No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 71 (เล่ม 15)

ว่าด้วยสังวร ๔
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นผู้สำรวมด้วยสังวร ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นอย่างไร
นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ เมื่อผู้อื่นฆ่าสัตว์ ไม่เป็น
ผู้ดีใจ
๒. ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นถือ
เอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เมื่อผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่เป็นผู้ดีใจ
๓. ไม่พูดเท็จ ไม่ใช้อื่นให้พูดเท็จ เมื่อผู้อื่นพูดเท็จ ไม่เป็น
ผู้ดีใจ
๔. ไม่เสพกามคุณ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพกามคุณ เมื่อผู้อื่นเสพ
กามคุณไม่เป็นผู้ดีใจ
นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ
อย่างนี้ นิโครธะ เพราะว่า บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔
ประการ ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้จึงเป็นลักษณะของเขา เพราะเป็นผู้มีตบะ
เขารักษาศีลให้ยิ่ง ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เขาเสพเสนาสนะ
อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้าในภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
ลอมฟาง ในปัจฉาภัต เขากลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เขาละความเพ็งเล็งในโลกเสียแล้ว มีใจ
ปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้
ละความประทุษร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มีความกรุณาหวัง
ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถิ่นมิทธะ มีความกำหนด

71
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 72 (เล่ม 15)

หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีน-
มิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิกิจฉา เป็นผู้ข้าม
วิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาใน
กุศลธรรมทั้งหลายได้ เขาละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจที่ทำ
ให้ปัญญาเสื่อมกำลัง มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศ
ที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ทั่งโลก เพราะทั่วไปในที่ทุกสถาน มีใจอันประกอบด้วย
เมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนแผ่ไปอยู่ เขามีใจประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทั่วโลก เพราะทั่วไปในที่ทุกสถาน
ก็มีใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนแผ่ไปอยู่.
นิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะบริสุทธิ์ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์แน่แท้ เป็นกิริยา
ที่ถึงยอดหรือถึงแก่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาปด้วยตบะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นหามิได้ ที่แท้ เป็นกิริยาที่
ถึงเปลือกเท่านั้น.
[๒๗] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การ
เกลียดบาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขอ

72
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 73 (เล่ม 15)

ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดหรือถึง
แก่นแห่งการเกลียดบาปด้วยตบะเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ๔ ประการเป็นอย่างไร ฯลฯ
นิโครธะ เพราะว่า บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ
ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้ จึงเป็นลักษณะของเขา เพราะความเป็นผู้มีตบะ เขา
รักษาศีลให้ยิ่ง ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เขาเสพเสนาสนะอันสงัด
ฯลฯ เขาละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจที่ทำให้ปัญญาเสื่อม
กำลัง มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ เขาย่อมระลึก
ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓
ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ฯลฯ สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ
ชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติ
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่าง
นั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย
ทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไป
เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เขา
ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วย
ประการฉะนี้.
นิโครธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.

73
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 74 (เล่ม 15)

นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะบริสุทธิ์ ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์แน่แท้ เป็นกิริยา
ที่ถึงยอดถึงแก่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาป
ด้วยตบะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดหรือถึงแก่นหามิได้ ที่
แท้ เป็นกิริยาที่ถึงกระพี้เท่านั้น.
[๒๘] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
การเกลียดบาปด้วยตบะเป็นกิริยาถึงยอดสละถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงให้ข้าพระองค์ถึงยอด
ถึงแก่นแห่งการเกลียดบาปด้วยตบะเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ฯลฯ เขาย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้
เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เขาระลึกถึง
ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ
ฉะนี้ เขาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ
ดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ ยึดถือกรรมคือมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกาย
สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึด
ถือกรรมคือสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ

74
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 75 (เล่ม 15)

ฉะนี้ นิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะบริสุทธิ์ ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์แน่แท้ เป็น
กิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาปด้วยตบะ
เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่นด้วยเหตุเพียงเท่านี้ นิโครธะ ท่านได้กล่าว
กะเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย สาวกอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ย่อมรู้เฉพาะซึ่ง
อาทิพรหมจรรย์อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด ธรรมนั้นคืออะไร นิโครธะ
เราแนะนำสาวก สาวกอันเราแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ย่อมรู้เฉพาะ
อาทิพรหมจรรย์อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด ธรรมนั้นคืออะไร นิโครธะ
เราแนะนำสาวก สาวกอันเราแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ย่อมรู้เฉพาะ
อาทิพรหมจรรย์อันเป็นเป็นอัชฌาศัยด้วยฐานะใด ฐานะนั้นยิ่งกว่า ประณีต
ด้วยประการฉะนี้แล.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว พวกปริพาชกเหล่านั้น
เป็นผู้มีเสียงดังลั่นว่า ในข้อนี้ เรากับอาจารย์ยังไม่เห็น เราไม่รู้ยิ่งไป
กว่านี้.
[๒๙] เมื่อใด สันธานคฤหบดีได้รู้แล้วว่า บัดนี้ พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์เหล่านี้ตั้งใจฟังภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งโสตสดับ
ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่ว เมื่อนั้น สันธารคฤหบดีจึงได้กล่าวกะนิโครธปริพาชกว่า
นิโครธะ ท่านได้กล่าวกะเราอย่างนี้แลว่า เอาเถิด คฤหบดี ท่านพึงรู้
พระสมณโคดมจะทรงเจรจากับใคร สนทนากับใคร จะถึงความเป็นผู้มี
ปัญญาเฉลียวฉลาดกับใคร พระปัญญาของพระสมณโคดมหายเสียใน

75
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 76 (เล่ม 15)

สุญญาคาร พระสมณโคดมไม่กล้าเข้าไปสู่ที่ประชุม ไม่สามารถเจรจา
พระองค์ทรงเสพที่อันสงัด ณ ภายในอย่างเดียว เหมือนโคตาบอดข้าง
เดียวเที่ยววนเวียน เสพที่อันสงัด ณ ภายใน ฉันใด พระปัญญาของ
พระสมณโคดมหายเสียในสุญญาคาร พระสมณโคดมไม่กล้าเข้าไปสู่ที่
ประชุม ไม่สามารถเจรจา พระองค์ทรงเสพที่อันสงัด ณ ภายในอย่างเดียว
ฉันนั้น เอาเถอะพระสมณโคดมเสด็จเข้ามาสู่ที่ประชุม พวกเราจะพึง
หยามพระองค์ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น พวกเราจะบีบรัดพระองค์ เหมือน
บุคคลบีบรัดหม้อเปล่า ฉะนั้น ท่านนิโครธะผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสด็จถึงที่นี่แล้ว ก็พวกท่านจง
ทำพระองค์ไม่ให้กล้าเสด็จเข้าสู่ที่ประชุม จงทำให้เป็นเหมือนโคตาบอด
ข้างเดียวเที่ยววนเวียน จงหยามพระองค์ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น จง
บีบรัดพระองค์ เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเปล่า ฉะนั้น เมื่อสันธานคฤหบดี
กล่าวอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกเป็นผู้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า
ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ.
นิโครธปริพาชกสารภาพผิด
[๓๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่านิโครธปริพาชก
เป็นผู้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ จึงตรัสกะ
นิโครธปริพาชกว่า นิโครธะ วาจานี้เธอกล่าวจริงหรือ. นิโครธปริพา-
ชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วาจานี้ข้าพระองค์กล่าวจริง ด้วย
ความเป็นคนเขลา คนหลงไม่ฉลาด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเคยได้ยินปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ เป็น
อาจารย์และบุรพาจารย์กล่าวกันมาอย่างนี้บ้างหรือว่า พระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันแล้ว มีเสียงดังลั่นอึกทึก ขวนขวายกล่าวติรัจฉานกถา

76
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 77 (เล่ม 15)

ต่าง ๆ อยู่ คือ ราชกถา โจรกถา ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ด้วยประการนั้น ๆ เหมือนท่านกับอาจารย์ในบัดนี้ หรือว่าท่านเคยได้
ยินมาอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายย่อมทรงเสพราวไพรในป่า
เสนาสนะอันสงัด ซึ่งมีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย มีลมพัดอ่อน ๆ
สมควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น
เหมือนเราในบัดนี้. นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เคยได้ยินปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นอาจารย์และบุรพาจารย์กล่าว
สืบกันมาว่า พระอรหันตสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีในอดีตกาล พระผู้มี
พระภาคเจ้าทั้งหลายนั้นประชุมพร้อมกันแล้ว มีเสียงดังลั่นอึกทึก ขวน
ขวายกล่าวดิรัจฉานกถาต่าง ๆ อยู่อย่างนี้ คือ ราชกถา โจรกถา ฯลฯ
เรื่องความเจริญเละความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ เหมือนข้าพระองค์กับ
อาจารย์ในบัดนี้ ข้าพระองค์เคยได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย
ย่อมทรงเสพราวไพรในป่า เสนาสนะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้อง
น้อย มีลมพัดอ่อน ๆ สมควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ สมควร
แก่การหลีกเร้น เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในบัดนี้ อย่างนี้แล. พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ความคิดนี้ไม่มีแก่วิญญูชนคนแก่นั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความ
ตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ฝึกตนแล้ว ย่อมทรง
แสดงธรรมเพื่อความฝึก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้สงบแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความสงบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ผู้ข้ามได้แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความข้าม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้น ทรงดับสนิทแล้ว ย่อมทรงแสดงธุระ เพื่อความดับสนิท.
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชก
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษที่ข้าพระ-

77
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 78 (เล่ม 15)

องค์เป็นคนโง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าว
กะพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงยกโทษแก่ข้า
พระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป.
กถาว่าด้วยคุณของพระสัมมาสัมพุทธะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ความผิดที่ท่านผู้เป็นคน
โง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว เธอจึงได้กล่าวกะเราอย่างนั้น
เพราะเธอเห็นโทษแล้วจึงยอมรับผิด เรายกโทษแก่เธอ ผู้ใดเห็นโทษ
สารภาพโทษตามความเป็นจริง ถือความสังวรต่อไป นี้เป็นความเจริญใน
พระวินัยของพระอริยเจ้า นิโครธะ ก็เรากล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้รู้ ไม่
โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอน ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน
บวชโดยชอบเพื่อประโยชน์อันใด จักกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันนั้น
อันมีพรหมจรรย์เป็นที่สุดอย่างยิ่ง ด้วยความรู้ยิ่งของตนเอง ในทิฏฐธรรม
เข้าถึงอยู่ตลอด ๗ ปี นิโครธะ เจ็ดปี จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด
ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกปี...ห้าปี...สี่ปี...สามปี...สองปี...ปีหนึ่ง นิโครธะ
ปีหนึ่งจงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดเดือน
นิโครธเจ็ดเดือนจงยกไว้ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกเดือน...ห้าเดือน...สี่
เดือน...สามเดือน...สองเดือน...หนึ่งเดือน...กึ่งเดือน นิโครธะ กึ่งเดือน
จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดวัน
นิโครธะ แต่บางทีเธอจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้
เพราะใคร่ได้อันเตวาสิก ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ผู้ใดเป็นอาจารย์
ของเธอได้อย่างนี้ ผู้นี้แหละจงเป็นอาจารย์ของเธอ นิโครธะ แต่บางที
เธอจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจาก
อุเทศ จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น อุเทศใดของเธอได้

78
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 79 (เล่ม 15)

อย่างนี้ อุเทศนั่นแหละจงเป็นอุเทศของเธอ นิโครธะ แต่บางทีเธอ
จะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจาก
อาชีวะ จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็อาชีวะของ
เธอนั่นแหละจงเป็นอาชีวะของเธอ นิโครธะ แต่บางทีเธอจะพึงดำริ
อย่างนี้ว่าพระสมณโคดมปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์ตั้งอยู่ในอกุศล-
ธรรมซึ่งเป็นส่วนอกุศล จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่าง
นั้น อกุศลธรรมเหล่านั้นแหละจงเป็นส่วนอกุศลของเธอกับ
อาจารย์ นิโครธะ แต่บางทีเธอจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์สงัดจากกุศลธรรมซึ่งเป็นส่วนกุศล จึง
ตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ
จงเป็นส่วนกุศลของเธอกับอาจารย์ นิโครธะ ด้วยประการอย่างนี้แล
เรากล่าวอย่างนี้ เพราะใคร่ได้อันเตวาสิก หามิได้ เราปรารถนาจะ
ให้เธอเคลื่อนจากอุเทศจึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ ปรารถนาจะให้เคลื่อน
จากอาชีวะ จึงกล่าวอย่างนี้ ก็หาไม่ ปรารถนาจะให้เธอกับอาจารย์
ตั้งอยู่ในอกุศลธรรม ซึ่งเป็นส่วนอกุศล จึงกล่าวอย่างนี้ ก็หาไม่
ปรารถนาจะให้เธอกับอาจารย์สงัดจากกุศลธรรม ซึ่งเป็นส่วนกุศล
จึงกล่าวอย่างนี้ ก็หาไม่ นิโครธะ ที่เราแสดงธรรมเพื่อให้ละอกุศล-
ธรรมเหล่าใด อกุศลธรรมเหล่านั้นยังละไม่ได้ เศร้าหมอง สร้างภพ
ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล เป็นปัจจัยแก่ชาติ ชรา
มรณะต่อไป ยังมีอยู่ เธอทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามธรรมแล้ว จักละธรรม
เป็นเครื่องเศร้าหมองได้ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความผ่องแผ้วจักเจริญ
ยิ่ง เธอทั้งหลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์แห่งมรรคปัญญา และความ
เป็นผู้ไพบูลย์ด้วยผลปัญญา เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่

79
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 80 (เล่ม 15)

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกได้นั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ เหมือนถูกมารดลใจ ฉะนั้น.
ว่าด้วยมารดลใจพวกปริพาชก
[๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า โมฆบุรุษ
เหล่านี้ทั้งหมด ถูกมารใจบาปดลใจแล้ว ในพวกเขาแม้สักคนหนึ่ง ไม่
มีใครคิดอย่างนี้ว่า เอาเถิด พวกเราจักประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
สมณโคดม เพื่อความรู้ทั่วถึงบ้าง เจ็ดวันจักทำอะไร ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงบันลือสีหนาท ในปริพาชิการามของพระนางอุทุม-
พริกาแล้ว เหาะขึ้นไปในอากาศ ปรากฏอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ. ทันใด
นั่นเอง สันธานคฤหบดีเข้าไปในกรุงราชคฤห์ ด้วยประการฉะนี้.
จบ อุทุมพริกสูตร ที่ ๒

80