No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 605 (เล่ม 10)

ด้วยโคนต้นตาล บุคคลผู้ต้องปาราชิก
เหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามเปรียบเหมือนใบ
ไม้เหลือง ศีลาหนา คนศีรษะขาด ต้นตาล
ยอดด้วน ฉะนั้น.
อาบัติที่ระงับได้
[๑,๐๓๒] สังฆาทิเสส ๒๓ อนิยต ๒
นิสสัคคิยะ ๔๒ ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ปาฏิเทสนียะ
๑๒ เสขิยะ ๗๕ ระงับด้วยสมณะ ๓ คือ
สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณ-
วตถารกะ ๑.
ส่วนที่ทรงจำแนก
[๑,๐๓๓] อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒
กรรม ๔ อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว
อุเทศ ๕ และอุเทศ ๔ ย่อมไม่มีโดยประการ
อื่น และกองอาบัติมี ๗.
อธิกรณ์
[๑,๐๓๔] อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ
๗ คือ ระงับด้วยสมถะ ๒ ด้วยสมถะ ๔
ด้วยสมถะ ๓ แต่กิจจาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะ ๑.

605
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 606 (เล่ม 10)

วิเคราะห์ปาราชิก
[๑,๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า
ปาราชิก ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด
แลเหินห่างจากสัทธรรม อนึ่ง แม้สังวาสก็
ไม่มีในผู้นั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียก
อาบัตินั้นว่า ปาราชิก.
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
[๑,๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆา
ทิเสส ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหา
อาบัติเดิมให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น
เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.
วิเคราะห์อนิยต
[๑,๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ บท
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำแล้วโดยมิใช่
ส่วนเดียว บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใด
อย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต.

606
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 607 (เล่ม 10)

วิเคราะห์ถุลลัจจัย
[๑,๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ถุล-
ลัจจัย ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัย ในที่ใกล้
ภิกษุรูปหนึ่ง แ ละภิกษุรับอาบัตินั้น โทษ
เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.
วิเคราะห์นิสสัคคิยะ
[๑,๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า นิส-
สัคคิยะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่าม
กลางคณะ และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่ง ๆ แล้ว
จึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึง
เรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคิยะ.
วิเคราะห์ปาจิตตีย์
[๑,๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า
ปาจิตตีย์ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อม
ฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลง

607
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 608 (เล่ม 10)

แห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิด
นั้นว่า ปาจิตตีย์.
วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
[๑,๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาฏิ-
เทสนียะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ใน
ที่นั้นตามพอใจ ภิกษุไม่ห้าม ฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุไม่อาพาธ
ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์
น้อย เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่า
ที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหาร
ที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรม
ที่น่าติ ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่น
ยืดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติ ในศาสนา
ของพระสุคต.

608
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 609 (เล่ม 10)

วิเคราะห์ทุกกฏ
[๑,๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่า
ทำไม่ดี คนทำความชั่วอันใด ในที่แจ้ง
หรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมประกาศ
ความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว เพราะเหตุนั้น กรรม-
นั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.
วิเคราะห์ทุพภาสิต
[๑,๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุพ-
ภาสิต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป บทใด อันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี
และเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียน
บทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า
ทุพภาสิต.
วิเคราะห์เสขิยะ
[๑,๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า เสขิยะ
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง

609
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 610 (เล่ม 10)

และเป็นข้อระวัง คือ สำรวม ของพระเสขะ
ผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขา
ทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะ
เหตุนั้น สิกขานั้น จึงเรียกว่า เสขิยะ.
อุปมาอาบัติและอนาบัติ
เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ ย่อมรั่ว
เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว
เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้
เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อม
ไม่รั่ว ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ
เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติ
ของธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นภูมิที่ไปของ
พระอรหันต์.
คาถาสังคณิกะ จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
[๑,๐๔๕] สิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร ๑ วิบัติ ๔ อย่าง ๑
สิกขาบทของภิกษุ และของภิกษุณีทั่วไป ๑ ไม่ทั่วไป ๑ นี้เป็นถ้อยคำที่รวม
ไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา.
หัวข้อประจำเรื่อง จบ

610
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 611 (เล่ม 10)

ปฐมคาถาสังคณิก วัณณนา
บาทคาถาว่า เอกํสํ จีวรํ กตฺวา มีความว่า ท่านกระทำจีวร
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง อธิบายว่า ห่มอุตราสงค์เรียบร้อย.
บาทคาถาว่า ปคฺคณฺหิตฺวาน อญฺชลึ มีความว่า ยกอัญชลีอัน
รุ่งเรืองด้วยประชุมแห่งนิ้วทั้ง ๑๐.
บาทคาถาว่า อาสึสมานรูโปว ความว่า ดูเหมือนจะมุ่งหวัง.
บาทคาถาว่า กิสฺส ตฺวํ อิธมาคโต มีความว่า ท่านปรารถนา
ประโยชน์อะไร มาในที่นี้ เพราะเหตุไร ?
ใครกล่าวอย่างนี้ ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ตรัสอย่างนั้นกะใคร ?
กะท่านพระอุบาลี. ท่านพระอุบาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามคาถานี้ว่า
(สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ) ในวินัยทั้ง ๒ (ย่อมมาสู่อุทเทสในวันอุโบสทั้งหลาย
สิกขาบทเห่ลานั้น มีเท่าไร ? ทรงบัญญัติในนครเท่าไร ?) ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า ปัญญาของท่านดีเป็นต้น
ทรงตอบคำถามนั้นของท่าน. มีนัยเหมือนกันทุกปัญหา.
พระอุบาลีเถระทูลถามปัญหาทั้งปวงเหล่านี้ ในพุทธกาล ด้วยประการ
ฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบเอง. ส่วนในสังคีติกาล พระมหากัสสป-
เถระถาม พระอุบาลีเถระตอบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทโก เต อุมฺมงฺโค มีความว่า
ปัญญาของท่านดี. จริงอยู่ ปัญญาเรียกว่า อุมมังคะ เพราะผุดขึ้นจากมืด คือ
อวิชชาตั้งอยู่.

611
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 612 (เล่ม 10)

ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือเหตุ. ความว่า ท่าน
ถามเราเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักตอบแก่ท่าน.
อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถคือยอมรับ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำ ด้วยคำว่า เอาเถิด. นี้จึงตรัสว่า เรา
จักตอบ.
เฉพาะ ๓ สิกขาบทนี้ คือ ติดไฟผิง มือเปื้อนอามิส น้ำล้างบาตร
มีเมล็ดข้าวสุก ทรงบัญญัติในภัคคชนบท.
สองบทว่า ยนฺตฺวํ อปุจฺฉิมฺหา มีความว่า ข้าพเจ้าได้ทูลถามปัญหา
ใดกะพระองค์.
บทว่า อกิตฺตยิ คือ พระองค์ได้ตรัสแล้ว.
บทว่า โน คือ แก่ข้าพเจ้า.
สองบทว่า ตนฺตํ พฺยากตํ มีความว่า คำใด ๆ อันข้าพเจ้าได้ทูล
ถามแล้ว คำนั้น ๆ อันพระองค์ทรงแก้แล้ว.
บทว่า อนญฺญถา ความว่า มิได้ทรงแก้บ่ายเบี่ยงโดยประการอื่น.
[วิบัติ ๔]
ชื่อว่า สีลวิบัติ ย่อมไม่มีในปัญหาในคำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา
ลีลวิปตฺติ นี้ แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น คำว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา สีลวิปตฺติ
นี้ ท่านกล่าวแล้ว ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะแก้ทุฏฺฐุลลาบัติ.
จริงอยู่ ในวิบัติ ๔ ทุฏฐุลลาบัติ สงเคราะห์ด้วยวิบัติ ๑ อทุฏฐุลลาบัติ
สงเคราะห์ด้วยวิบัติ ๓. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า เย ทุฏฺฐุลฺลา สา

612
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 613 (เล่ม 10)

สีลวิปตฺติ แล้ว จึงกล่าวว่า ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ เพื่อ
แสดงสีลวิบัตินั้นเอง โดยพิสดาร.
บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า ถุลฺลจฺจยํ เป็นอาทิ เพื่อแสดงอทุฏจุลลาบัติ
ด้วยอำนาจวิบัติ ๓.
ในคำเหล่านั้น คำว่า โย จายํ อกฺโกสติ หสฺสาธิปฺปาโย นี้
ท่านกล่าว เพื่อชี้วัตถุแห่งทุพภาสิต.
บทว่า อพฺภาจิกฺขติ มีความว่า เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตู่.
หลายบทว่า อยํ สา อาชีววิปตฺติสมฺมตา มีความว่า ชื่อว่า
อาชีววิบัติ ที่ประมวลด้วย ๖ สิกขาบทนี้ สมมติว่าวิบัติที่ ๔ ฉะนี้แล.
คำถามว่า อทุฏฺฐุลฺลํ นี้ เป็นอันเฉลยแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
[ประมวลสิกขาบท]
บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เอกาทส เป็นอาทิ เพื่อเฉลยปัญหาที่ว่า
เย จ ยาวตติยกา. ก็เพราะปัญหาที่ว่า เย จ ยาวตติยกา นี้ ท่าน
เฉลยแล้วด้วยอำนาจจำนวน อย่างนี้ว่า ยาวตติยกสิกขาบท ๑๑, เพราะฉะนั้น
ท่านจึงถามอันตราปัญหาเหล่าอื่น มีคำว่า เฉทนกสิกขามีเท่าใด ? เป็น
อาทิ ด้วยอำนาจสืบต่อแห่งจำนวนนั่นเอง.
ท่านกล่าวว่า ฉ เฉทนกานิ เป็นอาทิ ก็เพื่อเฉลยอันตราปัญหา
เหล่านั้น. ในคำเฉลยนั้น คำว่า เภทนกสิกขาบท ๑ อุททาลนกสิกขาบท ๑
สิกขาบท ๑๖ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า รู้อยู่ นี้แล ตรัสภายหลัง.

613
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 614 (เล่ม 10)

บทที่เหลือ ได้จำแนกไว้ในมหาวัคค์หมดแล้ว.
ก็ในคำที่ตรัสภายหลังนั้น สองบทว่า เอกํ เภทนกํ ได้แก่ สูจิ-
ฆรสิกขาบท.
สองบทว่า เอกํ อุทฺทาลนกํ ได้แก่ ดูโลนัทธมัญจปิฐสิกขาบท.
บทว่า โสรส ได้แก่ โสฬส (คือ ๑๖).
สองบทว่า ชานนฺติ ปญฺญตฺตา ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสอย่างนี้ว่า
รู้อยู่ ทรงบัญญัติแล้ว.
สิกขาบทเหล่านั้น พึงทราบอย่างนี้ คือ:-
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน รู้อยู่สำเร็จการ
นอนเบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน รู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์ รดเองก็จาม ใช้ให้รดก็ตาม
ซึ่งหญ้าหรือดิน รู้อยู่ ฉันบิณฑบาต อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย รู้อยู่ มุ่งหมาย
จะยกโทษ พอเธอฉันแล้วเป็นปาจิตตีย์ รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ รู้อยู่ พื้น
อธิกรณ์ที่ตัดสินเสร็จแล้วโดยธรรม รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบ รู้อยู่ ยังบุคคล
มีปีหย่อน ๒๐ ให้อุปสมบท รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวก
เกวียนพวกต่างที่เป็นโจร รู้อยู่ กินร่วมก็ดี . . . . กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยัง
ไม่ได้ทำธรรมอันสมควร รู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้นาสนะแล้ว
อย่างนั้น รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล ภิกษุณี รู้อยู่
ไม่โจทด้วยตนเอง ซึ่งภิกษุณีผู้ล่วงธรรมถึงปาราชิก รู้อยู่ ว่าสตรีเป็นนางโจร
อันชนทั้งหลายรู้ว่าต้องโทษประหาร ไม่บอก รู้อยู่ ไม่บอกก่อน เข้าไปสู่อาราม
ที่มีภิกษุ.

614