No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 21 (เล่ม 15)

อาจนำเอานักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร มาสู่บริษัทได้. ครั้งนั้นศิษย์
ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อว่า ชาลิยะ จึงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิก-
บุตร ที่อารามของปริพาชกชื่อ ติณฑุกขานุ แล้วจึงกล่าวว่า ท่าน
ปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป การกลับไปของท่านเป็นการดี พวก
เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่า
เดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงได้พากันออกมาแล้ว
แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง
ท่านได้กล่าววาจาในบริษัท ที่เมืองเวสาลีว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็น
ญาณวาทะ แม้ว่าเราจะเป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้เป็นญาณวาทะ
ทั้งสองฝ่าย ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่
พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม
ของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม
ของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงทำ ๒
อย่าง เราจะทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงทำ ๔ อย่าง เราจะ
ทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใด ๆ เราจักทำให้มาก
กว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฏิบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง
พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อน
กลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง พระสมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัท
ว่า นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิ
เช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่าง
นี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็น
พระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้า
พวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอาเชือกมัดนักบวช

21
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 22 (เล่ม 15)

เปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร แล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่ เชือกเหล่านั้น
หรืออเจลกชื่อ ปาฏิกบุตร พึงขาดออก ก็อเจลกปาฏิกบุตร เมื่อไม่
ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็น
เราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่อาจละวาจา จิต และสละ
คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะ
ของเขาจะพึงแตกออก ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป ด้วยการ
กลับไปของท่านนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าจะให้ชัยชนะแด่ท่าน จะ
ให้ความปราชัยแก่พระสมณโคดม.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ กล่าว
แล้วอย่างนี้ นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร จึงกล่าวว่า เราจะไป ๆ
แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ครั้งนั้น
ศิษย์ช่างกลึงบาตไม้ชื่อ ชาลิยะ จึงกล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร
ท่านเป็นอย่างไรไปเล่า ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติด
กับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่
นั่นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. อเจลกปาฏิกบุตร แม้ถูกว่าอย่าง
นี้ก็ยังกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเองไม่อาจลุกขึ้น
จากอาสนะได้ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ได้ทราบว่า อเจลก
ชื่อ ปาฏิกบุตร นี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบ
ศีรษะอยู่ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงกล่าวกะเขาต่อไปว่า
กถาว่าด้วยอุปมาสุนัขจิ้งจอกกับพญาราชสีห์
ท่านปาฏิกบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คือพญาสีหราช ได้คิด
อย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ แล้วออกจาก
ที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือ

22
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 23 (เล่ม 15)

สีหนาท ๓ ครั้ง จึงเที่ยวไปหากิน เราต้องหาหมู่เนื้อตัวล่ำสัน
กินเนื้อที่อ่อนนุ่ม ๆ แล้วกลับมาซ่อนตัวอยู่ตามเคย. ครั้งนั้น พญา
สีหมิคราชนั้น จึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนใน
เวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง
เที่ยวไปหากิน มันฆ่าหมู่เนื้อตัวล่ำสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่ม ๆ แล้วกลับ
มาซ่อนอยู่ตามเคย. ท่านปาฏิกบุตร มีสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง กิน
เนื้อที่เป็นเดนของพญาสีหมิคราชนั้น แล้วก็เจริญอ้วนท้วนมีกำลัง
ต่อมาสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้น จึงเกิดความคิดว่า เราคือใคร พญาสีห-
ราชคือใคร ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจาก
ที่ซ่อนเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบบันลือสีหนาท ๓
ครั้ง เที่ยวไปหากิน เราต้องฆ่าหมู่ เนื้อตัวล่ำสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่มๆ
แล้วก็กลับมาซ่อนอยู่ตามเคย. ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้นอาศัย
ป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดู
ทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วคิดว่า เราจักบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แต่
กลับบันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกอย่างน่ากลัว น่าเกลียด สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำ
ทรามเป็นอย่างไร และการบันลือของสีหะเป็นอย่างไร. ปาฏิกบุตร
ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็น
เดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่
สามารถที่จะให้อเจลกชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้
ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ ว่า
สุนัขจิ้งจอกสำคัญตนเป็นสีหะ จึงได้ถือตัว

23
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 24 (เล่ม 15)

ว่าเป็นมิคราช มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น
สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำทรามเป็นอย่างไร การบันลือของสีหะ
เป็นอย่างไร.
[๑๐] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตาม
แบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุก
รานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตร
เป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าเป็นอย่างไร. ภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่
สามารถที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้น
ได้ แม้ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สุนัขจิ้งจอกดูเงาของตนที่ปรากฏในน้ำ ทั้ง
อยู่ข้างบ่อ ไม่เห็นตนตามความเป็นจริง จึงถือตัวว่า
เป็นสีหะ มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น เสียง
สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำทรามเป็นอย่างไร การบันลือของสีหะ
เป็นอย่างไร.
[๑๑] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบ
พระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระ
ตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร
การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่สามารถ
ที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วย
คำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ ดังนี้ว่า
สุนัขจิ้งจอกกินกบ กินหนู ตามลานข้าวและ
กินซากศพที่ทิ้งตามป่าช้า จึงอ้วนพีอยู่ตามป่าใหญ่

24
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 25 (เล่ม 15)

ตามป่าที่ว่างเปล่า จึงได้ถือตัวว่าเป็นมิคราช มันได้
บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำทราม
เป็นอย่างไร การบันลือของสีหะเป็นอย่างไร.
[๑๒] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบ
พระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเตนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถา-
คตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฎิกบุตรเป็นอย่างไร การรุก
รานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่สามารถ
ที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วย
คำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงกลับมาหาบริษัทนั้น แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ
นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร นี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่าเราจะไป ๆ
แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ นั้น กล่าว
อย่างนี้ เราจึงกล่าวกะบริษัทนั้นว่า เธอทั้งหลาย นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิก-
บุตร ไม่ละวาจา จิต สละสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะพบ
เห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืน
ทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะ
พึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอา
เชือกมัดนักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร แล้วฉุดมาด้วยโคมากคู่ เชือก
เหล่านั้นหรืออเจลกปาฎิกบุตรพึงขาดออก ก็นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร
เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็น
เราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืน
ทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะ
พึงแตกออก.

25
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 26 (เล่ม 15)

ดูก่อนภัคควะ ลำดับนั้น เราจึงให้บริษัทนั้นเห็นแจ้ง ให้สมา-
ทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ทำให้พ้นจากเครื่องผูกใหญ่
รื้อถอนสัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ขึ้นจากหลุมใหญ่ จึงเข้าเตโชธาตุกสิณ
เหาะขึ้นเวหาสสูงประมาณ ๗ ชั่วลำตาล เนรมิตไฟอื่นให้ลุกโพลงมีควัน
กลบ สูงประมาณ ๗ ชั่วลำตาลแล้ว จึงกลับมาปรากฏที่กูฎาคารศาลาป่า
มหาวัน. ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้า
มาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราจึง
ได้กล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า สุนักขัตตะเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน วิบากนั้นได้มีขึ้น เหมือนดังที่เราได้พยากรณ์นักบวชเปลือยชื่อ
ปาฏิกบุตร แก่เธอ มิใช่มีโดยประการอื่น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบาก
นั้นได้มีแล้วเหมือนดังที่พระตถาคตได้ทรงพยากรณ์อเจลกชื่อ ปาฏิกบุตร
แก่ข้าพระองค์ มิใช่โดยประการอื่น.
เรากล่าวว่า เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้
อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราแสดงแล้ว
หรือยัง.
สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์แสดงไว้
แล้วแน่นอน มิใช่ไม่ทรงแสดงก็หาไม่.
เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
แก่ข้าพระองค์ดังนี้. เธอจงเห็นว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดของ
เธอเพียงไร ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ เมื่อเรากล่าว
อย่างนี้ ได้หนีไปจากพระธรรมวินัยนี้เหมือนสัตว์ผู้ไปเกิดในอบายและ
นรกฉะนั้น.

26
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 27 (เล่ม 15)

กถาว่าด้วยมหาพรหมเป็นต้น
[๑๓] ดูก่อนภัคควะ ก็เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ
ทั้งรู้ชัดกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นจงทราบ
ความดับได้เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์. ดูก่อนภัคควะ มีสมณ-
พราหมณ์บางพวก บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่า
พระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ได้
ยินว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่า
พระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูก
เราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่าน
บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่าพระพรหมทำให้ตาม
ลัทธิอาจารย์มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้ ก็
ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย
มีบางกาลบางสมัยล่วงมาช้านาน ที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศ
อยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จ
ทางใจ มีปิติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ใน
อากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลช้านาน.
เธอทั้งหลาย มีบางกาลบางสมัยล่วงมาช้านาน ที่โลกนี้กลับเจริญ
เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่า ว่างเปล่า ครั้งนั้น
สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ
ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติ
เป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ใน
วิมานงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์นั้นอยู่แต่
ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน ความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ
แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง. ต่อมา สัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้น

27
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 28 (เล่ม 15)

อาภัสสรพรหมเพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่
ว่าง เป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติ
เป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่
ในวิมานงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลช้านาน.
เธอทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีความ
คิดเห็นอย่างนี้วา เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ไม่มีใครข่ม
ได้ เห็นถ่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็น
ผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว
และกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้ เราเนรมิตขึ้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะ
ว่าเราได้มีความคิดอย่างนี้ก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์อื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้
บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และสัตว์เหล่านี้ ก็ได้มาเป็นอย่างนี้
แล้ว. แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ นี้
แล เป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มี ใครข่มได้ เห็นถ่อง
แท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประ-
เสริฐ. เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว
และกำลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้เนรมิตแล้ว. ข้อนั้นเพราะ
เหตุใด. เพราะว่าพวกเราได้เห็นท่านพรหมผู้นี้เกิดก่อน ส่วนพวกเราเกิด
ภายหลัง.
เธอทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น สัตว์ใดเกิดก่อน สัตว์นั้นมี
อายุยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์มากกว่า. ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลัง
มีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า. เธอทั้งหลาย ก็เป็น
ฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็น (มนุษย์)
อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ
บวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ

28
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 29 (เล่ม 15)

แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้ใดแลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็น
ถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและ
กำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดที่เนรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็น
ผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้ง
อยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นเนรมิต
แล้ว เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่าง
นี้. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่า พระอิศวรทำให้ ว่าพระ
พรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่. สมณพราหมณ์
เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดม
ได้กล่าวมานี้แล.
ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่า
นั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้
เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยเทวดาชื่อขิฑฑาปโทสิกะ
[๑๔] ภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวก บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติ
ว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะตามลัทธิอาจารย์ เราจึง
เข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่า
เลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึง
ถามต่อไปว่า พวกเธอบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดา
เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่า

29
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 30 (เล่ม 15)

นั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึง
พยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ มีอยู่ พวก
นั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจน
เกินเวลา เมื่อพวกเขาพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวล
เสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากัน
จุติจากชั้นนั้น. เธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง
จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัย
ความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วย่อมตามระ-
ลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขา
จึงกล่าวอย่างนี้ว่าท่านพวกเทวดาผู้มีใช่เหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่
พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกิน
เวลา สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้น
นั้นเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จึงตั้งอยู่
เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นแล. ส่วนพวกเราเหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่
แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อม
หลงลืม เพราะสติหลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้. ก็พวกท่านบัญญัติ
สิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ตาม
ลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้
ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมา ดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล.
ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และ
ไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้น ด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน

30