No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 209 (เล่ม 9)

[ว่าด้วยการถือเสนาสนะระงับ]
วินิจฉัยในเรื่องพระอุปนันทะ. ในคำว่า ตตฺถ ตยา โมฆปุริส
คหิตํ, อิธ มุกฺกํ, อิธ คหิตํ, ตตฺร มุกฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
เสนาสนะใดในกรุงสาวัตถีนั้น อันเธอถือเอาแล้ว เสนาสนะนั้น ย่อม
เป็นอันเธอผู้ถืออยู่นั่นแล สละเสียแล้วในคามกาวาสนี้.
อนึ่ง เมื่อเธอกล่าวอยู่ว่า ผู้มีอายุ บัดนี้เราสละเสนาสนะในคามกา-
วาสนี้ ดังนี้ เสนาสนะนั้น เป็นอันเธอสละแล้วแม้ในคามกาวาส นั้น ด้วย
ประการอย่างนี้ เธอเป็นคนภายนอก ในอาวาสทั้ง ๒.
ส่วนวินิจฉัยในคำนี้ พึงทราบดังนี้ :-
การถือย่อมระงับเพราะการถือ. อาลัยย่อมระงับเพราะการถือ. การ
ถือย่อมระงับเพราะอาลัย. อาลัยย่อมระงับเพราะอาลัย.
อย่างไร ? ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ถือเสนาสนะในวัดหนึ่งแล้วไปสู่
วัดใกล้เคียง ถือเสนาสนะในวัดนั้นอีก ในวันเข้าพรรษา, การถือครั้งแรก
ของภิกษุนั้น ย่อมระงับเพราะการถือ (ครั้งหลัง) นี้.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกระทำเพียงอาลัยว่า เราจักอยู่ในวัดนี้ แล้วไปสู่วัด
ใกล้เคียง ถือเสนาสนะในวัคนั้นแล. อาลัยที่มีก่อนของภิกษุนั้น ย่อมระงับ
เพราะการถือนี้.
รูปหนึ่งถือเสนาสนะหรือทำอาลัยว่า เราจักอยู่ในที่นี้ แล้วไปสู่วัดใกล้
เคียง ถือเสนาสนะในวัดนั้น หรือทำอาลัยว่า บัดนี้ เราจักอยู่ในที่นี้แล ;
ด้วยประการอย่างนี้ การถือของเธอ ย่อมระงับ เพราะอาลัยบ้าง อาลัยของเธอ
ย่อมระงับเพราะอาลัยบ้าง.
ภิกษุย่อมตั้งอยู่ในการถือหรือในอาลัยครั้งหลัง ๆ ในที่ทั้งปวง.

209
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 210 (เล่ม 9)

อนึ่ง ภิกษุใด ถือเสนาสนะในวัดหนึ่งแล้ว ไปด้วยคิดว่า เราจักอยู่
ในวัดอื่น ; ในขณะที่ภิกษุนั้นก้าวล่วงอุปจารสีมาไป การถือเสนาสนะย่อมระงับ.
แต่หากว่า ภิกษุไปด้วยตั้งใจว่า ถ้าในวัดนั้นจักมีความสำราญ เราจัก
อยู่, ถ้าไม่มี เราจักมา ดังนี้ ทราบว่าไม่มีความสำราญ จึงกลับมาในภาย
หลัง เช่นนี้ สมควร.
[ว่าด้วยภิกษุผู้มีอาสนะเสมอกัน ]
ภิกษุใดเป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่ากันเพียง ๒ พรรษา ภิกษุ
นั้น ชื่อว่าผู้มีภายใน ๓ พรรษา ในคำว่า ติวสฺสนฺตเรน นี้.
ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่าเพียงพรรษาเดียว
ก็หรือว่า ภิกษุใดมีพรรษาเท่ากัน ไม่มีคำจะพึงกล่าวในภิกษุนั้นเลย. จริงอยู่
ภิกษุทั้งหมดนี้ ย่อมได้เพื่อนั่งเป็นคู่ ๆ กันบนเตียงหรือบนตั่งอันเดียวกัน.
ที่นั่งใด พอแก่ ๓ คน, ที่นั่งนั้น จะเป็นของเคลื่อนที่ได้ หรือ
เคลื่อนที่ไม่ได้ก็ตามที่ ; ย่อมได้เพื่อนั่งบนที่นั่งเห็นปานนั้น. ใช่แต่เท่านั้น
บนแผ่นกระดาน จะนั่งร่วมแม้กับอนุปสัมบัน ก็ควร.
[ว่าด้วยคิหิวิกัติ ]
บทว่า หตฺถินขกํ คือ ตั่งประดิษฐานอยู่บนกระพองเศียรแห่งช้าง
ทั้งหลาย.
ได้ยินว่า คำว่า หัตถินขกะนี้ เป็นชื่อแห่งปราสาทที่ทำอย่างนั้น.
หลายบทว่า สพฺพํ ปาสาทํ ปริโภคํ มีความว่า บานหน้าต่าง
เตียงตั่ง พัดใบตาล วิจิตรด้วยทองและเงินเป็นต้น ก็ดี หม้อน้ำ ขันน้ำทำด้วย
ทองและเงินก็ดี หรือว่าเครื่องใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจำหลักลวดลายงดงามก็ดี
ควรทุกอย่าง.

210
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 211 (เล่ม 9)

ชนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้ทาส ทาสี นา สวน โค กระบือ
แก่ปราสาท. ไม่มีกิจจะรับแผนกหนึ่ง เมื่อรับปราสาท ก็เป็นอันรับไว้ด้วยแท้.
จะใช้สอยผ้าปูลาดโกเชาว์เป็นต้น บนเตียงและตั่ง ในกุฎีเป็นของส่วนตัวบุคคล
ไม่ควร.
แต่ที่เขาปูลาดไว้บนธรรมาสน์ ย่อมได้เพื่อใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติ .
แม้บนธรรมาสน์นั้น ไม่ควรนอน.
[ว่าด้วยครุกัณฑ์]
บทว่า ปญฺจิมานิ มีความว่า ครุภัณฑ์ทั้งหลาย ว่าด้วยอำนาจ
หมวดมี ๕ หมวด. ก็ครุภัณฑ์เหล่านี้ ว่าด้วยอำนาจรวม ย่อมมีมากหลาย
บรรดาครุภัณฑ์เหล่านั้น สวนดอกไม้หรือสวนผลไม้ ชื่ออาราม.
โอกาสที่เขากำหนดทั้งไว้ เพื่อประโยชน์แก่อารามเหล่านั้นเอง หรือเมื่ออาราม
เหล่านั้นร้างไปแล้ว ภูมิภาคเก่แห่งอารามนั้น ชื่ออารามวัตถุ.
เสนาสนะมีปราสาทเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อวิหาร.
โอกาสเป็นที่ประดิษฐานเสนาสนะ มีปราสาทเป็นต้นนั้น ชื่อวิหาร
วัตถุ.
บรรดาเตียง ๔ ชนิดที่กล่าวแล้วในหนหลังเหล่านี้ คือ เตียงมีแม่แคร่
สอดเข้าในขา, เตียงมีปลายเท้าร้อยด้วยไม่สลัก, เตียงมีขางอดังก้ามปู, เตียงมี
ขาจดแม่แคร่, ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าเตียง.
บรรดาตั่ง ๔ ชนิด มีตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขาเป็นต้น ชนิดใดชนิด
หนึ่ง ชื่อว่าตั่ง.
บรรดาฟูก ๕ ชนิด มีฟูกที่ยัดด้วยขนสัตว์เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง
ชื่อว่าฟูก.

211
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 212 (เล่ม 9)

บรรดาหมอนมีประการดังกล่าวแล้ว ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าหมอน.
หม้อที่ทำด้วยโลหะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นเหล็กก็ตาม เป็นทองแดง
ก็ตาม ชื่อว่าหม้อโลหะ. แม้ในอ่างโลหะเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็ในอ่าง
โลหะเป็นต้นนี้ ไหเรียกว่าอ่าง, หม้อน้ำเรียกว่าขวด. กระทะนั้นเองเรียกว่า
กระทะ. ในเครื่องมือมีพร้าโต้เป็นต้น และในเครื่องใช้มีเถาวัลย์เป็นต้น ขึ้น
ชื่อว่าสิ่งที่รู้จักยาก ย่อมไม่มี.
พระโลกนาถผู้มีจักษุปราศจากมลทิน ๕ ดวง ทรงประกาศครุภัณฑ์
๒๕ อย่าง โดยหมวด ๕ อย่างนี้ คือ ๒ หมวดสงเคราะห์ครุภัณฑ์ หมวดละ
๒ สิ่ง, หมวดที่ ๓ นับครุภัณฑ์ได้ ๔ สิ่ง หมวดที่ ๔ มี ๙ สิ่ง, หมวดที่ ๕
จำแนกเป็น ๘ สิ่ง ด้วยประการฉะนี้.
วินิจฉัยกถาในครุภัณฑ์นั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
ก็ครุภัณฑ์แม้ทั้งปวงนี้ แม้ในเสนาสนักขันธกะนี้ ท่านกล่าวว่า ไม่
ควรแจก. ส่วนในคัมภีร์ปริวารมาแล้วว่า:
ครุภัณฑ์ ๕ หมวด พระพุทธเจ้าผู้แสวงคุณใหญ่ตรัสว่า ไม่ควรสละ
ไม่ควรแจก. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สละ ผู้ใช้สอย ; ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้
ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.
เพราะเหตุนั้น พึงทราบอธิบายินในคำนี้ อย่างนี้ว่า ครุภัณฑ์นี้ ที่ว่า
ไม่ควรสละ ไม่ควรแจก ด้วยอำนาจขาดตัวนั้น แต่เมื่อภิกษุผู้สละและใช้สอย
ด้วยอำนาจการแลกเปลี่ยน ไม่เป็นอาบัติ.
อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นั้น ดังนี้: -
ไม่ควรน้อมครุภัณฑ์แม้ทั้ง ๕ ชนิดนี้เข้าไป เพื่อประโยชน์แก่จีวร
บิณฑบาตและเภสัชก่อน. แต่จะเอาถาวรวัตถุแลกกับถาวรวัตถุและเอาครุภัณฑ์
แลกกับครุภัณฑ์ ควรอยู่.

212
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 213 (เล่ม 9)

ส่วนในถาวรวัตถุ, ถาวรวัตถุเห็นปานนี้ คือ นา ที่นา บึงเหมือง
ภิกษุจะจัดการหรือจะรับหรือจะอนุมัติแทนสงฆ์ ไม่ควร.
ถาวรวัตถุนั้น อันกัปปิยการกนั่นแลจัดการ, กัปปิยภัณฑ์ได้มาจาก
ถาวรวัตถุเห็นปานนั้น ควรอยู่.
อนึ่ง จะเอาอารามแลกถาวรวัตถุทั้ง ๔ อย่างนี้ คือ อาราม อารามวัตถุ
วิหาร วิหารวัตถุ ควรอยู่.
[ปริวัตนนัย]
ปริวัตนนัยในครุภัณฑ์ ๔ อย่างมีอารามเป็นต้น นั้น ดังนี้:-.
สวนมะพร้าวของสงฆ์อยู่ไกล, ทั้งพวกกัปปิยการกกินเสียมากกว่ามาก,
แม้ที่ไม่ได้กินก็ต้องชักออกให้ค่าจ้างเกวียนเสีย นำมาถวายน้อย เต็มที.
ส่วนคนเหล่าอื่นที่อยู่ในบ้านซึ่งไม่ไกลสวนนั้น มีสวนอยู่ใกล้วัด. เขา
เข้าไปหาสงฆ์ขอเอาสวนของตนแลกเอาสวนนั้น สงฆ์พึงอปโลกน์ว่า สงฆ์เห็น
ชอบ แล้วรับเถิด.
ถึงแม้ว่า สวนของพวกภิกษุมีต้นไม้ตั้งพันต้น, สวนของชาวบ้าน
มีต้นไม้ห้าร้อย ; (ถ้ามีผลมากกว่า) ก็ไม่ควรเกี่ยงว่า สวนของท่านเล็ก. เพราะ
สวนนี้เล็กก็จริง, แต่ที่แท้ สวนนี้ย่อมให้ผลมากกว่าสวนนอกจากนี้.
ถึงแม้ว่า สวนนี้จะให้ผลเท่า ๆ กัน, แม้อย่างนั้นจะยอมรับด้วยมุ่ง
หมายว่า สามารถบริโภคได้ทุกขณะที่ต้องการ ก็ควร.
แต่ถ้า สวนของพวกชาวบ้านมีต้นไม้มากกว่า, พึงกล่าวว่า ต้นไม้
ของพวกท่านมีมากกว่ามิใช่หรือ ? ถ้าเขาตอบว่า ส่วนที่เกินเลยไป จงเป็น
บุญของพวกข้าพเจ้า ๆ ถวายสงฆ์. สมควรให้ภิกษุสงฆ์ทราบแล้วจึงรับไว้.

213
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 214 (เล่ม 9)

ต้นไม้ของพวกภิกษุมีผล. ต้นไม้ของพวกชาวบ้านยังไม่ทันเผล็ดผล,
พึงยอมรับแท้ ด้วยเล็งเห็นว่า ต้นไม้ของพวกชาวบ้าน ยังไม่เผล็ดผลก็จริง
แต่ไม่นานก็จักเผล็ดผล.
ต้นไม้ของพวกชาวบ้านมีผล, ต้นไม้ของพวกภิกษุยังไม่ทันเผล็ดผล
พึงกล่าวว่า ต้นไม้ของพวกท่านมีผลมิใช่หรือ ? ถ้าเขาถวายว่า รับเถิด ท่าน
ผู้เจริญ จักเป็นบุญแก่พวกข้าพเจ้า. สมควรให้ภิกษุสงฆ์ทราบแล้วรับไว้.
อารามกับอารามพึงแลกกันด้วยประการฉะนี้. อารามวัตถุก็ดี วิหารก็ดี วิหาร
วัตถุก็ดี กับอารามพึงแลกกัน โดยนัยนี้ แล.
อนึ่ง อาราม อารามวัตถุ วิหาร และวิหารวัตถุ ก็พึงแลกกับอาราม
วัตถุ ที่ใหญ่ก็ตาม เล็กก็ตาม โดยนัยนี้ เหมือนกันฉะนี้แล.
วิหารกับวิหารจะแลกกันอย่างไร เรือนของสงฆ์อยู่ภายในบ้าน
ปราสาทของชาวบ้านอยู่กลางวัด ทั้ง ๒ อย่างว่าโดยราคาเป็นของเท่ากัน. หาก
ว่า ชาวบ้านขอเอาปราสาทนั้นแลกเรือนนั้นสมควรรับ
เรือนของพวกภิกษุมีราคามากกว่า. และเมื่อภิกษุกล่าวว่า เรือนของ
พวกเรามีราคามากกว่า, เขาตอบว่า เรือนของพวกท่านมีราคา มากกว่าก็จริง
แต่ไม่สมควรแก่บรรพชิต บรรพชิตไม่สามารถอยู่ในเรือนนั้นได้; ส่วนเรือน
นี้สมควร ขอท่านทั้งหลายจงรับเถิด; แม้อย่างนี้ ก็ควรรับ.
ถ้าเรือนของชาวบ้าน, มีราคามาก ภิกษุพึงกล่าวว่า เรือนของพวก
ท่าน มีราคามากมิใช่หรือ แต่เมื่อเขาตอบว่า ช่างเถิดท่านผู้เจริญ, จักเป็น
บุญแก่พวกข้าพเจ้า, โปรดรับเถิด ดังนี้สมควรรับ.
วิหารกับวิหาร พึงแลกกันอย่างนี้. วิหารวัตถุก็ดี อารามก็ดี อาราม
วัตถุก็ดี พึงแลกกับวิหาร โดยนัยนี้แล.

214
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 215 (เล่ม 9)

อนึ่ง วิหาร วิหารวัตถุ อารามและอารามวัตถุ ก็พึงแลกกับวิหาร-
วัตถุ ที่มีราคามากก็ตาม มีราคาน้อยก็ตาม โดยนัยนี้เหมือนกันฉะนี้แล พึง
ทราบการแลกถาวรวัตถุกับถาวรวัตถุอย่างนี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยในการแลกครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ พึงทราบดังต่อไปนี้:-
เตียงตั่งจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม โดยที่สุดมีเท้าเพียง ๔ นิ้ว แม้ที่พวกเด็ก
ชาวบ้านซึ่งยังเล่นในโรงฝุ่นทำ ย่อมเป็นครุภัณฑ์ จำเดิม แต่เวลาที่ถวาย
สงฆ์แล้ว.
แม้ถ้าพระราชาและราชมหาอมาตย์เป็นต้น ถวายเพียงคราวเดียวเท่า
นั้น ทั้งร้อยเตียงหรือพันเตียง, เตียงที่เป็นกัปปิยะะทั้งหมดพึงรับไว้. ครั้นรับ
แล้วพึงแจกตามลำดับผู้แก่ ว่า ท่านจงใช้สอยโดยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. อย่า
ให้เป็นส่วนตัวบุคคล. แม้จะตั้งเตียงที่เกินไว้ในเรือนคลังเป็นต้นแล้ว เก็บบาตร
จีวร ก็ควร.
เตียงที่เขาถวายนอกสีมา ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดังนี้ พึงให้ไว้ใน
สถานที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในสถานที่อยู่ของพระสังฆเถระนั้น มีเตียงมาก,
ไม่มีการที่ต้องใช้เตียง ; ในสถานที่อยู่ของภิกษุใด มีการที่ต้องใช้เตียง, พึง
ให้ไว้ในสถานที่อยู่ของภิกษุนั้นสั่งว่า ท่านจงใช้สอยเป็นเครื่องใช้สอยของสงฆ์.
เตียงมีราคามาก คือ ตีราคาตั้งร้อยหรือพันกหาปณะ จะแลกเตียงอื่น
ย่อมได้ตั้งร้อยเตียง ควรแลกเอาไว้. มิใช่แต่เตียงเดียวเท่านั้น แม้อาราม
อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ ตั่ง ฟูกและหมอน ก็ควรแลก. แม้ในตั่งฟูกและ
หมอนก็นัยนี้ . แม้ในเตียงตั่งฟูกหมอนเหล่านี้ สิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในกัปปิยะและอกับบปิยะนั้น ที่เป็นอกัปปิยะไม่ควรใช้สอย. ที่เป็น
กัปปิยะ พึงใช้สอยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. ที่เป็นอกัปปิยะหรือที่เป็นกัปปิยะมี

215
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 216 (เล่ม 9)

ค่ามาก พึงแลกเอาวัตถุที่กล่าวแล้วไว้. ขึ้นชื่อว่าฟูกและหมอน ที่ไม่จัด เป็น
ครุภัณฑ์ ย่อมไม่มี.
ครุภัณฑ์ ๓ อย่างนี้ คือ หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระทะโลหะจะใหญ่
หรือเล็กก็ตาม โดยที่สุดแม้จุน้ำเพียงฟายมือหนึ่ง ย่อมเป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.
ส่วนขวดโลหะที่ทำด้วยเหล็ก ทองแดง สำริด ทองเหลืองอย่างใด
อย่างหนึ่ง จุน้ำได้บาทหนึ่ง ในเกาะสิงหล แจกกันได้.
ที่ชื่อว่าบาทหนึ่ง จุน้ำประมาณ ๕ ทะนานมคธ. ที่จุน้ำเกินกว่านั้น
เป็นครุภัณฑ์, ภาชนะโลหะที่มาในบาลีเท่านี้ก่อน.
ส่วนน้ำเต้าทอง กระโถน กระบวย ทัพพี ช้อน ถาด จาน ชาม
ผอบ อั้งโล่ และทัพพีตักควันเป็นต้น แม้มิได้มาในบาลี จะเล็กหรือใหญ่ก็
ตาม เป็นครุภัณฑ์หมดทุกอย่าง. แต่ภัณฑะเหล่านี้ คือ บาตรเล็ก ภาชนะ
ทองแดง เป็นของควรแจกกันได้ ภาชนะกาววาวที่ทำด้วยสำริดหรือทองเหลือง
ควรใช้สอยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. หรือเป็นคิหิวิกัติ ไม่ควรใช้สอย เป็นเครื่อง
ใช้ส่วนตัวบุคคล.
ในมหาปัจจรีแก้ว่า ภาชนะสำริดเป็นต้น ที่เขาถวายสงฆ์จะรักษาไว้
ใช้เองไม่ควร, พึงใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติเท่านั้น ส่วนในสิ่งขอโลหะที่เป็น
กัปปิยะแม้อื่น ยกเว้น ภาชนะกาววาวเสีย กล่องยาทา ไม้ป้ายยาตา ไม้ควักหู
เข็ม เหล็กจาร มีดน้อย เหล็ก หมาด กุญแจ ลูกดาล ห่วงไม้เท้า กล้อง
ยานัตถุ์ สว่าน รางโลหะ แผ่นโลหะ แท่งโลหะ สิ่งของโลหะที่ทำค้างไว้
แม้อย่างอื่น เป็นของควรแจกกันได้.
ส่วนกล้อง ยาสูบ ภาชนะโลหะ โคมมีด้าม โคมตั้ง โคมแขวน รูปสตรี
รูปบุรุษ และรูปสัตว์เดียรัจฉานหรือสิ่งของโลหะเหล่าอื่น พึงติดไว้ตามฝาหรือ

216
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 217 (เล่ม 9)

หลังคาหรือบานประตูเป็นต้น, สิ่งของโลหะทั้งปวง โดยที่สุดจนกระทั่งตะปู
ย่อมเป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน แม้ตนเองได้มาก็ไม่ควรเก็บไว้ใช้อย่างเครื่องใช้
ส่วนตัวบุคคล. ควรใช้อย่างเครื่องใช้ของสงฆ์ หรือใช้เป็นคิหิวิกัติ.
แม้ในสิ่งของดีบุก ก็มีนัยเหมือนกัน. จานและขันเป็นต้นที่ทำด้วยหิน
อ่อน เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน, ส่วนหม้อหรือภาชนะน้ำมันที่ใหญ่ เกินกว่าจุน้ำ
มันบาทหนึ่งขึ้นไปเท่านั้น เป็นครุภัณฑ์.
ภาชนะทองคำ เงิน นาก และแก้ว ผลึก และเป็นคิหิวิกัติ ก็ไม่ควร,
ไม่จำต้องกล่าวถึงใช้อย่างเครื่องใช้ของสงฆ์ หรืออย่างเครื่องใช้ส่วนตัวบุคคล.
แต่ด้วยเครื่องใช้สำหรับเสนาสนะ สิ่งของทุกอย่างทั้งที่ควรจับต้อง ทั้งที่ไม่
ควรจับต้อง จะใช้สอยก็ควร.
ในมีดเป็นต้น มีดที่ไม่อาจใช้ทำการใหญ่อย่างอื่นได้ ยกการตัดไม้
สีฟัน หรือการปอกอ้อยเสีย เป็นของควรแจกกันได้. มีดที่ทำด้วยอาการอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ซึ่งใหญ่กว่านั้น เป็นครุภัณฑ์.
ส่วนขวาน โดยที่สุดแม้เป็นขวานสำหรับตัดเอ็นของพวกแพทย์ย่อม
เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.
ในผึ่งมีวินิจฉัยเช่นขวานนั่นเอง. ส่วนผึ่งที่ทำโดยสังเขปว่า เป็นอาวุธ
เป็นอนามาส.
จอบโดยที่สุด แม้ขนาด ๔ นิ้ว ย่อมเป็นครุภัณฑ์แท้.
สิ่ว มีปากเป็นเหลี่ยมก็ดี มีปากเป็นรางก็ดี โดยที่สุดแม้เหล็กเจาะ
ด้ามไม้กวาด เป็นของเข้าด้ามไว้ เป็นครุภัณฑ์แท้. แต่เหล็กเจาะด้ามไม้กวาด
ไม่มีด้าม มีแต่ตัวเท่านั้น เป็นของอาจใส่ฝักรักษาไว้ได้ เป็นของควรแจก.
แม้เหล็กแหลมก็สงเคราะห์ด้วยสิ่งนั้นเอง.

217
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 218 (เล่ม 9)

มีดเป็นต้น เป็นของที่ชนเหล่าใดถวายไว้ในวิหาร, ถ้าชนเหล่านั้น
เมื่อถูกไฟไหม้เรือน หรือถูกโจรปล้น จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญจงให้เครื่องมือ
แก่พวกข้าพเจ้าเถิด, แล้วจักคืนให้อีก, ควรให้. ถ้าเขานำมาส่ง, อย่าพึงห้าม,
แม้เขา. ไม่นำมาส่งก็ไม่พึงทวง.
เครื่องมือทำด้วยโลหะทุกอย่าง มีทั่ง ค้อน คีม และคันชั่งเป็น
ต้น ของช่างไม้ ช่างกลึง ช่างสาน ช่างแก้ว และช่างบุบาตร เป็นครุภัณฑ์
จำเดิมแต่กาลที่ถวายสงฆ์แล้ว. แม้ในเครื่องมือของช่างดีบุก ช่างหนัง ก็มีนัย
เหมือนกัน.
ส่วนความที่แปลกกันดังนี้:-
เครื่องมือเหล่านั้น คือ ในพวกเครื่องมือของช่างดีบุกเล่า มีดตัดดีบุก
ในพวกเครื่องมือของช่างทอง มีดตัดทอง ในพวกเครื่องมือของช่างหนึ่ง มีด
เล็กสำหรับตัดหนังที่ฟอกแล้ว เป็นสิ่งที่ควรแจก.
แม้ในเครื่องมือของกัลบกและช่างชุน เว้นกรรไกรใหญ่ แหนบใหญ่
และมีดใหญ่เสีย ควรแจกทุกอย่าง. กรรไกรใหญ่เป็นต้น เป็นครุภัณฑ์.
วินิจฉัยในเถาวัลย์เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง มีหวายเป็นต้น ประมาณเพียงครึ่งแขน ที่เขา
ถวายสงฆ์ก็ตาม ที่เกิดขึ้นในธรณีสงฆ์นั้นก็ตาม ซึ่งสงฆ์รักษาปกครองไว้ เป็น
ครุภัณฑ์.
เถาวัลย์นั้น เมื่อการงานของสงฆ์และการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว ถ้า
เป็นของเหลือ, จะน้อมเข้าไปในการงานส่วนตัวบุคคลบ้าง ก็ควร. แต่เถาวัลย์
ที่สงฆ์ไม่รักษาไม่เป็นครุภัณฑ์เลย.

218