No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 182 (เล่ม 14)

ระหว่างแล้วหนีไปได้เห็นรอยเท้าที่ส่วนนี้บ้าง ส่วนอื่นบ้างของหลังแผ่นหิน
แม้ตรงกลางไม่เห็นก็ย่อมรู้ได้โดยนัยว่า มันคงจะขึ้นทางนี้แล้วลงทางนี้ไปโดย
ประเทศนี้ ตรงกลางบนหลังแผ่นหินฉันใด ก็การเกิดสุขเวทนาขึ้นย่อมเป็นสิ่ง
แจ่มแจ้งเหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันขึ้น การเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาก็เป็นสิ่ง
แจ่มแจ้ง เหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันลง เมื่อถือเอาโดยนัยว่า เพราะหลีกสุข
และทุกข์ไป อทุกขมสุขเวทนานั้น จึงมีอาการเป็นกลางด้วยอำนาจเป็นปฏิปักษ์
ต่อทั้งสุขและทุกข์ ก็ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง เหมือนการถือเอาโดยนัยว่า มันขึ้น
ตรงนี้ ลงตรงนี้ แล้วไปอย่างนี้ ฉันนั้น.
ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานไว้ก่อนอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรง
พลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง. และก็ไม่ใช่ทรง
แสดงอย่างนี้อย่างเดียวในที่นี้เท่านั้น หากแต่ทรงแสดงรูปกัมมัฏฐานก่อนใน
พระสูตรไม่ใช่น้อยอย่างนี้คือ ในมหาสติปัฏฐานสูตร จูฬตัณหาสังขยสูตร
มหาตัณหาสังขยสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคันทิย-
สูตร ธาตุวิภังคสูตร อเนญชสัปปายสูตร (และ) ในเวทนาสังยุตทั้งหมด
แล้วจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง. และ
ก็ในพระสูตรเหล่านั้น ฉันใด แม้ในสักกปัญหสูตรนี้ ก็ฉันนั้น ครั้งแรกทรง
แสดงรูปกัมมัฏฐาน แล้วภายหลังจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วย
อำนาจเวทนา. สำหรับในสักกปัญหสูตรนี้ รูปกัมมัฏฐานพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงย่อเพียงเป็นอารมณ์ของเวทนาเท่านั้น ฉะนั้น ในบาลีจึงไม่มียกขึ้นมา.
เพื่อจะทรงแสดงข้อที่เป็นหลักสำหรับตั้งมั่นด้วยอำนาจของเวทนา ที่แจ่มแจ้ง
แก่ท้าวสักกะนั้นนั่นเอง ในอรูปกัมมัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้น
ว่า จอมทวยเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัส ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สองอย่าง คือสองชนิด หมายความว่า โดย
ส่วนสอง. คำว่า ไม่พึงเสพโสมนัสเห็นปานนี้ คือไม่พึงเสพโสมนัสที่

182
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 183 (เล่ม 14)

อาศัยเรือนเห็นปานนี้. ชื่อว่าโสมนัสที่อาศัยเรือน ได้แก่โสมนัสที่อาศัยกามคุณ
เป็นไปในทวาร ๖ อย่างนี้คือ ในเวทนาเหล่านั้น โสมนัสที่อาศัยเรือน ๖ อย่าง
อย่างเป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตา
ที่น่ารัก. น่าใคร่ น่าพอใจ น่าชื่นใจ ที่เกี่ยวกับเหยื่อของโลก โดยความได้
เฉพาะ หรือเมื่อตามระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะเมื่อก่อน ซึ่งล่วงไปแล้ว ดับไป
แล้ว แปรปรวนไปแล้ว จึงเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่า
โสมนัสที่อาศัยเรือน๑ ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงเสพโสมนัสเห็นปานนี้ คือ
พึงเสพโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ชื่อว่าโสมนัสที่อาศัยการ
ออกจากเรือน ได้แก่โสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ผู้เกิดโสมนัสว่า เราได้ขวนขวาย
วิปัสสนาแล้ว ผู้สามารถเร่งเร้าใจให้ขวนขวายเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยอำนาจไตร
ลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้นในอารมณ์ที่น่ารักซึ่งมาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ อย่าง
นี้เป็นต้นว่า ในเวทนาเหล่านั้น โสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ๖ อย่างเป็น
ไฉน ก็แลเมื่อบุคคลมารู้ความที่รูปทั้งหลายไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป
ดับไป แล้วเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาที่ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ว่า รูปทั้ง
หลายทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเห็นปานนี้ใด
นี้เรียกว่าโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน. คำว่า พึงเสพ คือ โสมนัสที่เกิด
ขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา ด้วยอำนาจการตามระลึก
ถึง ด้วยอำนาจฌานที่หนึ่งเป็นต้นนี้ ชื่อว่า พึงเสพ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า หากโสมนัสใด มีความตรึก มีความตรอง
คือ ในโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน แม้นั้น ก็ต้องรู้ว่าโสมนัสที่
เกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา ด้วยอำนาจการตาม
๑. ม.อุ. สฬายตนวิภงฺคสุตฺต ๓๖๙.

183
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 184 (เล่ม 14)

ระลึกถึง และด้วยอำนาจแห่งฌานที่หนึ่งนั้นเป็นโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมี
ความตรอง. บทว่า หากโสมนัสใดไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง คือ
ส่วนโสมนัสที่เกิดด้วยอำนาจฌานที่สองและที่สามนั้น ก็ต้องรู้ว่าเป็นโสมนัสที่
ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง. คำว่า เหล่าใด ไม่มีความตรึก ไม่มี
ความตรอง ประณีตกว่า ความว่า แม้ในโสมนัสทั้งสองนี้ โสมนัสที่ไม่มี
ความตรึก ไม่มีความตรองนั้น ประณีตกว่า. ด้วยคำนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึง
อะไร. กล่าวถึงอรหัตตผลของสองท่าน. อย่างไร จริงอยู่ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อเริ่ม
ตั้งวิปัสสนาในโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมีความตรอง แล้วก็มาใคร่ครวญว่า
โสมนัสนี้อาศัยอะไร ก็ทราบชัดว่า อาศัยที่ตั้ง แล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผลโดย
ลำดับตามนัยที่กล่าวแล้วในหมวดอันมีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูปหนึ่งเริ่มตั้ง
วิปัสสนาในโสมนัสที่ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรองแล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
ตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
แม้ในโสมนัสที่ตั้งมั่นเหล่านั้น โสมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรอง ประณีตกว่าที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง โสมนัสวิปัสสนาที่ไม่มี
ความตรึกและไม่มีความตรอง ประณีตกว่า แม้โสมนัสวิปัสสนาที่มีความตรึก
และมีความตรอง โสมนัสผลสมาบัติที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเท่านั้น
ที่ประณีตกว่า โสมนัสผลสมาบัติที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความ
ตรอง ประณีตกว่า ดังนี้.
คำว่า ไม่พึงเสพโทมนัสเห็นปานนี้ ความว่า ไม่พึงเสพโทมนัส
ที่อาศัยเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัสอันอาศัยเรือนได้แก่ โทมนัสที่อาศัย
กามคุณซึ่งเกิดแก่ผู้ตรึกอยู่ว่า เราไม่ตามเสวยแล้ว จักไม่ตามเสวย ย่อมไม่ตาม
เสวย ซึ่งอิฏฐารมณ์ในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้ว่า ในเวทนาเหล่านั้น โทมนัสที่

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 185 (เล่ม 14)

อาศัยเรือน ๖ อย่างเป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นการไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่
น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ น่าชื่นใจ ซึ่งเกี่ยวกับเหยื่อของโลก ที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตา
โดยความไม่ได้เฉพาะ หรือเมื่อตามระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะ เมื่อซึ่งล่วง
ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จึงเกิดโทมนัสขึ้น โทมนัสเห็นปาน
นี้ใด นี้เรียกโทมนัสที่อาศัยเรือน ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงเสพโทมนัสเห็น
ปานนี้ คือ พึงเสพโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัส
ที่อาศัยการออกจากเรือน ได้แก่ โทมนัสที่เกิดแก่ผู้ที่ไม่สามารถเพื่อจะเร่งเข้าใจ
ให้ขวนขวายเข้าไปตั้งความอยากได้ในธรรมคืออริยผล กล่าวคือความหลุดพ้น
ชั้นเยี่ยม แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้นเพื่อ
บรรลุอริยผลนั้น ผู้ตามเศร้าใจว่า เราไม่สามารถเพื่อจะเร่งเร้าใจให้ขวนขวาย
วิปัสสนามาตลอดปักษ์แม้นี้ ตลอดเดือนแม้นี้ ตลอดปีแม้นี้ แล้วบรรลุอริย
ภูมิได้ ในอารมณ์ที่น่ารักอันมาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้ว่า ในเวทนา
เหล่านั้น โทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเป็นไฉน ก็แล เมื่อบุคคลมารู้ความ
ที่รูปทั้งหลายไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไปแล้ว เห็นรูปนั้นด้วย
ปัญญาที่ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้
เหล่าใด รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา แล้วจึงเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้นเยี่ยมว่า ชื่อว่าเมื่อ
ไรหนอ เราจึงจะเข้าถึงอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ คืออายตนะที่พวกพระอริยเจ้า
ในบัดนี้ ย่อมเข้าถึงแล้วแลอยู่. เมื่อเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้น
เยี่ยม ดังที่ว่ามานี้ โทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะความอยากได้เป็นปัจจัย.
โทมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่าโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า พึงเสพ คือ โทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจ

185
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 186 (เล่ม 14)

วิปัสสนา ด้วยอำนาจ การตามระลึกถึง ด้วยอำนาจฌานที่หนึ่งเป็นต้นนี้ ชื่อว่า
เป็นโทมนัสที่พึงเสพ.
ในคำเหล่านั้น คำว่า หากโทมนัสใด ยังมีความตรึก ยังมีความ
ตรอง คือ ในโสมนัสทั้งสองอย่างแม้นั้น โทมนัสที่อาศัยเรือนเท่านั้น ที่ชื่อ
ว่าโทมนัสยังมีความตรึก ยังมีความตรองอยู่. ส่วนโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
การออกจากเรือน ด้วยอำนาจวิปัสสนา ด้วยอำนาจการตามระลึกถึง ด้วย
อำนาจฌานที่หนึ่งและฌานที่สอง พึงทราบว่าเป็นโทมนัสที่ยังมีความตรึกและ
ยังมีความตรองอยู่. ส่วนโดยทำนองอย่างตรงขึ้นชื่อว่าโทมนัสที่ไม่มีความตรึก
และไม่มีความตรองไม่มี. สำหรับอินทรีย์คือโทมนัส เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว
เท่านั้น และยังมีความตรึกและยังมีความตรองด้วย. แต่ด้วยอำนาจความเข้าใจ
ของภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์คือโทมนัส ยังมีความตรึกและยังมีความ
ตรอง และว่า ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง ดังนี้.
ต่อไปนี้ เป็นนัยในเรื่องโทมนัสนั้น คือในกรณีนี้ภิกษุถือเอาธรรม
ที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และธรรมที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรองอันเป็นธรรมที่มีโทมนัสเป็นปัจจัย และธรรมคือมรรคและผลที่เกิดขึ้นมี
โทมนัสเป็นปัจจัยนั่นเอง ว่าเป็นโทมนัสเพราะอำนาจเห็นการปฏิบัติของภิกษุ
เหล่าอื่นแล้วก็มาคิดว่า เมื่อไรหนอแล เราจึงจักเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่
ยังมีความตรึกและยังมีความตรองได้เสียที เมื่อไรเราจึงเริ่มตั้งวิปัสสนาใน
โทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองได้เสียที และคิดอีกว่า เมื่อไร
หนอแล เราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง
เกิดได้เสียที เมื่อไรเราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มี
ความตรองเกิดได้เสียที แล้วก็ถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน หกเดือนหรือเก้าเดือน
เมื่อถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน ในเดือนแรกเดินเสียหนึ่งยาม สองยามทำ

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 187 (เล่ม 14)

โอกาสแก่การหลับ ในเดือนกลางเดินเสียสองยาม ทำโอกาสแก่การหลับหนึ่ง
ยาม ในเดือนสุดท้ายให้ร่างกายเป็นไปด้วยการเดินจงกรมและการนั่งเท่านั้นเอง
ถ้าแบบนั้น บรรลุพระอรหัตนั้นก็ดีไป. ถ้าไม่บรรลุ เธอก็ถือข้อปฏิบัติประเภท
๖ เดือน ให้วิเศษ (ขึ้นไปอีก) แม้ในข้อปฏิบัติประเภท ๖ เดือนนั้น ทุกสอง
เดือน ๆ ก็ปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้ว เมื่อไม่สามารถสำเร็จพระอรหัตได้ ก็ยึด
หลักปฏิบัติชนิดเก้าเดือนให้วิเศษ (ยิ่งขึ้นไปอีก) แม้ในหลักปฏิบัติชนิดเก้า
เดือนนั้น ทุกสามเดือน ๆ ก็ปฏิบัติอย่างนั้นแหละ เมื่อไม่สามารถบรรลุความ
เป็นพระอรหันต์ได้ (และ) เมื่อพิจารณาว่า โอ้หนอ ! เราไม่ได้ปวารณาแบบ
วิสุทธิปวารณา พร้อมกับพวกเพื่อนพรหมจรรย์เสียแล้ว ความโทมนัสก็ย่อม
เกิดขึ้น. สายน้ำตา ก็ไหลพรู เหมือนสายน้ำตาของพระมหาสิวเถระผู้อยู่ที่เงื้อม
เขาท้ายหมู่บ้าน.
เล่ากันว่า พระเถระสอนหมู่ใหญ่ ๑๘ หมู่ พวกภิกษุสามหมื่นรูป
ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านบรรลุอรหัตแล้ว . ต่อมามีภิกษุรูปหนึ่งมารำพึงว่า
ภายในตัวเราก่อน มีคุณประมาณไม่ได้ คุณของอาจารย์เราเป็นอย่างไรหนอแล
กำลังรำพึงอยู่ก็เห็นความเป็นปุถุชน จึงคิดว่า อาจารย์พวกเราเป็นที่พึ่งของคน
เหล่าอื่น (แต่) ไม่สามารถเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตนได้ เราจะให้โอวาทแก่ท่าน
แล้วก็เหาะมาลงใกล้วัด เข้าไปหาอาจารย์ผู้นั่งในที่พักกลางวัน แสดงวัตรแล้ว
ก็นั่งในที่ควรส่วนหนึ่ง. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
คุณมาเพราะเหตุไร.
ภิกษุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นผู้มาแล้ว ด้วยคิดว่า จักเอา
อนุโมทนา สักบทหนึ่ง.
เถระ. คงจะไม่มีโอกาสหรอกคุณ
ภิกษุ. ท่านขอรับ กระผมจะเรียนถามในเวลายืนที่โรงตรึก

187
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 188 (เล่ม 14)

เถระ. ในที่นั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในทางเที่ยวบิณฑบาตล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในทางนั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในที่นุ่งผ้าสองชั้น ในที่ห่มสังฆาฏิ ในที่นำเอาบาตรออกใน
เวลาเที่ยวไปในหมู่บ้านแล้วดื่มข้าวต้มในโรงฉันล่ะขอรับ.
เถระ. ในที่นั้น ๆ ก็จะมีพวกเถระทางอรรถกถาบรรเทาความสงสัย
ของตน.
ภิกษุ. กระผมจะเรียนถามในเวลาออกจากภายในหมู่บ้าน ขอรับ.
เถระ. แม้ในที่นั้น ก็จะมีคนพวกอื่นถาม คุณ.
ภิกษุ. ท่านขอรับในระหว่างทาง ท่านขอรับในเวลาเสร็จการฉันใน
โรงอาหาร ท่านขอรับ ในเวลาล้างเท้า ในเวลาล้างหน้าในที่
พักกลางวัน .
เถระ. ตั้งแต่นั้นไปจนถึงสว่าง ก็จะมีพวกอื่นอีกถาม คุณ.
ภิกษุ. ในเวลาเอาไม้สีฟันแล้วไปสู่ที่ล้างหน้า ขอรับ.
เถระ. ตอนนั้น พวกอื่น ก็จะถาม.
ภิกษุ. ในเวลาล้างหน้าแล้วมาล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในตอนนั้น พวกอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในเวลาเข้าเสนาสนะแล้วนั่งล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในตอนนั้น พวกอื่น ก็จะถาม.
ภิกษุ. ท่านขอรับ มันน่าจะเป็นโอกาสและเวลาของพวกผู้ที่ล้างหน้า
เสร็จแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ให้สามสี่บัลลังก์ได้รับความอบอุ่นแล้ว
ทำงานด้วยความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลมิใช่หรือ ท่านขอรับ
ท่านจะไม่ได้แม้แต่ขณะแห่งความตาย ท่านจงเป็นเหมือนแผ่น

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 189 (เล่ม 14)

กระดานเถิด ขอรับ ท่านจงเป็นที่พึ่งของคนอื่นเถิด ขอรับ
ท่านไม่อาจเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตน กระผมไม่มีความต้องการ
ด้วยการอนุโมทนาของท่าน ว่าแล้วก็ได้เหาะไปในอากาศ.
พระเถระทราบว่า งานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของภิกษุรูปนี้ไม่มี
แต่เธอมาด้วยคิดว่า จะเป็นผู้สั่งสอนเรา แล้งคิดว่า บัดนี้จะไม่มีโอกาส
เวลาใกล้รุ่งเราจะไป แล้วก็เก็บบาตรจีวรไว้ใกล้ ๆ สอนธรรมตลอดยามต้น
และยามกลางคืนยังรุ่ง ขณะที่พระเถระรูปหนึ่งเรียนอุทเทศแล้วจะออกไปใน
ยามสุดท้าย ก็ถือบาตรจีวรออกไปด้วยกันกับพระเถระนั้นนั่นเอง พวกศิษย์
(อันเตวาสิก) ที่นั่งเข้าใจว่า อาจารย์ ออกไปด้วยธุระบางอย่างนานแล้ว. พระเถระ
ที่ออกไปก็ทำความเข้าใจว่า เป็นภิกษุที่ร่วมอาจารย์กัน บางรูปนั่นเอง. ได้ยิน
ว่า พระเถระ คิดว่า ชื่อว่าความเป็นพระอรหันต์สำหรับคนชั้นเรา จะอะไร
หนักหนาเล่า แค่สองสามวันเท่านั้นแหละ ก็จะสำเร็จแล้วจึงจะกลับมา ดังนี้
จึงไม่บอกพวกลูกศิษย์เลย ในวันขึ้นสิบสามค่ำเดือนแปดไปสู่เงื้อมเขาท้ายหมู่
บ้าน เมื่อขึ้นสู่ที่จงกรมแล้ว เอาใจใส่กัมมัฏฐาน ในวันนั้นยังถือเอาพระ-
อรหัตผลไม่ได้. เมื่อถึงวันอุโบสถ ก็คิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสอง
สามวัน เราจะเอาพระอรหัตผลให้ได้ ก็ยังเอาไม่ได้ สามเดือนก็เหมือน
สามวันนั่นแหละ คอยถึงวันมหาปวารณาก่อนจะรู้ ถึงเข้าพรรษาแล้วก็ยังเอา
ไม่ได้. ในวันปวารณาท่านคิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสองสามวัน เราจะ
เอาพระอรหัตผลให้ได้ นี่ก็ตั้งสามแล้ว ก็ยังไม่สามารถจะเอาได้ ส่วนพวก
เพื่อนพรหมจรรย์ จะปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากัน เมื่อท่านคิดอย่างนั้น
สายน้ำตาก็หลั่งไหล. จากนั้นท่านคิดว่า มรรคผล จะไม่เกิดขึ้นเพราะอิริยาบถ ๔
ของเราบนเตียง ถ้าเดี๋ยวนี้ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เราจะไม่ยอมเหยียดหลัง

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 190 (เล่ม 14)

บนเตียงอย่างเด็ดขาด จะไม่ยอมล้างเท้า แล้วก็ให้ยกเอาเตียงไปเก็บไว้ภายใน
พรรษาก็ถึงอีก. ท่านก็ยังเอาพระอรหัตผลไม่ได้ตามเคย สายน้ำตาก็หลั่งไหล
ในวันปวารณายี่สิบเก้าครั้ง. พวกเด็กในหมู่บ้านพากันเอาหนามมากลัดที่ที่แตก
ในเท้าทั้งสองข้างของพระเถระ. แม้เมื่อจะพากันเล่น ก็เล่นเอาว่า ขอให้เท้า
ทั้งสองข้างจงเป็นเหมือนเท้าของพระคุณเจ้า มหาสิวเถระเถิด
ในวันมหาปวารณาปี (ที่) สามสิบ พระเถระยืนยึดแผ่นกระดาน
สำหรับพิง คิดว่า เมื่อเราทำสมณธรรมมาตั้งสามสิบปีเข้านี้แล้ว เราก็ไม่
สามารถสำเร็จพระอรหัตผลได้ ในอัตภาพของเรา มรรคหรือผลย่อมไม่มี
เป็นแน่ เราไม่ได้ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากับเพื่อนพรหมจรรย์แล้ว. และ
ก็เมื่อท่านคิดอยู่อย่างนั้น ก็เกิดโทมนัสขึ้นมา สายน้ำตาก็หลั่งไหล. ขณะนั้น
ในที่ใกล้ ๆ มีเทพธิดาองค์หนึ่ง กำลังยืนร้องไห้อยู่.
เถระ. ใครร้องไห้ที่นี้.
เทพธิดา. ดิฉัน นางเทพธิดา เจ้าค่ะ.
เถระ. ร้องไห้ทำไม.
เทพธิดา. เมื่อมรรคผลกำลังเกิดเพราะการร้องไห้ ดิฉันคิดว่า
แม้เราก็จะให้เกิดมรรคผลหนึ่ง(หรือ)สอง จึงร้องไห้เจ้าค่ะ.
จากนั้นพระเถระก็คิดว่า นี่แน่ะ มหาสิวะ แม้แต่เทพธิดาก็ยังมา
เยาะเย้ยเธอได้ นี่มันควรแก่เธอหรือหนอ แล้วก็เจริญวิปัสสนาได้ถือเอาความ
เป็นพระอรหันต์พร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.
ท่านคิดว่า บัดนี้เราจะนอน แล้วก็จัดแจงเสนาสนะ ปูลาดเตียงตั้งน้ำ
ในที่น้ำ คิดว่า เราจะล้างเท้าทั้งสองข้าง แล้วก็นั่งลงที่ขั้นบันได. แม้พวกศิษย์
ของท่าน ก็พากันคิดอยู่ว่า เมื่ออาจารย์ของเราไปทำสมณธรรมตั้งสามสิบปี
ท่านอาจทำคุณวิเศษให้เกิดได้หรือไม่อาจ เห็นว่าท่านสำเร็จพระอรหัตแล้วนั่ง

190
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 191 (เล่ม 14)

ลงเพื่อล้างเท้า จึงต่างก็คิดว่า อาจารย์พวกเรา เมื่อพวกศิษย์ เช่น พวกเรา
ยังอยู่ คิดว่า จะล้างเท้าด้วยตนเองนี้ไม่ใช่ฐานะ เราจะล้าง เราจะล้าง แล้วทั้ง
๓๐,๐๐๐ รูปต่างก็เหาะมาไหว้แล้วกราบเรียนว่า กระผมจะล้างเท้าถวาย ขอรับ.
ท่านห้ามว่า คุณ ฉันไม่ได้ล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว พวกคุณไม่ต้อง
ฉันจะล้างเอง.
แม้ท้าวสักกะก็ทรงพิจารณาว่า พระคุณเจ้ามหาสิวะเถระของเราสำเร็จ
พระอรหัตแล้ว เมื่อพวกศิษย์สามหมื่นรูปมาแล้วด้วยคิดว่า พวกเราจะล้างเท้า
ทั้งหลายถวาย ก็ไม่ให้ล้างเท้าให้ ก็เมื่ออุปัฏฐากเช่นเรายังมีอยู่ พระคุณเจ้า
คิดว่าจะล้างเท้าเองนี่เป็นไปไม่ได้ แล้วทรงตัดสินพระทัยว่า เราจะล้างถวาย
จึงพร้อมด้วยสุชาดาเทวีได้ทรงปรากฏในสำนักของหมู่ภิกษุ. ท้าวเธอทรงส่งนาง
สุชาดาผู้เป็นอสุรกัญญาล่วงหน้าไปก่อนให้เปิดโอกาสว่า ท่านเจ้าขา พวกท่าน
จงหลีกไป โปรดให้โอกาสผู้หญิง แล้วทรงเข้าไปหาพระเถระไหว้แล้วนั่ง
กระหย่งต่อหน้าตรัสว่า ท่านขอรับ กระผมจะล้างเท้าถวาย พระเถระตอบว่า
โกสีย์ อาตมภาพไม่เคยล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว และแม้โดยปกติชื่อว่า
กลิ่นตัวคนเป็นของ น่าเกลียดสำหรับพวกเทพ แม้อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์เหมือน
เอาซากศพมาแขวนคอ อาตมภาพจะล้างเอง. ตรัสตอบว่า ท่านขอรับ ชื่อว่า
กลิ่นอย่างนี้ไม่ปรากฏ เพราะว่ากลิ่นศีลของท่านเลยเทวโลกหกชั้นไปตั้งอยู่สูงถึง
ชั้นภวัคคพรหมในเบื้องบน ไม่มีกลิ่นอื่นที่ยิ่งไปกว่ากลิ่นศีล ท่านขอรับ
กระผมมาเพราะกลิ่นศีลของท่าน แล้วก็ทรงเอาพระหัตถ์ซ้ายจับข้อต่อตาตุ่ม
แล้วเอาพระหัตถ์ขวาลูบฝ่าเท้า. เท้าของท่านก็เป็นเหมือนกับเท้าของเด็กหนุ่ม
ขึ้นมาทันที. ครั้นท้าวสักกะทรงล้างเท้าถวายเสร็จแล้วก็ทรงไหว้ แล้วเสด็จ
ไปสู่เทวโลกตามเดิม.
พึงทราบว่าท่านเรียกอารมณ์ของวิปัสสนาก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี
ผลก็ดี ว่า โทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และว่าโทมนัสที่ไม่มี

191