No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 252 (เล่ม 13)

บ้านปาฏลิคาม. ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระ
เจ้าข้า.
(๑)ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
เสด็จดำเนินถึงหมู่บ้านปาฏลิคามนั้นแล้ว (๒)อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม
ได้ยินว่า ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดำเนินถึงปาฏลิคามแล้ว ครั้ง
นั้นแล อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ด้านหนึ่ง อุบาสกทั้งหลายชาวบ้าน
ปาฏลิคามได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
โปรดทรงรับอาคารรับรองเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วย
ดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคามทราบว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทำ
ประทักษิณ แล้วเข้าสู่อาคารรับรอง ปูลาดสถานที่ปูลาดไว้ทุกแห่ง แล้วปูอาสนะ
ทั้งหลายไว้ จัดตั้งหม้อน้ำ ยกประทีปน้ำมันขึ้นตั้งไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ด้านหนึ่ง อุบาสก
ทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อาคารรับรอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปูลาดสถานที่ปูลาดไว้
ทุกแห่งแล้ว ปูอาสนะทั้งหลายไว้แล้ว จัดตั้งหม้อน้ำไว้แล้ว ยกประทีปน้ำมัน
ขึ้นตั้งไว้ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพิจารณากาลสมควร
พระเจ้าข้า ดังนี้.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จดำเนินไปยังอาคารรับรอง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงล้าง
๑. บาลีพระสูตรแต่นี้ไปมีกล่าวถึงใน วินย.มหาวคฺค. ทุติย. ๕/๘๖-๙๔.
๒. บาลีพระสูตร แต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน ขุ.อุ. ๒๕/๒๑๕-๒๒๒.

252
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 253 (เล่ม 13)

พระบาทแล้ว เสด็จเข้าอาคารรับรอง ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์
ไปทางทิศบูรพา แม้พระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วเข้าสู่อาคารรับรองแล้ว นั่งพิง
ผนังด้านตะวันตก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก คือ หันหน้าไปทางพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นเอง แม้อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม ก็พากันล้างเท้าแล้ว
เข้าสู่อาคารรับรอง แล้วนั่งพิงผนังด้านตะวันออก หันหน้าไปทางทิศตะวันตก
คือ หันหน้าไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า เช่นกัน.
โทษ ๕ ประการของศีลวิบัต
[๗๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะอุบาสกทั้งหลายชาว
บ้านปาฏลิคามว่า
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษของศีลวิบัติของบุคคลทุศีลมี ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน
(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีลในโลกนี้
ประสบความเสื่อมโภคะเป็นอันมาก เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษ
ข้อที่ ๑ ของศีลวิบัติของบุคคลทุศีล.
(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก กิตติศัพท์ชั่วของ
บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีลก็อื้อฉาวไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของศีลวิบัติ ของ
บุคคลทุศีล.
(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศจาก
ศีล เข้าสู่บริษัทใด ๆ คือขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัท
ก็ดี สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้ไม่องอาจ ขวยเขิน เข้าไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๓
ของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล.

253
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 254 (เล่ม 13)

(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศ-
จากศีล เป็นคนหลง ทำกาละ (ตาย) นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ของศีลวิบัติ ของ
บุคคลผู้ทุศีล
(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศ-
จากศีล ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าไปถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก
นี้เป็นโทษข้อที่ ๕ ของศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษ ๕ ประการของบุคคลผู้ทุศีล ผู้ปราศจาก
ศีล เหล่านี้แล.
อานิสงส์ ๕ ประการของศีลสัมปทา
[๘๐] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของ
ผู้มีศีล มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน
(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้
ได้ประสบโภคะกองใหญ่เพราะมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่
๑ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล
(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก กิตติศัพท์อันดีงาม
ของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล กระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒
ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล
(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล เข้าสู่บริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี
คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้องอาจไม่ขวยเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่ ๓ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

254
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 255 (เล่ม 13)

(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำกาละ (ตาย) นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของความ
ถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล
(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่ ๕ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการของความถึงพร้อมด้วยศีล
ของบุคคลผู้มีศีล เหล่านี้แล.
[๘๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยิ่งอุบาสกทั้งหลาย ชาว
บ้านปาฏลิคามให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมี-
กถา ผ่านราตรีไปเป็นส่วนมากแล้ว ทรงส่งกลับ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อน
คหบดีทั้งหลาย ราตรีผ่านไปมากแล้วแล บัดนี้ ท่านทั้งหลายจงพิจารณาเห็น
เป็นกาลสมควรเถิด อุบาสกทั้งหลาย ชาวบ้านปาฏลิคาม กราบทูลรับแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว พากันกลับไป ครั้งนั้นแล เมื่อ
อุบาสกทั้งหลาย ชาวบ้านปาฏลิคามกลับไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็เสด็จเข้าสุญญาคาร.
บ้านปาฏลิคาม
[๘๒] ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธกำลังให้สร้างเมืองอยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้ง
หลาย. แต่ทว่า สมัยนั้นแล เทวดาทั้งหลายเป็นอันมากจำนวนพัน ๆ พากัน
หวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม. ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายผู้มี

255
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 256 (เล่ม 13)

ศักดิ์ใหญ่หวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและ
ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด
เทวดาทั้งหลายชั้นกลางๆ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์
ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอำมาตย์ทั้งหลายชั้นกลาง ๆ ในภูมิประเทศนั้น
ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นต่ำพากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อ
ให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอำมาตย์ทั้งหลายชั้นต่ำ ในภูมิประ-
เทศนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น
จำนวนพัน ๆ ต่างหวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือดวงตามนุษย์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง
แห่งราตรี แล้วตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ใครหนอให้สร้างเมือง
อยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม.
พระอานนท์กราบทูลว่า พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์
ของแคว้นมคธ กำลังให้สร้างเมืองอยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้า
วัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . ดูก่อนอานนท์ พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ
มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธให้สร้างเมืองในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้า
วัชชีทั้งหลาย เหมือนอย่างท้าวสักกะทรงปรึกษาหารือกับเทวดาทั้งหลายชั้น
ดาวดึงส์ ดูก่อนอานนท์ ณ ที่นี้ ตถาคตได้เห็นเทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก
จำนวนพัน ๆ ต่างหวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือดวงตามนุษย์ ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่พากัน
หวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราช
มหาอำมาตย์ทั้งหลาย ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลาย
ชั้นกลาง ๆ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่

256
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 257 (เล่ม 13)

ราชาและแก่ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลายชั้นกลาง ๆ ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิ
ประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นต่ำ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้
สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและแก่ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ในภูมิประเทศ
นั้น ดูก่อนอานนท์ เมืองนี้ยังเป็นที่ชุมนุมชนอารยะอยู่ตราบใด ยังเป็นทาง
ผ่านของพ่อค้าอยู่ตราบใด จักเป็นนครชั้นเลิศ ชื่อปาฏลิบุตร(๑) เป็นที่แก้ห่อ
สินค้า ดูก่อนอานนท์ นครปาฏลิบุตร จักมีอันตราย ๓ ประการ คือ จากไฟ ๑
จากน้ำ ๑ หรือด้วยแตกสามัคคี ๑
พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะถวายภัตตาหาร
[๘๓] ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
กล่าวถ้อยคำน่าชื่นชมควรรำลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พราหมณ์
สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่งแล ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุ-
สงฆ์ โปรดรับภัตตาหาร สำหรับวันนี้เถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับด้วยดุษณีภาพ พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ
ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงเข้าไปยังเรือนรับรองของตน
แล้วสั่งให้ตกแต่งของควรเคี้ยวของควรบริโภคอย่างประณีตไว้ในเรือนรับรอง
ของตน แล้วให้กราบทูลกาลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือ
บาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จดำเนินเข้าไปเรือนรับรองของ
๑. นครปาฏลิบุตรนี้ ต่อมาเป็นราชธานีของอาณาจักรมคธ ในรัชสมัยของพระเจ้ากาลา
โสก
หรือในรัชสมัยของพระเจ้าอุเทน พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูและเป็นนครหลวงที่
เจริญรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก ธรรมาธิราช และสมัยราชวงศ์คุปตะ.

257
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 258 (เล่ม 13)

พราหมณ์สุนีธะแสะวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธแล้วประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาปูไว้ ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธอังคาส เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของควรเคี้ยว
ควรบริโภคอย่างประณีตด้วยมือของตน ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ
ทรงวางพระหัตถ์ลงจากบาตร พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธ ถือเอาอาสนะต่ำที่ใดที่หนึ่งแล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุโมทนากะพราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ
แคว้นมคธผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่า
[๘๔] บุรุษผู้มีเชื้อชาติบัณฑิต เข้าไปอยู่ใน
ประเทศใด พึงเชิญท่านพรหมจารี
ทั้งหลายผู้มีศีล ผู้สำรวมให้บริโภคใน
ประเทศนั้น แล้วอุทิศทักษิณาให้แก่
เทวดาทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในประเทศนั้น
เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น อันบุรุษนั้นบูชา
แล้ว ย่อมบูชาตอบ นับถือแล้ว ย่อม
นับถือตอบ ซึ่งบุรุษนั้น เพราะเหตุนั้น
เทวดาทั้งหลายจะอนุเคราะห์บุรุษเชื้อชาติ
บัณฑิตนั้น เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตร
ของตน บุรุษผู้ซึ่งเทวดาอนุเคราะห์แล้ว
จะประสบแต่สิ่งเจริญทั้งหลายในกาล
ทุกเมื่อ.

258
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 259 (เล่ม 13)

โคตมทวาร
[๘๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอนุโมทนาพราหมณ์
สุนีธะและวัสสการมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จ
กลับ ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ
ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามเสด็จไปโดยเบื้องพระปฤษฏางค์ ด้วย
คิดว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกทางประตูใด ประตูนั้นจักมีชื่อว่า
โคตมทวาร จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคา โดยท่าใด ท่านั้นจักมีชื่อว่า โคตมติตถะ(๑)
ครั้งนั้นแล ประตูที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก ได้มีนามว่า โคตมทวาร
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปยังแม่น้ำคงคา ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำ
คงคา น้ำเต็มฝั่งเสมอขอบฝั่ง กาดื่มกินได้ มนุษย์ทั้งหลายผู้ปรารถนาข้ามจาก
ฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหายพระองค์บนฝั่งข้างนี้ของ
แม่น้ำคงคาแล้วประทับยืนเฉพาะอยู่บนฝั่งข้างโน้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึง
เหยียดแขนที่คู้ไว้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา ผู้ปรารถนาข้ามจากฝั่ง
หนึ่งไปยังฝั่งหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความหมายนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ใน
เวลานั้นว่า
ชนทั้งหลายเหล่าใด จะข้ามสระ คือ
ห้วงน้ำ (แม่น้ำ) ชนเหล่านั้น ต้องทำ
สะพานผ่านเปือกตมข้ามไป ประชาชน
๑. โคตมติตถะ ไม่มี เพราะมิได้เสด็จลงท่า.

259
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 260 (เล่ม 13)

ยังผูกทุ่นกันอยู่ แต่ชนทั้งหลายผู้มีปัญญา
ข้ามกันไปไม่ต้องผูกทุ่น(๑)
จบภาณวารที่ ๑(๒)
โกฏิคาม
[๘๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปหมู่บ้านโกฏิคามกันเถิด ท่านพระอานนท์กราบทูล
รับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จ
ดำเนินถึงหมู่บ้านโกฏิคามนั้นแล้ว เล่ากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ใน
หมู่บ้านโกฏิคามนั้น ในหมู่บ้านโกฏิคามนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอด
อริยสัจ ๔ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป
ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจ คือ ทุกข์ เราตถาคตและเธอ
ทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจ คือ
เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้
เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจ คือ ความดับทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลาย
๑. ดู- ขุ อุ. ๒๕/๒๒๒ ด้วย
๒. ภาณวารแปลว่า วาระแห่งการสวด ตามธรรมดา ๑ ภาณวาร ประกอบด้วยคาถา ๒๕๐
คาถา
๑ คาถา มี ๔ บาท มี ๘ อักษร รวม ๑ คาถา มี ๓๒ อักษร เพราะฉะนั้น ๒๕๐ คาถา
จึงเท่ากับ ๘,๐๐๐ อักษร (หรือ ๘,๐๐๐ พยางค์) เป็น ๑ ภาณวาร.

260
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 261 (เล่ม 13)

ด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอด อริยสัจ คือ ทางปฏิบัติ
ไปสู่ความดับทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อน
ไปตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ทุกข์นี้นั้น
เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจ คือ เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจ คือ ความดับทุกข์ เราตถาคต
ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจ คือทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์
เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ เราตถาคตถอนขึ้นแล้ว
ตัณหานำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพต่อไปไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสบทประพันธ์ ต่อไปว่า . -
[๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็น
จริง เราตถาคตและเธอทั้งหลายจึงเร่ร่อน
ไปในชาติทั้งหลายเหล่านั้น นั่นแล
ตลอดกาลยาวนาน.
บัดนี้อริยสัจ ๔ นี้นั้น เราตถาคต
เห็นแล้ว ตัณหานำไปสู่ภพ เราก็ถอน
ได้แล้ว รากเหง้าของทุกข์เราก็ถอนทิ้ง
แล้ว บัดนี้ จะไม่มีเกิดอีกต่อไป.(๑)
[๘๘] ทราบว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในหมู่บ้านโกฏิคาม
นั้น ก็ทรงทำธรรมมีกถานี้แลเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล มีอยู่ด้วย
ประการฉะนี้ สมาธิมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญามีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ
อันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว
๑. ดู. วินย. มหาวัคค, ทุติยภาค ๕/๙๓-๙๔

261