No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 41 (เล่ม 15)

ภนฺเต สุนักขัตตะได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ
ภาคทรงเห็นสิ่งที่น่าตำหนิอะไร ในตัวของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสอย่างนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกแก่เขา ได้ตรัสคำว่า นนุ เต
เป็นต้น. ด้วยคำว่า มจฺฉรายติ นี้ สุนักขัตตะ ได้กราบทูลถามว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหวงพระอรหัต เพราะทรงดำริอย่างนี้ว่า ผู้อื่นจงอย่าได้
เป็นพระอรหันต์ หรือ. คำว่า น โข อหํ อธิบายว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เรา
ปรารถนาให้โลกมนุษย์พร้อมทั้งเทวโลกได้พระอรหันต์กันทั้งนั้น เราทำ
กรรมที่ทำได้ยากมากมาย บำเพ็ญบารมีมากเพื่อประโยชน์อย่างนี้เท่านั้น
เราไม่ได้หวงพระอรหัตเลย. คำว่า ปาปกํ ทิฏฺฐิคตํ อธิบายว่า เขา
บังเกิดมีความเห็นในผู้ที่มิใช่พระอรหันต์ว่า เป็นพระอรหันต์ และในผู้
ที่เป็นพระอรหันต์ว่ามิใช่พระอรหันต์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
ปาปากํ ทิฏฺฐิคตํ หมายถึงความเห็นผิดที่กล่าวมานั้น. คำว่า ยํ โข ปน
ได้แก่ เธอสำคัญนักบวชผู้เปลือยกายรูปนั้นใด อย่างนี้.
คำว่า สตฺตมํ ทิวสํ แปลว่า ในวันที่ ๗. บทว่า อลสเกน
ได้แก่ ด้วยพยาธิชื่อ อลสากะ. คำว่า กาลํ กริสฺสติ แปลว่า มีท้องพองตาย.
คำว่า กาลกญฺชิกาเป็นชื่อของอสูรเหล่านั้น. ได้ยินว่า อสูรเหล่านั้น มี
อัตภาพยาวสามคาวุตมีเนื้อและโลหิตน้อย เช่นกับใบไม้เก่า มีตาออกมาติด
อยู่บนหัวเหมือนปูมีปากเท่ารูเข็ม ติดอยู่บนหัวเช่นกัน ก้มตัวลงใช้ปากนั้น
กินอาหาร. บทว่า วีรณตฺถมฺภเก อธิบายว่า ในป่าช้านั้น มีเสาปกคลุม
ด้วยกอหญ้า เพราะฉะนั้น จึงเรียกป่าช้านั้นว่า "วีรณตฺถมฺภก". คำว่า
เตนุปสงฺกมิ อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนั้น เสด็จไป
บิณฑบาตในบ้านนั้นแล้วเสด็จไปสู่วิหาร สุนักขัตตะ ได้ออกจากวิหารเข้า
ไปหานักบวชเปลือยนั้น. คำว่า เยน ตฺวํ แปลว่า ท่านถูกพระผู้มีพระภาค
ทรงพยากรณ์ไว้เพราะเหตุใด. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านถูกพระผู้มีพระ

41
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 42 (เล่ม 15)

ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้. คำว่า มตฺตํ มตฺตํ แปลว่า พอควรแก่ประมาร ๆ.
บาลีบางแห่งว่า มนฺตา มนฺตา ก็มี อธิบายว่าใช้ปัญญาพิจารณา ๆ. คำว่า
ยถา สมณสฺส ความว่า สุนักขัตตะ ได้กล่าวว่า ท่านพึงทำให้คำกล่าว
ของพระสมณโคดมผิดไป. เมื่อสุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้แล้ว นักบวชเปลือย
นอนในบริเวณเตาไฟเหมือนสุนัข ได้ชูศีรษะลืมตามองดู กล่าวว่า พระ-
สมณโคดม ผู้ผูกเวรเป็นศัตรูกับพวกเรา ได้พูดอะไร นับตั้งแต่พระสมณ-
โคดมอุบัติขึ้นมา พวกเรากลายสภาพเป็นเหมือนฝูงหิ่งห้อยในยามดวง
อาทิตย์อุทัย พระสมณโคดมพึงกล่าววาจาอย่างนี้กับพวกเรา หรือกล่าว
อย่างอื่น แต่ย่อมเป็นธรรมดาว่า ถ้อยคำของผู้ที่เป็นศัตรูกันย่อมไม่เป็น
จริง ท่านจงไปเสียเถิด เราจักรู้ในเรื่องนี้เอง แล้วนอนต่อไป.
บทว่า เอกทฺวีหิกาย ได้แก่ กล่าวนับว่า หนึ่ง สอง. บทว่า
ยถา ตํ อธิบายว่า นับดุจคนบางคนที่ไม่เชื่อพึงนับ และในวันหนึ่งได้
เข้าไปหาสามครั้งบอกว่า วันหนึ่งล่วงไปแล้ว สองวันล่วงไปแล้ว. คำว่า
สตฺตมํ ทิวสํ อธิบายว่า ได้ยินว่า นักบวชเปลือยนั้น ได้ฟังคำของสุนัก-
ขัตตะแล้ว ไม่บริโภคอาหารเลยตลอด ๗ วัน. ครั้นถึงวันที่ ๗ อุปฐาก
คนหนึ่งของเขาคิดว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗ ที่สมณะประจำสกุลของพวกเรา
ไม่มา ชรอยว่าจะเกิดความไม่สบาย แล้วให้ปิ้งเนื้อหมู นำอาหารไปกอง
ไว้บนพื้นข้างหน้า. นักบวชเปลือย แลดูแล้วคิดว่า ถ้อยคำของพระสมณ-
โคดมจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม แต่เมื่อเราบริโภคอิ่มหนำแล้ว แม้เราจะ
ตายก็ถือว่าตายดี แล้วก็ลุกขึ้นคลานกินอาหาร จนอิ่มท้อง. ในเวลากลาง
คืน เขาไม่อาจจะให้อาหารย่อยได้ จึงสิ้นชีวิตด้วยโรคชื่อ อลสกะ. ถึง
แม้เขายังไม่คิดว่าจะบริโภค แม้กระนั้นเขาจะต้องบริโภคในวันนั้นแล้ว
สิ้นชีวิตด้วยโรคชื่อ อลสกะ. เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่มีวาจา
เป็นสอง.

42
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 43 (เล่ม 15)

คำว่า วีรณตฺถมฺภเก อธิบายว่า ได้ยินว่า พวกเดียรถีย์ทราบข่าว
ว่า โกรักขัตติยะสิ้นชีวิตแล้ว นับวันแล้วกล่าวว่า คำพยากรณ์ของ
พระสมณโคดมเกิดเป็นจริงแล้ว บัดนี้ พวกเราจะนำศพเขาไปทิ้งในที่อื่น
จักข่มพระสมณโคดมด้วยมุสาวาท ได้พากันไปนำเอาเถาวัลย์มาพันศพแล้ว
ลากไปพร้อมกับกล่าวว่า ทิ้งศพไว้ตรงนี้ ๆ. สถานที่ ๆ ลากศพไปนั้นเป็น
เนินทั้งนั้น. พวกเขาจึงลากศพไปสู่ป่าช้าชื่อ วีรณถัมภกะ ทราบว่าเป็น
สุสานก็ได้ลากศพต่อไปตั้งใจว่าจะนำไปทิ้งในที่อื่น. ทันใดนั้น เถาวัลย์
ลากศพขาด. พวกเขาไม่อาจให้ศพเคลื่อนไหวได้ จึงพากันหนีไปจาก
ที่นั้น. เพราะฉะนั้น.พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ได้ทิ้งไว้ในป่าช้าชื่อ
วีรณถัมภกะ.
คำว่า เตนุปสงฺกมิ มีคำอธิบายดังนี้ เพราะเหตุไร โอรสของ
เจ้าลิจฉวี นามสุนักขัตตะจึงเข้าไปหา ได้ทราบว่า สุนักขัตตะโอรสเจ้า
ลิจฉวีนั้น คิดว่า คำพูดของพระสมณโคดม ย่อมสมจริงแน่นอน ก็ธรรมดา
ว่าคนตายจะลุกขึ้นพูดกับคนอื่น ย่อมไม่มี เอาเถอะ เราจะไปถาม ถ้า
พระสมณโคดมตรัสบอก ก็ดีไป ถ้าไม่บอกไซร้ เราจักข่มพระสมณโคดม
ด้วยมุสาวาท. สุนักขัตตะเข้าไปเฝ้าเพราะเหตุนี้. บทว่า อาโกฏฺเฏสิ แปลว่า
ว่า เคาะ (ด้วยฝ่ามือ). มีคำถามว่า ทรากศพของคนที่ตายแล้ว ย่อมไม่
สามารถจะลุกขึ้นมาพูดได้ นักบวชเปลือยรูปนั้นได้กล่าวคำว่า "ดูก่อนผู้
มีอายุ เรารู้" ได้อย่างไร. มีคำถามว่า เขาพูดได้ด้วยพุทธานุภาพ. ได้
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้นำโกรักขัตติยะ จากกำเนิดอสูรให้เข้าสิง
ในทรากศพแล้วให้พูด. อีกนัยหนึ่ง พระองค์ได้ทรงให้ทรากศพนั้นพูด.
เพราะวิสัยพระพุทธเจ้า เป็นอจินไตย (คนอื่นไม่ควรคิด) คำว่า ตเถว
ตํ วิปากํ ได้แก่ ผลของคำพูดนั้น เกิดแล้วอย่างนั้นทีเดียว ศัพท์ว่า วิปา กํ
นั้น จัดเป็นลิงควิปลาศ. ความหมายที่ถูกต้องก็คือ ตเถว โส วิปาโก.

43
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 44 (เล่ม 15)

ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวว่า วิปกฺกํ ก็มี. เนื้อความคือเกิดแล้ว. ถึง
คราวนี้ ควรจะได้ประมวลปาฏิหาริย์มา ก็เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เป็นปาฎิ-
หาริย์ ๕ อย่าง. คือ พระดำรัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักตายในวันที่ ๗
เขาก็ตายตามพระดำรัสนั้น นี้ เป็นปาฏิหาริย์ ข้อที่ ๑ พระดำรัสว่า เขา
จักตายด้วยโรค "อลสกะ" เขาก็ตายด้วยโรคอลสกะจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์
ข้อที่ ๒ พระดำรัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักเกิดในภพอสูรชื่อว่า กาลกัญ-
ชิกา เขาก็เกิดในภพอสูรจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๓. พระดำรัสว่า
พวกเดียรถีย์จักทิ้งซากศพไว้ในป่าช้า วีรณัตถัมภกะ เขาก็ถูกทิ้งในป่า
ข้านั้นจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๔. พระดำรัสว่า เขาจักมาจากที่ตน
เกิดแล้ว กล่าวกับสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีเขาก็กล่าวจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์
ข้อที่ ๕.
บทว่า กฬารมชฺชโก คือ นักบวชเปลือย ผู้มีฟันและหนวดงอก
ออกมา หรือคำว่า กฬารมชฺชโก นี้เป็นชื่อของนักบวชเปลือยผู้นั้นเท่า
นั้น บทว่า ลาภคฺคปฺปตโต คือผู้พึงความเลิศด้วยลาภ อธิบายว่าผู้ประสบ
ลาภที่ดีเลิศ บทว่า ยสคฺคปฺปตฺโต คือ ประสบความเลิศด้วยยศ คือมี
บริวารอย่างยอดเยี่ยม. บทว่า วตฺตปทานิ คือข้อปฏิบัติทั้งหมด หรือข้อ
ปฏิบัติบางส่วน บทว่า สมตฺตานิ ได้แก่ ถือเอา. บทว่า สมาทินฺนานิ
เป็นไวพจน์ของบทว่า สมตฺตานิ นั่นแล. คำว่า ปุรตฺถิเมน เวลาลึ ได้
ก็ในทิศบูรพาใกล้กรุงเวสาลี. บทว่า เจติยํ คือเป็นเจดีย์สถานของยักษ์.
ทุก ๆ บท ก็มีนัยเช่นนี้.
คำว่า เยน อเจโล มีอธิบายว่า สุนักขัตตะ โอรสเจ้าลิจฉวี
กระทำวัตรพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ไปทางทิศที่ อเจลกปริพาชก
ชื่อว่า กฬารมัชชกะ อยู่. บทว่า ปญฺหํ ปุจฺฉิ คือ ถามปัญหาที่ประกอบ
ด้วยไตรลักษณ์อย่างลึกซึ้ง. บทว่า น สมฺปายาสิ อธิบายว่า กฬารมัชชก-

44
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 45 (เล่ม 15)

ปริพาชกไม่ได้ดำเนินไปด้วยญาณคติที่ถูกทาง เขาตอบผิดพลาดในแต่ละ
ปัญหานั้น ๆ เหมือนคนตาบอดเดินลื่นล้มในที่ขรุขระ เขามองไม่เห็น
เงื่อนปลายของปัญหา. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า น สมฺปายาสิ ความว่า
ไม่ให้ถึงพร้อม (ด้วย) ปัญญา คือไม่สามารถจะให้ปัญญาเกิดขึ้นกล่าว
(ตอบ) ได้ กฬารมัชชกปริพาชกเมื่อไม่สามารถ จะตอบ ได้ก็ยืนกรอกลูก
ตาไปมา พูดว่า ท่านอยู่ในสำนักของผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาบวชในที่
ไม่ใช่โอกาส เที่ยวถามปัญหาทั่วไป จงหลีกไป อย่ามายืนในสถานที่นี้.
คำว่า โกปญฺจ โทสญฺจ อปจฺจยญฺจ ปาตฺวากาสิ มีอธิบายดังนี้ กฬาร-
มัชชกปริพาชก ได้แสดงความโกรธ คืออาการกำเริบ โทสะ มีอาการ
ประทุษร้าย และความไม่แช่มชื่น คือโทมนัส อันเป็นอาการแห่งความไม่
ยินดี. บทว่า อาสาทิยิมฺหเส ได้แก่ ได้รุกราน คือเบียดเบียน. คำว่า
มา วต โน อโหสิ แปลว่า โอ ข้อนั้นไม่พึงมีแก่เรา. บาลีว่า มํ วต โน
อโหสิ ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มํ เป็นทุติยาวิภัตติ ไข้
ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. ความว่า ข้อนั้นได้มีแก่เราแล้วหนอ ก็แลสุนักขัตตะ
ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงนั่งกระโหย่งขอขมา กฬารมัชชกปริพาชก นั้น
ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้ปริพาชก
นั้นก็กล่าวว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ท่านจักไม่ถามปัญหาอื่นใด. สุนัก
ขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่า จะไม่ถามปัญหาอีก
ปริพาชกนั้นกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงไป เราอดโทษให้ท่าน แล้ว
สั่งสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีกลับไป.
บทว่า ปริหิโต แปลว่า นุ่งห่ม คือกลับนุ่งห่มผ้า. บทว่า
สานุจริโก ความว่า ภริยาท่านเรียก อนุจาริกา. บุคคลผู้มีภรรยา ท่าน
เรียก สานุจริกะ อธิบายว่า อเจลกชื่อกฬารมัชชกะ ละการประพฤติ
พรหมจรรย์นั้น ๆ แล้ว มีภรรยา. บทว่า โอทนกุมฺมาสํ ได้แก่ กินข้าว

45
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 46 (เล่ม 15)

บ้าง กินขนมบ้าง ยิ่งกว่าที่ดื่มสุราและกินเนื้อสัตว์. บทว่า ยสา นิหีโน
ความว่า เขาประสบความเลิศด้วยลาภ ความเลิศด้วยยศอันใด ที่เสื่อม
จากลาภและยศอันนั้น อิทธิปาฏิหาริย์ที่สูงยิ่งกว่าปกติธรรมดาของมนุษย์
ชื่อว่าเป็นคุณที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพราะเหตุนั้น ใน
ข้อนี้พึงทราบปาฏิหาริย์ ๗ อย่าง คือการก้าวพระบาทไปได้ ๗ ก้าว. บทว่า
ปาฏิกปุตฺโต คือเป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ ปาฏิกะ. บทว่า ญาณวาเทน
คือกับญาณวาทะ. บทว่า อุปฑฺฒปถํ ความว่า ถ้าในระหว่างพวกเรา
พึงมี (หนทางไกล) หนึ่งโยชน์ พระสมณโคดม พึงเสด็จไปกึ่งหนทาง
เราก็พึงไปในกึ่งหนทาง. ในหนทางมีกึ่งหนทางเป็นต้น ก็นัยนี้. บุคคลผู้
เดินไปได้ ๑ ก้าว จักชนะ ผู้ไม่ได้ดำเนินไปจักแพ้. บทว่า เต ตตฺถ
ความว่า ในที่พบกันนั้น เราทั้งสอง (พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่า
ปกติธรรมดาของมนุษย์). บทว่า ตทฺทิคุณํ ตทฺทิคุณาหํ ความว่า เรา
จักกระทำให้มากกว่านั้น เป็นทวีคูณๆ. อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แม้ทราบ
ความที่ตนไม่สามารถทำปาฏิหาริย์แข่งกับพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ทราบ
ว่า ผู้ที่เริ่มทำปาฏิหาริย์แข่งกับบุรุษชั้นเยี่ยม แม้ไม่สามารถเอาชนะได้
ก็ได้รับคำสรรเสริญกลัวจึงกล่าวอย่างนี้. แม้ชาวพระนครฟังคำนั้นแล้ว
ก็พากันคิดว่า ธรรมดาคนที่ไม่สามารถย่อมไม่ประกาศอย่างนี้ อเจลก-
ปาฏิกบุตร แม้นี้จักเป็นพระอรหันต์แน่แท้ จึงได้พากันทำสักการะเป็น
อันมากแก่เขา.
คำว่า เยนาหนฺเตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า สุนักขัตตะ ได้
สดับว่า อเจลกปาฏิกบุตร ย่อมกล่าวอย่างนี้. ทีนั้น อเจลกชื่อว่าปาฏิก-
บุตร ได้เกิดความคิด (อย่างนี้) เพราะมีอัธยาศัยชั่ว เพราะมีความคิดเห็น
ทราม. สุนักขัตตะ ทำวัตรพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาค
เจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎีจึงไปสำนัก อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แล้วถามว่า

46
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 47 (เล่ม 15)

ได้ยินว่า ท่านกล่าวคำเช่นนี้หรือ. เขาตอบว่า ใช่ เรากล่าว. สุนักขัตตะ
กล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอย่าคิด อย่ากลัวเลย ท่านเป็นผู้ ที่คุ้นเคย
จงพูดอย่างนี้ร่ำไป ข้าพเจ้าเป็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดม ย่อมทราบ
วิสัยของพระองค์ พระสมณโคดม จักไม่สามารถทำปาฏิหาริย์กับท่านได้
เราจักบอกแก่พระสมณโคดมให้เกิดความกลัว จักพาพระองค์ไปที่อื่น ท่าน
อย่ากลัวไปเลย ได้ปลอบโยนอเจลกปาฎิกบุตรจนเบาใจ ไปสำนักพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เยนาหํ เตนุปสงฺกมิ.
ในคำว่า ตํ วาจํ เป็นต้นนั้น ความว่า อเจลกปาฏิกบุตร เมื่อ
กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเลย ได้เที่ยวพูดว่า ข้าพเจ้าเป็น
พระพุทธเจ้า ได้กล่าวถ้อยคำไม่จริงเลย ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า
เลย ชื่อว่าละวาจานั้น อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตร นั่งคิดในที่ลับตาคน
คิดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเลยตลอดกาลนั้น ได้เที่ยวพูดว่า
ข้าพเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า จำเดิมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปข้าพเจ้ามิได้เป็น
พระพุทธเจ้า ชื่อว่าละความคิดนั้น ปาฏิกบุตร เมื่อละความคิดว่า
ข้าพเจ้ามิได้เป็นพระพุทธเจ้าแต่ได้ยึดถือทิฏฐิชั่วว่าข้าพเจ้าเป็นพระพุทธ-
เจ้าเที่ยวไปตลอดกาลเท่านี้ ข้าพเจ้าละทิฏฐินี้จำเดิมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ชื่อว่าสละทิฏฐินั้น แต่ปาฏิกบุตรไม่ทำอย่างนี้ ท่านจึงกล่าวว่าไม่ละวาจา
นั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สละทิฏฐินั้น. บทว่า วิปเตยฺย คือ ศีรษะ
ของเขา พึงหลุดจากคอเหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้ว หรือพึงแตกเจ็ด
เสียง.
บทว่า รกฺขเตตํ ได้แก่ จงทรงรักษาพระวาจานั้น. บทว่า
เอกํเสน คือโดยนิปปริยาย. บทว่า โอธาริตา แปลว่า กล่าวแล้ว. คำ
ว่า อเจโล จ ภนฺเต ปาฏิกปุตฺโต ความว่า ถ้า อเจลกปาฏิกบุตร
กล่าวแล้วโดยวาจาแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยส่วนเดียวด้วย ประการฉะนี้.

47
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 48 (เล่ม 15)

บทว่า วิรูปรูเปน ได้แก่ แปลงรูป. อธิบายว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตร
มาด้วยรูปที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม คือ ละรูปขอคนมาอยู่เฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการที่ไม่ปรากฏ หรือด้วยรูปต่าง ๆ เช่น
ราชสีห์ และ เสือ เป็นต้น. คำว่า ตทสฺส ภควโต มุสา ความว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระดำรัสนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเป็นคำเท็จ คือ
(อเจลกปาฏิกบุตร) ข่มด้วยมุสาวาท. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่พึงถูกข่มด้วยมุสาวาทอื่นเว้นแต่มุสาวาทข้อนั้น. บทว่า ทฺวยคามินี
ความว่า มีพระวาจาเป็นสองอย่างนี้ คือ มีอยู่โดยย่อแต่ไม่มีโดยเนื้อหา
ที่เป็นประโยชน์. คำว่า ทฺวยคามินี นั่น เป็นชื่อวาจาที่เหลาะแหละ
เปล่าประโยชน์ และไม่มีผล.
คำว่า อชิโตปิ นาม ลิจฺฉวีนํ เสนาปติ ความว่า ได้ทราบว่า
อชิตะนั้น เป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาตายเสียแล้ว.
คราวนั้น พวกมนุษย์ได้ทำฌาปนกิจศพเขาแล้วถามปาฏิกบุตรว่าเสนาบดี
เกิดที่ไหน ปาฏิกบุตรตอบว่า เกิดในมหานรก. ก็แล ปาฏิกบุตร ครั้น
กล่าวอย่างนี้แล้วพูดอีกว่า เสนาบดีของพวกท่านมาสำนักของเราแล้วร้อง-
ไห้ว่า เราไม่ทำตามถ้อยคำของท่าน เชื่อในวาทะของสมณโคดม บังเกิด
ในนรกแล้ว.
ในคำว่า เตนุปสงฺกมึ ทิวาวิหาราย นี้ ถามว่า เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสว่า เพื่อทำปาฏิหาริย์. ตอบว่า เพราะไม่
มีเหตุ แม้ความเผชิญหน้ากันของปาฏิกบุตรกับพระผู้มีพระภาคไม่มี การ
กระทำปาฏิหาริย์ จะมีแต่ไหน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสว่า ทิวาวิหารราย.
บทว่า คหปติเนจยิกา ได้แก่ คฤหบดีมหาศาล. จริงอยู่
คฤหบดีเหล่านั้นได้สะสมทรัพย์สละข้าวเปลือกเป็นอันมากไว้ เพราะฉะนั้น

48
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 49 (เล่ม 15)

คฤหบดีเหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า เนจยิกา. บทว่า อเนกสหสฺสา ได้ แก่
คำนวนไม่ได้ แม้ด้วยจำนวนพัน. ได้ยินว่า บุคคลอื่นเว้นสุนักขัตตะย่อม
ไม่สามารถให้บริษัทใหญ่ประชุมกันได้อย่างนี้ เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระ
ผู้ มีพระภาคเจ้าได้พาสุนักขัตตะเที่ยวไป ตลอดกาลประมาณเท่านี้. ความ
สะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่าภัย ความหวั่นไหวแห่งสรีระทุกส่วน ชื่อว่า ฉมฺภิตตฺตํ.
การที่เส้นขนทั้งหลายชูชันขึ้น ชื่อว่า โลมหํโส. ได้ยินว่า อเจลกชื่อว่า
ปาฏิกบุตร คิดว่า เราได้กล่าวถ้อยคำใหญ่ยิ่ง ทำผิดกับบุคคลผู้เลิศในโลก
กับทั้งเทวโลก ความเป็นพระอรหันต์หรือเหตุแห่งการกระทำปาฏิหาริย์
ไม่มีภายในเราเลย ส่วนพระสมณโคดม จักกระทำปาฏิหาริย์ เมื่อเป็นเช่น
นั้น มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จักเบียดเบียนด้วย
เครื่องประหารมี ท่อนไม้ ก้อนดิน และอาชญาเป็นต้น ด้วยกล่าวว่า บัดนี้
ท่านไม่สามารถทำปาฏิหาริย์ได้ เพราะเหตุไรจึงไม่รู้ประมาณตัวเอง มา
ตั้งตัวเป็นคู่ต่อสู้กับบุคคลชั้นเลิศในโลก แสดงกิริยารุกราน. เพราะฉะนั้น
ความกลัว ความหวาดกลัวหรือความขนพองสยองเกล้าจึงได้เกิดขึ้นแก่เขา
เพราะสดับข่าวการประชุมกันของมหาชนและการเสด็จมาของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า. อเจลกปาฏิกบุตรนั้น ใคร่จะพ้นจากทุกข์นั้น จึงได้ไปอาราม
ของปริพาชกชื่อว่า ติณฑุกขาณุ. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรม
สังคาหกจารย์จึงกล่าวว่า อถ โจ ภคฺคว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า อเจลกชื่อว่าปาฏิก-
บุตร มิได้เข้าไปหาอย่างเดียว ก็ครั้นเข้าไปแล้ว ก็เข้าไปยังอารามของปริ-
พาชกไกลได้กึ่งโยชน์ ยังไม่ได้ความสบายใจ จึงเข้าไปทางด้านริมสุดของ
อาราม เลือกได้สถานที่เป็นป่ารกแห่งหนึ่ง ที่ริมอาราม นั่งบนแผ่นหิน.
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ถ้าอเจลกปาฏิกบุตรนี้เป็นคนพาล
เชื่อคำของคนบางคน พึงมาในสถานที่นี้ไซร้ คนพาลจงอย่าฉิบหายเลย จึง

49
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 50 (เล่ม 15)

ทรงอธิษฐานว่า ขอแผ่นหินที่นั่งจงติดกับสรีระของเขาพร้อมกับจิตที่อธิษ-
ฐานที่นั่งนั้นได้ติดกับสรีระของเขา. อเจลกปาฏิกบุตรนั้น ได้เป็นเหมือน
ถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือโซ่ตรวนใหญ่และเหมือนถูกตัดเท้าฉะนั้น. บทว่า
อสฺโสสิ ความว่า พวกบริษัทพากันแสวงหา อเจลกชื่อปาฏิกบุตร ข้างโน้น
และข้างนี้ เมื่อถูกบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้ติดตามรอยเท้าของอเจลกชื่อปาฏิก-
บุตร รู้ที่นั่งมาแล้ว ถามว่า พวกท่านแสวงหาใคร ต่างพากันตอบว่า อเจลก-
ชื่อปาฏิกบุตร ได้ฟังวาจาที่บุรุษนั้นตอบว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตร นั้น
นั่งอยู่ในอารามปริพาชกชื่อว่า ติณฑุกขาณุ. บทว่า สํ สปฺปติ ได้แก่
ซบศีรษะ คืออยู่ในอารามนั้นนั่นเอง. ตะโพก ท่านเรียกว่า ปาวฬะ.
บทว่า ปราภูตรูโป ได้แก่ เป็นผู้แพ้แล้ว คือฉิบหายแล้ว.
บทว่า โคยุเคหิ ความว่า ด้วยคู่เทียมแล้วด้วยโคจำนวนร้อย
หรือจำนวนพัน. บทว่า อาวิญฺเชยฺยาม แปลว่า พึงลากมา. บทว่า
ฉิชฺเชรุํ ได้แก่ พึงขาดออกหรือ อเจลกชื่อปาฏิกบุตร พึงขาดออก
ในที่ผูก.
บทว่า ทารุปตฺติกนฺเตวาสี ได้แก่ ผู้เป็นศิษย์แห่งช่างกลึง-
ไม้. ได้สดับว่า ศิษย์ช่างกลึงไม้นั้น ได้มีความคิดว่า จงยกปาฏิหาริย์ไว้
ก่อน พระสมณโคดมกล่าวว่า อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตร จักไม่ลุกขึ้นแม้
จากอาสนะ เอาเถอะเราจักไปให้ปาฏิกบุตรนั้นลุกขึ้นจากอาสนะด้วย
อุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสมณโคดมก็จักแพ้
เพราะฉะนั้น ศิษย์ช่างกลึงไม้จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สีหสฺส ความว่า
พญาสีหมิคราช มี ๔ ชนิด คือ พญาสีหติณราช พญาสีหกาฬราช
พญาสีหปัณฑุราช และ พญาสีหเกสรราช. บรรดาพญาสีหราช
เหล่านั้น พญาสีหเกสรราช ได้ถึงความเป็นสัตว์เลิศ. ในที่นี้

50