No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 61 (เล่ม 15)

ธรรมนั้นชื่ออะไร เมื่อนิโครธปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชก
เหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่.
[๒๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหานิโครธ
ปริพาชก นิโครธปริพาชกจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอเชิญ
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว นาน ๆ
พระองค์จึงจะได้เสด็จมาเยี่ยมเยียน คือเสด็จมา ณ ที่นี้ ขอเชิญประทับ
นั่ง นี้อาสนะที่จัดไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้
ฝ่ายนิโครธปริพาชกก็ถือเอาอาสนะที่ต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามนิโครธปริพาชก ผู้นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งว่า นิโครธะ บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาด้วยเรื่องอะไรหนอ
และเรื่องอะไรเล่าที่พวกเธอสนทนาค้างอยู่ในระหว่าง เมื่อพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
ณ สถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูงที่ฝั่งสระโบกขรณีสุมาคธา จึงได้กล่าวอย่างนี้
ว่า ถ้าว่า พระสมณโคดมจะพึงเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้ พวกเราจะพึงถาม
ปัญหานี้กะพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำ
ด้วยธรรมใด สาวกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ
ย่อมรู้เฉพาะซึ่งอาทิพรหมจรรย์อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด ธรรมนั้น
ชื่ออะไร เรื่องนี้แหละ ที่พวกข้าพระองค์สนทนาค้างอยู่ในระหว่าง พอดี
พระองค์เสด็จมาถึง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การที่ท่าน
มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทาง
หนึ่ง ไม่มีความพยายาม ไม่มีลัทธิอาจารย์ ยากที่จะรู้ธรรมที่เราแนะนำ
พระสาวก ยากที่จะรู้ธรรมสำหรับให้พระสงฆ์ผู้ได้รับแนะนำแล้วมีความ

61
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 62 (เล่ม 15)

ยินดี รู้แจ้งชัดพรหมจรรย์เบื้องต้นอันเป็นอัชฌาศัย เชิญเถิด นิโครธะ เธอ
จงถามปัญหาในการเกลียดบาปอย่างยิ่ง ในลัทธิอาจารย์ของตน กะเราว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเกลียดบาปด้วยตบะ อย่างไรบริบูรณ์ อย่างไร
ไม่บริบูรณ์ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ พวกปริพาชกเหล่านั้น
ได้เป็นผู้มีเสียงดังอึกทึกขึ้นว่า น่าอัศจรรย์นัก ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมา
ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดมมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก พระองค์จักหยุดวาทะ
ของพระองค์ไว้ จักห้ามด้วยวาทะของผู้อื่น.
กถาว่าด้วยการรังเกียจบาปด้วยตบะ
[๒๓] ครั้งนั้น นิโครธปริพาชกเตือนปริพาชกเหล่านั้นให้สงบเสียง
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระ-
องค์กล่าวการเกลียดบาปด้วยตบะ แนบแน่นการเกลียดบาปด้วยตบะอยู่ การ
เกลียดบาปด้วยตบะ อย่างไรบริบูรณ์ อย่างไรไม่บริบูรณ์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นคนเปลือย ไร้มารยาทเลียมือ เขาเชิญให้รับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญ
ให้หยุดรับภิกษา ก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาไว้ก่อน ไม่ยินดี
ภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีการเชื้อเชิญ เขาไม่รับภิกษาจากปากหม้อ
ไม่รับภิกษาจากปากภาชนะ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา
ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมครกนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสาก
นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาของตน
๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของ
หญิงผู้กำลังให้ลูกดื่มนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษอยู่ ไม่รับ
ภิกษาที่เขาประกาศให้รู้ ไม่รับภิกษาในที่มีสุนัขปรากฏ ไม่รับภิกษาใน
ที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่ม
เมรัย ไม่ดื่มน้ำส้ม เขาอยู่เรือนหลังเดียว มีคำข้าวคำเดียว หรืออยู่เรือน

62
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 63 (เล่ม 15)

สองหลัง มีคำข้างสองคำ หรืออยู่เรือนเจ็ดหลัง มีคำข้าวเจ็ดคำ เยียวยา
อัตตภาพด้วยภิกษาในภาชนะใบเดียวบ้าง สองใบบ้าง เจ็ดใบบ้าง
กินอาหารที่เก็บไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง เป็นผู้
ประกอบความขวนขวายในการบริโภคอาหารที่เวียนมาจนถึง ที่เก็บไว้กึ่ง-
เดือน ด้วยประการฉะนี้ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็น
ภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีถากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีของจืด
เป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็น
ภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าและผลไม้
ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตตภาพ. เขาทรงผ้าป่าน
บ้าง ผ้าแถมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง
หนังสือบ้าง หนังสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง
ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากำพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากำพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง
ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประกอบความ
ขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืนคือห้ามอาสนะบ้าง เป็น
ผู้กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบน
หนาม คือสำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดาน
บ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง
เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะ
ตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือประกอบการขวนขวายในการ
บริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง
เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือประกอบการขวนขวายในการลงน้ำบ้าง
นิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การ
เกลียดบาปด้วยตบะ เป็นการเกลียดบริบูรณ์ หรือไม่บริบูรณ์

63
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 64 (เล่ม 15)

นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะ เป็นการเกลียดบริบูรณ์ ไม่ใช่ไม่บริบูรณ์
อย่างแน่แท้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ เรากล่าวอุปกิเลสมาก
อย่างในการเกลียดบาปด้วยตบะ แม้ที่บริบูรณ์แล้ว อย่างนี้แล.
กถาว่าด้วยอุปกิเลสของผู้รังเกียจบาปด้วยตบะ
[๒๔] นิโครธปริพาชกทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปกิเลสมากอย่างในการเกลียดบาปด้วยตบะที่บริ-
บูรณ์ อย่างนี้ อย่างไรเล่า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น แม้ข้อ
ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น นี้แลย่อม
เป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ย่อมยกตนข่มขู่อื่นด้วยตบะนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ ยกตนข่ม
ผู้อื่นด้วยตบะ นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ย่อมมัวเมา ย่อมลืมสติ ย่อมถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะ
ถือมั่นตบะ มัวเมา ลืมสติ ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น นี้แลย่อมเป็น
อุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น ด้วยเหตุเขาเป็นผู้
ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น แม้ข้อ

64
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 65 (เล่ม 15)

ที่ ผู้มีตบถือมั่นตบะ ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความ
สรรเสริญนั้น นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมยกตนข่ม
ผู้ อื่นด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ
ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น ยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคล
ผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมมัวเมา
ย่อมลืมสติ ย่อมถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น
ด้วยตบะนั้น มัวเมา ลืมสติ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะสละความ
สรรเสริญนั้น นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ ย่อม
ถึงส่วน ๒ ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา
ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขามุ่งละสิ่งนั้นเสีย แต่ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา
เขากำหนัด ลืมสติ ติดสิ่งนั้น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก
บริโภคอยู่ แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมยึดถือมั่นตบะ
ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดี เดียรถีย์ จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะ
และความสรรเสริญ แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.

65
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 66 (เล่ม 15)

นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเป็นผู้รุกรานสมณะ
พราหมณ์อื่นแต่ที่ไหน ๆ ว่า ก็ไฉน ผู้นี้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่าง กิน
วัตถุทุก ๆ อย่าง คือพืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืช
เกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบ ๕ ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจ
สายฟ้า คนทั้งหลายย่อมจำกันได้ ด้วยการตู่ว่า เป็นสมณะ แม้ข้อนี้แล
ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เห็นสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นที่เขาสักการะ เคารพนับถือ บูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขา
ดำริอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาสมณะหรือ
พราหมณ์ชื่อนี้แลเลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่างในสกุลทั้งหลาย แต่ไม่
สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีพด้วยวัตถุเศร้า
หมองในสกุลทั้งหลาย เขาเป็นผู้ให้ความริษยา และความตระหนี่เกิด
ขึ้นในสกุลทั้งหลาย ดังนี้ แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้นั่งในทางที่
มนุษย์เห็น แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเที่ยวแสดงตนไป
ในสกุลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะของเรา กรรมแม้นี้เป็นตบะของ
เรา แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเสพโทษอันปกปิด
บางอย่าง เขาถูกผู้อื่นถามว่า โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่ไม่ควร
ว่าควร กล่าวโทษที่ควรว่าไม่ควร เขาเป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ดังนี้ แม้
ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคต
หรือสาวกของพระตถาคตแสดงธรรมอยู่ ย่อมไม่รู้ปริยายที่ควรรู้อันมีอยู่

66
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 67 (เล่ม 15)

นั่นแล แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้มักโกรธ มัก
ผูกโกรธ แม้ข้อที่ผู้ มีตบะเป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธ นี้แล ย่อมเป็นอุป-
กิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลพูดลผู้มีตบะเป็นผู้มีความลบหลู่
ดีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา กระด้าง ถือตัวจัด เป็นผู้มีความ
ปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ประกอบด้วยทิฏฐิอันดิ่งถึงที่สุด เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิเอง เป็นผู้ถือมั่น สละ
คืนได้ยาก ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ฯลฯ แม้นี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคล
ผู้มีตบะ.
นิโครธะ ท่านจะพึงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเกลียดบาป
ด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสหรือไม่เป็นอุปกิเลส.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเกลียด
บาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลสหามิได้ บุคคล
ผู้มีตบะในโลกนี้ พึงเป็นผู้ประถอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่าง ข้อนี้
แลเป็นฐานะที่มีได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอุปกิเลสเพียงบางข้อ ๆ.
กถาว่าด้วยความบริสุทธิ์ของผู้รังเกียจตบะ
[๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะใน
โลกนี้ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะ
นั้น ข้อที่ผู้ มีตบะถือมั่นตบะ ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น
อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อม
ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น ฯลฯ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ใน
ฐานะนั้น.

67
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 68 (เล่ม 15)

นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ย่อมไม่มัวเมา ไม่ลืมสติ ย่อมไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น ฯลฯ อย่างนี้
เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ. เขาให้
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ
ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ อย่าง
นี้ เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ อย่างนี้ เขาเป็น
ผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่มัวเมา ไม่
หลงลืมสติ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ
อย่างนี้ เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น .
นิโครธะ ข้ออื่นยังอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ ย่อม
ไม่ถึงส่วน ๒ ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา
ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขาไม่มุ่งละสิ่งนั้นเสีย ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา เขา
ไม่กำหนัด ไม่ลืมสติ ไม่คิดสิ่งนั้น แลเห็นโทษ มีปัญญาคิดสลัดออกบริโภค
อยู่อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ แต่
เขาไม่คิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดี เดียรถีย์ จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะ
และความสรรเสริญ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

68
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 69 (เล่ม 15)

นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่รุกรานสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นว่า ก็ไฉนผู้นี้เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุหลายอย่าง กินวัตถุทุก ๆ
อย่าง คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด
พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบ ๕ ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้า คนทั้ง
หลายย่อมจำกันได้ด้วยการตู่ว่าเป็นสมณะ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์
ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เห็นสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นที่เขาสักการะเคารพนับถือบูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขาไม่
ดำริอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาสมณะหรือ
พราหมณ์ชื่อนี้แล ผู้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายประการในสกุลทั้งหลาย แต่
ไม่สักกาะร ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีพด้วยวัตถุ
เศร้าหมองในสกุลทั้งหลาย เขาไม่ให้ความริษยาและความตระหนี่เกิดขึ้น
ในสกุลทั้งหลาย ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้ไม่นั่งในทางที่
มีคนเห็น อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมไม่เที่ยวแสดงตน
ไปในสกุลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะของเรา กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะ
ของเรา อย่างนี้ เขาย่อมเป็นบริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลมีตบะย่อมไม่เสพโทษอัน
ปกปิดบางอย่าง เขาถูกผู้อื่นถามว่า โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่
ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวโทษที่ควรว่าควร เขาเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่
ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคตหรือ

69
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 70 (เล่ม 15)

สาวกของพระตถาคตกำลังแสดงธรรมอยู่ ย่อมรู้ตามปริยายอันมีอยู่ที่ควรรู้
อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธ
ไม่ผูกโกรธ ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ อย่างนี้ เขา
ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่ลบหลู่ ไม่ดีเสมอ
ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นท่าน
ไม่ปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่
ประกอบด้วยทิฏฐิอันดิ่งถึงที่สุด ไม่เป็นผู้ลบคลำทิฏฐิเอง ไม่เป็นผู้ถือมั่น
สละคืนได้ง่าย ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ไม่ลบหลู่ ฯลฯ ไม่เป็นผู้ถือมั่น สละ
คืนได้ง่าย อย่างนี้ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะเหล่านี้บริสุทธิ์แน่แท้ ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์
เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาปด้วยตบะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นหามิได้ ที่แท้เป็นกิริยาที่ถึง
สะเก็ดเท่านั้น.
กถาว่าด้วยการบรรลุธรรมเป็นสาระอันเลิศ
[๒๖] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
การเกลียดบาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดถึง
แก่นแห่งการเกลียดบาปด้วยตบะเถิด.

70