No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 349 (เล่ม 9)

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร โดยประการที่ภิกษุผู้เทียวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติ
เรียบร้อย.
[๔๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า
จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประ
คดเอวห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย
ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละ
แวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า
หัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป
ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง
ไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่า
รีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืน
นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่
ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้ง
ไว้พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วย
มือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับ
ภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกง
หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย
คิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน
แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน

349
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 350 (เล่ม 9)

พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิก
ผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปใน
ละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปในละแวก
บ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึง
คลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดกลับ
บิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้น พึงปูอาสนะไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้างภาชนะรองของฉันตั้งไว้ พึงตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุใด
กลับบิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนงก็พึงฉัน
ถ้าไม้จำนงก็พึงเททิ้ง ในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มีตัว
สัตว์ ภิกษุนั้นพึงรื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึง
ล้างภาชนะรองของฉัน เก็บไว้ พึงเก็บน้ำฉัน น้ำใช้ พึงกวาดโรงฉัน ภิกษุ
ใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไป
ตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา ให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่
ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
ซึ่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.
อารัญญกวัตร
[๔๒๘] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน อยู่ในป่า พวกเธอไม่ตั้งน้ำฉัน
ไม่ตั้งน้ำใช้ไว้ ไม่ติดไฟไว้ ไม่เตรียมไม้สีไฟไว้ ไม่รู้ทางนักษัตร ไม่รู้ทิศาภาค
พวกโจรพากันไปที่นั้น ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย มีน้ำดื่ม
หรือ
ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย
จ. มีน้ำใช้หรือไม่

350
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 351 (เล่ม 9)

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย
จ. มีไฟหรือไม่
ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย
จ. มีไม้สีไฟหรือไม่
ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย
จ. วันนี้ประกอบด้วยฤกษ์อะไร
ภ. พวกเราไม่รู้เลย ท่านทั้งหลาย
จ. นี้ทิศอะไร
ภ. พวกเราไม่รู้เลย ท่านทั้งหลาย.
ลำดับนั้น โจรเหล่านั้นคิดกันว่า พวกนี้น้ำดื่มก็ไม่มี น้ำใช้ก็ไม่มี
ไฟก็ไม่มี ไม้สีไฟก็ไม่มี ทางนักษัตรก็ไม่รู้ ทิศาภาคก็ไม่รู้ พวกนี้เป็นโจร
พวกนี้ไม่ใช่ภิกษุ จึงทุบตีแล้วหลีกไป จึงภิกษุเหล่านั้น แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล เราจักบัญญัติวัตรแก่พวกภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร โดย
ประการที่ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.
[๔๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงลุกขึ้นแต่เช้า
ตรู่ พึงสวมถุงบาตร คล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องไม้
เครื่องดินปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากเสนาสนะ กำหนดรู้ว่าจักเข้าบ้านเดี่ยว
นี้ พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำ ๆ แล้วใส่ถุง คล้องบ่า เมื่อปกปิดมณฑลสาม
พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้าง
บาตรแล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปใน

351
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 352 (เล่ม 9)

ละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน. . .อย่าเดินกระโหย่งไปในละแวก
บ้าน เมื่อเข้าสู่นิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่ารีบร้อนเข้า
ไป อย่ารีบร้อนออกมา อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืนนานนัก อย่ากลับ
เร็วนัก ยืนอยู่พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่ประสงค์จะถวาย
เขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย
คิดว่า เขาประสงค์จะถวายเมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึง
น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับภิกษา และไม่พึง
มองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกง หรือไม่ประ-
สงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะหรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่าเขา
ประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อนแล้วกลับ
โดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน. . .ไม่พึง
เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ออกจากบ้านแล้ว เข้าถุงบาตร คล้องบ่า พับ
จีวร วางศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พึงตั้งน้ำฉัน พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟไว้ พึงเริ่มไม้สีไฟไว้ พึงเตรียมไม้เท้าไว้
พึงเรียนทางนักษัตรพึงสิ้น หรือนางส่วนไว้ พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ซึ่งภิกษุ
ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.
เสนาสนวัตร
[๔๓๐] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกันทำจีวรกรรมในที่แจ้ง พระ
ฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ บรรดาภิกษุ
ที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุฉัพพัคคีย์

352
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 353 (เล่ม 9)

จึงได้เคาะเสนาสนะที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
ภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ จริง
หรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติเสนาสนวัตรแก่
ภิกษุทั้งหลายโดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงพระพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ.
[๔๓๑] ภิกษุอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระ
เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึง
ขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน วางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงขนฟูกหมอน ออกไปวางไว้
ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียงพึงยกต่ำ ๆ ขนออกไปให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระ-
แทกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ตั่งพึงยกต่ำ ๆ ขนออกไป
ให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบกระแตกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง
เขียงรองเท้าเตียง พึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออกไป
วางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เครื่องลาดพื้นพึงกำหนดที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกไปวาง
ไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าในวิหารมีหยากไย่ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด
กรอบหน้าต่าง ประตูและมุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้ว
เช็ด ถ้าพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทำ พึงเอา
น้ำพรมแล้วกวาดด้วยคิดว่า อย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย
ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้ภิกษุ ไม่พึงเคาะเสนาสนะใน

353
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 354 (เล่ม 9)

ที่ใกล้วิหาร ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้น้ำฉัน ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้
น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะในที่ใต้ลม
เครื่องลาดพื้นพึงผึ่งแดดในที่ควรแห่งหนึ่ง ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับไป
ปูไว้ตามเดิม เขียงรองเท้า เตียง พึงผึ่งแดดไว้ในที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ดแล้ว
ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ขัดสี เคาะ ยก
ต่ำ ๆทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบบานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
ฟูกและหมอน พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เคาะ ปัดให้สะอาดแล้วขนกลับตั้ง
ไว้ตามเดิม ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง สลัดให้สะอาด
แล้วขนไปปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ด
แล้วขนไปตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่ง
จับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บ
บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อจะเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร
เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง พึงทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้าง
ใน เก็บจีวร ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่าง
ด้านตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศทะวันตก พึงปิดหน้าต่าง
ด้านตะวันตก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้าน
เหนือ ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดู
หนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อน กลางวัน พึง
ปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก
พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในชำระไม่มี พึง
ตักน้ำมาไว้ในชำระ ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่อาปุจฉา
ภิกษุผู้แก่กว่า ไม่พึงให้อุเทศ ไม่พึงให้ปริปุจฉา ไม่พึงทำการสาธยาย ไม่พึง

354
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 355 (เล่ม 9)

แสดงธรรม ไม่พึงตามประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดิน
จงกรมในที่จงกรมเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินคล้ายตามภิกษุผู้แก่กว่า และ
ไม่พึงกระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่า ด้วยชายผ้าสังฆาฏิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นเสนาสนวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง
ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ.
ชันตาฆรวัตร
[๔๓๒] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ถูกพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้าม
อยู่ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ส่วน
พระเถระทั้งหลายถูกความร้อนแผดเผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง บรรดา
ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-
ฉัพพัคคีย์อันพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้ามอยู่ จึงอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่
ฟืนมาก ติดไฟปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ส่วนพระเถระทั้งหลายถูกความร้อน
แผดเผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า . ..ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
ภิกษุฉัพพัคคีย์อันพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้ามอยู่ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตู แล้วนั่งที่ประตู ภิกษุทั้งหลายถูกความร้อนแผด
เผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

355
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 356 (เล่ม 9)

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอันพระเถระในเรือนไฟห้ามอยู่ ไม่พึงอาศัยความ
ไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ รูปใดติดไฟต้องอาบัติทุกกฏ.
อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตู แล้วนั่งขวางประตู รูปใดนั่ง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในเรือนไฟ
แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ.
[๔๓๓] ภิกษุใดไปสู่เรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามาก พึงเทเถ้าทิ้งเสีย ถ้า
เรือนไฟรก พึงกวาดเสีย ถ้าชานภายนอกรก พึงกวาดเสีย ถ้าบริเวณ ซุ้ม
ประตู ศาลา เรือนไฟรก พึงกวาดเสีย พึงบดจุณไว้ พึงแช่ดินเหนียว พึงตัก
น้ำไว้ในรางน้ำ เมื่อจะเข้าไปสู่เรือนไฟ พึงเอาดินเหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้าง
หน้าข้างหลัง แล้วจึงเข้าไปสู่เรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่พึง
เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือน
ไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง
ออกจากเรือนไป ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำบริกรรม แก่พระเถระแม้ในน้ำ ไม่พึง
อาบน้ำข้างหน้าพระเถระ แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงอาบ อาบแล้วเมื่อจะขึ้น พึงให้
ทางแก่พระเถระผู้จะลง ภิกษุใดออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะ-
เปื้อน พึงล้างให้สะอาด พึงล้างรางแช่ดิน เก็บตั่งสำหรับเรือนไฟ ดับไฟ
ปิดประตู แล้วจึงหลีกไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรในเรือนไฟของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง
ภิกษุทั้งหลายพึงพระพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ.

356
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 357 (เล่ม 9)

มูลเหตุวัจจกุฏีวัตร
[๔๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นชาติพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระแล้ว
ไม่ปรารถนาจะชำระด้วยรังเกียจว่า ใครจักจับต้องของเลว มีกลิ่นเหม็นนี้ได้
ในวัจจมรรคของเธอ มีหมู่หนอนมั่วสุมอยู่ ต่อมาเธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่านถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ชำระ หรือ ขอรับ
ภิกษุนั้นตอบว่า อย่างนั้น ขอรบ
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .. .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว จึงไม่ชำระ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอ
ถ่ายอุจาระแล้วไม่ชำระ จริงหรือ.
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อน้ำมีอยู่ จะไม่ชำระไม่ได้
รูปใดไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๔๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎีตามลำดับผู้
แก่กว่า นวกภิกษุทั้งหลายมาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้น
อุจจาระจนสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี . . . ตามลำดับผู้แก่กว่า นวกภิกษุทั้งหลาย
มาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้นอุจจาระจนสลบล้มลง จริงหรือ.

357
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 358 (เล่ม 9)

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า...รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดถ่ายต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับของผู้มาถึง
[๔๓๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้า
ไปบ้าง ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ
บ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนวกรางบ้าง บ้วนเขฬะลง
ในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้หยาบบ้าง ทั้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ
บ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปุบ้าง
เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าวัจจกุฏีเร็วเกินไป เวิกผ้า
เข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง
บ้วนเขฬะลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม่หยาบบ้าง ทิ้งไม่ชำระลงในช่อง
ถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดัง
จะปุจะปุบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้-
มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
... จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัจจกุฏีวัตรแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฏี.

358