ในข้อนั้น พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้ อคโท แปลว่า โอสถ
ก็เหมือน อาคโท ที่แปลว่า วาจา. ก็โอสถนี้คืออะไร ? คือ เทศนา-
วิลาส และบุญพิเศษ. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงครอบงำผู้มีวาทะ
ตรงกันข้ามทั้งหมดและโลกพร้อมทั้งเทวดา เหมือนนายแพทย์ผู้มีอานุภาพ
มาก ครอบงำงูทั้งหลายด้วยทิพยโอสถฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุว่า ทรงมีพระ
โอสถ คือ เทศนาวิลาส และบุญพิเศษ อันแท้ ไม่วิปริต ด้วยการ
ครอบงำโลกทั้งปวง ดังนี้ เพราะแปลง ท เป็น ต พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ เป็นอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
เสด็จไปด้วยกิริยาที่แท้ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงถึงกิริยาที่แท้
ดังนี้ก็มี.
บทว่า คโต มีเนื้อความว่า หยั่งรู้ เป็นไปล่วง บรรลุ ปฏิบัติ.
ในเนื้อความ ๘ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต
เพราะทรงหยั่งรู้โลกทั้งสิ้นด้วยตีรณปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้. เพราะ
ทรงเป็นไปล่วงซึ่งโลกสมุทัย ด้วยปหานปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้.
เพราะทรงบรรลุโลกนิโรธด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้. เพราะ
ทรงปฏิบัติปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ชื่อว่า กิริยาที่แท้. ด้วยเหตุนั้น คำใด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว
ตถาคตพรากแล้วจากโลก โลกสมุทัย ตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกสมุทัยตถาคต
ละได้แล้ว โลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกนิโรธตถาคตทำให้แจ้งแล้ว
ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ