No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 611 (เล่ม 8)

ผู้อลัชชีนั้น คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งบุคคลผู้อลัชชี มี
แกล้งต้องเป็นต้น.
ผู้เป็นไปกับอนุวาทะนั้น คือ ผู้เป็นไปกับด้วยการโจท.
เหตุ ๓ อย่างด้วยอำนาจองค์ ๓ เหล่านี้ และความกระทำ ๒ นี้
คือการที่สงฆ์ทำ ๑ การที่สงฆ์พร้อมเพรียงทำโดยธรรม ๑ รวมเป็น
ความกระทำแห่งตัสสปาปิยสิกากรรม ๕ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือใน
ตัสสปาปิยสิกากรรมนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมเป็นต้นนั่นแล.
ส่วนเนื้อความเฉพาะคำในบทว่า ตสฺส ปาปิยสิกากมฺมํ นี้ พึง
ทราบดังนี้. จริงอยู่ กรรมนี้ท่านเรียก ตัสสปาปิยสิกากรรม เพราะ
ความเป็นกรรมที่สงฆ์พึงทำแก่บุคคลผู้เลวทราม โดยความเป็นคนบาป
หนา.
ติณวัตถารกะ
สองบทว่า กกฺขฬตาย วาฬตาย มีความว่า อธิกรณ์นั้นพึง
เป็นไปเพื่อความหยาบข้า และเพื่อความร้ายกาจ.
บทว่า เภทาย มีความว่า เพื่อความแตกแห่งสงฆ์.
ข้อว่า สพฺเพเหว เอกชฺฌํ มีความว่า ไม่พึงนำฉันทะของ
ใคร ๆ มา แม้ภิกษูผู้อาพาธก็พึงนำมาประชุมโดยความเป็นหมู่เดียวกัน ใน
ที่ประชุมนั้นนั่นเทียว.
ในคำว่า ติณวตฺถารเกน วูปสเมยฺย นี้ กรรมนี้ท่านเรียกว่า
ติณวัตถารกะ ก็เพราะเป็นกรรมคล้ายกลบไว้ด้วยหญ้า.

611
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 612 (เล่ม 8)

เหมือนอย่างว่า คูถหรือมูตรอันบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ ย่อมเบียดเบียน
โดยความเป็นของมีกลิ่นเหม็น, แต่เมื่อคูถหรือมูตรนั้น อันบุคคลกลบ
แล้วด้วยหญ้าปิดมิดชิดดีแล้ว กลิ่นนั้น ย่อมเบียดเบียนไม่ได้ฉันใด;
อธิกรณ์ใด ถึงความเป็นมูลใหญ่มูลน้อย (แห่งอธิกรณ์) อันสงฆ์ระงับอยู่
จะเป็นไปเพื่อความหยาบช้า เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน, อธิกรณ์
นั้น ระงับด้วยกรรมนี้แล้วย่อมเป็นอันระงับด้วยดี เหมือนคูถที่ปิดไว้
ด้วยเครื่องกลบคือหญ้า ข้อนี้ก็ฉันนั้นแล เพราะเหตุนั้น กรรมนี้ท่าน
จึงเรียกว่า ติณวัตถารกะ เพราะเป็นกรรมคล้ายกลบไว้ด้วยหญ้า.
อาบัติที่เป็นโทษล่ำนั้น ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.
บทว่า คิหิปฏิสํยุตฺตํ คือเว้นอาบัติที่ต้อง เพราะคำว่าคฤหัสถ์
ด้วยคำเลว และรับแล้วไม่ทำตามรับที่เป็นธรรม.
ข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว เต ภิกฺขู ตาหิ อาปตฺตีหิ
วุฏฺฐิตา โหนฺติ มีความว่า เมื่อติณวัตถารกกรรมวาจาอันภิกษุทั้ง ๒
ฝ่าย ทำแล้วอย่างนั้นในขณะจบกรรมวาจา ภิกษุมีประมาณเท่าใด ซึ่ง
ประชุมในที่นั้น โดยที่สุดภิกษุผู้หลับก็ดี ผู้เข้าสมาบัติก็ดี ผู้ส่งใจไป
ในที่อื่นก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ต้องแล้วซึ่งอาบัติทั้งหลายที่เหลือ
เหล่าใด นอกจากอาบัติที่เป็นโทษล่ำ และอาบัติที่เนื่องเฉพาะด้วยคฤหัสถ์
จำเดิมแต่มณฑลแห่งอุปสมบท ย่อมเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น
ทั้งปวง.
บทว่า ทิฏฺฐาวิกมฺมํ มีความว่า ฝ่ายภิกษุเหล่าใด ทำความ
เห็นแย้งกันและกันว่า ข้อนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้า หรือว่าภิกษุเหล่าใด

612
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 613 (เล่ม 8)

แม้ต้องอาบัติกับภิกษุเหล่านั้น แต่ไม่มาในที่ประชุมนั้น หรือว่าภิกษุเหล่า
ใดมาแล้ว มอบฉันทะแล้วนั่งในที่ทั้งหลายมีบริเวณเป็นต้น, ภิกษุเหล่า
นั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ออกจากอาบัติเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เว้นผู้ทำความเห็นแย้ง เว้นผู้มีได้อยู่ในที่นั้น.
อธิกรณ์ ๔
สองบทว่า ภิกฺขุนีนํ อนูปขชฺช ได้แก่ แทรกแซงภายใน
หมู่นางภิกษุณี. เนื้อความเฉพาะคำแห่งอธิกรณ์ทั้งหลายมีวิวาทาธิกรณ์
เป็นต้น ได้กล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งทุฏฐโทสสิกขาบท.
สองบทว่า วิปจฺจตาย โวหาโร ได้แก่ โวหารเพื่อทุกข์แก่
จิต, ความว่า คำหยาบ.
หลายบทว่า โย ตตฺถ อนุวาโท คือการโจทใด ในเมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นโจทอยู่.
บทว่า อนุวทนา นี้ เป็นคำแสดงอาการ. ความว่า กิริยา
ที่โจท.
สองบทว่า อนุลฺลปนา อนุภณนา สักว่าเป็นไวพจน์ของ
กิริยาที่โจทเท่านั้น.
บทว่า อนุสมฺปวงฺกตา มีความว่า ความเป็นผู้คล้อยตามคือ
ความเป็นผู้พลอยประสม ในการโจทนั้นนั่นแล ด้วยกายจิตและวาจา
บ่อย ๆ.
๑. สมนุต. ทุติยา. ๑๐๑.

613
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 614 (เล่ม 8)

บทว่า อพฺภุสฺสหนตา ได้แก่ กิริยาที่โจทกระทำความอุต-
สาหะว่า เหตุไร เราจึงจักไม่โจรอย่างนั้นเล่า?
บทว่า อนุพลปฺปทานํ คือแสดงเหตุแห่งคำต้น เพิ่มกำลังด้วย
คำหลัง
ในสองบทว่า กิจฺจยตา กรณียตา นี้ มีวิเคราะห์ว่า กรรม
ที่จะพึงกระทำนั่นเอง ชื่อว่า กิจฺจยํ ความมีแห่งกรรมที่จะพึงกระทำ
ชื่อว่า กิจฺจยตา, ความมีแห่งกิจที่จะต้องกระทำ ชื่อว่า กรณียตา.
คำทั้ง ๒ นั้นเป็นชื่อแห่งสังฆกรรมนั่นเอง
ส่วนคำว่า อปโบกนกมฺมํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เพื่อแสดงประเภทแห่งสังฆกรรมนั้นนั่นแล.
บรรดาสังฆกรรมเท่านั้น กรรมที่ต้องยังสงฆ์ผู้ทั้งอยู่ในสีมาให้หมด
จด นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา สวดประกาศ ๓ ครั้งทำตาม
อนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ชื่อว่า อปโลกนกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยญัตติอย่างเดียว ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียง ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ญัตติกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา มีญัตติเป็นที่ ๒ อย่างนี้ คือญัตติ ๑
อนุสาวนา ๑ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่น
แล ชื่อว่า ญัตติทุติยกรรม.
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา ๓ มีญัตติเป็นที ๔ อย่างนี้คือญัตติ
๑ อนุสาวนา ๓ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั้นแล ชื่อว่า ญัตติจตุตถกรรม.

614
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 615 (เล่ม 8)

บรรดากรรมเหล่านั้น อปโลกนกรรม พึงทำเพียงอปโลกน์. ไม่
ต้องทำด้วยอำนาจญัตติกรรมเป็นต้น. แม้ญัตติกรรม พึงทำตั้งญัตติ
อย่างเดียว. ไม่ต้องทำด้วยอำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้น. ส่วนญัตติทุติย
กรรมที่ต้องอปโลกน์ทำก็มี ไม่ต้องอปโลกน์ก็มี. ใน ๒ อย่างนั้น กรรม
หนัก ๖ อย่างนี้ คือสมมติสีมา ถอนสีมา ให้ผ้ากฐิน รื้อกฐิน แสดง
ที่สร้างกุฎี แสดงที่สร้างวัดที่อยู่ ไม่ควรอปโลกน์ทำ; พึงสวดญัตติ
ทุติยกรรมวาจาทำเท่านั้น. กรรมเบาเห็นปานนี้ คือสมมติ ๑๓ ที่เหลือ
และสมมติในการถือเสนาสนะและให้มรดกจีวรเป็นต้น แม้อปโลกน์ทำก็
ควร. แต่ไม่พึงทำด้วยอำนาจญัตติกรรมและญัตติจตุตถกรรมเลย . ญัตติ
จตุตถกรรม ต้องสวดญัตติและกรรมวาจา ๓ ทำเท่านั้น ไม่พึงทำด้วย
อำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้นฉะนั้นแล. ความสังเขปในสมถักขันธกะนี้
เท่านี้ .
ส่วนวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้น ได้มาแล้วโดยพิสดาร ในกรรม
วรรคท้ายคัมภีร์ปริวาร โดยนัยมีคำว่า อิมานิ จตฺตาริ กมฺมานิ
กติหากาเรหิ วิปชฺชนฺติ เป็นต้น. ก็ในนัยนั้น บทใดยังไม่ชัดเจน
ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทนั้น ในกรรมวรรคนั่นแล.
จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ การพรรณนาในอัฏฐานะจักไม่มี. อนึ่ง
วินิจฉัยจัก เป็นของที่รู้ชัดได้ง่าย เพราะค่าที่กรรมนั้น ๆ ได้ทราบกันมาแล้ว
ตั้งแต่ต้น.

615
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 616 (เล่ม 8)

อธิกรณวิภาค
คำว่า อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ? ดังนี้ เป็นต้น พึงทราบ
ด้วยอำนาจแห่งบาลีนั่นแล.
ในคำว่า วิวาทาธิกรณํ สิยา กุสลํ เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมวิวาทกันด้วยจิตตุปบาท
ใด, จิตตุปบาทนั้น ชื่อวิวาทและชื่ออธิกรณ์ เพราะความเป็นเหตุที่
จะต้องระงับด้วยสมถะทั้งหลาย พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจแห่งคำที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าหมายเอาตรัสไว้ในบาลีนี้ว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นกุศลไม่มี.
จริงอยู่ กุศลจิตเป็นองค์ในอาปัตตาธิกรณ์ มีขุดแผ่นดินเป็นต้น
อันใด เมื่อกุศลจิตนั่น ซึ่งเป็นองค์แห่งอาปัตตาธิกรณ์นั่น ที่ถือเอา
โดยความเป็นอาบัติมีอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจกล่าวได้ว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็น
กุศลไม่มี.
เพราะเหตุนั้น คำว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นกุศลไม่มี นี้ชื่อว่า
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาจิตที่พอเป็นองค์ หามิได้. แต่ว่า
พระองค์ตรัสหมายเอาความมีแห่งวิกัปป์ดังนี้ :-
อาปัตตาธิกรณ์ใด เป็น โลกวัชชะก่อน อาปัตตาธิกรณ์นั้นเป็น
อกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้น, ความกำหนดว่า กุศลพึงมี ดังนี้ย่อมไม่มี
ในโลกวัชชะนั้น.
ส่วนอาปัตตาธิกรณ์ใด เป็นปัณณัตติวัชชะ, อาปัตตาธิกรณ์นั้น
ย่อมเป็นอกุศลเฉพาะแก่ภิกษุผู้แกล้งก้าวล่วงอยู่ว่า เราจะก้าวล่วงอาบัตินี้,

616
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 617 (เล่ม 8)

แต่อาปัตตาธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นอัพยากฤต โดยความต้องด้วยอำนาจแห่ง
สหไสยเป็นต้น ของภิกษุผู้ไม่แกล้งไม่รู้อะไรเลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงหมายเอาความมีแห่งวิกัปป์นี้ ด้วยอำนาจแห่งความแกล้ง
และไม่แกล้ง ในปัณณัตติวัชชะนั้น จึงตรัสคำว่าอาปัตตาธิกรณ์ที่เป็น
อกุศลก็มี. ที่เป็นอัพยากฤตมี, อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี.
ก็ถ้าว่า ใคร ๆ พึงกล่าวว่า ภิกษุมีจิตเป็นกุศล ย่อมต้องอาปัตตา
ธิกรณ์ใด, อาปัตตาธิกรณ์นี้ ท่านกล่าวว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศล.
กุศลจิตจะพึงเข้ากันได้แม้แก่เอฬกโลมสมุฏฐาน และปทโสธรรมเทศนา
สมุฏฐานเป็นต้น ซึ่งเป็นอจิตตกะ. แต่กุศลจิตแม้มีอยู่ในกิริยาที่ต้องนั้น
ก็ไม่จัดเป็นองค์แห่งอาบัติ.
ส่วนกายวาจาที่เคลื่อนไหวเป็นไป ด้วยอำนาจกายวิญญัติ และวจี
วิญญัติ อันใดอันหนึ่งนั้นแล ย่อมเป็นองค์เเห่งอาบัติ. ก็แต่ว่าองค์นั้น
จัดเป็นอัพยากฤต เพราะความที่องค์นั้นเป็นส่วนอันนับเนื่องในรูปขันธ์
ก็แล ในคำว่า ยํ ชานนฺโต เป็นต้น มีเนื้อความดังนี้:-
จิตใดย่อมเป็นองค์แห่งอาบัติ. รู้อยู่ซึ่งวัตถุด้วยจิตนั้น และรู้อยู่
รู้พร้อมอยู่ กับด้วยอาการคือก้าวล่วงว่า เรากำลังก้าวล่วงวัตถุนี้ และ
เเกล้งคือจงใจ ด้วยอำนาจวีตกกมเจตนา เหยียบย่ำอยู่ด้วยอำนาจความ
พยายาม ฝ่าฝืน คือ ส่งจิตอันปราศจากความรังเกียจไป ย่อมก้าว
ล่วงไป คือ ย่อมต้องอาปัตตาธิกรณ์ใด. วีติกกมะใดของภิกษุนั้นผู้
ก้าวล่วงด้วยประการอย่างนั้น, วีติกกมะนี้ ท่านกล่าวว่าอาปัตตาธิกรณ์
เป็นอกุศล.

617
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 618 (เล่ม 8)

เนื้อความแม้ในอัพยากตวาระ พึงทราบดังนี้:-
จิตใดย่อมเป็นองค์แห่งอาบัติ, ไม่รู้อยู่โดยความไม่มีแห่งจิตนั้นทั้ง
ไม่รู้อยู่ ไม่รู้พร้อมอยู่ กับด้วยอาการคือก้าวล่วง ไม่จงใจ โดยความ
ไม่มีวีติกกมะเจตนา ซึ่งเป็นองค์แห่งอาบัติ ไม่ฝ่าฝืน คือไม่ได้ส่งจิต
อันปราศจากความรังเกียจไป โดยความไม่มีความแกล้งเหยียบย่ำย่อมก้าว
ล่วงคือย่อมต้องอาปัตตาธิกรณ์ใด วีติกกมะใดของภิกษุนั้น ผู้ก้าวล่วง
อยู่ด้วยประการอย่างนั้น วีติกกมะนี้ ท่านกล่าวว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อัพยากฤต.
ในคำว่า อยํ วิวาโท โน อธิกรณํ เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความอย่างนี้ว่า วิวาทนี้ ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ เพราะไม่มีความเป็น
กิจที่จะต้องระงับด้วยสมถะทั้งหลาย.
ในคำว่า ยาวติกา ภิกฺขู กมฺมปฺปตฺตา นี้ พึงทราบว่า
ในกรรมที่จะกระทำด้วยสงฆ์จตุวรรค ภิกษุ ๔ รูป เป็นผู้พอทำกรรมให้
เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงกระทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรค ภิกษุ ๕ รูปเป็นผู้
พอทำกรรมให้เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงทำด้วยสงฆ์ทสวรรค ภิกษุ ๑๐
รูปเป็นผู้พอทำกรรมให้เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงทำด้วยสงฆ์วีสติวรรคภิกษุ
๒๐ รูปเป็นผู้พอทำกรรมให้เสร็จ.
บทว่า สุปริคฺคหิตํ มีความว่า อธิกรณ์นั้น อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้เจ้าถิ่น พึงกระทำให้เป็นการอันตนป้องกันรอบครอบดีแล้วจึงรับ.
ก็แล ครั้นรับแล้ว พึงกล่าวว่า วันนี้ พวกเราจะชักจีวร,

618
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 619 (เล่ม 8)

วันนี้ พวกเราจะระบมบาตร, วันนี้ มีกังวลอยู่อย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว
ปล่อยให้ล่วงไป ๒-๓ วัน เพื่อประโยชน์แก่การข่มมานะ.
อุพพาหิกา
ข้อว่า อนนฺตานิ เจว ภสฺสานิ ชายนฺติ มีความว่า ถ้อยคำ
ทั้งหลาย ไม่มีปริมาณเกิดขึ้นข้างนี้และข้างนี้. ปาฐะว่า ภาสานิ ก็มี
เนื้อความเหมือนกันนี้ .
สองบทว่า อุพฺพาหิกาย สมฺมนฺนิตพฺโพ มีความว่า ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ รูป อันสงฆ์พึงอุปโลกน์สมมติ หรือสมมติด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ซึ่งกล่าวแล้วข้างหน้า. ก็อันภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับ
สมมติแล้วอย่างนั้น พึงนั่งต่างหากแล้ววินิจฉัยอธิกรณ์นั้น หรือพึง
ประกาศแก่บริษัทนั้นนั่นแลว่า ภิกษุเหล่าอื่นอย่าพึงกล่าวคำไร ๆ แล้ว
วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นก็ได้.
บทว่า ตตฺรสฺส มีความว่า ภิกษุเป็นธรรมกถึก พึงมีใน
บริษัทนั้น.
สองบทว่า เนว สุตฺตํ อาคตํ คือ จำมาติกาไม่ได้.
สองบทว่า โน สุตฺตวิภงฺโค คือ วินัยไม่แม่นยำ.
ข้อว่า พฺยญฺชนฉายาย อตฺถํ ปฏิพาหติ มีความว่า พระ
ธรรมกถึกนั้นถือเอาเพียงพยัญชนะเท่านั้น ค้านใจความ คือ เห็นพวก
ภิกษุผู้อันภิกษุผู้วินัยธรทั้งหลายปรับอยู่ด้วยอาบัติ เพราะรับทองเงินและ
นาสวนเป็นต้น จึงกล่าวว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงปรับภิกษุเหล่านี้ด้วย

619
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 620 (เล่ม 8)

อาบัติเล่า? กิริยาสักว่างดเว้นเท่านั้น อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้วในสูตรอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นผู้งดเว้นจากการรับทองและ
เงิน ดังนี้ มิใช่หรือ ? อาบัติในสูตรนี้ ไม่มี. พระธรรมกถึกรูปหนึ่ง
เมื่อพระวินัยธรบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้นุ่งผ้าเลื้อยรุ่มร่าม เพราะ
พระสูตรที่มาแล้ว จึงกล่าวว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงยกอาบัติแก่ภิกษุ
เหล่านี้เล่า ? ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแต่เพียงการทำความศึกษา
อย่างนี้ว่า พึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งให้เรียบร้อย ดังนี้ เท่านั้น
มิใช่หรือ ? อาบัติในสูตรนี้ไม่มี.
เยภุยยสิกา
วินิจฉัยในคำว่า ยถา พหุตรา ภิกฺขู นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีเกินแม้เพียงรูปเดียว ก็จัดเป็นฝ่ายมากกว่าได้.
ก็จะต้องกล่าวอะไรถึง ๒-๓ รูปเล่า.
บทว่า สญฺญตฺติยา มีความว่า เราอนุญาตการจับสลาก ๓ วิธี
เพื่อต้องการให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม.
วินิจฉัยในคำว่า คูฬฺหกํ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ในบริษัทที่หนาแน่นด้วยพวกอลัชชี พึงทำการจับสลากอย่างปกปิด.
ในบริษัทที่หนาแน่นด้วยพวกลัชชี พึงทำการจับสลากอย่างเปิดเผย. ใน
บริษัทที่หนาแน่นด้วยภิกษุพาล พึงทำการจับสลากอย่างกระซิบบอกที่หู.
สองบทว่า วณฺณาวณฺณาโย กตฺวา มีความว่า สลากของฝ่าย
ธรรมวาที และฝ่ายอธรรมวาที ต้องบอกสำคัญคือเครื่องหมาย แล้ว

620