No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 51 (เล่ม 1)

เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้ว ด้วยคําเพียงเท่านี้
ส่วนในพระคาถานี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงความต่างแห่งปริยัติก็ดี
สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมีวินัย
ปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิตพึง
ประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้น
ทั้งหมด โดยประการนั้น ดังนี้.
บัณฑิตพึงเห็นความต่างแห่งปริยัติ ๓ อย่าง ใน ๓ ปิฎกดังนี้ :-
[ปริยัติ ๓ อย่าง]
จริงอยู่ ปริยัติ ๓ คือ อลคัททูปมาปริยัติ ๑ นิสสรณัตถปริยัติ ๑
ภัณฑาคาริยปริยัติ* ๑ ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี
คือเรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้งเป็นต้น, ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่
พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือแขน หรือที่
อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย
ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ
งูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัย
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ พวกเขาครั้นเรียน
* วินยฏฺฐกถา หน้า ๒๔ เป็น ภัณฑาคาริกปริยัติ.

51
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 52 (เล่ม 1)

ธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา
พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้
เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์
เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อ
ทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี.๑
อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้วคือจํานงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ
มีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น,
ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้น
เพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอัน
กุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว
๒ ดังนี้.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกําหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรค
อันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กําเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทําให้แจ้ง
แล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดํารงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการ
แก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.
[ภิกษุผู้ปฏิบัติดีใน ๓ ปิฎกได้ผลดีต่างกัน]
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา
๓ ก็เพราะตรัสจําแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ในพระวินัยนั้น. ผู้
๑-๒. ม. มู ๑๒/๒๖๘-๒๖๙.

52
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 53 (เล่ม 1)

ปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสมบัติย่อมได้บรรลุอภิญญา ๖ ก็เพราะตรัส
จําแนกประเภทอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น. ผู้ปฏิบัติดีในพระอภิธรรม
อาศัยปัญญาสมบัติ ย่อมได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ก็เพราะตรัสจําแนกประเภท
ปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ไว้ในพระอภิธรรมนั้นนั่นเอง. ผู้ปฏิบัติดีในปิฎกเหล่านี้
ย่อมบรรลุสมบัติต่างกัน คือวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้ตามลําดับ
ด้วยประการฉะนี้.
[ผู้ปฏิบัติไม่ดีใน ๓ ปิฎกได้ผลเสียต่างกัน]
ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระวินัย ย่อมมีความสําคัญว่าหาโทษมิได้ ใน
ผัสสะทั้งหลายมีสัมผัสซึ่งรูปเป็นอุปาทินกะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสห้ามแล้ว โดยความเป็นอาการเสมอกับด้วยสัมผัสซึ่งวัตถุมีเครื่องลาด
และผ้าห่มเป็นต้น ซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.
แม้ข้อนี้ต้องด้วยคําที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธรรมอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ว่า เป็นธรรมอันทําอันตรายได้อย่างไร
ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ เพื่อกระทําอันตรายแก่บุคคลผู้เสพได้ ๑ ดังนี้. ภิกษุ
นั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล เพราะความปฏิบัติไม่ดีนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระสูตร ไม่รู้อยู่ซึ่งอธิบายในพระบาลีมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จําพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสว่า บุคคลมีธรรมอันตนถือผิดแล้ว ย่อม
กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมได้ประสบบาปมิใช่บุญมาก
ด้วย ๒ ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด เพราะการถือนั้น.
๑. วิ. มหา. ๒/๔๓๔. ๒. ม. ม. ๑๒/๒๖๖.

53
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 54 (เล่ม 1)

ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระอภิธรรม แล่นเกินไปซึ่งการวิจารณ์ธรรม
ย่อมคิดแม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่อง
ที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลคิดอยู่เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า
แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ ๔ ประการ อันบุคคลไม่ควรคิด*
ดังนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็น
ผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดและความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการ
ฉะนี้.
ถึงพระคาถาแม้นี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงซึ่งความต่างแห่งปริยัติ
ก็ดี สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมี
วินัยปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิต
พึงประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้-
นั้นทั้งหมดโดยประการนั้น ดังนี้
เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้. บัณฑิตครั้นทราบ
ปิฎกโดยประการต่าง ๆ อย่างนั้นแล้ว ก็ควรทราบพระพุทธพจน์นั้นว่า มี ๓
อย่างด้วยอำนาจแห่งปิฎกเหล่านั้น.
[พระพุทธพจน์มี ๕ นิกาย]
พระพุทธพจน์มี ๕ ด้วยอำนาจแห่งนิกาย อย่างไร ? จริงอยู่
พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดนั่นแล ย่อมมี ๕ ประเภท คือ ทีฑนิกาย มัชฌิมนิกาย
สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย
* องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๐๔.

54
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 55 (เล่ม 1)

[ทีฑนิกาย ๓๔ สูตร]
บรรดานิกายทั้ง ๕ นั้น ทีฆนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๓๔ สูตร
มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น สงเคราะห์ (รวบรวม) เป็น ๓ วรรค ชื่อทีฆนิกาย.
นิกายใดมีพระสูตร ๓๔ สูตรถ้วน
สงเคราะห์เป็น ๓ วรรค , นิกายแรกนี้ อนุโลม
ตามเนื้อความ ชื่อว่าทีฑนิกาย.
ก็เพราะเหตุไร นิกายนี้ ท่านจึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ? เพราะเป็นที่
ประชุม และเป็นที่รวมแห่งพระสูตรทั้งหลายที่มีขนาดยาว. จริงอยู่ ที่ประชุม
และที่รวมท่านเรียกว่า นิกาย ก็ในข้อที่นิกายศัพท์ เป็นศัพท์บอกความประชุม
และความรวมนี้ มีอุทาหรณ์ที่ควรสาธกทั้งทางศาสนาทั้งทางโลก มีอาทิอย่างนี้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่เล็งเห็นแม้ซึ่งหมู่อันหนึ่งอื่น ซึ่งงดงาม
เหมือนหมู่สัตว์ดิรัจฉานนี้ คือหมู่ปลวก หมู่สัตว์เล็ก ๆ นะภิกษุทั้งหลาย !
บัณฑิตพึงทราบพจนารถ (ความหมายของคำ) ในความที่นิกายทั้ง ๔ แม้ที่เหลือ
ชื่อว่านิกาย ด้วยประการฉะนี้
[มัชฌิมนิกายมี ๑๕๒ สูตร]
มัชฌิมนิกายเป็นไฉน? พระสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น
สงเคราะห์เป็น ๑๕ วรรค ซึ่งมีขนาดปานกลาง ชื่อมัชฌิมนิกาย.
นิกายที่มีพระสูตร ๑๕๒ สูตร จัดเป็น
๑๕ วรรค ชื่อว่ามัชฌิมนิกาย.
[สังยุตตนิกายมี ๗,๗๖๒ สูตร]
สังยุตตนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฑตรณสูตร
เป็นต้น ตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งสังยุตมีเทวดาสังยุตเป็นต้น ชื่อสังยุตตนิกาย.

55
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 56 (เล่ม 1)

นิกาย ที่มีพระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร
ซึ่งรวบรวมหมวดสังยุต นี้ชื่อว่าสังยุตตนิกาย.
[ อังคุตตรนิกายมี ๙,๕๕๗]
อังคุตตรนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๙,๕๕๗ มีจิตตปริยาทาน
สูตรเป็นต้น ที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งองค์หนึ่ง ๆ และเกินหนึ่ง ชื่ออังคุตตร-
นิกาย
ในอังคุตตรนิกาย นับจำนวนพระ-
สูตร ได้ดังนี้ คือ ๙,๕๕๗ สูตร
[ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท]
ขุททกนิกายเป็นไฉน ? เว้น ๔ นิกายเสีย พระพุทธพจน์ที่เหลือคือ
พระวินัยปิฎก พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระบาลี ๑๕ ประเภท ที่แสดง
ไว้แล้วในตอนต้น มีขุททกปาฐะเป็นอาทิ ชื่อขุทททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้.
เว้นนิกายแม้ทั้ง ๔ มีทีฆนิกายเป็น-
ต้นนั่นเสีย พระพุทธพจน์อื่นจากนั้น บัณฑิต
เรียกว่า ขุททกนิกาย ฉะนี้แล
พระพุทธพจน์มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งนิกาย ดังพรรณนามา
ฉะนี้.
[พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง]
พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งองค์อย่างไร ? จริงอยู่
พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดทีเดียว มี ๙ ประเภท คือ สุตตุ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ.

56
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 57 (เล่ม 1)

[อธิบายพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ทีละองค์]
บรรดาพระพุทธพจน์ที่มีองค์ ๙ นั้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ
ปริวาร และพระสูตร มีมงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร และตุวฏกสูตร
เป็นต้น ในสุตตนิบาต และพระตถาคตพจน์ (พระดำรัสของพระตถาคต)
ที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่า พระสูตร.
พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ.
สคาถกวรรค (วรรคที่มีคาถา) แม้ทั้งสิ้น ในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า
เคยยะ โดยพิเศษ.
พระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น พระสูตรที่ไม่มีคาถาปน และพระพุทธพจน์
แม้อื่น ที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้า ด้วยองค์ ๘ พึงทราบว่า เวยยากรณะ.
ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตร
ในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา.
พระสูตร ๘๒ สูตร ที่ปฏิสังยุตติด้วยคาถาซึ่งสำเร็จด้วยโสมนัสสญาณ
พึงทราบว่า อุทาน
พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว๑ พึ่งทราบว่า อิติวุตตกะ
ชาดก ๕๕๐ มีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า ชาตกะ.
พระสูตร ที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยะอัพภูตธรรมแม้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไป
โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้
ย่อมมีในพระอานนท์ ๒ พึงทราบว่า อัพภูตธัมมะ.
๑. ขุ. อิติวุตฺตก. ๒๕/๒๒๙. ๒. ที. มหา. ๑๐/๑๘๒

57
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 58 (เล่ม 1)

พระสูตรที่มนุษย์เป็นต้นถามแล้ว ได้ความรู้และความยินดีแม้ทั้งหมด
มีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาช-
นียสูตร และมหาปุณณมสูตรเป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ.
พระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ด้วยอำนาจแห่งองค์ ดังพรรณนามาฉะนี้.
[พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์]
พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์
อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดเทียว มี ๘๔,๐๐๐ ประเภท
ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระแสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรม จากพุทธ-
สำนัก ๘๒,๐๐๐ จากสำนักภิกษุ ๒,๐๐๐
พระธรรมที่เป็นไปในหทัยของข้าพเจ้า จึงมี
จำนวน ๘๔,๐๐๐ ดังนี้.
[วิธีคำนวณนับพระธรรมขันธ์เฉพาะขันธ์หนึ่ง ๆ]
บรรดาพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียวจัด
เป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระสูตรที่มีอนุสนธิมาก นับพระธรรมขันธ์ด้วย
อำนาจแห่งอนุสนธิ. ในคาถาพันธ์ทั้งหลาย คำถามปัญหา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็น
หนึ่งพระธรรมขันธ์, คำวิสัชนา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์.
ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะทุกะแต่ละติกะทุกะ และการจำแนก
วารจิตแต่ละวารจิต จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์.
ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตราบัติ มีอาบัติ
มีอนาบัติ มีกำหนดติกะ บรรดาวัตถุและมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่ง ๆ
พึงทราบว่า เป็นพระธรรมขันธ์อันหนึ่ง ๆ.

58
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 59 (เล่ม 1)

พระพุทธพจน์ (ทั้งหมด) มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระ-
ธรรมขันธ์ ดังพรรณนามาฉะนี้
[ปฐมสังคายานาจัดพระพุทธพจน์ไว้เป็นหมวด ๆ]
พระพุทธพจน์นั่น โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ โดยความไม่
ต่างกัน มีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส, โดยความต่างกัน มีประเภท ๒ อย่าง
เป็นต้น ด้วยอำนาจธรรมและวินัยเป็นอาทิ อันพระมหาเถระผู้เป็นคณะที่
ชำนาญ มีพระมหากัสสปเป็นประมุข เมื่อจะสังคายนาจึงกำหนดประเภทนี้ก่อน
แล้วร้อยกรองไว้ว่า นี้พระธรรม, นี้พระวินัย , นี้ปฐมพุทธพจน์, นี้มัชฌิม-
พุทธพจน์ , นี้ปัจฉิมพุทธพจน์, นี้พระวินัยปิฎก, นี้พระสุตตันตปิฎก, นี้
พระอภิธรรมปิฎก, นี้ทีฑนิกาย, นี้มัชฌิมนิกาย, นี้สังยุตตนิกาย, นี้อังคุตตร-
นิกาย, นี้ขุททกนิกาย, นี้องค์ ๙ มีสุตตะเป็นต้น , นี้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.
ก็ท่านร้อยกรองประเภทตามที่กล่าวไว้แล้วนี้เท่านั้นอย่างเดียวหามิได้
ยังได้กำหนดประเภทที่ควรรวบรวมไว้แม้อื่น ๆ ซึ่งมีหลายชนิด มีอุทานสังคหะ
วัคคสังคหะ เปยยาลสังคหะ นิบาตสังคหะ เช่นเอกนิบาต และทุกนิบาต
เป็นต้น สังยุตตสังคหะและปัณณาสกสังคหะเป็นอาทิ ที่ปรากฏอยู่ในพระ-
ไตรปิฎก ได้ร้อยกรองอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ ด้วยประการฉะนี้.
[พระพุทธศาสนาอาจตั้งอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี]
ก็ในเวลาจบการร้อยกรองพระพุทธพจน์นั้น มหาปฐพีเหมือนเกิด
ความปราโมทย์ให้สาธุการอยู่ว่า พระมหากัสสปเถระ ทำพระศาสนาของ
พระทศพลนี้ให้สามารถเป็นไปได้ตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐ พระวรรษา ดังนี้
ก็หวั่นไหวเอนเอียง สะเทือนสะท้านเป็นอเนกประการ จนถึงน้ำรองแผ่นดิน

59
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 60 (เล่ม 1)

เป็นที่สุด และอัศจรรย์ทั้งหลายเป็นอันมากก็ได้ปรากฏมีแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
สังคีติใดในโลก
ท่านเรียกว่า ปัญจสตาสังคีติ เพราะ
พระธรรมสังคาหกเถระ ๕๐๐ รูปทำ, และ
เรียกว่า เถริกาสังคีติ เพราะพระเถระ
ทั้งหลายนั่นแลทำแล้ว
สังคีตินี้ ชื่อปฐมมหาสังคีติ ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อปฐมมหาสังคีตินี้เป็นไปอยู่ ท่านพระมหากัสสป เมื่อจะถามถึง
พระวินัย (กะท่านพระอุบาลีเถระ) จึงถามถึงนิทาน ที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ ว่า
ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้าง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่
สุดแห่งคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส อุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว ณ ที่ไหน ? เป็นต้น คำนิทานนั้นท่านพระ
อุบาลีเถระ ประสงค์จะให้พิสดารตั้งแต่ต้น แล้วกล่าวถึงบุคคลเป็นต้น ที่บัญญัติ
ิวินัยปิฎก และเหตุที่บัญญัตินั่นแหละทั้งหมด จึงกล่าวไว้แล้ว.
[อธิบายความเริ่มต้นแห่งนิทานวินัย]
คำนิทาน (คำเริ่มต้น) ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ
วิรติ* เป็นอาทิ บัณฑิตควรกล่าวไว้ทั้งหมด, เพราะคำเริ่มต้นนี้ ท่าน
พระอุบาลีเถระกล่าวไว้อย่างนี้. ก็แลคำเริ่มต้นนั้น บัณฑิตควรทราบว่า ท่าน
พระอุบาลีเถระกล่าวไว้แล้วในคราวกระทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก. ก็ใจความ
แห่งบทนี้ว่า ก็คำนี้ใครกล่าวและกล่าวในกาลไหน เป็นต้น เป็นอันข้าพเจ้า
ประกาศแล้ว ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้. บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยใน
บทว่า กล่าวไว้เพราะเหตุไร นี้ต่อไป : -
๑. วิ. มหา. ๑/๑

60