No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 501 (เล่ม 8)

เพราะเหตุที่ปิดอันตราบัติไว้. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม จงให้สโมธานปริวาส เพื่อ
อาบัติเดิมแล้ว จงให้มานัต ๖ ราตรี.
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงประกอบอันตราบัติทั้งปวงแสดงอัพภาน-
กรรม ให้จบเรื่องแห่งอาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ.
ลำดับนั้น ทรงแสดงนัย ๒ อย่าง คือ เอกาปัตติมูลกนัย ๑
อาปัตติวัฑฒนกนัย ๑ แล้วทรงแสดงอัคฆสโมธานปริวาส.
แต่นั้น ทรงแสดงเรื่องอาบัติที่ภิกษุแกล้งไม่บอกแล้ว ทรงตั้ง
บาลีโดยนัยมีคำว่า อิธ ปน ภิกฺขเว เป็นต้น เพื่อแสดงกรรมที่จะพึง
กระทำสำหรับอาบัติที่ภิกษุมิได้บอก ด้วยความไม่แกล้งไม่รู้สึกระลึกไม่ได้
และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรมหรือความรู้สึก ความ
ระลึกได้ และความเป็นผู้ไม่มีความสงสัย เกิดขึ้นบ้างในภายหลัง.
ลำดับนั้น ทรงตั้งบาลีเหมือนอย่างนั้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติ
ทั้งหลาย ซึ่งปิดไว้ด้วยความไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความ
สงสัย ไม่เป็นอันปิด.
ลำดับนั้น ทรงแสดงเรื่องขอปริวาสเดือน ๑ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน แล้วทรงตั้งบาลีโดยนัยหนหลังนั่นแล เพื่อแสดงกรรม
ที่จะพึงกระทำ สำหรับเดือนนอกนี้ ซึ่งไม่ได้บอก ด้วยไม่ได้แกล้ง
ไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรม
เป็นต้นเกิดขึ้นในภายหลัง เเลเพื่อแสดงข้อที่เดือนซึ่งปิดไว้ ด้วยความ
ไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ไม่เป็นอันปิด.

501
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 502 (เล่ม 8)

ลำดับนั้น ทรงแสดงสุทธันตปริวาสโดยนัยมีคำว่า อาปตฺติ
ปริยนฺตํ น ชานาติ รตฺติปริยนฺตํ น ชานาติ เป็นอาทิ
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงตั้งบาลีเพื่อทำปาริวาสิกภิกษุให้เป็นตัวอย่าง
แสดงข้อปฏิบัติในคำว่า "สึกแล้วอุปสมบทใหม่" เป็นต้น .
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสมากหลาย
ในระหว่าง กำหนดนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ เป็นต้น มีความว่า กำหนด
นับได้ด้วยอำนาจกำหนดอาบัติ และไม่ได้ปิดไว้.
สองบทว่า ปจฺฉิมสฺมึ อาปตฺติกฺขนฺเธ คือกองอาบัตินั้นคงเป็น
อันเดียวกัน, แต่เพราะปกปิดไว้ในภายหลัง ท่านจึงกล่าวว่า ในกอง
อาบัติ ซึ่งมีในภายหลัง. ถึงในคำว่า ปุริมสฺมึ นี้ก็มีนัยเหมือนกัน.
คำว่า ววตฺถิตา สมฺภินฺนา นี้ เป็นคำยักเรียกอาบัติทั้งหลาย
ที่เป็นสภาคกันและที่เป็นวิสภาคกันนั่นเอง.
เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า เทฺว ภิกฺขู เป็นต้น เพื่อแสดง
ข้อปฏิบัติในภิกษุผู้ปิดไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิสฺสกํ ได้แก่ สังฆาทิเสส ที่เจือ
ด้วยลหุกาบัติ มีถุลลัจจัยเป็นต้น.
บทว่า สุทฺธกํ ได้แก่ สังฆาทิเสส เว้นกองลหุกาบัติเสียทั้งนั้น.
เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า อิธ ปน ภิกขเว ภิกฺขู สมฺพหุลา
สงฺฆาทิเสสา เป็นต้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติเหล่านั้นไม่พ้องกันและ
พ้องกัน .

502
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 503 (เล่ม 8)

บทไรๆ ที่ชื่อว่า ไม่ชัดเจนโดยพยัญชนะหรือโดยอธิบาย ย่อม
ไม่มีในคำนั้น......
เพราะฉะนั้น คำนั้นและคำทั้งปวงที่ไม่ได้กล่าวไว้ก่อนแต่นี้ พึง
ทราบตามแนวเเห่งพระบาลีนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
สมุจจยักขันธกวรรณนา จบ.

503
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 504 (เล่ม 8)

สมถขันธกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่
ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง
นั้นแล พระฉัพพัคคีย์ กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยส-
กรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรม
บ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็
เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้กระทำกรรม คือ
ตัชชชียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณีย-
กรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
บ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง
อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ลับหลัง จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของ

504
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 505 (เล่ม 8)

สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้กระทำกรรม
คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสาร-
ณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส......ครั้นแล้วทรงทำธรรมมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ตัชชนียกรรม
ก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขป-
นียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง ภิกษุใดทำ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ธรรมวาทีและอธรรมวาทีบุคคล
[๕๘๖] อธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์
อธรรมวาที ๑ ธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์
ธรรมวาที ๑.
ธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง
[๕๘๗] ๑. อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม
ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม
นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์
นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

505
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 506 (เล่ม 8)

๒. อธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๓. อธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้
สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๔. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอน ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๕. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม
ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม
นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์
นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๖. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม

506
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 507 (เล่ม 8)

๗. สงฆ์อธรรมวาที ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๘. สงฆ์อธรรมวาที ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น
ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม
๙. สงฆ์อธรรมวาที ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้
สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม.
ธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง จบ
ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง
[๕๘๘] ๑. ธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

507
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 508 (เล่ม 8)

๒. ธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น
ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๓. ธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๔. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๕. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม
ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้น
ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๖. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์อธรรมวาที่ให้ยินยอม ให้พินิจ
ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย
นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับ
อย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย

508
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 509 (เล่ม 8)

๗. สงฆ์ธรรมวาที ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้
สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้
ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
๘. สงฆ์ธรรมวาที ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้
พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้
วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้
ชื่อว่าระงับโดยธรรมเป็นสัมมุขาวินัย
๙. สงฆ์ธรรมวาที ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้
เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์
ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่า
ระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย.
ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง จบ
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๕๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร
ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร มีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด
ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะพึง

509
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 510 (เล่ม 8)

บรรลุ ท่านได้บรรลุแล้วโดยลำดับทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกรณียกิจ
อะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก.
[๕๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้
เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราแลมีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด ได้ทำ
ให้แจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ
เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า เราไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่ง
ขึ้นไป หรือกรณียกิจที่เราทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาสั่งสมอีก เรา
ควรทำความช่วยเหลือแก่สงฆ์อย่างไรหนอ ลำดับนั้น ท่านพระทัพพ-
มัลลบุตรได้คิดว่า มิฉะนั้น เราควรแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหาร
แก่สงฆ์.
[๕๙๑] ครั้นท่านพระทัพพมัลลบุตรออกจากที่เร้นในเวลาเย็น
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เเล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ณ ตำบลนี้ได้เกิดความวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ข้า-
พระพุทธเจ้าแล มีอายุ ๗ ปีนับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต
คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสาวกจะบรรลุ ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุ
แล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่ง
ขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ข้าพระพุทธเจ้าทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับสั่งสม
อีก ข้าพระพุทธเจ้าควรทำความช่วยเหลือสงฆ์อย่างไรหนอ พระพุทธ-
เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า นั้นคิดตกลงใจว่า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้า

510