No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 12 (เล่ม 13)

มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีพระ-
ขัณฑะและพระติสสะ เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ การประชุมแห่ง
พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้มี
แล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกัน เป็นจำนวนภิกษุหกล้านแปด
แสนรูป อีกครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแสนรูป อีก
ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแปดหมื่นรูป ภิกษุทั้งหลาย
พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ซึ่งได้
ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอโสกะ ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระนามว่าพันธุม
เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่าพันธุมดี เป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระนครชื่อว่าพันธุมดี ได้เป็นราชธานีของ
พระเจ้าพันธุม.
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี
จุติจากชั้นดุสิตแล้ว มีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใดพระโพธิสัตว์จุติ
จากชั้นดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา เมื่อนั้นในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดา
ทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดในโลก มิได้ถูกอะไรปกปิดไว้ ที่มืดมิดก็ดี สถานที่

12
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 13 (เล่ม 13)

ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสง
ไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองแห่งนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏ
ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็
จำกันและกันได้ ด้วยแสงนั้นว่า พ่อผู้เจริญ ได้ยินว่า ถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้
ก็มีอยู่เหมือนกัน ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่าง
อันยิ่งไม่มีประมาณย่อมปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายข้อนี้
เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์
เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔
โดยตั้งใจว่าใคร ๆ คือ มนุษย์ หรืออมนุษย์ก็ตาม อย่าเบียดเบียนพระโพธิสัตว์
หรือพระมารดาของโพธิสัตว์นั้นได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์โดยปรกติ
ทรงศีล งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการกล่าวเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ
สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ลง
สู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมไม่เกิดมนัสซึ่ง
เกี่ยวด้วยกามคุณในบุรุษทั้งหลาย พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมเป็นหญิงที่
บุรุษใด ๆ ซึ่งมีจิตกำหนัดแล้วจะล่วงเกินไม่ได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมได้กามคุณ

13
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 14 (เล่ม 13)

๕ พระนางเพียบพร้อมพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ ข้อนี้เป็น
ธรรมดาในเรื่องนี้.
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา อาพาธใด ๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของ
ของพระโพธิสัตว์เลย พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทรงสำราญ ไม่ลำบาก
กายและพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ซึ่งเสด็จ
อยู่ภาย ในพระครรภ์มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลายเปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยมนาย
ช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง
ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น. บุรุษผู้มีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นี้นั้นวางไว้ใน
มือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม
นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย
เขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น แม้ฉันใด ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์
ของพระมารดา อาพาธใด ๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงสำราญ ไม่ลำบากพระกาย และพระมารดาของ
พระโพธิสัตว์ย่อมทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จอยู่ ณ ภายในพระครรภ์
มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วนมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเมื่อพระโพธิสัตว์
ประสูติแล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคตเสด็จเข้าถึงชั้น
ดุสิต ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ หญิงอื่น ๆ บริหารครรภ์
๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเหมือน

14
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 15 (เล่ม 13)

อย่างนั้นไม่ พระมารดาของพระโพธิสัตว์บริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์
ครบ ๑๐ เดือน ถ้วน จึงประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรดามีอยู่ดังนี้ พระมารดาของพระโพธิ-
สัตว์ย่อมไม่ประสูติเหมือนหญิงอื่น ๆ ซึ่งนั่งหรือนอนคลอด ส่วนพระมารดา
ของพระโพธิสัตว์ประทับยืนประสูติพระโพธิสัตว์ ข้อนี้เป็นธรรดาในเรื่องนี้.
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาพระโพธิสัตว์
เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์
เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดาและยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตร ๔ องค์
ประคองรับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา กราบทูลว่า ขอ
จงมีพระทัยยินดีเถิดพระเทวี พระโอรสของพระองค์ที่เกิดมีศักดิ์ใหญ่ นี้เป็น
ธรรมดาในเรื่องนี้ .
[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์
เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จประสูติอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่
เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่
เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งไม่สะอาดอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคลวางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณีย่อมไม่ทำ
ผ้ากาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำแก้วมณีให้
เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์แม้
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จ
ประสูติจากพระครรภ์พระมารดาก็ประสูติอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อน
ด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อน

15
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 16 (เล่ม 13)

ด้วยสิ่งไม่สะอาด อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องข้อนี้เป็นธรรมดาใน
เรื่องนี้.
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์
เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ธารน้ำย่อมปรากฏจากอากาศสองธาร
เย็นธารหนึ่ง ร้อนธารหนึ่ง สำหรับสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้
เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้ว
ได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้าน
ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว และเมื่อฝูงเทพดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จอยู่
ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่ง
โลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความ
เกิดอีกมิได้มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใด พระโพธิสัตว์เสด็จ
ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวาและมนุษย์ แสงสว่างอัน
ยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่
ที่สุดโลกมิได้ถูกอะไรปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์
เหล่านี้ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไป ไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสอง
แห่งนั้นแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้ง
หลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงสว่าง
นั้นว่าพ่อผู้เจริญ ได้ยินว่าถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน และหมื่น
โลกธาตุนี้ย่อมหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อม
ปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

16
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 17 (เล่ม 13)

การพยากรณ์นิมิต
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารประสูติแล้วแล
พวกอำมาตย์ได้กราบทูลแด่พระเจ้าพันธุมว่า ขอเดชะ พระราชโอรสของพระ-
องค์ประสูติแล้ว ขอพระองค์จงทอดพระเนตรพระราชโอรสนั้นเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าพันธุมได้ทอดพระเนตรเห็นพระวิปัสสีราชกุมาร แล้วรับสั่ง
เรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตมาแล้วตรัสว่า ขอพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตผู้เจริญจง
ตรวจดูพระราชกุมารเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตได้เห็นพระวิ-
ปัสสีราชกุมารนั้นแล้ว ได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมนั้นดังนี้ว่า
ขอเดชะ ขอพระองค์จงดีพระทัยเถิด พระราชโอรสของพระองค์ที่ประสูติ
แล้วมีศักดิ์ใหญ่ ข้าแต่มหาราช เป็นลาภของพระองค์ ผู้เป็นเจ้าของสกุลอันเป็น
ที่บังเกิดแห่งพระราชโอรส เห็นปานดังนี้ ขอเดชะ พระองค์ได้ดีแล้วเพราะ
พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่า
นั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรง
ชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว
ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗
พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา
มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นของเขต ถ้าเสด็จออกผนวช
เป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดหลังคาคือกิเลส
แล้วในโลก.

17
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 18 (เล่ม 13)

ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
เหล่าไหน อันเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครอง
เรือนจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่
ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้วมีพระราชอาณาจักร
มั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ฯลฯ ครอบครองแผ่นดินมี
สาคร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก.
ว่าด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
[๒๙] ๑. ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐาน
เป็นอันดี (เรียบเสมอ) ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้มี
พระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนี้ เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ
นั้น.
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้ มี
จักรเกิดขึ้นมีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ข้าแต่สมมติเทพ แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราช
กุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย
อาการทั้งปวง นี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น.
๓. มีส้นพระบาทยาว.
๔. มีพระองคุลียาว.
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่น.
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย.

18
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 19 (เล่ม 13)

๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ.
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย.
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบ
คลำได้ถึงพระชานุทั้งสอง.
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก.
๑๐. มีพระฉวีววรรณดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประ-
ดุจหุ้มด้วยทอง.
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิ
ติดอยู่ในพระกายได้.
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่ง ๆ เกิดในขุมละเส้น ๆ.
๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสี
เหมือนดอกอัญชัน ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ.
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม.
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน.
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของราช-
สีห์.
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม.
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกาย
ของพระองค์ พระกายของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์.
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน.
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี.
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์.
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่.

19
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 20 (เล่ม 13)

๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน .
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง.
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม.
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่.
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนก
การเวก.
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท.
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค.
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งพระขนง มี
สีขาวอ่อนควรเปรียบด้วยนุ่น.
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้าแต่สมมติ
เทพ แม้การที่พระราชกุมารนี้ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระ
พักตร์นี้ ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น.
[๓๐] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการเหล่านี้ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ใน
แผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชาอาณาจักรมั่นคง
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน
ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้
พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา ครอบครอง
แผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดหลังคาคือกิเลสแล้วในโลก.

20
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 21 (เล่ม 13)

เรื่องพระเจ้าพันธุมราช
[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมโปรดให้พวก
พราหมณ์ผู้รู้นิมิตนุ่งห่มผ้าใหม่แล้ว เลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์
ทุกสิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งตั้งพี่เลี้ยงนางนมแก่
พระวิปัสสีราชกุมาร หญิงพวกหนึ่งให้เสวยน้ำนม หญิงพวกหนึ่งให้สรงสนาน
หญิงพวกหนึ่งอุ้ม หญิงพวกหนึ่งใส่สะเอว.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราชบุรุษทั้งหลาย ได้กั้นเศวตฉัตรเพื่อพระวิปัสสี
ราชกุมารผู้ประสูติแล้วนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยหวังว่า หนาว ร้อน
หญ้า ละออง หรือน้ำค้าง อย่าได้ต้องพระองค์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระวิปัสสีราชกุมารู้ผู้ประสูติแล้วแล เป็นที่รักเป็น
ที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก ดอกอุบล ดอกประทุม หรือดอกปุณฑริก เป็น
ที่รัก เป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก แม้ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมารก็ได้เป็น
ที่รัก เป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พระ-
วิปัสสีราชกุมารนั้น อันบุคคลผลัดเปลี่ยนกันอุ้มใส่สะเอวอยู่เสมอ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล เป็นผู้มีพระ
สุระเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ภิกษุทั้ง
หลาย หมู่นกการเวกบนหิมวันตบรรพตมีสำเนียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน
และเป็นที่ตั้งแห่งความปรีดิ์เปรม ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมาร
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีพระสุระเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน เป็น
ที่ตั้งแห่งความรัก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิพยจักษุอันเกิดแต่กรรมวิบาก อันเป็นเหตุให้
เห็นได้ไกลโดยรอบโยชน์หนึ่งทั้งกลางวันและกลางคืน ได้ปรากฏแก่พระวิปัสสี
ราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล.

21