No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 362 (เล่ม 14)

สัมมากัมมันตะ
แม้กุศลธรรม มีเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ก็ต่างกันใน
เบื้องต้น เพราะสัญญาในการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ต่างกัน. แต่ในขณะ
แห่งมรรค เจตนางดเว้นฝ่ายกุศล อันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรค
บริบูรณ์ โดยให้สำเร็จความไม่เกิด แห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้ว
ในฐานะ ๓ เหล่านี้ เพราะตัดทางได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.
สัมมาอาชีวะ
คำว่า มิจฉาอาชีวะ ได้แก่กายทุจริตและวจีทุจริต ที่เป็นไปเพื่อต้อง
การของเคี้ยวของกินเป็นต้น. คำว่า ละ คือเว้น. คำว่า ด้วยสัมมาอาชีวะ
คือด้วยอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ. คำว่า สำเร็จชีวิต คือดำเนินการ
เลี้ยงชีพ. ที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ต่างกันในเบื้องต้น เพราะสัญญาในการงดเว้น
จากทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น ต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรคเจตนางดเว้นฝ่ายกุศล
อันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์โดยให้สำเร็จความไม่เกิดแห่ง
เจตนาเครื่องทุศีล อันเป็นมิจฉาอาชีวะ ที่เกิดแล้วในฐานะเจ็ด (กายทุจริต
๓ วจีทุจริต ๔) เหล่านี้แหละ เพราะตัดทางได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.
สัมมาวายามะ
คำว่า ที่ยังไม่เกิด คือที่ยังไม่เกิดแก่ตนในภพหนึ่ง หรือในอารมณ์
เห็นปานนั้น. แต่พระโยคาวจรเห็นบาปอกุศลธรรม ที่กำลังเกิดแก่คนอื่น ย่อม
ยังฉันทะให้เกิด ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้เกิดบาปอกุศล

362
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 363 (เล่ม 14)

ที่ยังไม่เกิด ด้วยคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ บาปอกุศลธรรม เห็นปานนั้น ไม่พึง
เกิดแก่เราดังนี้. คำว่า ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะให้เกิด คือ ให้เกิดความ
พอใจในความเพียรที่ให้สำเร็จข้อปฏิบัติอันไม่ให้เกิดบาปอกุศลเหล่านั้น. คำว่า
วายมติ พยายาม คือ ทำความพยายาม. คำว่า วิริยํ อารภติ ปรารภ
ความเพียร คือดำเนินความเพียร. คำว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ประคองจิต
คือ ทำการประคองจิตด้วยความเพียร. คำว่า ปทหติ ตั้งไว้ คือดำเนินการ
ตั้งความเพียรว่า จะเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามทีเถิด ดังนี้. คำว่า
อุปฺปนฺนานํ ที่เกิดแล้ว คือที่เคยเกิดแล้วแก่ตน โดยการกำเริบขึ้น ย่อมให้
เกิดฉันทะ เพื่อละบาปอกุศล เหล่านั้นว่า บัดนี้เราจักไม่ให้บาปอกุศลเช่นนั้น
เกิดขึ้นละ. คำว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ กุศลที่ยังไม่เกิด คือ กุศลธรรม
มีปฐมฌานเป็นต้น ที่ตนยังไม่ได้. คำว่า อุปฺปนฺนานํ ที่เกิดแล้ว คือกุศลธรรม
เหล่านั้นนั่นแหละที่ตนได้แล้ว. คำว่า  ิติยา เพื่อตั้งมั่น คือ เพื่อตั้งอยู่
โดยการเกิดต่อเนื่องกันบ่อย ๆ. คำว่า อสมฺโมสาย เพื่อไม่ขาดสาย คือเพื่อ
ไม่ให้สูญเสีย. คำว่า ภิยฺโยภาวาย เพื่อมียิ่ง ๆ คือ เพื่อเจริญยิ่งขึ้นไป.
คำว่า เวปุลฺลาย คือเพื่อความไพบูลย์. คำว่า ภาวนาย ปาริปูริยา คือเพื่อ
ความมีบริบูรณ์. แม้สัมมาวายามนี้ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะจิตที่คิดไม่ให้เกิด
อกุศลที่ยังไม่เกิดเป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค วิริยะฝ่ายกุศลอันเดียว
เท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์ โดยให้สำเร็จกิจ ในฐานะ ๔ เหล่านี้
เหมือนกัน นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ.
สัมมาสติ
แม้สัมมาสติ ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะจิตที่กำหนดอารมณ์มีกาย
เป็นต้นต่างกัน แต่ในขณะแห่งมรรค สติอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์แห่ง
มรรคบริบูรณ์ โดยให้สำเร็จกิจในฐานะ ๔ นี้ชื่อว่า สัมมาสติ.

363
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 364 (เล่ม 14)

สัมมาสมาธิ
ฌานทั้งหลาย ต่างกัน ทั้งในเบื้องต้น ทั้งในขณะแห่งมรรค. ใน
เบื้องต้นต่างกันโดยสมาบัติ. ในขณะแห่งมรรค ต่างกัน โดยมรรค. จริงอยู่
มรรคที่ ๑ แห่งมรรคขณะหนึ่ง มีปฐมฌานเป็นบาท แม้มรรคที่ ๒ เป็นต้น
มีปฐมฌานเป็นบาทบ้าง มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น เป็น
บาทบ้าง. มรรคที่ ๑ แห่งมรรคขณะแม้อันหนึ่งมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่ง
ทุติยฌานเป็นต้นเป็นบาท แม้มรรคที่ ๒ เป็นต้น ก็มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งทุติยฌานเป็นต้น เป็นบาทบ้าง มีปฐมฌานเป็นบาทบ้าง. มรรคทั้ง ๔ ว่า
โดยฌานเหมือนกันก็มี ต่างกันก็มี เหมือนกันบางแห่งก็มี ด้วยประการฉะนี้.
นี้เป็นความแผกกันแห่งมรรคนั้น โดยกำหนดโดยฌานที่เป็นบาท. พึงทราบ
อธิบายโดยกำหนดด้วยฌานเป็นบาทก่อน มรรคที่เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ได้
ปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน เจริญวิปัสสนาอยู่ ชื่อว่ามีปฐมฌานเป็นบาท.
ก็องค์แห่งมรรค และโพชฌงค์ ย่อมบริบูรณ์ในปฐมฌานนี้โดยแท้. มรรคที่เกิด
แก่พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ชื่อว่า
มีทุติยฌานเป็นบาท. ส่วนองค์มรรคในทุติยฌานนี้ มี ๗ ประการ. มรรคที่เกิด
แก่พระโยคาวจรผู้ออกจากตติยฌานแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ ชื่อว่ามีตติยฌานเป็น
บาท. ส่วนองค์มรรคในตติยฌานนี้มี ๗ แต่โพชฌงค์มี ๖ ประการ. สำหรับพระ-
โยคาวจรผู้ออกจากจตุตถฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะก็นัยนี้เหมือนกัน.
ฌานหมวด ๔ และหมวด ๕ ย่อมเกิดในอรูป และฌานนั้นท่านกล่าวว่า เป็น
โลกุตตระ ไม่ใช่โลกิยะ. ถามว่าในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นนี้เป็นอย่างไร. ตอบว่า
ในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นแม้นี้ พระโยคาวจรนั้น ออกจากฌานใดแล้ว ได้โสดา-
ปัตติมรรค เจริญอรูปสมาบัติแล้วเกิดในอรูปภพ มรรคทั้ง ๓ มีฌานนั้นเป็นบาท

364
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 365 (เล่ม 14)

เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้น ในอรูปภพนั้น. ท่านกำหนดมรรคที่มีฌานเป็นบาท
อย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้. แต่พระเถระบางเหล่ากล่าวว่า กำหนดขันธ์เป็น
อารมณ์แห่งวิปัสสนา. บางเหล่าก็ว่ากำหนดอัธยาศัยบุคคล. บางเหล่าก็ว่า กำหนด
วิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินี. วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น พึงทราบ
ตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ ในอธิการว่าด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คัมภีร์วิสุทธิมรรค.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ ความว่าธรรมนี้ เบื้องต้นเป็นโลกิยะ เบื้องหลัง เรียกว่า
โลกุตตระ สัมมาสมาธิ.
คำว่า อิติ อชฺญตฺตํ วา หรือภายในเป็นต้น ความว่า พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย เพราะกำหนดสัจจะ ๔ ของตน ของคนอื่น หรือ เพราะ
กำหนดสัจจะ ๔ ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาลอย่างนี้อยู่. ส่วนความ
เกิดและความเสื่อมในสัจจบรรพนี้ พึงทราบโดยความเกิดและความหมดไปแห่ง
สัจจะ ๔ ตามเป็นจริง. คำอื่นนอกจากนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
สติกำหนดสัจจะ ๔ เป็นอริยสัจ
แต่ในสัจจบรรพนี้ ต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า
สติกำหนดสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้น แล้วพึงทราบว่า เป็น
ทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดสัจจะเป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็
เหมือนกันแล.
จบสัจจบรรพ

365
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 366 (เล่ม 14)

สรุปความ
ด้วยลำดับคำมีประมาณเพียงเท่านี้ กัมมัฏฐาน ๒๑ คือ อานาปาน-
บรรพ ๑ จตุอิริยาบถบรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ จตุธาตุ-
ววัฏฐานะ ๑ สีวถิกา ๙ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑ นีวรณปริคคหะ ๑
ขันธปริคคหะ ๑ อายตนปริคคหะ ๑ โพชฌงคปริคคหะ ๑ สัจจปริคคหะ ๑.
บรรดากัมมัฏฐาน ๒๑ นั้น กัมมัฏฐาน ๑๑ คือ อานาปาน ๑ ทวัตดึง-
สาการ ๑ สีวถิกา ๙ เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. แต่พระมหาสิวเถระ ผู้รจนาคัมภีร์
ทีฆนิกาย กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สีวถิกา ๙ โดยอาทีนวานุปัสสนา.
เพราะฉะนั้น ตามมติของท่าน อานาปานะ และ ทวัตดึงสาการ ๒ เท่านั้น
เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. ที่เหลือเป็น อุปจารกัมมัฏฐาน ถามว่า ความตั้งมั่น
เกิดในกัมมัฏฐานนั้นทั้งหมดหรือไม่เกิด ตอบว่า ไม่ใช่ไม่เกิด ความตั้งมั่นไม่เกิด
ในอิริยาบถสัมปชัญญะ นีวรณ์ และโพชฌงค์ เกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ. ส่วน
พระมหาสิวเถระ กล่าวว่า ความตั้งมั่นย่อมเกิดในกัมมัฏฐานแม้เหล่านั้น
(ทั้งหมด) เพราะพระโยคาวจรนี้ ย่อมกำหนดอย่างนี้ว่า อิริยาบถ ๔ มีแก่เรา
หรือไม่หนอ สัมปชัญญะ ๔ มีแก่เราหรือไม่หนอ นีวรณ์ ๕ มีแก่เราหรือไม่
หนอ โพชฌงค์ ๗ มีแก่เราหรือไม่หนอดังนี้ เพราะฉะนั้น ความตั้งมั่นย่อม
เกิดในกัมมัฏฐานทั้งหมด.
อานิสงส์
คำว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด
ผู้หนึ่ง ไม่ว่า ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา. คำว่า เอวํ ภาเวยฺย
ความว่า พึงเจริญตามลำดับภาวนาที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น. คำว่า ปาฏิกงฺขํ
ความว่า พึงหวังได้ พึงปรารถนาได้ เป็นแน่แท้. คำว่า อญฺญา หมายถึง

366
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 367 (เล่ม 14)

พระอรหัต. คำว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า เมื่ออุปาทิเสสวิบากขันธ์
ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ ยังไม่สิ้นไป. คำว่า อนาคามิตา
แปลว่า ความเป็นพระอนาคามี. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่
คำสั่งสอนเป็นธรรมนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย ๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงแสดงเวลา (ปฏิบัติ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีก จึงตรัสว่า ติฏฺฐนฺตุ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี จงยกไว้ดังนี้เป็นต้น. ก็คำนั้นแม้ทั้งหมดตรัสโดย
เวไนยบุคคลปานกลาง. แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคำสั่งสอนเวลาเช้า บรรลุคุณวิเศษ
เวลาเย็น รับคำสั่งสอนเวลาเย็น บรรลุคุณวิเศษเวลาเช้า ดังนี้ ทรงหมายถึง
บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำสั่งสอนของเรา
นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงยังเทศนาที่ทรงแสดง ด้วยธรรม
อันเป็นยอด คือพระอรหัตให้จบลงในฐานะ ๒๑ ประการ จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางดำเนินอันเอก เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการฉะนี้ คำอันใด
อันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ คำนั้นเราอาศัยทางอันเอกนี้กล่าวแล้ว. คำที่เหลืออรรถ
ตื้นทั้งนั้นแล.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุสามหมื่นรูป ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล.
จบอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรที่ ๙

367
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 368 (เล่ม 14)

[หน้าเปล่า]

368
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 369 (เล่ม 14)

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร
ว่าด้วยประวัติพระกุมารกัสสปเถระ
[ ๓๐๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสป จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนครแห่งแคว้นโกศล อาศัย
อยู่ ณ ป่า สีสปาวัน ด้านทิศเหนือ เสตัพยนคร. สมัยนั้น พระยาปายาสิ
ครอบครองเสตัพยนคร ซึ่งมีปศุสัตว์มาก มีหญ้าไม้ และน้ำ มีธัญญาหารบริบูรณ์
เป็นพระราชโภคทรัพย์ ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานให้เป็นบำเหน็จ
ความชอบ ครั้งนั้น พระยาปายาสิเกิดความเห็นชั่วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ดังนี้
พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครได้ทราบว่า พระสมณกุมารกัสสป
สาวกของพระสมณโคดม จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนคร อาศัยอยู่ ณ ป่าสีสปาวัน ด้าน
ทิศเหนือ เสตัพยนคร. กิตติศัพท์อันงามของพระสมณกุมารกัสสปขจรไปว่า
ท่านเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวธรรมได้วิจิตร มีปฏิภาณดี
เป็นผู้ตรัสรู้และเป็นพระอรหันต์ การพบเห็นพระอรหันต์เช่นนั้น เป็นการดี.
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครออกจากเสตัพยนคร พากันไป
เป็นหมู่ ๆ บ่ายหน้าไปทางด้านทิศเหนือ ซึ่งสีสปาวันตั้งอยู่.

369
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 370 (เล่ม 14)

ทิฏฐิของพระยาปายาสิ
[๓๐๒] สมัยนั้น พระยาปายาสิพักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน
เห็นพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร ออกจากเสตัพยนครเป็นหมู่ ๆ พากัน
เดินมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ จึงเรียกคนสนิทมาถามว่า นี่แน่ะพ่อ พราหมณ์
และคฤหบดี ชาวเสตัพยนครเป็นหมู่ ๆ พากันมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งสีสปาวัน
ตั้งอยู่ทำไมกัน. คนสนิทเรียนตอบว่า ท่านเจ้าข้า มีสมณะชื่อกุมารกัสสป สาวก
ของพระสมณโคดม จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนคร อาศัยอยู่ ณ สีสปาวัน ทางทิศเหนือ
เสตัพยนคร กิตติศัพท์อันงามของพระสมณกุมารกัสสปนั้น ขจรไปว่า ท่าน
เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวธรรมได้วิจิตร มีปฏิภาณดี
เป็นผู้ตรัสรู้และเป็นพระอรหันต์ พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น เข้าไปเพื่อ
พบเห็นท่านพระกุมารกัสสปนั้น เจ้าข้า. พระยาปายาสิ จึงสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า
ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร บอกเขาว่า
จงรออยู่ก่อน พระยาปายาสิจักเข้าไปพบท่านสมณกุมารกัสสปด้วย แต่ก่อน
ท่านพระสมณกุมารกัสสปสอนพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครผู้เขลา
ไม่ฉลาด ให้เข้าใจว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบาก
ของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี นี่แน่ะเจ้า โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบาก
ของกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่ว ไม่มี. คนสนิทนั้นรับคำของพระยาปายาสิแล้วก็ไป
บอกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร. ครั้งนั้น พระยาปายาสิอันพวก
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครห้อมล้อมแล้วก็ไปยังสีสปาวันเข้าไปหาท่าน
กุมารกัสสป ชื่นชมสนทนาปราศรัยกับท่านพระกุมารกัสสปตามสมควรแล้ว ก็นั่ง
ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. ส่วนพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร บางพวก
กราบท่านพระกุมารกัสสป แล้วนั่ง ณ ที่ส่วนหนึ่ง บางพวกชื่นชมสนทนา

370
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 371 (เล่ม 14)

ปราศรัยกับท่านพระกุมารกัสสป แล้วก็นั่ง บางพวก ก็นอบน้อมอัญชลี ไป
ยังท่านพระกุมารกัสสป แล้วนั่ง บางพวกประกาศชื่อและสกุลตนแล้ว ก็นั่ง
บางพวกก็นิ่งแล้วนั่ง. พระยาปายาสิ นั่งเรียบร้อยแล้ว ก็เรียนท่านพระกุมาร-
กัสสปอย่างนี้ว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้
เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว
ไม่มี. พระกุมารกัสสปกล่าวว่า ท่านพระยา อาตมานั้นได้เห็นได้ยินว่า
ท่านพระยามีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ เหตุไร ท่านพระยาจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ที่ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว
ไม่มี ถ้าอย่างนั้น อาตมาจะย้อนถามท่านพระยาในข้อนี้บ้าง ท่านพระยาพึง
ตอบตามที่เห็นควร ท่านพระยาจะพึงเข้าใจข้อนี้อย่างไร พระจันทร์พระอาทิตย์
มีอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น เป็นเทวดาหรือมนุษย์.
พระยาปายาสิตอบว่า ท่านกัสสป พระจันทร์พระอาทิตย์มีอยู่ในโลกอื่น
ไม่ใช่ในโลกนี้ เป็นเทวดาไม่ใช่มนุษย์.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา โดยปริยายนี้แหละ จงเห็นเถิดว่า
แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี.
[๓๐๓] พระยาปายาสิ. ถึงท่านพระกัสสปกล่าวอยางนี้ ก็ตาม แต่
ในข้อนี้ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุด-
เกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี.
พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ
ท่านพระยาอยู่หรือ.
พระยาปายาสิ. มีอยู่ซิ ท่านกัสสป.
พระกุมารกัสสป. มีอยู่เหมือนอย่างไรเล่า ท่านพระยา.

371