No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 68 (เล่ม 2)

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง
[๑๖๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายผลมะม่วง
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้
จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาชมพู่ ได้ถวายผลชมพู่แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ๆ มีความรังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึง
ไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุนสำมะลอ ได้ถวายผลขนุน
สำมะลอแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่
จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุน ได้ถวายผลขนุนแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาผลตาลสุก ได้ถวายผลตาลสุก
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้

68
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 69 (เล่ม 2)

จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาอ้อย ได้ถวายอ้อยแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะพลับ ได้ถวายผลมะพลับแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึง
ไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
เรื่องยืมไม้ของสงฆ์
[๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งขอยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาที่อยู่
ของตน ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด
อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดขอยืม พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะขอยืม.
เรื่องลักน้ำของสงฆ์
[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักน้ำของสงฆ์ แล้ว
มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.

69
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 70 (เล่ม 2)

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องลักดินของสงฆ์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักดินของสงฆ์แล้วมีความ
รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตเผาหญ้ามุงกระต่ายของ
สงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

70
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 71 (เล่ม 2)

เรื่องเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๖๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักเตียงของ
สงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ลักตั่งของสงฆ์ แล้วมี
ความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักฟูกของสงฆ์ แล้วมี
ความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักหมอนของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

71
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 72 (เล่ม 2)

๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานประตูของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานหน้าต่างของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักไม้กลอนของสงฆ์
แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องของมีเจ้าของ ไม่ควรนำมาใช้
[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายนำเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้
สำหรับวิหารของอุบาสกคนหนึ่ง ไปใช้สอย ณ ที่แห่งอื่น จึงอุบาสกนั้นแพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจึงได้นำเครื่องใช้สอยในที่อื่น
ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง อันภิกษุ
ไม่พึงใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

72
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 73 (เล่ม 2)

เรื่องของมีเจ้าของ ควรขอยืม
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะนำกระทั่งผ้าปูนั่งประชุมไป
แม้ ณ โรงอุโบสถ จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวก็ดี จีวรก็ดี แปดเปื้อนฝุ่น
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองจัมปา
[๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล อันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทา ไปสู่
สกุลอุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาในเมืองจัมปาแล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนา
จะดื่มยาคูที่ปรุงด้วยของ ๓ อย่าง ตนสั่งให้เขาหุงหาให้แล้วนำไปฉันเสีย
ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกานั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ
ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความรังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ แจ้งแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ
สัมปชานมุสาวาท.
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีอันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทาไปสู่สกุล
อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาในเมืองราชคฤห์แล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนาจะ
ฉันขนมรวงผึ้ง ตนสั่งให้เขาทอดแล้วนำไปฉันเสีย ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า
จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกานั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความ
รังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.

73
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 74 (เล่ม 2)

เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชุกะใน
เมืองเวสาลี มีเด็กชาย ๒ คน คือบุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง ครั้นนั้น
ท่านคหบดีได้สั่งคำนี้ไว้กะท่านพระอัชชุกะว่า พระคุณเจ้าข้า บรรดาเด็ก ๒ คน
นี้ เด็กคนใดมีศรัทธาเลื่อมใส พระคุณเจ้าพึงบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่เด็ก
คนนั้น ดังนี้แล้วได้ถึงแก่กรรม ครั้นสมัยต่อมา หลานชายของคหบดีนั้น
เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จึงท่านพระอัชชุกะได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้นแก่เด็ก
หลานชาย ๆ นั้นได้รวบรวมทรัพย์ และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัติ
นั้นแล้ว.
ภายหลัง บุตรชายคหบดีนั้น ได้เรียนถามเรื่องนี้กะท่านพระอานนท์ว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ใครหนอเป็นทายาทของบิดา บุตรชายหรือหลานชาย.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า คุณ ธรรมดาบุตรชายเป็นทายาทของบิดา.
บุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอัชชุกะนี้ ได้บอกทรัพย์สมบัติของ
กระผมให้แก่คู่แข่งขันของกระผม.
อา. คุณ ท่านพระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ.
สำดับนั้น ท่านพระอัชชุกะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส
อานนท์ ขอท่านได้โปรดให้การวินิจฉัยแก่กระผมด้วยเถิด.
ก็ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเป็นฝักฝ่ายของท่านพระอัชชุกะท่านจึงถาม
ท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์ ภิกษุใดอันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่าน
ได้โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ แล้วบอกแก่บุคคลนั้น ภิกษุนั้น
จะต้องอาบัติด้วยหรือ.
อา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติสักน้อย โดยที่สุดแม้
เพียงอาบัติทุกกฏ.

74
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 75 (เล่ม 2)

อุ. อาวุโส ท่านพระอัชชุกะนี้อันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่านได้
โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่บุคคลนั้น ท่านพระ-
อัชชุกะไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเมืองพาราณสี
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล สกุลอุปัฏฐากของท่านพระปิลินทวัจฉะใน
เมืองพาราณสี ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก ๒ คนถูกพวกโจรนำตัวไป ครั้นนั้น
ท่านพระปิลินทวัจฉะนำเด็ก ๒ คนนั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท
ชาวบ้านเห็นเด็ก ๒ คนนั้นแล้ว ต่างพากันเลื่อมใสในท่านพระปิลินทวัจฉะ
เป็นอย่างยิ่งว่า นี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิลินทวัจฉะ ภิกษุทั้งหลายพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระปิลินทวัจฉะจึงได้นำเด็กที่ถูก
พวกโจรนำตัวไปแล้วคืนมาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุมีฤทธิ์.
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
[๑๗๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูป ชื่อปัณฑกะ ๑ ชื่อกปีล ๑
เป็นสหายกัน รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อ
ภิกษุนั้นเดินทางจากหมู่บ้านไปเมืองโกสัมพี ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลว
มันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมูลอยติดอยู่ที่เท้า ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วย
ตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ สตรี
เลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา
นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติ เราก็ไม่เป็นสมณะ
แล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรีเลี้ยงโคนั้น ไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว แจ้งเรื่องนี้

75
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 76 (เล่ม 2)

แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอทินนาทาน แต่ต้อง
อาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุนธรรม.
เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
[๑๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะใน
เมืองสาคละ ถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระทัฬหิกะว่า กระผมไม่เป็นสมณะ จักลาสิกขา ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะถามว่า คุณทำอะไรไว้.
ภิกษุนั้นสารภาพว่า ลักผ้าโพกของชาวร้าน ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้าโพกนั้นมา แล้วให้ชาวร้านตีราคาเมื่อตีราคา
ผ้าโพกนั้น ราคาไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระทัฬหิกะชี้แจงเหตุผลว่า คุณไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก ดังนี้ ภิกษุนั้นยินดียิ่งนักแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ.

76
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 77 (เล่ม 2)

ทุติยปาราชิกวรรณนา
บัดนี้ ถึงลำดับสังวรรณนาทุติย-
ปาราชิกซึ่งพระชินเจ้าผู้ไม่เป็นที่สองทรง
ประกาศแล้ว, เพราะเหตุนั้น คำใดที่จะพึงรู้
ได้ง่าย และได้ประกาศไว้แล้วในเบื้องต้น,
การสังวรรณนาทุติยปาราชิกนั้น จะเว้นคำ
นั้นเสียทั้งหมดดังต่อไปนี้ :-
[ เรื่องพระธนิยะกุมภการบุตร ]
นิกเขปบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ราชคเห วิหรติ
คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป.
บทว่า ราชคเห ได้แก่ เมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. จริงอยู่ เมืองนั้น
เรียกว่า ราชคฤห์ เพราะเป็นเมืองที่พระราชาทั้งหลายมีพระเจ้ามันธาตุ และ
พระเจ้ามหาโควินทะเป็นต้น ทรงปกครอง. ในคำว่า ราชคฤห์ นี้ พระอาจารย์
ทั้งหลาย พรรณนาประการอย่างอื่นบ้าง. จะมีประโยชน์อะไร ด้วยประการ
เหล่านั้นเล่า ?. คำว่า ราชคฤห์ นี้ เป็นชื่อของเมืองนั้น. แต่เมืองนี้นั้น
เป็นเมืองในครั้นพุทธกาล และจักรพรรดิกาล. ในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง
ถูกยักษ์หวงห้ามคือเป็นป่าเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
ครั้งแสดงโคจรคามอย่างนั้นแล้ว จึงแสดงสถานเป็นที่เสด็จประทับ.
สองบทว่า คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต มีความว่า ก็ภูเขานั้น เขาเรียกกันว่า
คิชฌกูฏ เพราะเหตุว่า มีฝูงแร้งอยู่บนยอด หรือมียอดคล้ายแร้ง.

77