No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 292 (เล่ม 13)

คาม. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ บ้านภัณฑคามนั้น. ณ ที่นั่นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้ง
แทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและพวกเธอเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้.
๔ ประการเป็นไฉน. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดศีลอันเป็นอริยะ เราและพวก
เธอเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดสมาธิอันเป็นอริยะ. . .
ปัญญาอันเป็นอริยะ . . . วิมุตติอันเป็นอริยะ เราและพวกเธอ จึงเร่ร่อนเที่ยว
ไปสิ้นกาลนานอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอด ศีลอัน
เป็นอริยะ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ อันเป็นอริยะแล้ว ภวตัณหาเราถอนเลียแล้ว
ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต
ศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๑๐] ธรรมเหล่านี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติอันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศ
ตรัสรู้แล้ว ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงบอก
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้กระทำ ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์
มีพระจักษุปรินิพพานแล้ว.
[๑๑๑] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับ ณ บ้านภัณฑคามนั้น
ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อย่างนี้ศีล อย่าง
นี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ โดยชอบคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.

292
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 293 (เล่ม 13)

[๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ตามความพอพระทัย
ในบ้านภัณฑคามแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักไปยัง
บ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร. ท่านพระอานนท์ทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
เรื่องมหาปเทส ๔ อย่าง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จ
ถึงโภคนครแล้ว. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ อานันทเจดีย์ใน
โภคนครนั้น. ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงตั้งใจ
ฟังให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้
ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่
คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลง
ในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า
นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว
แน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร

293
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 294 (เล่ม 13)

เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึง
ความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และ
ภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาปเทส
ข้อที่หนึ่งนี้ไว้.
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้สดับมา
ได้รับมาเฉพาะหน้าของสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน
ของพระศาสดาดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุ
นั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้.
พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น และภิกษุสงฆ์จำมาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย.
ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้น สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน
พระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้เป็น
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว
แน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาปเทสข้อที่สองนี้ไว้.
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ภิกษุเป็นพระเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว
เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาได้รับมาเฉพาะหน้า
พระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม. . .เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความ
ตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และ

294
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 295 (เล่ม 13)

พระเถระเหล่านั้นจำมาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย.
ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้นสอบสวนในพระสูตร. . . เทียบเคียงในพระวินัยได้.
พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึง
ทรงจำมหาปเทสข้อที่สามนี้ไว้.
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ พวกเธอ
ไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้าน
แล้ว เรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย. ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้นสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงใน
พระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจ
ในข้อนี้ว่า. . . นี้คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระเถระ
นั้นจำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาปเทส
ข้อที่สี่นี้ไว้. พวกเธอพึงทรงจำมหาปเทส ๔ เหล่านั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ในโภคนครนั้น
ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้
สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.

295
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 296 (เล่ม 13)

เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร
[๑๑๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ในโภคนครตามความ
พอพระทัยแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักไปยังปาวานคร.
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ลำดับนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงปาวานครแล้ว. ได้ยิน
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร ใน
เมืองปาวานั้น.
นายจุนทกัมมารบุตรได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงเมืองปาวา
ประทับอยู่ ณ อัมพวันของเราในเมืองปาวา จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังนายจุนทกัมมารบุตร ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา. ลำดับนั้น นายจุนทกัม-
มารบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตของข้าพระ
องค์ เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
ลำดับนั้น นายจุนทกัมมารบุตรทราบการรับของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีก
ไป. นายจุนทกัมมารบุตรให้ตระเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต และสูกร
มัททวะเป็นอันมากในนิเวศน์ของตน โดยล่วงราตรีนั้นไปให้กราบทลกาล แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.

296
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 297 (เล่ม 13)

ถวายสูกรมัททวบิณฑบาต
ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและ
จีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้า ไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ตรัสกะนายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนจุนท
ท่านจงอังคาสเราด้วยสูกรมัททวะที่ท่านตระเตรียมไว้ จงอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วย
ของเคี้ยวของฉันอย่างอื่นที่ท่านตระเตรียมไว้. นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยสูกร
มัททวะที่ตนตระเตรียมไว้ อังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยของเคี้ยวของฉันอย่างอื่นที่ตน
ตระเตรียมไว้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะนายจุนทกัมมารบุตรว่า
จุนท ท่านจงฝังสูกรมัททวะที่เหลือเสียในหลุม เรายังไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ซึ่งบริโภคสูกรมัททวะนั้นแล้ว จะพึงให้ย่อยไปด้วยดีนอกจาก
ตถาคต. นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ฝังสูกรมัททวะที่ยังเหลือในหลุมเสีย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้า
ไปเฝ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังนาย
จุนทกัมมารบุตรผู้นั่งเรียบร้อยแล้วให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้
รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมาร-
บุตร เกิดอาพาธอย่างแรงกล้า มีเวทนากล้าเกิดแต่การประชวรลงพระโลหิต
ใกล้นิพพาน. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น
เวทนาเหล่านั้นไว้ มิได้ทรงพรั่นพรึง. รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด
อานนท์ เราจักไปกรุงกุสินารา. พระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว.

297
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 298 (เล่ม 13)

เรื่องโลหิตปักขันทิกาพาธ
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมาร
บุตรทรงอาพาธหนักใกล้นิพพาน.
เมื่อพระศาสดาเสวยสูกรมัททวะแล้วเกิด
อาพาธหนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าลงพระ-
บังคน ได้ตรัสว่าเราจะไปเมืองกุสินารา
คาถาเหล่านี้ พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ในเวลาสังคายนา.
[๑๑๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลีกออกจากทาง เสด็จ
เข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจง
ช่วยปูผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้นให้เรา เราเหนื่อยจักนั่ง. ท่านพระอานนท์
ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงปูผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวายแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอจงนำน้ำมาให้เราดื่ม
เรากระหายจักดื่มน้ำ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ-
อานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อกี้นี้เกวียน ๕๐๐ เล่มข้ามไป
น้ำนั้นมีน้อยถูกล้อเกวียนบดขุ่นมัวไหลไปอยู่ แม่น้ำกกุธานทีอยู่ไม่ไกล มีน้ำ
ใส จืด เย็น ขาว มีท่าเรียบน่ารื่นรมย์ พระองค์ทรงดื่มน้ำและทรงสรงพระ-
องค์ในแม่น้ำนั้น. แม้ครั้งที่สองพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสกะท่านพระ-
อานนท์. . . แม้ครั้งที่สาม. . . ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ถือบาตรไปยังแม่น้ำนั้น. ครั้งนั้น แม่น้ำนั้นมีน้ำน้อย ถูกล้อ
เกวียนบดขุ่นมัวไหลไปอยู่ เมื่อท่านพระอานนท์เข้าไปใกล้ น้ำก็กลับใสสะอาด

298
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 299 (เล่ม 13)

ไม่ขุ่นมัวไหลไป. ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า น่าอัศจรรย์หนอ เหตุไม่
เคยมีก็มีมาแล้ว ความที่พระตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ความจริง แม่น้ำ
นี้นั้นมีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนบดขุ่นมัวไหลไปอยู่ เมื่อเราเข้าไปใกล้กลับใส
สะอาดไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ตักน้ำด้วยบาตรแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์หนอ เหตุไม่เคยมี ก็มีมาแล้วความที่พระตถาคตมีฤทธิ์
มาก มีอานุภาพมาก. เมื่อกี้นี้แม่น้ำนั้นมีน้ำน้อย ถูกเกวียนบดขุ่นมัวไหลไป
อยู่ เมื่อข้าพระองค์เข้าไปใกล้กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าจงทรงดื่มน้ำ ขอพระสุคตจงทรงดื่มน้ำเถิด พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดื่มน้ำแล้ว.
ปุกกุสมัลลบุตร
[๑๒๐] สมัยนั้นแล ปุกกุสมัลลบุตร เป็นสาวกของอาฬารดาบส-
กาลามโคตร ออกจากเมืองกุสินาราเดินทางไปยังเมืองปาวา. ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ. โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่เคยมี ก็มีมาแล้ว พวกบรรพชิตย่อมอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมอันสงบหนอ เรื่องเคยมีมาแล้วอาฬารดาบสกาลามโคตรเดินทางหลีก
ออกจากทาง นั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล ครั้งนั้นเกวียน
ประมาณ ๕๐๐ เล่ม ติดกันได้ผ่านอาฬารดาบสกาลามโคตรไปแล้ว บุรุษคน
หนึ่งเดินตามหลังหมู่เกวียนมา จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ถามว่า
ท่านได้เห็นเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม ผ่านไปบ้างหรือ. เราไม่เห็นเลย. ได้ยิน
เสียงบ้างหรือ. เราไม่ได้ยิน ท่านหลับไปหรือ. เราไม่ได้หลับ . ท่านมีสัญญา
อยู่หรือ. เป็นอย่างนั้น ท่านนั้นมีสัญญาตื่นอยู่ ไม่เห็นเกวียนประมาณ ๕๐๐

299
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 300 (เล่ม 13)

เล่ม ผ่านติดกันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง ก็ผ้าสังฆาฏิของท่านเปื้อนด้วยธุลีบ้าง
หรือ. เป็นอย่างนั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น บุรุษนั้นได้มีความคิดว่าน่าอัศจรรย์
หนอ เหตุไม่เคยเป็นก็ได้เป็นแล้ว พวกบรรพชิตอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบ
หนอ อาฬารดาบสกาลามโคตรมีสัญญาตื่นอยู่ ย่อมไม่เห็นเกวียนประมาณ
๕๐๐ เล่ม ผ่านติดกันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง บุรุษนั้นประกาศความเลื่อมใสอันยิ่ง
ในอาฬารดาบสกาลามโคตรแล้วหลีกไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะปุกกุสมัลล-
บุตรว่า ดูก่อนปุกกุสะ ท่านจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน ผู้มีสัญญาตื่นอยู่ไม่พึงเห็น
เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม ผ่านติดกันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียงอย่างหนึ่ง ผู้มีสัญญา
ตื่นอยู่เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนักฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ไม่พึงเห็น ทั้งไม่พึงได้ยิน
เสียงอย่างหนึ่ง อย่างไฉนจะทำได้ยากกว่ากัน หรือทำให้เกิดยากกว่ากัน. ปุกกุส-
มัลลบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียน ๕๐๐ เล่ม ๖๐๐ เล่ม
๗๐๐ เล่ม ๘๐๐ เล่ม ๙๐๐ เล่ม ๑,๐๐๐ เล่ม. . .แสนเล่ม จักทำอะไรได้ ผู้มี
สัญญาตื่นอยู่เมื่อฝนกำลังตก ตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ไม่พึงเห็น ทั้งไม่พึง
ได้ยินเสียงอย่างนี้แหละ ทำได้ยากกว่าและทำให้เกิดยากกว่า.
อัพภูตธรรมกถา
[๑๒๑] ดูก่อนปุกกุสะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ในโรงกระเดื่องในเมืองอาตุมา.
สมัยนั้น เมื่อฝนกำลังตก ตกอยู่อย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนาสองพี่
น้องและโคผู้ ๔ ตัว ถูกสายฟ้าฟาดในที่ใกล้โรงกระเดื่อง. ปุกกุสะ ลำดับนั้น
หมู่มหาชนในเมืองอาตุมาออกมาแล้ว เข้าไปหาชาวนาสองพี่น้องนั้นและโคผู้
๔ ตัว ถูกสายฟ้าฟาด. สมัยนั้น เราออกจากโรงกระเดื่อง จงกรมอยู่ในที่แจ้ง

300
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 301 (เล่ม 13)

ใกล้ประตูโรงกระเดื่อง. ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งออกจากหมู่มหาชนนั้น เข้ามา
หาเรา อภิวาทเราแล้ว ยื่นอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. เราได้กล่าวกะบุรุษ
นั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ หมู่มหาชนนั้น ประชุมกันทำไมหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อกี้นี้ เมื่อฝนกำลังตก ก็อย่างหนัก ฟ้า-
แลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนาสองพี่น้องและโคผู้ ๔ ตัว ถูกสายฟ้าฟาด หมู่มหาชน
ประชุมกันแล้วในที่นี้ ก็พระองค์อยู่ในที่ไหนเล่า. เราอยู่ในที่นี้เอง. ก็พระองค์
ได้เห็นอะไรหรือ. เราไม่ได้เห็น. ก็พระองค์ได้ยินเสียงอะไรหรือ. เราไม่ได้
ยิน. ก็พระองค์หลับหรือ. เราไม่ได้หลับ. ก็พระองค์ยังมีสัญญาอยู่หรือ.
อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ. ก็พระองค์มีสัญญาตื่นอยู่เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก
ฟ้าแลบอยู่ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่ได้เห็นทั้งไม่ได้ยินเสียงหรือ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
ดูก่อนปุกกุสะ บุรุษนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์หนอ เหตุ
ไม่เคยมี ก็มีมาแล้ว พวกบรรพชิตย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบหนอ ดังผู้
มีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่ได้เห็น
ไม่ได้ยินเสียง. ประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในเรา กระทำประทักษิณแล้ว
หลีกไป.
ปุกกุสมัลลบุตรเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุกกุสมัลลบุตรได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์โปรยความเลื่อมใสในอาฬารดาบสกาลาม-
โคตร ลงในพายุใหญ่ หรือลอยเสียในแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลง
ทาง หรือส่องประทีบในที่มืด ผู้มีจักษุจักเห็นรูปแม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

301