะให้อาภรณ์อันประดับ
อยู่กับกายเรานี้ เป็นของเราให้อันท้ายที่สุด เจ้าจงรับอาภรณ์นี้ไว้.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
เครื่องประดับเป็นอันมากล้วนแต่ของดี ๆ คือ
มุกดา มณี แก้วไพฑูรย์เราให้แก่เจ้า เมื่อเจ้ากล่าว
คำดี นี้เป็นของที่เราให้แก่เจ้าครั้งสุดท้าย.
ฝ่ายพระนางจันทาเทวี ครั้นสดับคำพระสวามีแล้ว ก็พลางรำพัน
กล่าวด้วยคาถา ๙ คาถาอื่นจากนั้นว่า
เมื่อก่อนพวงมาลาบานเคยสวมที่พระศอของพระ
กุมารเหล่าใด วันนี้ ดาบที่เขาลับคมดีแล้ว จักฟันที่
พระศอของพระกุมารเหล่านั้น เมื่อก่อนพวงมาลาอัน
วิจิตรเคยสวมที่พระศอของพระกุมารเหล่าใด วันนี้
ดาบสอันลับคมดีแล้ว จักฟันที่พระศอของพระกุมาร
เหล่านั้น ไม่ช้าแล้วหนอ ดาบจักฟันที่พระศอของพระ
ราชบุตรทั้งหลาย ก็หทัยของเราจะไม่แตก แต่จะต้อง
มีเครื่องรัดอย่างมั่นคงเหลือเกิน พระจันทกุมารและ

196
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 197 (เล่ม 64)

พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันสะอาด ประดับ
กุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราช พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับ
กุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราชพระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาดประดับ
กุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เสด็จออกทำ
ความเศร้าพระหฤทัยแก่พระชนนี พระจันทกุมารและ
สุริยกุมารทรงผ้าแกว้นกาสีอันขาวสะอาดประดับกุณ-
ฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เสด็จออกทำ
ความเศร้าใจให้แก่ประชุมชน พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ
ช่างสนานสระสรงพระกายดีแล้วประดับกุณฑล ไล้ทา
กฤษณาและจุรณแก่นจันทน์เสด็จออก เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราช พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารปรุงด้วยรสเนื้อ
ช่างสนานสระสรงพระกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้
ทากฤษณาและจุรณจันทน์ เสด็จออกกระทำความเศร้า
พระทัยให้แก่พระชนนี พระจันทกุมารและพระสุริย-
กุมารเสวยพระกระยาหาร อันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่าง
สนานสระสรงกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์เสด็จออกกระทำความเศร้าใจให้แก่
ประชุมชน.

197