No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 601 (เล่ม 8)

[๖๙๑] บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ปฏิญ-
ญาตกรณะพึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ติณวัตถารกะ
๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาด-
หมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอัน
ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย
ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิด
ความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะ
เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเรา
จักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุน
แรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ ด้วยติณวัตถารกะ
วิธีระงับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้
ภิกษุทุก ๆ รูป พึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้
ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า
ดังนี้ :-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประ-
พฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว

601
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 602 (เล่ม 8)

ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกัน
ด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ
รุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้
ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่อง
ด้วยคฤหัสถ์
บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประ-
พฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว
ด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกัน
ด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความ
รุนแรง เพื่อความร่ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
ความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง
แสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย เเละอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่าน
ทั้งหลายและเพื่อประโยชน์แก่ตน.

602
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 603 (เล่ม 8)

[๖๙๒] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติ
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความ
บาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว
ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของ
ตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษ
หนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่
ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน.
[๖๙๓] บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้

603
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 604 (เล่ม 8)

ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึง
แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่า
นี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจัก
ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของ
ตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี
โทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์
แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัต-
ถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วย

604
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 605 (เล่ม 8)

คฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่าม
กลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึง
นิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิด
ความบาดหมาง.... ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง ? มีความ
พร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล
ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? ภิกษุผู้เข้ากรรมมี
จำนวนเท่าไร ? พวกเธอมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้
อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัย
นั้น

605
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 606 (เล่ม 8)

ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
อย่างไร ? อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด
นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น
ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ? ผู้แสดงและผู้รับ
แสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล
ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความกระทำ ความ
เข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ
ติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รื้อฟื้น เป็น
ปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
กิจจาธิกรณระงับด้วยสมถะอย่างเดียว
[๖๙๔] กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ? กิจจาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย.
สมถขันธกะ ที่ ๔ จบ

606
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 607 (เล่ม 8)

สมถักขันธกวรรณนา
สัมมุขาวินัย
วินิจฉัยในสมถักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางบทมาติกา ๖ มีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล เป็นต้น ตรัสความพิสดารโดยนัยมีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล ธมฺมวาทึ ปุคฺคลํ สญฺญาเปติ เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญาเปติ ได้แก่ กล่าวถ้อยคำ
ที่สมกับเหตุ ขู่ให้ยินยอม.
บทว่า นิชฺเฌเปติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะจ้องดู คือเล็งแล
เนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำด้วยประการนั้น.
สองบทว่า เปกฺเขติ อนุเปกฺเขติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะ
เพ่งเล็งและเพ่งเล็งบ่อย ๆ ซึ่งเนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำ
ด้วยประการนั้น .
สองบทว่า ทสฺเสติ อนุทสฺเสติ เป็นคำบรรยาแห่งสองบทว่า
เปกฺเขติ อนุปกฺเขติ นั้นแล.
สองบทว่า อธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่
อธรรมวาทีบุคคลนั้น ยังธรรมวาทีบุคคลนั้นให้หลงแล้ว แสดงอธรรม
นั่นเอง โดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นธรรม, อธิกรณ์จึงชื่อว่าระงับโดย
อธรรม.

607
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 608 (เล่ม 8)

สองบทว่า ธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่ธรรม-
วาทีบุคคล ไม่ยังอธรรมวาทีบุคคลให้หลงแสดงธรรมนั่นเอง โดยนัยมี
คำว่า นี้เป็นธรรม เป็นต้น. อธิกรณ์จึงชื่อว่า ระงับโดยธรรม.
สติวินัย
ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ธมฺมิกานิ สติวินยสฺส
ทานานิ นี้ การให้มี ๕ อย่างนี้ คือให้แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ
๑ ให้แก่ภิกษุถูกโจท ๑ ให้แก่ภิกษุผู้ขอ ๑ สงฆ์ให้เอง ๑ สงฆ์
พร้อมเพรียงกันตามธรรมให้ ๑
ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
อันการให้สติวินัย ๕ นี้ ภิกษุย่อมได้ด้วยอำนาจองค์หนึ่ง ๆ หามิได้
เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นสักว่าเทศนาเท่านั้น. แต่การให้สติวินัย
ประกอบด้วยองค์ ๕ จึงชอบธรรม.
ก็แล บรรดาบทเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อนุวทนฺติ ได้แก่ โจท. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
อนึ่ง สติวินัยนี้ พึงให้แก่พระขีณาสพเท่านั้น, ไม่พึงให้แก่ภิกษุ
อื่น โดยที่สุดแม้เป็นพระอนาคามี.
ก็สติวินัยนั้นแล พึงให้แก่พระขีณาสพซึ่งถูกภิกษุอื่นโจทเท่านั้น
ไม่พึงให้แก่พระขีณาสพผู้ไม่ถูกโจท.
ก็แล ครั้นเมื่อสติวินัยนั้นอันสงฆ์ให้แล้ว ถ้อยคำของโจทย่อม
ไม่ขึ้น. แม้บุคคลผู้ขืนโจท ย่อมถึงความเป็นผู้อันภิกษุทั้งหลายพึง

608
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 609 (เล่ม 8)

รุกรานว่า ภิกษุนี้ เป็นพระขีณาสพ ได้สติวินัยแล้ว, ใครจักเชื่อถือ
ถ้อยคำของท่าน.
อมูฬหวินัย
บทว่า ภาสิตปริกนฺตํ ได้แก่ กล่าวด้วยวาจา พยายามด้วยกาย
นั่นเทียว อธิบายว่า ฝ่าฝืนกระทำ.
ในคำว่า สรตายสฺมา เอวรูปี อาปตฺตึ อาปชฺชิตา นี้ มี
เนื้อความดังนี้ว่า ผู้มีอายุ จงระลึกถึงอาบัติเห็นปานนี้, ผู้มีอายุ ต้อง
ซึ่งอาบัติเห็นปานนี้ ปาฐะว่า อาปชฺชิตฺวา ก็มี. ความแห่งปาฐะ
นั้นว่า ผู้มีอายุต้องก่อนแล้ว ภายหลังจงระลึกถึงอาบัตินั้น.
เยภุยยสิกา
ในคำว่า เยภุยฺยสิกาย วูปสเมตุํ นี้ ธรรมวาทีบุคคลแห่งกิริยา
ใด เป็นผู้มากกว่า กิริยานั้นชื่อ เยภุยยสิกา.
วินิจฉัยการจับสลากที่ไม่เป็นธรรม พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า โอรมตฺตกํ คือ อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็ก คือ มีประมาณ
น้อย เป็นแต่เพียงความบาดหมางเท่านั้น.
บทว่า น จ คติคตํ คือ อธิกรณ์ไม่ลุกลามไปถึง ๒-๓ อาวาส
หรือไม่ได้วินิจฉัยถึง ๒-๓ ครั้งในอาวาสนั้น ๆ เท่านั้น
บทว่า น จ สริตสาริตํ คือ อธิกรณ์นั้น ไม่เป็นเรื่องที่ภิกษุ
เหล่านั้นระลึกได้เอง หรือภิกษุเหล่าอื่นเตือนให้ระลึกได้ถึง ๒-๓ ครั้ง

609
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 610 (เล่ม 8)

บทว่า ชานาติ คือ เมื่อจับสลากรู้ว่า อธรรมวาทีบุคคล
มากกว่า.
บทว่า อปฺเปว นาม คือ อัธยาศัยของภิกษุนั้นย่อมเป็นดังนี้ว่า
เมื่อสลากอันเราให้ภิกษุทั้งหลายจับอยู่ด้วยอุบายนี้ ชื่อแม้ไฉนอธรรมวาที
บุคคลจะพึงเป็นผู้มากกว่า แม้ในอีก ๒ บท ก็มีนัยเหมือนกัน.
สองบทว่า อธมฺเมน คณฺหนฺติ คือ พวกอธรรมวาที จับ
สลากรูปละ ๒ สลาก ด้วยคิดว่า พวกเราจักเป็นผู้มากกว่า ด้วยการ
จับสลากอย่างนี้.
สองบทว่า วคฺคา คณฺหนฺติ คือ พวกอธรรมวาที สำคัญอยู่
ว่า ธรรมวาที ๒ รูป จับธรรมวาทีสลากอัน ๑ ด้วยการจับสลากอย่าง
นี้ พวกธรรมวาที จักเป็นผู้ไม่มากกว่า
สองบทว่า น จ ยถาทิฏฺฐิยา คณฺหนฺติ คือ จับสลากฝ่าย
อธรรมวาที ด้วยคิดว่า เราเป็นพวกธรรมวาที จักเป็นฝ่ายมีกำลัง. ใน
การจับสลากที่เป็นธรรม พึงทราบเนื้อความเช่นนี้แล แต่กลับความเสีย.
ครั้นให้จับสลากแล้วอย่างนั้น ถ้าธรรมวาทีเป็นฝ่ายมากกว่า พวกเธอ
กล่าวอย่างใด พึงระงับอธิกรณ์นั้นอย่างนั้น; อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วย
เยภุยยสิกา ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นเนื้อความสังเขปในสมถักขันธกะนี้,
ส่วนเนื้อความพิสดาร จักมาข้างหน้าบ้าง.
ตัสสปาปิยสิกากรรม
ผู้ไม่สะอาดนั้น คือ ผู้ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอัน ไม่
สะอาด.

610