No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 91 (เล่ม 15)

นั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า อนฺตคฺคาหิกา เพราะเขายึดถือความขาดสูญ
อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐินั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
สนฺทิฏฺฐิปรามาสี เป็นต้น ดังต่อไปนี้- การเห็นด้วยตนเอง ชื่อว่า
สนฺทิฏฐิ ผู้ใดจับต้องยึดถือสันทิฏฐินั้นนั่นแลเที่ยวไป เหตุนั้น ผู้นั้น
ชื่อว่า สันทิฏฐิปรามาสี. การตั้งไว้ด้วยดี มั่นคงดี เรียกว่า อาธานะ.
ผู้ใดยึดถือไว้อย่างมั่นคง ผู้นั้นชื่อว่า อาธานัคคาหี. ผู้ใดไม่สามารถจะ
สละการ ยึดถือมั่นนั้น เหมือนอริฏฐะสามเณร เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า
ทุปปฏินิสสัคคี. ศัพท์ว่า ยทิเม ตัดเป็น ยทิ อิเม.
บทว่า อิธ นิโคฺรธ ตปสฺสี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงพระบาลีฝ่ายที่เศร้าหมอง คือทรงแสดงลัทธิที่พวกอัญญเดียรถีย์ถือเอา
ตบะที่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นรักษาว่าเป็นสิ่งเศร้าหมองทั้งหมดแล้ว บัดนี้
เพื่อแสดงบาลีฝ่ายบริสุทธิ์ เมื่อเริ่มเทศนา จึงตรัสว่า อิธ นิโคฺรธ
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อตฺตมโน เป็นต้น พึง
ทราบด้วยอำนาจบทที่ตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว. ในวาระบททุก ๆ บท
พึงประกอบข้อความด้วยอำนาจผู้มีตบะเศร้าหมองและผู้ทรงธุดงค์. บทว่า
เอวํ โส ตสฺมึ ฐาเน ปริสุทฺโธ โหติ ความว่า ผู้มีตบะนั้น เป็น
ผู้บริสุทธิ์ คือไร้อุปกิเลส เพราะมีความพอใจด้วยตบะนั้น ก็หาไม่
เพราะเหตุกล่าวคือความดำริบริบูรณ์ ก็หาไม่. ผู้มีตบะนี้ เมื่อพยายาม
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็เป็นผู้มีกรรมฐานบริสุทธิ์ ย่อมบรรลุพระอรหัตได้.
พึงทราบเนื้อความในวาระทุก ๆ บท โดยนัยนี้. บทว่า อทฺธา โข
ภนฺเต ความว่า ปริพาชกย่อมรู้ตามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
เป็นอย่างนี้ วาทะที่เกลียดบาปด้วยความเพียรย่อมบริสุทธิ์ โดยส่วน
เดียว. อนึ่ง ปริพาชกนั้นไม่รู้ยอดและแก่นอื่นจากนี้ จึงกล่าวว่า
อคฺคปฺปตฺตา สารปฺปตฺตา จ ดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

91
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 92 (เล่ม 15)

ทรงปฏิเสธวาทะนั้นเป็นแก่นสารแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสว่า น โข นิโคฺรธ
เป็นต้น.
บทว่า ปปฺปฏิกมตฺตา โหติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงแสดงว่า การเกลียดบาปด้วยตบะเห็นปานนี้ เป็นเช่นกับสะเก็ด
ภายนอกพ้นจากแก่น กระพี้ เปลือก ของต้นไม้มีแก่น.
บทว่า อคฺคํ ปาเปตุ ความว่า ย่อมทูลขอกะพระทศพลว่า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงให้ถึงยอด คือ โปรดแสดงให้ถึงแก่น
ด้วยอำนาจแห่งเทศนา.
บทว่า จาตุยามสํวรสํวุโต คือปิดแล้วด้วยความสำรวม ๔ อย่าง.
บทว่า น ปาณมติปาเปติ คือ ไม่เบียดเบียนสัตว์. บทว่า น ภาวิต-
มาสึสติ ความว่า กามคุณ ๕ อย่าง ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมา
เพราะกำหนดจดจำไว้ ไม่หวัง คือไม่เสพกามคุณเหล่านั้น. บทว่า
อทุญฺจสส โหติ ความว่า ข้อที่จะกล่าวในบัดนี้เป็นต้นว่า โส อภิหรติ
จึงเป็นลักษณะของเขา. บทว่า ตปสฺสิตาย คือ เพราะความเป็นผู้
มีตบะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส อภิหรติ ความว่า เขาย่อม
รักษาศีลนั้นให้ยิ่ง คือบำเพ็ญให้สูงยิ่งขึ้นไป ได้แก่ไม่ยอมละความ
เพียรว่า ศีลเราบริบูรณ์แล้ว ตบะเราเริ่มแล้ว พอละ ด้วยเหตุเพียงเท่า
นี้. บทว่า โน หินายาวตฺตติ ความว่า ไม่เวียนมาเพื่อความเป็น
คนเลว คือเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ ได้แก่ทำความเพียรเพื่อต้องการบรรลุ
คุณวิเศษยิ่งกว่าศีล. เขาเมื่อทำได้อย่างนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด.
บทว่า อรญฺญํ เป็นต้น มีพิสดารอยู่แล้วในสามัญญผลสูตร. บทว่า
เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น ท่านพรรณนาไว้ในวิสุทธิมรรค.
บทว่า ตจปฺปตฺตา คือถึงเปลือกภายในแต่สะเก็ด. บทว่า เผคฺ-
คุปฺปตฺตา คือถึงความเป็นกระพี้ภายในแต่เปลือก อธิบายว่า เป็นเช่น

92
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 93 (เล่ม 15)

กระพี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำว่า เอตฺตาวตา โข นิโคฺรธ ตโป-
ชิคฺจฺฉา อคฺคปฺปตฺตา จ โหติ สารปฺปตฺตา จ นี้ ด้วยอำนาจพวก
เดียรถีย์.
จริงอยู่ ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ เป็นเหมือนกับกิ่งไม้
และใบไม้. เพียงศีล ๕ เช่นสะเก็ดไม้. เพียงสมาบัติ ๘ เช่นเปลือกไม้.
ปุพเพนิวาสญาณและอภิญญาในที่สุด เช่นกระพี้. ก็พวกเดียรถีย์เหล่านั้น
ย่อมถือเอาทิพพจักขุว่าเป็นพระอรหัต. เพราะเหตุนั้น ความยึดถือนั้น
ของพวกเขา เช่นแก่นต้นไม้. ส่วนลาภและสักการะในพระศาสนา เป็น
เช่นกิ่งไม้และใบไม้. ความถึงพร้อมด้วยศีล เช่นกับสะเก็ด. ฌานและ
สมาบัติ เช่นกับเปลือก. โลกิยอภิญญาเช่นกระพี้. มรรคและผล
เป็นแก่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วย
ต้นไม้มีผลดกที่กิ่งน้อมลงและแผ่ออก ด้วยประการฉะนี้.
เพราะพระองค์ฉลาดในการแสดงเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นทรงเริ่มแสดงว่า อิติ โข นิโคฺรธ เป็นต้น เพื่อแสดงความ
แปลกแห่งเทศนาของพระองค์ว่า ศาสนาของเรายิ่งกว่า ประณีตกว่า
ความถึงพร้อมด้วยแก่นของท่านนั้น ท่านจักรู้ศาสนานั้นเมื่อไร.
บทว่า เต ปริพฺพาชกา ได้แก่ ปริพาชกจำนวน ๓,๐๐๐ คน
เหล่านั้น เป็นบริวารของเขา. บทว่า เอตฺถ มยํ น ปสฺสาม ได้แก่
ในบาลีมีแบบแผนอเจลกะเป็นต้นนี้. ท่านกล่าวว่า แม้แบบแผนอเจลกะ ก็
ไม่มีแก่เรา แบบแผนที่บริสุทธิ์จักมีแต่ที่ไหน แม้แบบแผนที่บริสุทธิ์ของพวก
เราก็ไม่มีในที่นั้น. ความสำรวม ๔ อย่างเป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้ความ
สำรวม ๔ อย่าง ก็ไม่มี การอยู่ป่าเป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้การอยู่ป่า ไม่มี
การละนิวรณ์เป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้การละนิวรณ์ ไม่มี แม้พรหมวิหาร
เป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้พรหมวิหารไม่มี ปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น

93
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 94 (เล่ม 15)

จักมีแต่ที่ไหน แม้ปุพเพนิวาสญาณ ไม่มี ทิพพจักขุของพวกเราจักมีแต่
ที่ไหน พวกเราพร้อมทั้งอาจารย์ฉิบหายในที่นี้. บทว่า อิโต ภิยฺโย
อุตฺตรีตรํ ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า พวกเรายังไม่รู้ชัด
การบรรลุคุณวิเศษอื่นที่ยิ่งไปกว่าการบรรลุทิพพจักขุญาณนี้ แม้ด้วยอำนาจ
การฟัง.
บทว่า อถ นิโคฺรธํ ปริพฺพาชกํ ความว่า สันธานคฤหบดี
นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ปริพาชกเหล่านี้ ตั้งใจฟังภาษิตของพระผู้มี
พระภาคเจ้าในบัดนี้ ก็นิโครธปริพาชกนี้ ได้กล่าวคำจ้วงจาบอย่างกัก-
ขฬะลับหลังพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้ ปริพาชกนี้ได้เกิดอยากฟัง บัดนี้
เป็นกาลที่จะลดธงคือมานะของปริพาชกนี้ลงแล้ว ยกพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้น ลำดับนั้น เขาจึงได้พูดคำนั้นกะนิโครธปริพาชก
และแม้สันธานคฤหบดีนั้นก็ได้มีความคิดอื่นอีกว่า ปริพาชกนี้ เมื่อเราไม่
พูด ก็จักไม่ขอขมาพระศาสดา และการไม่ขอโทษนั้น จักเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เขา ในอนาคต แต่เมื่อเราพูดแล้ว
เขาจักขอขมา การขอขมานั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความ
สุขแก่เขาตลอดกาลนาน ดังนี้ ทีนั้น เขาจึงได้กล่าวคำนั้นกะนิโครธ-
ปริพาชก. ศัพท์ว่า ปน ในคำว่า อปริสาวจรํ ปน นํ กโรถ นี้
เป็นนิบาต. ความว่า ก็พวกท่านจงทำพระองค์ท่านไม่ให้กล้าเสด็จเที่ยว
ไปในที่ประชุม. บาลีว่า อปริสาวจเรตํ ดังนี้ ก็มี. อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมนั้นไม่ให้กล้าเที่ยวไปในที่ประ
ชุม หรือจงทำให้เป็นเหมือนแม่โคตาบอดเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง. แม้
ในคำว่า โคกาณํ น มีอธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมให้
เป็นเหมือนโคตาบอดเที่ยววนเวียนไป ฉะนั้น. บทว่า ตุณฺหีภูโต คือ

94
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 95 (เล่ม 15)

เข้าถึงความเป็นผู้นิ่ง. บทว่า มงฺกุภูโต คือ หมดอำนาจ. บทว่า
ปตฺตกฺขนฺโธ คือคอตก. บทว่า อโธมุโข คือ ก้มหน้า.
บทว่า พุทฺโธ โส ภควา สมฺโพธาย ความว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสรู้เองแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายรู้อริยสัจ ๔ ด้วย.
บทว่า ทนฺโต คือ ฝึกทางจักษุบ้าง ฯลฯ ฝึกทางใจบ้าง. บทว่า ทมถาย
ได้แก่ เพื่อต้องการฝึกสัตว์เหล่าอื่น หาใช่เพื่อวาทะ.
บทว่า สนฺโต ได้แก่ ทรงสงบแล้ว เพราะมีราคะสงบระงับ
คือทรงสงบ เพราะมีโทสะ และโมหะสงบ เพราะมีอกุศลธรรมทั้งปวง
และอภิสังขารทั้งปวงสงบ. บทว่า สมถาย คือทรงแสดงธรรมเพื่อให้
มหาชนมีราคะเป็นต้นสงบ. บทว่า ติณฺโณ คือ ข้ามพ้นโอฆะ ๔ อย่าง
ได้. บทว่า ตรณาย คือ เพื่อต้องการจะให้มหาชนผ่านพ้นโอฆะ. บท
ว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ เป็นผู้ดับแล้วด้วยกิเลสนิพพาน. บทว่า ปรินิพฺ-
พานาย ได้แก่ ทรงแสดงธรรม เพื่อต้องการให้มหาชนดับกิเลสทุกอย่าง
ได้หมด.
บทว่า อจฺจโย เป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วในสามัญญผลสูตร.
บทว่า อุชุชาติโก ได้แก่ เว้นจากความคดทางกายเป็นต้น มีความ
ซื่อตรงเป็นสภาพ. บทว่า อหมนุสาสามิ ความว่า เราจะสั่งสอน
บุคคลเช่นท่าน และจะแสดงธรรมแก่บุคคลเช่นท่านนั้น. บทว่า สตฺตาหํ
คือตลอดเจ็ดวัน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงบุคคลผู้มีปัญญาทึบ จึง
ตรัสคำนี้ทั้งหมด. ก็ บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเป็นคนตรง จัก
สามารถบรรลุพระอรหัตได้ โดยกาลครู่เดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า คนผู้โอ้อวด คดโกง เราไม่สามารถ
สอนได้ ดังนี้ ด้วยคำเป็นต้นว่า อสฐํ ดังนี้ จึงเหมือนทรงจับปริพาชก
ที่เท้า ขว้างไปที่เชิงเขาพระสุเมรุ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า

95
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 96 (เล่ม 15)

เพราะปริพาชกผู้นี้โอ้อวดเหลือเกิน มีจิตใจคดโกง. แม้เมื่อพระศาสดา
ตรัสอยู่อย่างนี้ ปริพาชกก็ไม่น้อมใจไปในพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์ ไม่เงี่ยโสตไปเพื่อความเป็นผู้น้อมใจไป คงอยู่ในความหลอก
ลวง ขอขมาพระศาสดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
อัธยาศัยของเธอ จึงตรัสว่า เราก็ไม่สามารถสอนคนโอ้อวดได้.
บทว่า อนฺเตวาสิกมฺยตา ได้แก่ อยากได้อันเตวาสิก คือ
ปรารถนาพวกเราเป็นอันเตวาสิก. บทว่า เอวมาเห ได้แก่ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสคำว่า บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด จงมา เป็นต้น. บทว่า โยเอว
โว อาจริโย ความว่า ผู้ใด ตามปกติเป็นอาจารย์ของท่าน. บทว่า
อุทฺเทสา โน จาเวตุกาโม ความว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้
เราถือคำสอนของพระองค์ แล้วให้พวกเราเคลื่อนจากอุเทศของพวกเรา.
บทว่า โสเยว โว อุทิเทโส โหตุ ความว่า ตามปกติ อุเทศใดเป็น
อุเทศของท่าน อุเทศนั้นก็เป็นอุเทศของท่านนั่นแหละ เราไม่มีความ
ต้องการด้วยอุเทศของท่าน. บทว่า อาชีวา คือจากความเป็นอยู่. บท
ว่า อกุสลสงฺขาตา คือถึงส่วนว่าอกุศล. บทว่า อกุสลา ธมฺมา
ได้แก่ ธรรมคือความเกิดแห่งอกุศลจิต ๑๒ ดวง อีกอย่างหนึ่ง โดยพิ
เศษ ก็ได้แก่ตัณหานั่นเอง. แท้จริง ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า โปโนพฺภวิกา เพราะทำให้เกิดอีก. บทว่า สทรถา
คือประกอบด้วยความกระวนกระวายด้วยกิเลส. บทว่า ชาติชรามรณิยา
คือเป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และมรณะ. บทว่า สงฺกิเลสิกา ธมฺมา คือ
ถือความเกิดแห่งอกุศลจิต ๑๒ ดวง. บทว่า โวทานิยา ได้แก่ ธรรม
คือสมถะและวิปัสสนา. เพราะธรรมคือสมถะและวิปัสสนาเหล่านั้นย่อม
ทำให้สัตว์หมดจดได้ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า โวทานิยา. บทว่า ปญฺญาปาริปูรึ คือบริบูรณ์ด้วยมรรค

96
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 97 (เล่ม 15)

ปัญญา. บทว่า เวปุลฺลตฺตญฺจ ได้แก่ ความไพบูลย์ด้วยผลปํญญา.
อีกนัยหนึ่ง ทั้งสองบทนี้เป็นไวพจน์ของกันและกัน. ท่านอธิบายไว้ว่า
เพราะเหตุนั้น พวกท่านจักทำให้แจ้งมรรคปัญญาและผลปัญญา ด้วยปัญญา
อันยิ่งของตน ในปัจจุบันนั่นแล เข้าถึงอยู่ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงปรารภปริพาชกทั้งหลาย เมื่อจะทรงแสดงกำลังแห่งพระโอวาทา-
นุสาสนีของพระองค์ จึงยังพระธรรมเทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอร-
หัต ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ยถา ตํ มาเรน ได้แก่ พวกปริพาชก
เหล่านั้นเป็นผู้นั่งนิ่ง ฯลฯ ไม่มีปฏิภาณ เหมือนถูกมารดลใจ ฉะนั้น.
ได้ยินว่า มารคิดว่า พระศาสดาแสดงกำลังพระพุทธเจ้าคุกคามเหลือเกิน
แสดงธรรมแก่ปริพาชกเหล่านี้ น่าจะมีการตรัสรู้ธรรมบ้างในบางคราว
เอาเถอะ เราจะดลใจ ดังนี้. มารจึงดลจิตของปริพาชกเหล่านั้น. จริง
อยู่ จิตที่ยังละวิปลาสไม่ได้ จึงถูกมารกระทำตามความปรารถนา.
แม้ปริพาชกเหล่านั้นถูกมารดลใจแล้ว ก็นั่งนิ่งไม่มีปฏิภาณ เหมือน
มีอวัยวะทุกส่วนแข็งกระด้าง ฉะนั้น. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงรำพึงว่า
ปริพาชกเหล่านี้นั่งเงียบเสียงเหลือเกิน มีเหตุอะไรหนอแล ดังนี้จึง
ได้ทราบว่า พวกปริพาชกถูกมารดลใจ. ก็ถ้าเหตุแห่งการบรรลุมรรค
และผลของปริพาชกเหล่านั้นพึงมี พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงห้ามมารแล้ว
แสดงธรรม แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้แล้ว เหตุแห่งมรรคผลไม่มี
แก่ปริพาชกเหล่านั้น ปริพาชกทั้งหมดนี้เป็นคนเปล่า เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระ
ดำริว่า ปริพาชกทั้งหมดเหล่านี้เป็นโมฆบุรุษ.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุฏฺฐา ปาปิมตา ได้แก่ ถูกมาร
มีมีบาปใจแล้ว. บทว่า ยตฺร หิ นาม แปลว่า ในปริพาชกเหล่าใด.
บทว่า อญฺญาณตฺถมฺปิ คือ เพื่อความรู้. บทว่า กึ กริสฺสติ สตฺตาโห

97
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 98 (เล่ม 15)

ได้แก่ เจ็ดวันที่พระสมณโคดมกำหนัดไว้แล้ว จักทำอะไรแก่พวกเราได้.
พวกปริพาชกได้กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า นิโครธปริพาชกจัก
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตนตลอดหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์นั้นจะทำ
ความไม่ผาสุกอะไรแก่เขา เอาเถอะ พวกเราจะประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความรู้ว่า ในภายในหนึ่งสัปดาห์ พวกเราจะสามารถทำให้แจ้งธรรม
นั้นได้หรือไม่. อีกนัยหนึ่ง ในข้อนี้ มีอธิบายว่า ปริพาชกเหล่านั้นไม่ได้
เกิดความคิด เพื่อจะรู้สักครั้งเดียวว่า ในวันหนึ่งพวกเราจักรู้ธรรมของ
พระองค์เลย ก็หนึ่งสัปดาห์จัดทำอะไรแก่ปริพาชกผู้เกียจคร้านเหล่านั้น
ได้ ปริหาชกเหล่านั้น จักบำเพ็ญตลอดสัปดาห์ได้อย่างไร.
บทว่า สีหนาทํ คือบันลือแล้ว บันลือแบบไม่กลัวใคร
เป็นการทำลายวาทะผู้อื่น และเป็นการประกาศวาทะของตน. บทว่า
ปจฺจุฏฺฐาสิ คือดำรงอยู่แล้ว. บทว่า ตาวเทว แปลว่า ในขณะนั้น
นั่นเอง. บทว่า ราชคหํ ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
ก็จริง ถึงอย่างนั้น จัดเป็นปัจจัยเพื่อเป็นวาสนาแก่ประพาชกเหล่านั้น
ต่อไป. คำที่เหลือทุก ๆ บท ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาอุทุมพริกสูตร
จบ สูตรที่ ๒

98
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 99 (เล่ม 15)

๓. จักกวัตติสูตร
เรื่อง พระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ
[๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค
เจ้าประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมิตนเป็นเกาะ มีตน
เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มิธรรมเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ
มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม

99
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 100 (เล่ม 15)

เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมา
จากบิดาของตน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปใน
โคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน มารจักไม่ได้โอกาส จัก
ไม่ได้อารมณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญขึ้นอย่างนี้เพราะ
เหตุที่ถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล.
ว่าด้วยแก้ว ๗ ประการ
[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชา
จักรพรรดิพระนามว่า ทัฬหเนมิ ผู้ทรงธรรม ทรงเป็นพระราชา
โดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรง
ชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
แก้ว ๗ ประการมีดังนี้ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗. พระราชโอรสของ
พระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถ
ย้ำยีเสนาของข้าศึกได้. พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมสม่ำเสมอ มิต้อง
ใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นโดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลาย
พันปี ท้าวเธอตรัสเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้
เจริญ ในขณะที่ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ พึ่ง
บอกแก่เราทันที ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัส
ของท้าวเธอแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อน
จากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ

100