ก็เปลี่ยนสีไปโดยลำดับ หลุดตกไปในที่นั้น ๆ. อนึ่ง ฟันหัก หมายถึงฟันที่
หลุดร่วง และที่ยังอยู่ ชื่อว่า ขณฺฑิตา. ภาวะแห่งฟันที่หักเรียกว่า ขณฺฑิจฺจํ
ความที่ฟันหัก. ผมและขน คร่ำคร่าไปโดยลำดับ ชื่อว่าผมหงอก. ผมหงอก
เกิดพร้อมแล้วแก่บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า มีผมหงอก. ภาวะแห่ง
บุคคลผู้มีผมหงอก ชื่อว่า ปาลิจฺจํ ความที่ผมหงอก. เกลียวที่หนังของบุคคล
นั้น มีอยู่ เพราะมีเนื้อและเลือดแห้งไปด้วยถูกลม คือ ชราประหาร เหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่ามีหนังเป็นเกลียว (เหี่ยว). ภาวะแห่งบุคคลผู้มีหนังเป็นเกลียวนั้น
ชื่อว่า วลิตฺตจตา ความที่หนังเหี่ยว. ด้วยถ้อยคำมีประมาณเพียงเท่านี้เป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชรา ที่เปิดเผย อันปรากฏชัด โดยแสดงความ
เปลี่ยนแปลง ในฟัน ผม ขน หนัง. ทางไปของลม หรือไฟ จะปรากฏได้
ก็เพราะลมพัดถูกหญ้า หรือต้นไม้เป็นต้น หักระเนระนาด หรือไฟไหม้ แต่
ทางไปของลม และไฟนั้นก็หาปรากฏไม่ฉันใด ทางไปแห่งชราก็ฉันนั้นเหมือน
กันจะปรากฏได้ก็โดยภาวะมีฟันหักเป็นต้น แห่งอาการ ๓๒ มีฟันเป็นต้น
แม้บุคคลลืมตาดู ก็จับไม่ได้ ความคร่ำคร่าแห่งอาการมีฟันหักเป็นต้น หาใช่ตัว
ชราไม่ เพราะชราจะพึงรู้ทางจักษุมิได้. แต่เพราะเมื่อถึงชรา อายุเสื่อมไป
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่า ความเสื่อมไปแห่งอายุ
เรียกว่า ชรา. อนึ่ง เพราะเวลาเป็นหนุ่มสาว อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น
แจ่มใสดี สามารถรับอารมณ์ของคน แม้ที่ละเอียดได้ให้สะดวกทีเดียว เมื่อถึง
ชรา ก็แก่งอม ขุ่นมัว ไม่ผ่องใสไม่สามารถรับอารมณ์ของตน แม้ที่หยาบได้
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่า ความแก่งอมแห่งอินทรีย์
ทั้งหลายเรียกว่า ชรา ดังนี้บ้าง.