บทว่า อุปวตฺตเน ได้แก่ ในสาลวันทรงโค้งด้านทิศตะวันออก.
บทว่า อนฺตเร ยมกสาลานํ แปลว่า ระหว่างต้นสาละคู่. คาถาว่า สิงฺคิวณฺณํ
เป็นต้น ท่านวางไว้ครั้งสังคายนา. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาว่า นฺหาตฺวา จ
ปิวิตฺวา จ เป็นต้นดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ลงสรงสนาน เต่าปลาภายในแม่น้ำ และแนวป่าริมฝั่งทั้ง ๒ ข้าง ทั้งหมดก็มีสี
เป็นทองทั้งนั้น. บทว่า อมฺพวนํ ได้แก่สวนมะม่วงริมฝั่งแม่น้ำนั้นนั่นแล.
บทว่า อายสฺมนฺตํ จุนฺทกํ ความว่า ได้ยินว่า ในขณะนั้น พระอานนทเถระ
บิดผ้าสรงน้ำเหลือไว้. พระจุนทะเถระก็อยู่ในที่ใกล้. พระผู้มีพระภาคตรัส
เรียกพระจุนทะมาแล้ว.
แม้คาถานี้ว่า คนฺตวาน พุทฺโธ นทิกํ กกุฏํ ท่านวางไว้ในคราว
สังคีตินั่นเอง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวตฺตา ภควา อิธ ธมฺเม
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมในศาสนานี้ อธิบายว่า ทรง
ประกาศธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. บทว่า ปมุเข นิสีทิ ได้แก่ นั่ง
ตรงพระพักตร์พระศาสดา. ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระเถระมาถึงแล้ว. ครั้งนั้น
แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ผู้มาถึงแล้วอย่างนี้.
บทว่า เต อลาภา ได้แก่ ลาภกล่าวคืออานิสงส์ทานเป็นลาภของ
คนอื่น ไม่ใช่ลาภของเธอ. บทว่า ทุลฺลทฺธํ ได้แก่ การได้อัตตภาพเป็น
มนุษย์แม้ด้วยบุญวิเศษก็จัดว่าหาได้ยาก. บทว่า ยสฺสเต เท่ากับ ยสฺส ตว
ท่านใด. นอกจากข้าวสารหรือสิ่งเศร้าหมองอย่างยิ่ง ใครจะรู้ได้ พระตถาคต
เสวยบิณฑบาตครั้งหลังแม้เช่นไร แล้วเสด็จปรินิพพาน ทานอย่างใดอย่างหนึ่ง
จักเป็นอันเธอให้แน่แท้. บทว่า ลาภา ได้แก่ เป็นลาภคืออานิสงส์ในการ
ให้ทานที่มีในปัจจุบันหรือเป็นไปในสัมปรายภพ. บทว่า สุลทฺธํ ได้แก่ การ
ได้อัตตภาพเป็นมนุษย์ เป็นอันเธอได้มาดีแล้ว. บทว่า สมสมผลา แปลว่า
มีผลเท่า ๆ กันโดยอาการทั้งปวง.