No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 272 (เล่ม 13)

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้
นครเวสาลีนั้น ก็ทรงทำธรรมีกถานี้แลเป็นอันมาก แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล
มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา มีอยู่ด้วยประการ
ฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรม
แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดี
โดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.
เวฬุวคาม(๑)
[๙๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในอัมพปาลีวัน ตาม
พระอัธยาศัยแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะ อานนท์ เราจักเข้าไป
ยังหมู่บ้านเวฬุวคามกันเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
เสด็จดำเนินถึงหมู่บ้านเวฬุวคามนั้น. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ณ หมู่บ้านเวฬุวคามนั้น.
(๒) ในหมู่บ้านเวฬุวคามนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด จงไปจำพรรษาตามมิตรสหาย
ตามบุคคลที่เคยพบเห็นกัน ตามบุคคลที่เคยคบหากัน โดยรอบนครเวสาลีเถิด
ส่วนเรา ตถาคตจะเข้าจำพรรษาในหมู่บ้านเวฬุวคามนี้แล. ภิกษุทั้งหลายเหล่า
นั้น กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. แล้วไปจำพรรษาตาม
มิตรสหาย ตามบุคคลที่เคยพบเห็นกัน ตามบุคคลที่เคยคบหากัน โดยรอบ
นครเวสาลี. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจำพระวัสสา(๓) ในหมู่บ้าน
เวฬุวคามนั้นเอง.
๑. บางแห่งเป็น "เวลุวคามก" และเป็น "เพลุวคามก" ก็มี
๒. บาลีพระสูตรแต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน สํ. มหาวาร. ๑๙/๒๐๓-๒๐๖
๓. พระพรรรษาที่ ๔๕ เป็นพรรษาสุดท้าย

272
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 273 (เล่ม 13)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประชวร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าจำพระวัสสาแล้ว ก็เกิด
ทรงพระอาพาธแรงกล้า มีเวทนาหนักเป็นใกล้สิ้นพระชนม์. กล่าวกันว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนานั้น มิได้ทรง
กระวนกระวาย. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริว่า การที่เราไม่
บอกกล่าวกะผู้เป็นอุปัฏฐาก ไม่บอกลาภิกษุสงฆ์แล้วปรินิพพานนั้น เป็นการ
ไม่สมควรแก่เรา อย่างไรก็ตาม เราควรขับไล่อาพาธนี้ให้ถอยไป ด้วยพระวิริยะ
แล้วอธิษฐานชีวิตสังขารดำรงอยู่. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่
พระโรคาพาธนั้นให้ถอยไปด้วยพระวิริยะแล้ว ทรงอธิษฐานชีวิตสังขารดำรง
พระชนม์อยู่. ครั้นแล้วพระโรคาพาธนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็สงบไป.(๑)
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากพระประชวรแล้ว ทรง
หายจากพระประชวรแล้วไม่นาน เสด็จออกจากวิหารไปประทับนั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูไว้ในร่มด้านหลังวิหาร. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้า
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระอานนท์ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระสำราญแล้ว ข้าพระองค์ได้เห็นความอดทนของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระเจ้าข้า และแม้กระนั้น ร่างกายของข้าพระองค์
ประดุจหนักอึ้ง ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ อีกทั้งธรรมทั้งหลายก็
มิแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ เพราะพระอาการทรงประชวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็แต่ว่า ข้าพระองค์ได้มีความเบาใจบางประการว่า ตราบเท่าที่พระองค์ยังไม่
๑. ในอรรถกถา (ทั้งสุมงฺคลวิลาสินี, ทุติยภาค, น. ๑๙๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค,
น. ๓๐๐) ว่า พระพุทธองค์ทรงเข้าผลสมาบัติข่มเวทนาขับไล่พระโรคาพาธให้สงบ ไม่เกิดขึ้น
ตลอด ๑๐ เดือน จนเสด็จปรินิพพาน แสดงว่าทรงพระประชวรครั้งนี้ ราวปลายเดือน ๘
หรือ ต้นเดือน ๙.

273
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 274 (เล่ม 13)

ทรงปรารภภิกษุสงฆ์แล้วทรงมีพระดำรัสอย่างใดอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
จักยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดังนี้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุสงฆ์ยังหวังอะไร
ในเราตถาคตเล่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมที่ตถาคตแสดงแล้ว ได้ทำมิให้มีใน
มิให้มีนอก ดูก่อนอานนท์ ตถาคตมิได้มีกำมืออาจารย์ (ปิดบังซ่อนเร้น)
ในธรรมทั้งหลาย ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดพึงมีความดำริอย่างนี้ว่าฉันจักบริหาร
ภิกษุสงฆ์ ดังนี้ก็ดี หรือว่า ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องฉัน ดังนี้ก็ดี ดูก่อนอานนท์
แน่นอน เขาผู้นั้นพึงปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว กล่าวถ้อยคำบางประการ. ดูก่อน
อานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราแลจักบริหารภิกษุสงฆ์หรือว่า
ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องเรา ตถาคต ดังนี้. ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้น ยังจักปรารภ
ภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวถ้อยคำไร ๆ คราวเดียว. ดูก่อนอานนท์ ก็ในกาลบัดนี้ เรา
ตถาคตแก่เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับแล้ว วัยของตถาคต
ก็กำลังดำเนินเข้าเป็น ๘๐ ปีอยู่. ดูก่อนอานนท์ เกวียนคร่ำคร่าเดินไปได้ด้วย
การแซมด้วยไม้ไผ่แม้ฉันใด ร่างกายของตถาคตก็ดำเนินไปได้ เหมือนด้วย
การแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันนั้นนั่นแล ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ตถาคตเข้าถึง
เจโตสมาธิ หานิมิตมิได้อยู่ เพราะไม่มนสิการนิมิตทั้งปวง เพราะเวทนา
ทั้งหลายบางอย่างดับไป ในสมัยนั้น ร่างกายของตถาคตมีความผาสุกยิ่ง.(๑)
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ
อยู่เถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นสรณะเลย
ทรงแสดงเรื่องมีตนเป็นเกาะมีตนเป็นสรณะ
ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะอยู่ ไม่มี
สิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
สรณะ อย่างไร.
๑. แต่นี้ถึงจบภาณวารที่ ๒ ตรงกับ สํ. มหาวาร. ๑๙/ ๒๑๗

274
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 275 (เล่ม 13)

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระศาสนานี้พิจารณากายในกาย เป็นผู้มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย . . .
พิจารณาจิตในจิต. . .
พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่ง
อื่นเป็นสรณะ เป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
สรณะ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ดูก่อนอานนท์ เพราะว่า ในกาลบัดนี้ก็ดี โดยการที่เราตถาคต
ล่วงลับไปแล้วก็ดี ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มี
ตนเป็นสรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จักมีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็น
สรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเป็น
ผู้ใคร่ในการศึกษาเหล่านี้นั้น จักเป็นผู้ประเสริฐสุดยอด ดังนี้แล.
จบ คามกัณฑ์ ในมหาปรินิพพานสูตร
จบภาณวารที่ ๒
ว่าด้วยอานุภาพของอิทธิบาท ๔
(๑)[๙๔] ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง
ทรงถือบาตรและจีวรแล้ว เสด็จดำเนินเข้านครเวสาลี เพื่อบิณฑบาต(๒) ครั้น
เสด็จดำเนินเพื่อบิณฑบาตในนครเวสาลีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลา
๑. บาลีพระสูตรต่อไปนี้ มีกล่าวไว้ใน สํ. มหาวาร. ๑๙/๓๐๒ อธ. อฏฺฐก. ๒๓/๓๑๘
-๓๒๔, ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๖.
๒. ความในมหาปรินิพพานสูตร ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา สุมงฺคลวิสาสินี, ทุติยภาค,
น. ๙๓๑-๒๐๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค, น. ๓๑๒-๓๒๘.

275
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 276 (เล่ม 13)

ปัจฉาภัตร ทรงมีพระดำรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงถือ
นิสีทนะ (ที่รองนั่ง) เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์กันเถิด ท่านพระอานนท์
กราบทูลรับว่า พระเจ้าข้า แล้วถือนิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไป
โดยเบื้องพระปฤษฏางค์. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินเข้าไปยัง
ปาวาลเจดีย์ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว แม้ท่านพระอานนท์ ก็ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ตรัสกะท่านพระอานนท์ ซึ่งนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์
นครเวสาลี เป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ ก็เป็นที่
รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สารัน-
ททเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ ผู้หนึ่ง
ผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่ง
วัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ดูก่อนอานนท์
ผู้นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ ) อยู่ได้ตลอดกัป เกินกว่ากัป
ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทำให้มาก แล้ว
ได้ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้
เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภด้วยดี โดยชอบแล้ว ดูก่อนอานนท์ ตถาคต
นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป
ดังนี้.
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำนิมิตหยาบ ทรงทำโอภาสหยาบ
อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ ก็มิสามารถรู้ได้ มิได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดำรงอยู่ตลอด
กัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่ชนจำนวน
มาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์

276
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 277 (เล่ม 13)

เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ คล้ายกับท่านมีจิต
ถูกมารสิงไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๒ แลฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๓ แล ดังนี้ว่า ดูก่อน
อานนท์ นครเวสาลี เป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์
ก็เป็นที่รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์
สารันททเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์(๑) ดูก่อนอานนท์
ผู้หนึ่งผู้ใด เจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็น
ประหนึ่งวัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ผู้นั้น
เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป
ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทำให้มากแล้ว
ได้ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอแล้วด้วยดี ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้นเมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดังนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิมิตหยาบ
ทรงทำโอภาสหยาบ อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ก็มิสามารถรู้ มิได้กราบทูล
อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่
ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนจำนวนมาก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.
คล้ายกับท่านมีจิตถูกมารสิงไว้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ท่านพระอานนท์มีพระดำรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไป บัดนี้ เธอจงสำคัญ
กาลอันควรเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระเจ้าข้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กระทำประทัก-
ษิณนั่งแล้วที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล.
๑. ดูประวัติย่อ ๆ ของเจดีย์เหล่านี้ ใน ปรมตฺถทีปนี อุทานวณฺณนา, น. ๔๐๘.

277
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 278 (เล่ม 13)

มารทูลขอให้ปรินิพพาน
[๙๕] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปไม่นาน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน
ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็น
สาวกของเรา จักยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ ยังไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหุสูต
ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน จักบอก จักแสดง จักบัญญัติ จักแต่งตั้ง
จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับ-
ปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด ดูก่อนมารผู้มีบาป เรา
จักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ก็บัดนี้ ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ฉลาด ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรง
ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม
เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วจักบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ตื้น แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นโดยสหธรรม
เรียบร้อย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน
ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็แล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุณี
ผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่ฉลาด. . . ก็บัดนี้ ภิกษุณี ผู้เป็นสาวิกาของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาด. . .จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาท
ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา

278
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 279 (เล่ม 13)

ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมาร
ผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่ฉลาด . . . ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
บัดนี้ อุบาสกผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เป็นฉลาดแล้ว. . .
แสดงธรรมมีปาฎิหาริย์ขมขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพาน
ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่ฉลาด. . . ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาด
แล้ว ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหุสูต ทรงธรรมปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของ
ตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อย โดยสหธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจง
ปรินิพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป พรหมจรรย์นี้ของเรา
จักยังไม่สมบูรณ์ แพร่หลาย กว้างขวาง ชนรู้กันโดยมากเป็นปึกแผ่น ตราบ
เท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักไม่ปรินิพพาน
เพียงนั้น ก็บัดนี้พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แล้ว. . . ขอพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้
เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงปลงอายุสังขาร
เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะมารผู้มี
บาปว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ไม่ช้าพระตถาคตจัก

279
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 280 (เล่ม 13)

ปรินิพาน จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคตจักปรินิพพาน.ลำดับนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลดอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์. เมื่อ
พระผู้มีพระภาคทรงปลดสมาธิแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ น่ากลัว
ขนพอง สยองเกล้า กลองทิพก็บันลือลั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ
ความนั้น ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
[๙๖] พระมุนีได้ปลงเสีย ซึ่งกรรมอันชั่ว
และกรรมอันไม่ชั่วได้ อันเป็นเหตุให้เกิด
ปรุงแต่งภพ ยินดีในภายใน ตั่งมั่นได้
ทำลายกิเลสที่เกิดขึ้นในตนเสีย เหมือน
ทำลายเกราะฉะนั้น.
[๙๗] ลำดับนั้น ท่านอานนท์คิดว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ สิ่ง
ที่ไม่เคยมีก็เกิดขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้จริงหนอ
น่ากลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ
อะไรหนอเป็นปัจจัย ทำให้แผ่นดินไหวปรากฏได้. ลำดับนั้น ท่านพระ
อานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นท่านพระอานนท์นั่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่
เคยมีก็มีขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินนี้ไหวได้จริงหนอ น่ากลัว
ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็น
ปัจจัย ทำให้แผ่นดินไหวได้.
เหตุทำให้แผ่นดินไหว ๘ อย่าง
[๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ๘ อย่าง
ปัจจัย ๘ อย่าง ทำให้แผ่นดินไหวได้. เหตุ ๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง

280
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 281 (เล่ม 13)

เป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้ง
อยู่บนอากาศ สมัยที่ลมใหญ่พัด เมื่อลมใหญ่พัด ย่อมทำน้ำให้ไหว ครั้น
น้ำไหวแล้ว ทำให้แผ่นดินไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ทำให้แผ่น-
ดินใหญ่ไหวได้.
ดูก่อนอานนท์ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ถึงความ
ชำนาญทางจิต หรือเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เขาเจริญปฐวีสัญญา
เล็กน้อย เจริญอาโปสัญญามาก เราทำแผ่นดินให้ไหว สะเทือน กำเริบ
หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ข้อที่สอง ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์เคลื่อนจากดุสิต มีสติสัมปชัญญะ
ก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้นแผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ
หวั่นไหว นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่สามทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์ มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจาก
พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว
นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น
ปัจจัย ข้อที่ห้า ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดตถาคต ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป
เมื่อนั้นแผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยข้อที่หก ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดตถาคต มีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร
เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น
ปัจจัย ข้อที่เจ็ด ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

281