No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 82 (เล่ม 13)

บทว่า วิธูรสญฺชีวํ คือ พระสาวกชื่อว่า วิธูระ และสัญชีวะ ในท่าน
ทั้งสองนั้น ท่านวิธุระบรรลุปัญญาบารมี. ท่านสัญชีวะบรรลุสมาธิบารมี เป็น
ผู้มักเข้าสมาบัติพยายามด้วยกำลังสมาบัติในที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน กุฎี ถ้ำ
และมณฑปเป็นต้น เข้านิโรธในป่าตลอดวัน. พวกทำงานในป่าเป็นต้น
เข้าใจว่า ท่านมรณภาพจึงพากันเผาท่าน. ท่านสัญชีวะนั้นครั้นออกจากสมาบัติ
ตามกำหนด ห่มคลุมเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาตร. อาศัยเหตุนั้นแล ชนทั้งหลาย
จึงรู้จักท่านว่า ท่านสัญชีวะ ดังนี้.
บทว่า ภิยฺโยสุตฺตรํ คือ พระสาวกชื่อว่า ภิยโยสะและอุตตระ. ใน
ท่านทั้งสองนั้น ท่านภิยโยสะเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ท่านอุตตระเป็นผู้เลิศด้วย
สมาธิ.
บทว่า ติสฺสภารทฺวาชํ คือ พระสาวกชื่อว่าติสสะ และภารัทวาชะ.
ในท่านทั้งสองนั้น ท่านติสสะได้บรรลุปัญญาบารมี ท่านภารทวาชะได้บรรลุ
สมาธิบารมี.
บทว่า สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานํ คือ พระสาวกชื่อว่า สารีบุตร และ
โมคคัลลานะ. ในท่านทั้งสองนั้น ท่านสารีบุตรได้เป็นผู้เลิศในทางปัญญา ท่าน
โมคคัลลานะได้เป็นผู้เลิศในทางสมาธิ. นี้ชื่อว่ากำหนดคู่อัครสาวก.
พึงทราบวินิจฉัยในการกำหนดการประชุมสาวก. การประชุมครั้งแรก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปัสสีได้ประกอบด้วยองค์ ๔. คือภิกษุทั้ง
หมดเป็นเอหิภิกษุ ภิกษุทั้งหมดมีบาตรและจีวรบังเกิดด้วยฤทธิ์. ภิกษุทั้งหมด
ไม่ได้นัดหมายกันมา. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกันในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ.
ลำดับนั้น พระศาสดา ประทับนั่งจับพัดยังภิกษุให้ลงอุโบสถ. ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓
กันนัยนี้แล. ในการประชุมทั้งหมดของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือก็เป็นอย่าง
นั้น. ก็แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายได้มีการประชุมในปฐมโพธิกาล

82
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 83 (เล่ม 13)

เท่านั้นเพราะเหตุใด, พระสูตรนี้ท่านกล่าวไว้แล้วในภาคอื่น เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมสาวกของเราในบัดนี้ ให้มีหนเดียว
ดังนั้นการประชุมจึงจบ.
ในบทว่า อฑฺฒเตรสานิภิกฺขุสตานิ ความว่า ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปคือ
บุราณชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ปริวารพระอัครสาวก ๒๕๐ รูป. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น
ควรกล่าวถึงเรื่องตั้งแต่อภินิหารของพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว แสดงถึงการ
บรรพชา. อนึ่ง บรรดาบรรพชิตเหล่านั้น พระมหาโมคคลัลานะบรรลุพระอรหัต
ในวันที่เจ็ด. พระธรรมเสนาบดี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวทนา-
ปริคคหสูตรอันเป็นธรรมยาคะที่เตรียมไว้ แก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลาน ณ
ถ้ำสูกรขาตาท่ามกลางภูเขาคิชฌกูฏ ในวันที่ ๑๕ ส่งญาณไปเพื่อรู้ตามโดยระลึก
ไปตามเทศนา ได้บรรลุสาวกบารมีญาณ.
พระผู้มีพระเจ้าทรงทราบถึงการบรรลุพระอรหัตของพระเถระแล้ว เสด็จ
ขึ้นไปยังเวหาสไปปรากฏ ณ พระวิหารเวฬุวัน. พระเถระรำพึงว่าพระผู้มีพระเจ้า
เสด็จไปไหนหนอ ครั้นทราบความที่พระองค์ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
แม้ท่านเองก็เหาะสู่เวหาสไปปรากฏ ณ พระวิหารเวฬุวันเหมือนกัน. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศปาติโมกข์ (หลักคำสอน) พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายถึงการประชุมนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปเป็นต้น. นี้คือกำหนด
การประชุมของพระสาวก.
พึงทราบวินิจฉัย ในการกำหนดอุปฐากต่อไป. บทว่า พระอานนท์
ท่านกล่าวหมายถึงความที่พระอานนทเถระ เป็นอุปฐากประจำ. เพราะว่า ใน
ปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระอุปฐากไม่ประจำ. บางคราว พระนาค-
สมาละถือบาตรและจีวรตามเสด็จ. บางคราวพระนาคิตะ. บางคราวพระอุปวาณะ.
บางคราวพระสุนักขัตตะ. บางคราวจุนทสมณุเทส บางคราวพระสาคตะ บาง
คราวพระเมฆิยะ.

83
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 84 (เล่ม 13)

ในบรรดาท่านเหล่านั้น บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางไกล
กับพระนาคสมาลเถระ เสด็จถึงทางสองแพร่ง. พระเถระหลีกออกจากทางกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จะไปตามทางนี้. ทีนั้นพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระนั้นว่า มานี่ภิกษุเราจะไปทางนี้. พระเถระนั้นกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์รับบาตรและจีวรของพระองค์เถิด
ข้าพระองค์จะไปตามทางนี้แล้วก็เตรียมจะวางบาตรและจีวรลงบนพื้น. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะพระเถระนั้นว่า นำมาเถิดภิกษุแล้วทรงรับบาตรและ
จีวรเสด็จไป. เมื่อภิกษุนั้นไปอีกทางหนึ่ง พวกโจรชิงบาตรแระจีวรไป และ
ศีรษะ. ภิกษุนั้นคิดว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ไม่มีผู้อื่น
แล้ว ได้มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งที่เลือดไหล. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
นี่อะไร ภิกษุ จึงกราบทูลเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
กะภิกษุนั้นว่า อย่าคิดไปเลย ภิกษุ เราห้ามเธอถึงเหตุนั้นแล้วทรงปลอบภิกษุ
นั้น.
ก็บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังชันตุคามในวังสมฤคทาย
วันด้านปาจีน กับพระเมฆิยเถระ. แม้ ณ ที่นั้นพระเมฆิยะไปบิณฑบาต ใน
ชันตุคาม เห็นสวนมะม่วงน่าประทับใจ ณ ฝั่งแม่น้ำ กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงรับบาตรและจีวรของพระองค์ไปเถิด ข้าพระ-
องค์จะบำเพ็ญสมณธรรมที่สวนมะม่วงนั้นแม้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง
๓ ครั้ง ก็ไปจนได้ ครั้นถูกอกุศลวิตกครอบงำ จึงกลับมากราบทูลเหตุที่เกิดขึ้นนั้น
ให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเมฆิยะว่า เรากำหนดรู้เหตุนี้แก่
เธอแล้วยังได้ห้ามเธอไว้ แล้วได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี โดยลำดับ.
ณ พระนครสาวัตถีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุ
ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันบวรที่ปูไว้ ณ บริเวณคันธกุฎี ตรัสเรียกภิกษุทั้ง

84
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 85 (เล่ม 13)

หลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นผู้แก่ ภิกษุบางรูปเมื่อเราบอกว่าเราไป
ตามทางนี้กันเถิด ได้ไปเสียทางอื่น บางรูปวางบาตรและจีวรของเราไว้บนพื้น
พวกเธอจงเลือกภิกษุรูปหนึ่ง เป็นอุปฐากประจำของเรา. ภิกษุทั้งหลายเกิด
ธรรมสังเวช ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ตั้งความปรารถนาไว้
กะพระองค์ บำเพ็ญบารมีตลอดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ธรรมดาอุปฐากมีปัญญา
มากเช่นข้าพระองค์สมควรมิใช่หรือ ข้าพระองค์จักอุปฐากพระองค์ดังนี้. พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงห้ามพระสารีบุตรว่า อย่าเลย สารีบุตร เธออยู่ในทิศใด ทิศ
นั้นไม่ว่างเปล่าทีเดียว โอวาทของเธอเช่นเดียวกับโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้ง
หลาย เธอไม่ต้องทำหน้าที่อุปฐากเรา. พระมหาสาวก ๘๐ รูป เริ่มแต่พระ
มหาโมคคัลลานะเป็นต้นได้ลุกขึ้นโดยทำนองเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ห้ามพระสาวกเหล่านั้นทั้งหมด. แต่พระอานนนเถระ นั่งนิ่งทีเดียว.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระอานนทเถระนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
อานนท์ หมู่ภิกษุกราบทูลขอคำแหน่งอุปฐาก แม้ท่านก็จงกราบทูลขอบ้างดังนี้.
พระอานนทเถระนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชื่อว่าการอุปฐากที่กราบทูล
ขอแล้วได้มาจะเป็นเช่นไร พระศาสดาไม่ทรงเห็นเราดอกหรือ หากพระองค์
จักพอพระทัย จักทรงบอกว่า อานนท์ จงอุปฐากเราดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไม่ควรให้ผู้อื่นส่งเสริมจักรู้ด้วยตนเอง
แล้วอุปฐากเรา. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นเถิด จง
กราบทูลขอตำแหน่งอุปฐากกะพระทศพล. พระเถระลุกขึ้นกราบทูลขอพร ๘
ประการคือ ข้อห้าม ๔ ข้อ ข้อขอร้อง ๔ ข้อ.
พึงทราบข้อห้าม ๔ ข้อ. พระอานนทเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ หากพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์

85
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 86 (เล่ม 13)

ได้มาแก่ข้าพระองค์ จักไม่ประทานบิณฑบาต จักไม่ให้อยู่ในคันธกุฎีเดียวกัน
รับนิมนต์แล้วจักไม่ไปร่วมกันด้วยประการฉะนี้ ข้าพระองค์จักอุปฐากพระผู้มี
พระภาคเจ้าดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็เธอเห็นโทษ
อะไรในข้อนี้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากข้าพระองค์จักได้สิ่งเหล่านี้
จักมีผู้กล่าวหาแก่ข้าพระองค์ว่า พระอานนท์ใช้จีวรอันประณีตที่พระทศพลได้
แล้ว ฉันบิณฑบา อยู่ในคันธกุฎีเดียวกัน ไปสู่ที่นิมนต์ร่วมกัน เมื่อได้ลาภนี้
จึงอุปุฐากพระตถาคต เมื่ออุปฐากอย่างนี้จะหนักหนาอะไร. พระอานนทเถระ
กราบทูลขอข้อห้าม ๔ ข้อ เหล่านี้.
พึงทราบข้อขอร้อง ๔ ข้อ. พระอานนทเถระ กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
หากข้าพระองค์จักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในขณะที่บริษัทมาจากภายนอกแคว้น
ภายนอกชนบทเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามาถึงแล้ว ขณะใดความสงสัยเกิดขึ้น
แก่ข้าพระองค์ ขณะนั้นข้าพระองค์จักได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมข้อใดลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จกลับมาแล้ว จัก
ทรงแสดงธรรมข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ ด้วยประการฉะนี้ ข้าพระองค์จักอุปฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ เธอเห็น
อานิสงส์อะไรในข้อนี้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรทั้งหลายผู้
มีศรัทธาในพระศาสนานี้ เมื่อไม่ได้โอกาสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมกล่าว
กะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ วันพรุ่งนี้โปรดรับภิกษาในเรือน
ของพวกกระผมพร้อมด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่เสด็จไป ณ ที่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่ได้
โอกาสเพื่อชี้แจงกะบริษัทในขณะที่เขาปรารถนาและเพื่อบันเทาความสงสัย
จักมีผู้กล่าวว่า อะไรกันพระอานนท์ อุปฐากพระทศพล แม้เพียงเท่านี้

86
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 87 (เล่ม 13)

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงทำการอนุเคราะห์แก่พระอานนท์ ดังนี้ อนึ่ง
ชนทั้งหลายจักถามข้าพระพุทธเจ้าลับหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระ
อานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ในที่ไหน ดังนี้
หากข้าพระองค์จักชี้แจงข้อนั้นไม่ได้ จักมีผู้กล่าวว่าแม้เพียงเท่านี้ ท่านก็ยังไม่รู้
ท่านไม่ละพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจเงาเที่ยวไปตลอดกาลนาน เพราะเหตุไรดังนี้
ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาจะกล่าวธรรมแม้ที่พระองค์ทรงแสดงลับหลัง
อีกครั้ง. พระอานนท์กราบทูลขอข้อขอร้อง ๔ ข้อนี้.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงประทานแก่พระอานนท์นั้น. พระ-
อานนท์ครั้นรับพร ๘ ประการเหล่านี้แล้วก็ได้เป็นอุปฐากประจำด้วยประการ
ฉะนี้. พระอานนท์บรรลุผลแห่งบารมีที่บำเพ็ญมาตลอด แสนกัปเพื่อตำแหน่ง
นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุอานนท์ผู้เป็น
อุปฐากของเราได้เป็นอุปฐากผู้เลิศดังนี้ หมายถึงความที่พระอานนท์นี้เป็น
อุปฐากประจำนั้น. นี้เป็นการกำหนดอุปฐาก.
การกำหนดบิดามีความง่ายอยู่แล้ว.
บทว่า วิหารํ ปาวิสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่วิหาร
เพราะเหตุอะไร นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสดังนั้นแล้วทรงดำริว่า
เราบรรลุถึงที่สุดอันหาระหว่างมิได้แล้วยังไม่ได้ กล่าวถึงวงศ์ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ๗ พระองค์เลย ก็เมื่อเราเข้าไปยังวิหาร ภิกษุเหล่านี้ได้ปรารภถึง
บุพเพนิวาสญาณโดยประมาณอันยิ่งแล้วจักกล่าวถึงคุณ เมื่อเป็นเช่นนั้น เรามา
กล่าวถึงพุทธวงศ์อันหาระหว่างมิได้ ให้ภิกษุทั้งหลายบรรลุถึงที่สุดแล้ว จักแสดง
ดังนี้ ทรงให้โอกาสภิกษุทั้งหลายสนทนากันจึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแบบอันใดไว้ วาระ ๙ เหล่านี้มาแล้วในแบบแผนนั้น คือ
กำหนดกัป กำหนดชาติ กำหนดโคตร กำหนดอายุ กำหนดการตรัสรู้ กำหนด

87
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 88 (เล่ม 13)

คู่สาวก กำหนดการประชุมสาวก กำหนดอุปฐาก กำหนดบิดา. วาระหลาย
อย่างยังไม่มาถึงแต่จะนำมาแสดง.
จริงอยู่ เมื่อบุตรสมควรแก่ตระกูลและวงศ์หนึ่งของพระโพธิสัตว์
ทั้งปวงเกิดแล้ว ควรออกบวชนี้แลเป็นวงศ์ นี้เป็นประเพณี. ถามว่าเพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะว่าตั้งแต่การหยั่งลงสู่ครรภ์ของมารดาของพระโพธิสัตว์ผู้เป็น
พระสัพพัญญูทั้งหลายมีปาฏิหาริย์หลายอย่างดังได้กล่าวแล้วในตอนก่อน ผิว่า
เมืองเกิดบิดามารดาภรรยาบุตรของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นไม่พึงปรากฏ เมือง
เกิดบิดาบุตรของบุคคลนี้ก็ไม่ปรากฏ.
ผู้นี้เห็นจะเป็นเทวดา ท้าวสักกะมารหรือพรหม และสำคัญว่าปาฏิหาริย์
เช่นนี้ของเทวดาทั้งหลายไม่น่าอัศจรรย์ พึงสำคัญถึงปาฏิหาริย์อันไม่ควรฟัง
ไม่ควรเชื่อ. แต่นั้นการตรัสรู้ไม่พึงมี เมื่อไม่มีการตรัสรู้ การอุบัติของ
พระพุทธเจ้าก็ไม่มีประโยชน์ คำสอนก็ไม่นำให้พ้นไปจากทุกข์ เพราะฉะนั้น
เมื่อบุตรสมควรแก่ตระกูลและวงศ์ของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเกิด ควรออกบวช
นี้แลเป็นวงศ์ นี้เป็นประเพณี. เพราะฉะนั้น ควรนำวาระหลาย ๆ อย่างมาแสดง
ด้วยสามารถแห่งบุตรเป็นต้น.
ในสัมพหุลวาระพึงทราบ บุตรทั้ง ๗ ตามลำดับของพระพุทธเจ้า ๗
พระองค์เหล่านี้ก่อน คือ
สมวัตตักขันธะ อตุละ สุปปพุทธะ อุตตระ สัตถวาหะ
วิชิตเสนะ ราหุลเป็นที่ ๗, ในบรรดาบุตรเหล่านั้น เมื่อเจ้าชายราหุลประสูติ
พวกราชบุรุษนำหนังสือบอกข่าว มาวางไว้บนพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ.
ลำดับนั้น ความสิเนหาในพระโอรสทำให้พระวรกายทุกส่วนของพระมหาบุรุษ
ซาบซ่าน. พระมหาบุรุษดำริว่า เมื่อบุตรเกิดเพียงคนเดียว ความสิเนหา
ในบุตรยังเป็นถึงเพียงนี้ ถ้าเราจักมีบุตรกว่า ๑,๐๐๐ คน ในบุตรเหล่านั้น

88
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 89 (เล่ม 13)

เมื่อคนหนึ่งเกิดความผูกพันด้วยสิเนหาเพิ่มมากขึ้นอย่างนี้ หัวใจจักแตกสลาย
เป็นแท้ เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ห่วงเกิดแล้ว เครื่องผูกพันเกิด
แล้ว. ในวันนั้นเองพระมหาบุรุษทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวช. ในการเกิด
บุตรของพระโพธิสัตว์ทุกองค์มีนัยนี้แล นี้ การกำหนดบุตร
บุตรแม้ทั้ง ๗ เหล่านั้น ได้มีมารดาเหล่านี้คือ
พระนางสุตตนา พระนางสัพพกามา พระนางสุจิตตา พระ-
นางโรจนี พระนางรุจจตินี พระนางสุนันทา และพระนางพิมพาเป็น
องค์ที่ ๗. ก็พระนางพิมพาเทวี เมื่อราหุลกุมารประสูติ ได้ปรากฏชื่อว่า
ราหุลมารดา. นี้ การกำหนดภรรยา.
ก็พระโพธิสัตว์ ๒ องค์นี้คือ พระวิปัสสี พระกกุสันธะ เสด็จขึ้น
รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์. พระโพธิสัตว์ ๒ องค์
คือ พระสิขี พระโกนาคมนะ ประทับบนคอช้างประเสริฐออกทรงผนวช.
พระเวสสภูโพธิสัตว์ประทับนั่งบนวอทองออกทรงผนวช. พระกัสสปะประทับ
นั่งบนพื้นมหาปราสาท ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิด ออกจากฌานแล้ว
การทำฌานนั้นให้เป็นบาท ทรงอธิษฐานว่า ปราสาทจงไปหยั่งลง ณ โพธิมณฑล
ปราสาทไปทางอากาศแล้วหยั่งลง ณ โพธิมณฑล. แม้พระมหาบุรุษลงจาก
ปราสาทนั้น ประทับบนพื้นทรงอธิษฐานว่า ปราสาทจงไปตั้งอยู่ ณ ที่เดิม.
ปราสาทนั้นก็ต้องอยู่ในที่เดิม. แม้พระมหาบุรุษก็ทรงประกอบความเพียรตลอด
๗ วัน ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ. ก็พระโพธิสัตว์
ของเราทั้งหลาย เสด็จประทับม้ากัณฐกะออกทรงผนวช. นี้ การกำหนดยาน.
วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ
โยชน์หนึ่ง. ของพระสิขี ๓ คาวุต. ของพระเวสสภูกึ่งโยชน์ ของพระกกุสันธะ
คาวุตหนึ่ง ของพระโกนาคมนะกึ่งคาวุต ของพระกัสสปะ ๒๐ อุสภะ. วิหาร

89
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 90 (เล่ม 13)

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราตั้งอยู่ในเนื้อที่ ๑๖ กรีส โดยวัดตามปกติ ๘ กรีส
โดยวัดของหลวง. นี้ การกำหนดพระวิหาร.
เศรษฐีทั้งหลายให้ช่างทำอิฐทองคำ ยาว ๑ ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง
๘ นิ้ว ปูโดยส่วนขวางแล้ว ซื้อสร้างที่อยู่ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
วิปัสสี. ปูด้วยผาลไม้เส้าทองคำซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี.
ให้ช่างทำเท้าช้างทองคำปูโดยขวาง ซื้อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
เวสสภู. ปูด้วยอิฐทองคำ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ซื้อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กกุสันธ. ปูด้วยเต่าทองคำ ตามนัยกล่าวแล้ว ซื้อถวายแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ. ปูด้วยทองแท่ง ซื้อถวายแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. และปูโดยขวางแห่งกหาปณะอันมีเครื่องหมาย
ซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. นี้ กำหนดในการถือพื้นที่สร้าง
วิหาร.
อุปฐากผู้ที่ซื้อพื้นที่ทำให้เป็นวิหารถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่าวิปัสสีนั้น ชื่อปุนัพพสุมิตตะ. ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนานว่า สิขี ชื่อ
สิริวัฑฒ์. ถวายพระเวสสภู ชื่อ โสตถิยะ. ถวายพระกกุสันธะ ชื่อ อัจจุตะ.
ถวายพระโกนาคมนะ ชื่อ อุคคะ. ถวายพระกัสสปะ ชื่อ สุมนะ. ถวายพระผู้มี
พระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ชื่อ สุทัตตะ. ก็อุปฐากเหล่านั้นทั้งหมดได้เป็น
เศรษฐีคหบดีมหาศาล. นี้ กำหนดอุปัฏฐาก.
ยังมีสถานที่อื่นอีก ๔ แห่ง. อันเป็นสถานที่ที่จะเว้นเสียมิได้ คือ โพธิ
บัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทั้งหมด เว้นไม่ได้ย่อมมีในที่เดียวเท่านั้น. การแสดง
พระธรรมจักรในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เว้นไม่ได้เลย. การเหยียบพระบาท
ครั้งแรก ณ ประตูสังกัสสนคร ตอนเสด็จลงจากเทวโลก เว้นไม่ได้เลย. ที่ตั้ง
เท้าเตียง ๔ ที่ในพระคันธกุฏี ในเชตวันมหาวิหาร เว้นไม่ได้ทีเดียว. ก็แต่ว่า

90
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 91 (เล่ม 13)

วิหารมีเล็กบ้างใหญ่บ้าง. แม้วิหารก็เว้นไม่ได้. แต่นครเว้นได้. กาลใดนคร
อยู่ด้านปาจีน กาลนั้นวิหารอยู่ด้านปัจฉิม. กาลใดนครอยู่ด้านทักษิณ กาลนั้น
วิหารอยู่ด้านอุดร. กาลใดนครอยู่ด้านปัจฉิม กาลนั้นวิหารอยู่ด้านปาจีน.
กาลใดนครอยู่ด้านอุดร กาลนั้นวิหารอยู่ด้านทักษิณ. ก็บัดนี้ นครอยู่ด้านอุดร
วิหารอยู่ด้านทักษิณ. อนึ่ง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีความต่างกันอยู่ ๕ อย่าง
คือ ต่างกันโดยอายุ ต่างกันโดยประมาณ ต่างกันโดยตระกูล ต่างกัน
โดยความเพียร ต่างกันโดยรัศมี.
พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มีพระชนมายุน้อย
ชื่อว่าต่างกันโดยอายุ. เป็นความจริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ได้มีพระชนมายุประมาณแสนปี. พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราได้มีพระ
ชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี. พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระองค์เตี้ย
ชื่อว่าต่างกันโดยประมาณ. เป็นความจริงอย่างนั้น พระทีปังกร สูง ๘๐ ศอก
พระสุมนะ สูง ๙๐ ศอก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย สูง ๑๘ ศอก.
บางพระองค์ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์บางพระองค์ทรงอุบัติในตระกูลพราหมณ์
ชื่อว่าต่างกันโดยตระกูล. ความเพียรของบางพระองค์มีเวลาสั้น เช่น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ของบางพระองค์ยาวนานดั่งเช่นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของเราทั้งหลาย ชื่อว่าต่างกันโดยความเพียร. พระรัศมีจากพระวรกายของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุมังคละ ประมาณ หมื่นโลกธาตุ. ของพระผู้มี
พระภาคเจ้าของเราประมาณวาหนึ่งโดยรอบ ชื่อว่าต่างกันโดยรัศมี ในความ
ต่างกันนั้น ต่างกันโดยรัศมีเกี่ยวกับพระพุทธประสงค์. พระพุทธเจ้าพระองค์
ใดทรงมีพระประสงค์เท่าใด รัศมีจากพระวรกายของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ย่อมแผ่ไปเท่านั้น. รัศมีจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สุมังคละย่อมแผ่ไป หมื่นโลกธาตุเป็นนิจ ดังนี้ได้เป็นพระพุทธประสงค์. แต่

91