No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 31 (เล่ม 15)

ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยเทวดาชื่อมโนปโทสิกะ
[๑๕] ภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางจำพวก บัญญัติสิ่งที่โลก
สมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่า มโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์
เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลก
สมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะตามลัทธิอาจารย์จริง
หรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่น
นั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่า
มีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่าง
อะไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ถูก เมื่อ
ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย
พวกเทวดาชื่อ มโนปโทสิกะ มีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกิน
ควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อ
ต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกาย ลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น.
เธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น
แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึง
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกถึงไม่ได้. เขา
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่า มโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัว
เพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันแลกันเกินควร ก็ไม่
คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกันแล้ว ก็ไม่ลำบาก
กายไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน

31
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 32 (เล่ม 15)

มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นที
เดียว. ส่วนพวกเราเหล่า มโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
เมื่อมัวเพ่งโทษกันละกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงพากันลำ-
บากกาย ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่
ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่ง
ที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่า มโนปโทสิกะ ตามลัทธิ
อาจารย์ มีแบบเช่นนี้ หรือมิใช่. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า
ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล. ภัคควะ
เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น แต่เราไม่ยึดมั่น
ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น
ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยมีความเห็นว่าเกิดขึ้นลอย ๆ
[๑๖] ดูก่อนภัคควะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติสิ่งที่
โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไป
ถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือ
กันว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวก
ท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ตามลัทธิอาจารย์
มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่
ถูก เมื่อตอบไม่ถูกจึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า
เธอทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์ ก็แลเทวดาเหล่านั้นย่อม
จุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา. ดูก่อนเธอทั้งหลาย ก็
เป็นฐานะที่จะมีได้ผล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้

32
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 33 (เล่ม 15)

เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวช
แล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงความเกิดขึ้น
แห่งสัญญานั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตา
และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะว่าเมื่อก่อนข้าพเจ้า
ไม่ได้มีแล้ว (ไม่มีสัญญา) เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นไม่มี เพราะน้อมไปเพื่อความ
เป็นผู้สงบ. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ
ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ตอบอย่างนี้
ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล.
ภัคควะเราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และ
ไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน
ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยสุภวิโมกข์
[๑๗] ภัคควะ สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวตู่เรา ซึ่งกล่าว
อยู่อย่างนี้ ด้วยคำที่ไม่มีจริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำมุสา ด้วยคำที่ไม่เป็น
จริง พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์
อยู่. สมัยนั้น ย่อมทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. ภัคควะ ก็เราไม่ได้กล่าว
อย่างนี้เลยว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวโมกข์อยู่. สมัยนั้น ย่อม
ทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. แต่เราย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า สมัยใด พระ
โยคาวจรย่อมเข้าสุกวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดแต่สิ่งที่ดีงามเท่า
นั้น. สละ ผู้ที่ชื่อว่าวิปริตไปแล้ว ก็คือผู้ที่กล่าวร้ายพระผู้มีพระภาค
และพวกภิกษุ เพราะตนวิปริตไปเองได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ

33
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 34 (เล่ม 15)

องค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดง
ธรรมให้ข้าพระองค์เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่.
ภัคควะ การที่เธอผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจทาง
หนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่งไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มี
ลัทธิอาจารย์จะเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากมาก ขอให้เธอจงรักษา
ความเลื่อมใสในเราเท่าที่เธอมีอยู่ให้ดีก็พอ.
ปริพาชกชื่อ ภัคควะโคตร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ถ้าว่าการที่ข้าพระองค์ผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไป
ทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ
ไม่มีลัทธิอาจารย์ เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากก็จริง ข้าพระองค์ก็
จะพยายามรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเท่าที่ ข้าพระองค์มีอยู่
ให้ดี.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ปริพาชกชื่อ ภัคควะ-
โคตร มีความยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้ มีพระภาคแล้วแล.
จบ ปาฏิกสูตรที่ ๑

34
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 35 (เล่ม 15)

สุมังคลวิลาสินี
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรควรรณนา
อรรถกถาปาฏิกสูตร
ปาฏิกสูตร มีคำบาลีว่า เอวมฺเม สุตํ ฯ เป ฯ มลฺเลสุ วิหรติ.
ในปาฎิกสูตรนั้นจะได้อธิบายข้อความตามลำดับบทดังต่อไปนี้ :-
คำว่า มลฺเลสุ วิหรติ มีคำอธิบายดังนี้ แม้ชนะแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นถิ่นพำนักอาศัยของบรรดามัลลราชกุมาร ผู้มีนิวาสฐาน อยู่ในชนบท
ก็เรียกว่า มัลละ เพราะเพิ่มศัพท์เข้ามา (พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่) ในชนบทแห่งหนึ่งนั้น ในบรรดามัลลชนบททั้งหลาย. คำว่า
อนุปฺปิยํ นาม มลฺลานํ นิคโม มีคำอธิบายดังนี้ มีนิคมชนบทของ
ชาวมัลละแห่งหนึ่งชื่อว่า อนุปิยะ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ในราว
ป่าแห่งหนึ่งถือพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ อาศัยอนุปิยนิคมชนบทนั้นเป็น
โคจรคาม. บาลีบางแห่งเป็น "อโนปิยะ" ก็มี. บทว่า ปาวิสิ แปลว่า
ได้เสด็จเข้าไปแล้ว. อนึ่ง จะกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปเสร็จ
สิ้นแล้วไม่ได้ ต้องกล่าวว่ายังต้องเสด็จเข้าไปอีก เพราะเหตุว่าแม้เสด็จ
ออกมาแล้ว ก็ยังทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จเข้าไปอีก. มีอุปมาดังนี้.
เช่นชายคนหนึ่งออกจากบ้านประสงค์จะไปยังบ้านอีกแห่งหนึ่ง แม้จะเดิน
ทางยังไม่ถึงบ้านแห่งนั้น เมื่อมีคำถามว่า ชายคนนี้อยู่ที่ไหน ก็ต้อง
ตอบว่าเขาไปบ้านนั้นแล้ว ข้อนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็มีฉันนั้น.
คำว่า เอตทโหสิ พระราชดำรินี้ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อพระผู้มี
พระภาคประทับยืนอยู่ใกล้บ้านและทอดพระเนตรดวงอาทิตย์. คำว่า
อติปฺปโค โข แปลว่า ยังเช้ามืดเกินไป คนในตระกูลทั้งหลาย

35
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 36 (เล่ม 15)

ยังจัดข้าวยาคูไม่เสร็จ. มีคำถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบ
เวลาหรือจึงเสด็จออกไป. มีคำตอบว่า พระองค์ไม่ทรงทราบเวลาเสด็จ
ออกไปก็หามิได้. เพราะในเวลาเช้าตรู่ พระผู้มีพระภาคทรงแผ่ข่ายพระ
ญาณตรวจดูสัตว์โลก ทอดพระเนตรเห็นฉันนปริพาชก ภัคควโคตร เข้า
ไปปรากฏในข่ายพระญาณ ทรงทราบแน่ชัดว่า ในวันนี้ เราจักนำเหตุที่
เราได้บำเพ็ญไว้ในปางก่อนมาแสดงธรรมแก่ปริพาชกนี้ ธรรมกถานั้นจัก
มีผลเพราะปริพาชกนั้นได้ความเลื่อมใสในเรา ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จ
เข้าไปยังอารามของปริพาชก จึงได้เสด็จออกไปแต่เข้าตรู่ เพราะฉะนั้น
จึงทรงบังเกิดมีพระราชดำริอย่างนี้ เพราะมีพระราชประสงค์จะเสด็จเข้า
ไปในอารามของฉันนปริพาชกนั้น.
คำว่า เอตฺทโวจ มีคำอธิบายดังนี้ ฉันนปริพาชก เห็นพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มิได้แสดงอาการแข็งกระด้างเพราะมีมานะ ได้ถวาย
การต้อนรับพระศาสดากราบทูลถ้อยคำว่า ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้ามา
เถิด พระเจ้าข้า" เป็นต้น. คำว่า อิมํ ปริยายํ ได้แก่ วาระนี้ อธิบาย
ว่า วาระที่ได้เสด็จมานี้ในวันนี้. แม้เมื่อครั้งก่อนพระผู้มีพระภาคเคยได้
เสด็จไปในอารามของฉันนปริพาชกนั้นบ้างหรือ. ไม่เคยเสด็จไป. แต่
ปริพาชกได้กราบทูลอย่างนั้น เพราะคล้อยตามสำนวนของชาวโลกทั้งหลาย.
เพราะชาวโลกทั้งหลายได้เห็นคนที่ตนพอใจ ไม่ว่าจะเคยมานานแล้วก็ดี
หรือไม่เคยมาเลยก็ดี ย่อมกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากไหน
เป็นเวลานานเหลือเกินที่ท่านผู้เจริญได้มาที่นี้อีก ท่านรู้ทางมาที่นี้ได้อย่างไร
ท่านหลงทางมาหรือ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ฉันนปริพาชกนี้
ได้กล่าวอย่างนี้ เพราะคล้อยตามสำนวนของชาวโลก. ประโยคว่า
อิทมาสนํ หมายความว่า ปริพาชก ได้กล่าวอย่างนั้นพร้อมกับชี้บอก
อาสนะที่ตนนั่ง.

36
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 37 (เล่ม 15)

คำว่า สุนกฺขตฺโต ลิจฺฉวิปุตฺโต ได้แก่ พระราชโอรสของ
กษัตริย์ลิจฉวี ทรงพระนามว่า สุนักขัตตะ. ได้ยินว่า พระราชโอรสพระ
องค์นั้นเป็นสหายคฤหัสถ์ขอฉันนปริพาชกนั้น ได้เสด็จมาสู่สำนักของ
ปริพาชกนั้น ในบางครั้งบางคราว. คำว่า ปจฺจกฺขาโต ได้แก่ บอกคืน
คือสละ ละทิ้ง ด้วยกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพเจ้า
บอกคืนพระผู้มีพระภาค บัดนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ขออยู่ อุทิศพระผู้มีพระภาค
เจ้า. คำวา ภควนฺตํ อุทฺทิสฺส ได้แก่ แสดงอ้างอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ
ภาคเป็นศาสดาของเรา เราจะปฏิบัติตามโอวาทของพระผู้มีพระภาค.
คำว่า โกสนฺโต กํ ความว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า ผู้ขอ
พึงบอกคืนผู้ถูกขอ หรือว่าผู้ถูกขอพึงผู้ขอแต่ว่าเธอมิใช่ทั้งผู้ขอและ
ผู้ถูกขอ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจะเป็นใคร บอกคืนใครเล่า.
คำว่า ปสฺส โมฆปุริส แปลว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงดู. คำว่า ยาวญฺจ
เต อิทํ อปรทิธํ แปลว่า เรื่องนี้ เป็นความผิดของเธอมากเพียงใด. พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เราขอยกโทษที่มีอยู่อย่างนี้ว่า เธอมีความผิดเพียง
ใด ก็มีโทษเพียงนั้น.
บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา แปลว่า ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
ได้แก่ศีล ๕ และศีล ๑๐. บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ ได้แก่ ปาฏิหาริย์
เป็นฤทธิ์. บทว่า กเต วา แปลว่า ได้ทำแล้วก็ตาม. บทว่า ยสฺสตฺถาย
ได้แก่ เพื่อประโยชน์แห่งความสิ้นทุกข์ใด. ด้วยคำว่า โส นิยฺยาติ
ตกฺกรสฺส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ธรรมนั้นย่อมไป คือเป็นไป
เพื่อความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวง ได้แก่เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอมตนิพพาน
แก่ผู้กระทำตามธรรมนั้น คือผู้กระทำตามธรรมที่เราแสดงไว้ ได้แก่บุคคล
ผู้ปฏิบัติชอบ. หรือด้วยคำว่า ตตฺร สุนกฺขตฺต เป็นต้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงความไร้ประโยชน์แห่งปาฏิหาริย์ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะเมื่อธรรม

37
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 38 (เล่ม 15)

ที่เราแสดงแล้วนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น
อิทธิปาฏิหาริย์อันยุ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ที่เรากระทำแล้ว จักทำอะไรได้
คือ มีประโยชน์อะไรด้วยการกระทำปาฏิหาริย์นั้น เพราะแม้เราจะกระทำ
ปาฏิหาริย์นั้นหรือไม่กระทำก็ตาม ความเสื่อมแห่งคำสอนของเราย่อมไม่มี
ความจริงเราบำเพ็ญบารมีมาเพื่อมุ่งให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บรรลุ
อมตนิพพาน มิได้มุ่งให้ทำปาฏิหาริย์แล้วได้ทรงยกโทษที่สองว่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ เธอจงเห็น.
คำว่า อคฺคญฺญํ คือ บัญญัติแห่งโลกที่พึงรู้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้เป็น
เลิศในโลก ได้แก่ความประพฤติอันเลิศ พระราชกุมารตรัสว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่บัญญัติส่งที่โลกสมมติว่าเลิศนั้น. คำที่เหลือในพระสูตรนี้
พึงทราบตามทำนองวาระที่อยู่ถัดไปนั่นเทียว. คำว่า อเนกปริยาเยน โข
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภขึ้น เพราะเหตุใด. ได้ยินว่าสุนักขัตต-
ราชกุมาร ได้ทรงพร่ำบ่นคำเช่นนี้ว่า เราจักลบล้างคุณของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า บัญญัติโทษขึ้นเมื่อได้สดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค ดำรง
อยู่ไม่ได้ ไม่กล้าเปล่งพระสุรเสียง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
คำว่า อเนกปริยาเยน เป็นต้น เพื่อทรงแสดงโทษในความเป็นผู้ลบหลู่
ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอตั้งอยู่ในความเป็นผู้ลบหลู่อย่างนี้ จักได้รับคำ
ติเตียนเองทีเดียว.
บทว่า อเนกปริยาเยน ในพระสูตรนั้น แปลว่าโดยมิใช่หนึ่ง.
บทว่า วชฺชิคาเม ได้แก่เวสาลีนคร ซึ่งเป็นบ้านของคณะเจ้าวัชชี. บทว่า
ว่า โน วิสหิ ได้แก่ ไม่สามารถ. บทว่า โส อวิสหนฺโต ได้แก่ สุนัก-
ขัตตราชกุมารพระองค์นั้น. ในครั้งก่อน พระราชกุมารพระองค์ใด เมื่อ
ตรัสสรรเสริญพระรัตนตรัย พระโอฐที่ตรัสไม่เพียงพอ บัดนี้ พระราช
กุมารพระองค์นั้น ได้ทรงใช้พระโอฐนั้นเหมือนกัน มาตรัสติเตียนพระ

38
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 39 (เล่ม 15)

รัตนตรัย. บทว่า อวิสหนฺโต ได้แก่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ ได้
ตรัสติเตียนเพราะความที่พระองค์เป็นพาล แล้วเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว
ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ชมเชยพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีจริง
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีจริง พระสงฆ์ปฏิบัติดีจริง ย่อมชี้
โทษของเธอโดยเฉพาะ. คำว่า อิติ โข เต ความว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เหล่ามนุษย์จักกล่าวติเตียนอย่างนี้แล.
เพราะฉะนั้น เมื่อโทษเกิดขึ้นอย่างนี้ เธอไม่อาจจะกล่าวได้ว่า พระ
ศาสดาผู้มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีตและอนาคต แม้ทรงทราบว่า โทษ
จักเกิดแก่เราอย่างนี้ ก็ไม่ตรัสเตือนเราล่วงหน้าก่อน. บทว่า อปกฺกเมว
ได้แก่ ได้หลีกออกไปทีเดียว. หรือได้หนีออกไป อธิบายว่า เคลื่อนออก
ไป. คำว่า ยถา ตํ อาปายิโก อธิบายว่า สัตว์ผู้ควรไปเกิดในอบาย
สัตว์ผู้ควรไปเกิดในนรกพึงหนีไปเกิดฉันใด เธอก็ได้หนีไปฉันนั้น.
ด้วยคำว่า เอกมิทาหํ นี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอะไร. พระ
องค์ทรงเริ่มสูตรนี้ ด้วยสองบทว่า ไม่ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์และไม่
บัญญัติสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเลิศ. ในสองบทนั้น บทว่า ไม่ทรง
บัญญัติส่งที่ชาวโลกสมมติเลิศ นี้ จักทรงแสดงในตอนท้ายสูตร.
ส่วนบทว่า ไม่ทรงทำปาฏิหาริย์ นี้ ได้ทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยอำนาจที่ทรง
แสดงสืบต่อ.
คำว่า เอกมิทาหํ ในบาลีนั้น แยกบทเป็น เอกสฺมึ อหึ. บท
ว่า สมยํ ได้แก่ ในสมัย. อธิบายว่า ในกาลครั้งหนึ่งเรา. บทว่า ถูลูสุ
อธิบายว่า มีชนบทแห่งหนึ่งชื่อว่า ถูลู เราอยู่ในชนบทนั้น. บทว่า
อุตฺตรกา นาม อธิบายว่า มีนิคมถูลูชนบท มีชื่อเป็นเพศหญิงว่า อุตตรกา
ทรงอาศัยนิคมนั้นเป็นโคจรคาม. บทว่า อเจโล ได้แก่ผู้เปลือยกาย. บทว่า
โกรกฺขตฺติโย ได้แก่ กษัตริย์ผู้มีพระบาทงองุ้ม. บทว่า กุกฺกุรวตฺติโก
ได้แก่ มาหานสุนัขวัตร ดมกลิ่น กินอาหาร นอนในบริเวณเตาไฟ เหมือน

39
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 40 (เล่ม 15)

สุนัข ทำกิริยาของสุนัขแม้อย่างอื่นอีก. บทว่า จตุโกณฺฑิโก คือเดินสี่
ขา ได้แก่คู้เข่าสองข้างและศอกสองข้างลงบนพื้นเดินเที่ยวไป. บทว่า
ฉมานิกิณฺณํ ได้แก่ ที่เรี่ยราย ใส่ไว้ วางไว้ บนพื้น. บทว่า ภกฺขสํ
ได้แก่อาหาร คือของเคี้ยว ของบริโภคอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มุเขเนว
คือ มิได้ใช้มือหยิบอาหาร ใช้ปากอย่างเดียวเคี้ยวอาหารที่พึงเคี้ยว แม้
อาหารที่พึงบริโภค. ก็ใช้ปากอย่างเดียวบริโภค. บทว่า สาธุรูโป ได้แก่
มีรูปงาม. บทว่า อรหํ สมโณ ได้แก่ สมณะผู้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง.
ศัพท์ว่า วต ในบาลีนั้น เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งความปรารถนา.ได้
ยินว่า พระราชกุมารนั้น มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า นักบวชอื่นที่จะจัด
ว่าเป็นสมณะเช่นสมณะรูปนี้ ไม่มี เพราะสมณะรูปนี้ไม่นุ่งผ้า เพราะเป็น
ผู้ มีความปรารถนาน้อย มีความสำคัญว่า สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดความเนิ่นช้า
จึงไม่ใช้แม้ภาชนะสำหรับใส่อาหาร กินอาหารที่กองอยู่บนพื้นเท่านั้น
นักบวชรูปนี้จัดว่าเป็นสมณะ ส่วนพวกเราจะเป็นสมณะได้อย่างไร. สาวก
ผู้เดินตามหลังพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูอย่างนี้ ได้มีความนึกคิดชั่วเช่นนี้.
คำว่า เอตทโวจ อธิบายว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ทรง
ดำริว่า สุนักขัตตะ ผู้มีอัธยาศัยทรามนี้ เป็นนักบวชนี้แล้วคิดอย่างไรหนอ
ครั้นทรงดำริอย่างนี้ ทรงทราบอัธยาศัยของเขา ทรงพิจารณาเห็นว่า
โมฆบุรุษผู้นี้ เดินตามหลังของพระสัพพัญญูเช่นเรา ไปสำคัญนักบวชผู้
เปลือยกายว่าเป็นพระอรหันต์ บัดนี้ คนพาลผู้นี้ ควรถูกตำหนิโทษ ณ ที่
นี้แหละ ยังไม่ทันได้เสด็จกลับเลย ได้ตรัสคำว่า ตฺวํปิ นาม เป็นต้นนี้.
ปิ ศัพท์ในคำว่า ตฺวํปิ นาม นั้น ลงในอรรถว่า ติเตียน. เพราะพระผู้มี
พระภาค เมื่อทรงติเตียนสุนักขัตตะ ได้ตรัสคำว่า ''ตฺวํปิ นาม". ในคำ
นี้ มีคำอธิบายดังนี้ ว่าแม้ตัวเธอมีอัธยาศัยทรามขนาดนี้ ยังจักปฏิญาณอย่าง
นี้ว่า เราเป็นสมณะ ผู้เป็นศากยบุตร อีกหรือ. ด้วยคำว่า กึ ปน เม

40