No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 178 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเต ปรสฺมึ ได้แก่ ในภายใน
พระราชวัง.
กัณฑหาลพราหมณ์มากล่าวอีกว่า
ข้าพระองค์ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียว การ
บูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ยินดีได้แสนยาก บัดนี้พระองค์
ทรงกระทำยัญ ที่ข้าพระองค์ตระเตรียมไว้แล้วให้
กระจัดกระจาย เพราะเหตุไร ชนเหล่าใดบูชายัญเอง
ก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี อนึ่ง ชนเหล่า
ใดอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ของบุคคลผู้บูชาอยู่ก็ดี ชน
เหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ.
ฝ่ายพระราชา ผู้มืดเขลา ก็ให้ราชบุรุษไปจับกุมพระราชบุตรทั้งหลาย
มาอีกครั้งหนึ่ง ตามคำของกัณฑหาลพราหมณ์. เพราะเหตุนั้นกัณฑหาล-
พราหมณ์ จึงคิดว่า พระราชาพระองค์นี้ใจอ่อน ประเดี๋ยวให้ปล่อย ประเดี๋ยว
ก็ให้จับพระราชบุตรทั้งหลาย พระองค์จะปล่อยพระราชบุตรทั้งหลายตามคำของ
ทารกทั้งหลายอีก อย่ากระนั้นเลยเราจะพาพระองค์ไปสู่หลุมยัญเสียเลย. ลำดับ
นั้นจึงกล่าวคาถา เพื่อจะให้พระองค์เสด็จไปในที่นั้นว่า
ข้าแต่สมเด็จพระเอกราช ข้าพระองค์ตระเตรียม
ยัญแล้วด้วยแก้วทุกอย่าง ตกแต่งไว้แล้วเพื่อพระองค์
ขอเดชะ เชิญเสด็จออกเถิด พระองค์ทรงบูชายัญแล้ว
เสด็จสู่สวรรค์ จักทรงบันเทิงพระหฤทัย.
ความแห่งคำเป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ยัญข้าพระองค์ตระเตรียม
แล้วด้วยแก้วทุกประการเพื่อพระองค์ บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์จะเสด็จ

178
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 179 (เล่ม 64)

ไป เพราะฉะนั้นจักเสด็จออกไปบูชายัญแล้วไปสู่สวรรค์ทรงบันเทิงพระหฤทัย.
ครั้นในเวลาที่เขาพาพระโพธิสัตว์ไปยังหลุมเป็นที่บูชายัญ นางห้ามทั้งหลาย
ของพระโพธิสัตว์นั้น. ก็ได้ออก (จากที่นี้) โดยพร้อมกัน.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า
หญิงสาว ๗๐๐ นาง ผู้เป็นชายาของพระจันท-
กุมาร ต่างสยายผมแล้วร้องไห้ ดำเนินไปตามทาง
ส่วนพวกหญิงอื่น ๆ ออกไปแล้วด้วยความเศร้าโศก
เหมือนเทวดาในนันทวัน ต่างก็สยายผมร้องไห้ไปตาม
ทาง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทเน วิย เทวา ความว่า เหมือน
เทวดาทั้งหลาย ห้อมล้อมเทพบุตร ผู้มีอันจุติเป็นธรรมดาในนันทวัน.
พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้น
กาสีอันขาวสะอาด ประดับด้วยกุณฑลไล้ทาด้วย
กฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป เพื่อ
บูชายัญของสมเด็จพระเอกราช พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันสะอาดประดุจ
กุณฑล ไล้ทาด้วยกฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราช
บุตรนำไป ทำความเศร้าพระหฤทัยให้แก่พระชนนี
พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสี
อันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทาด้วยกฤษณา และ
จุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป ทำความเศร้าใจให้
แก่ประชุมชน พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร

179
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 180 (เล่ม 64)

เสวยกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่างสนานสระสรง
พระกายให้ดีแล้ว ประดับกุณฑล ทำความเศร้าพระ-
หฤทัยให้แก่พระชนกชนนี พระจันทกุมารและพระ-
สุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่าง
สนานสระสรงพระกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทา
ด้วยกฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป ทำ
ความเศร้าใจให้แก่ประชุมชน. ในกาลก่อน พวกพล
ช้างย่อมตามเสด็จพระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ผู้
เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐวันนี้ พระจันทกุมาร
และพระสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์เสด็จดำเนินด้วย
พระบาทเปล่า ในกาลก่อน พวกพลม้า ย่อมตามเสด็จ
พระจันทกุมาร และพระสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นหลังม้า
ตัวประเสริฐ วันนี้ พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร
ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า ในกาล
ก่อน พวกพลรถย่อมเสด็จตามพระจันทกุมารและพระ-
สุริยกุมารผู้เสด็จขึ้นทรงรถอันประเสริฐ วันนี้ พระ
จันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จดำ-
เนินด้วยพระบาทเปล่า ในกาลก่อน พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ราชบุรุษนำเสด็จออกด้วยม้าทั้งหลาย
อันตบแต่งด้วยเครื่องทอง วันนี้ทั้งสองพระองค์ต้อง
เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า.

180
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 181 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสิกสุจิวตฺถธรา ความว่า พระจันท-
กุมารและพระสุริยกุมารทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด. บทว่า จนฺทสุริยา
ได้แก่ พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร. บทว่า นหาปกสุนหาตา ชื่อว่า
สนานสระสรงพระกายดี เพราะไล้ทาด้วยจุรณจันทน์ แล้วกระทำการประพรม
ด้วยเครื่องสนานทั้งหลาย. บทว่า เย อสฺสุ ในบท ยสฺสุ นี้เป็นเพียง
นิบาต. อธิบายว่า ซึ่งกุมารเหล่าใด. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า ในกาลก่อน
แต่นี้. บทว่า หตฺถิวรธุรคเต ได้แก่ ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐ คือ
ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐอันเขาประดับตกแต่งแล้ว. บทว่า อสสวร-
ธุรคเต แปลว่า ผู้ขึ้นสู่หลังม้าตัวประเสริฐ. บทว่า รถวรธุรคเต แปลว่า
ผู้เสด็จทรงท่ามกลางรถอันประเสริฐ. บทว่า นียึสุ แปลว่า ออกไปแล้ว.
เมื่อหญิงเหล่านั้น ปริเทวนาการอยู่อย่างนี้นั่นแล ราชบุรุษนำพระ-
โพธิสัตว์ออกจากพระนคร ในกาลนั้น ทั่วพระนครก็กำเริบขึ้น. ชาวนคร
ปรารภจะออก. เมื่อมหาชนกำลังออกไป ประตูทั้งหลายไม่เพียงพอ. พราหมณ์
เห็นคนมากเกินไป จึงคิดว่า ใครจะรู้ว่าเหตุอะไรจักเกิดขึ้น ก็สั่งให้ปิดประตู
พระนครเสีย มหาชนเมื่อจะออกไปไม่ได้ ก็พากันร้องอื้ออึ้งอยู่ใกล้ ๆ สวน
แห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ริมประตูภายในพระนคร ฝูงนกทั้งหลายพากันตกใจกลัว
ด้วยเสียงอื้ออึงนั้นก็บินขึ้นสู่อากาศ. มหาชนเรียกนกนั้น ๆ แล้วพร่ำเพ้อกล่าว
ว่า
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบนไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้
หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยราชโอรส ๔ พระองค์.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์.

181
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 182 (เล่ม 64)

นกเอ๋ยถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยพระมเหสี ๔ พระองค์.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช.
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยคฤหบดี ๔ คน.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยช้าง ๔ เชือก.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยม้า ๔ ตัว
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยโคอุสุภราช ๔ ตัว
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยสัตว์ทั้งปวงอย่างละ ๔.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มํสมิจฺฉสิ ความว่า นกผู้เจริญเอ๋ย
ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ. บทว่า อุยฺยสฺสุ ปุพฺเพน ปุปฺผวติยา ความว่า
เจ้าจงบินไปในที่ ๆ มีการปิดกั้นเพื่อบูชายัญ ทางทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร.
บทว่า ยชเตตฺถ ความว่า ในที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้หลงใหล พระองค์
ทรงเชื่อถ้อยคำของกัณฑหาลพราหมณ์ บูชายัญด้วยพระราชโอรส ๔ พระองค์
แม้ในคาถาที่เหลือพึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน.

182
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 183 (เล่ม 64)

มหาชนพากันคร่ำครวญในที่นั้นด้วยอาการอย่างนี้ จึงไปยังสถานที่อยู่
ของพระโพธิสัตว์ เมื่อกระทำประทักษิณปราสาท แลเห็นพระตำหนักเรือน
ยอดในภายในพระนคร และสถานที่ต่าง ๆ มีพระอุทยานเป็นต้น จึงกล่าว
คร่ำครวญอยู่ด้วยคาถาว่า
นี้ปราสาทของท่านล้วนด้วยทองคำภายในพระ-
ราชวัง น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้เรือนยอดของท่านล้วนแล้วด้วยทองคำ เกลื่อน
กล่นด้วยพวงมาลัย บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้พระอุทยานของท่าน มีดอกไม้บานสะพรั่ง
ตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ป่าอโศกของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอดกาล
ทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ป่ากรรณิการ์ของท่าน มีดอกบานสะพรั่ง
ตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ป่าแคฝอยของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอด
กาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใ จ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้สวนมะม่วงของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอด
กาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔

183
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 184 (เล่ม 64)

พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้สระโบกขรณีของท่าน ดารดาษไปด้วยดอก-
บัวหลวงและบัวขาบ มีเรือทองอันงดงามวิจิตด้วยลาย
เครือวัลย์ เป็นที่รื่นรมย์ดี บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระ-
องค์ถูกนำไปเพื่อจะฆ่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตทานิ ความว่า บัดนี้ พระลูกเจ้า
ทั้ง ๔ ของเรา มีพระจันทกุมารเป็นหัวหน้า ละทิ้งปราสาทเห็นปานนี้ ถูกนำ
ไปเพื่อจะฆ่า. บทว่า โสวณฺณวิกตา แปลว่า ขจิตด้วยทองคำ.
คนทั้งหลายพร่ำเพ้อในที่มีประมาณเท่านี้ จึงพากันไปสู่โรงช้างเป็นต้น
อีกแล้วกล่าวว่า
นี้ช้างแก้วของท่าน ชื่อเอราวัณ เป็นช้างมีกำลัง
บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้น ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ม้าแก้วของท่าน เป็นม้ามีกีบไม่แตก เป็นม้า
วิ่งได้เร็ว บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้น ถูกเขานำไป
เพื่อจะฆ่า
นี้รถม้าของท่าน มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนก
สาลิกา เป็นรถงดงามวิจิตรด้วยแก้ว พระลูกเจ้าเสด็จ
ไปในรถนี้ ย่อมงดงามดังเทพเจ้าในนันทวัน บัดนี้
พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้น ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จึงจักทรงบูชายัญ
ด้วยพระราชโอรส ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอทอง มี
พระวรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จึงจักทรงบูชายัญ
ด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอด้วยทอง มี
พระวรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 185 (เล่ม 64)

อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญ
ด้วยพระมเหสี ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอด้วยทอง มีพระ
วรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์.
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จึงจักบูชายัญด้วย
คฤหบดี ๔ คน ผู้งดงามเสมอด้วยทอง มีร่างกายไล้
ทาด้วยจุรณจันทน์ คามนิคมทั้งหลายจะว่างเปล่า ไม่
มีมนุษย์ กลายเป็นป่าใหญ่ไป ฉันใด เมื่อพระราชา
รับสั่งให้เอาพระจันทกุมารและสุริยกุมารบูชายัญ พระ-
นครปุปผวดีก็จักร้างว่างเปล่า ไม่มีมนุษย์ กลายเป็น
ป่าใหญ่ไป ฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอราวโณ นี้ เป็นชื่อของช้างนั้น.
บทว่า เอกขุโร ได้แก่ มีกีบไม่แตก. บทว่า สาลิยา วิย นิคฺโฆโส ความ
ว่า ในเวลาไป ประกอบด้วยเสียงกังวาลไพเราะ ดุจกังวานแห่งนกสาลิกา
ทั้งหลาย. บทว่า กถนฺนาม สามสมสุนฺทเรหิ ความว่า มีผิวเหลืองดัง
ทองคำ เสมอซึ่งกันและกันโดยกำเนิด ชื่อว่า งามเพราะปราศจากโทษ. บทว่า
จนฺทนมรุกตจฺเตหิ แปลว่ามีอวัยวะไล้ทาด้วยจันทน์แดง. บทว่า พฺรหา-
รญฺญา ความว่า คามและนิคมเหล่านั้นว่างไม่มีมนุษย์ กลายเป็นป่าใหญ่ฉันใด
เมื่อพระราชาทรงบูชายัญด้วยพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ แม้พระนครปุปผวดี
ก็จักร้างว่างเปล่าเป็นเสมือนป่าใหญ่ไปฉันนั้น.
คนเป็นอันมากนั้น เมื่อไม่ได้เพื่อจะออกไปภายนอก ก็พากันคร่ำ
ครวญเที่ยวไปภายในพระนครนั่นเอง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ถูกนำไปสู่หลุมที่
บูชายัญ. ลำดับนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงนามว่า โคตมีเทวี
ซบลงแทบบาทมูลของพระราชาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์
จงประทานชีวิตแก่บุตรทั้งหลายของข้าพระบาท ทรงกรรแสงพลางกล่าวว่า

185
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 186 (เล่ม 64)

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาทจักเป็น
บ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้ว มีสรีระเกลือกกลั้วด้วย
ธุลี ถ้าเขาฆ่าจันทกุมา ลมปราณของข้าพระบาทก็
จะแตกทำลาย ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระ-
บาทจักเป็นบ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้ว มีสรีระ
เกลือกกลั้วด้วยธุลี ถ้าเขาฆ่าสุริยกุมาร ลมปราณของ
ข้าพระบาทก็จะแตกทำลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูนหตา แปลว่า มีความเจริญถูกขจัด
แล้ว. บทว่า ปํสุนาว ปริกิณฺณา ความว่า ข้าพระบาท มีสรีระเหมือน
เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น จักเป็นบ้าเที่ยวไป.
พระนางโคตมีเทวี เมื่อคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ มิได้รับพระดำรัสอย่างไร
จากสำนักพระราชา จึงทรงกล่าวแก่พระสุณิสาทั้งหลายว่า ชรอยลูกเราโกรธ
เจ้าแล้วจึงจักไปเสียกระมัง เหตุไรเจ้าไม่ยังเขาให้กลับมา ทรงสวมกอดชายา
ทั้ง ๔ ของพระกุมารเข้าแล้ว ก็ทรงกล่าวคร่ำครวญว่า
สะใภ้เราเหล่านี้ คือ นางฆัฏฏิกา นางอุปริกขี
นางโปกขรณี และนางคายิกา ล้วนกล่าววาจาเป็นที่
รักแก่กันและกัน เพราะเหตุไร จึงไม่ฟ้อนรำขับร้อง
ให้จันทกุมาร และสุริยกุมารรื่นรมย์เล่า ใครอื่นที่จะ
เสมอด้วยนางทั้ง ๔ นั้นไม่มี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุมา น รมาเปยฺยุํ ความว่า
เพราะเหตุไร สะใภ้ทั้ง ๔ มีนางฆัฏฏิกาเป็นต้นนี้ จึงไม่พูดคำพึงใจแก่กัน
และกัน ฟ้อนรำขับร้อง ให้ราชโอรสทั้งสอง ของเราเพลิดเพลิน ไม่ให้เบื่อ
๑. อรรถกถาว่า โคปรักขี.

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 187 (เล่ม 64)

หน่าย อธิบายว่า จริงอยู่ ในการฟ้อนรำหรือขับร้อง ในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้
ใครอื่นที่จะเสมอด้วยนางทั้ง ๔ นี้ย่อมไม่มี.
พระนางทรงคร่ำครวญกะพระสุณิสาดังนี้แล้ว เมื่อไม่มองเห็นอุบาย
อันควรถืออย่างอื่น จึงทรงกล่าวคาถา ๘ คาถา แช่งด่ากัณฑหาลพราหมณ์ว่า
ดูก่อนกัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจใด ย่อมเกิด
มีแก่เรา ในเมื่อจันทกุมารถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า แม่
ของเจ้าจงได้ประสบความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อน
กัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่เรา ใน
เมื่อสุริยกุมารถูกเขานำไปจะฆ่า แม่ของเจ้าจงได้
ประสบความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อนเจ้ากัณฑ-
หาละ ความโศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่เรา ในเมื่อ
จันทกุมารถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่าภรรยาของเจ้าจงประสบ
ความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ ความ
โศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่เรา ในเมื่อสุริยกุมารถูก
เขานำไปเพื่อจะฆ่า ภรรยาของเจ้า จงได้ประสบความ
โศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ให้
ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจ
ดังราชสีห์ แม่ของเจ้าจงอยู่ได้เห็นพวกลูก ๆ และ
อย่าได้เห็นสามีเลย ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ให้
ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวง
แม่ของเจ้าจงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็น
สามีเลย ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมาร
ทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์

187