No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 398 (เล่ม 7)

คนมือเป็นแผ่น. . .
คนค่อม. . .
คนเตี้ย. . .
คนคอพอก...
คนมีเครื่องหมายติดตัว . . .
คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย. . .
คนถูกประกาศให้จับ. . .
คนเท้าปุก. . .
คนมีโรคเรื้อรัง. . .
คนแปลกเพื่อน. . .
คนตาบอดข้างเดียว. . .
คนง่อย. . .
คนกระจอก. . .
คนเป็นโรคอัมพาต...
คนมีอิริยาบถขาด. . .
คนชราทุพพลภาพ . . .
คนตาบอดสองข้าง. ..
คนใบ้ . . .
คนหูหนวก. . .
คนทั้งบอดและใบ้. . .
คนทั้งบอดและหนวก. . .
คนทั้งใบ้และหนวก. . .

398
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 399 (เล่ม 7)

คนทั้งบอด ใบ้ และหนวกยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์ร้บเธอเข้าหมู่
เป็นอันรับ เข้าดีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้า
สงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว .
วาสภคามภาณวาร ที่ ๑ จบ
อุกเขปนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม
[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็น
อาบัติ สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง
อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ?
เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสีย
ฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืน
อาบัตินั้นเสียเธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์
ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สละทิฏฐิลามก สงฆ์หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามก
นั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยก
เธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่ทำคืนอาบัติ
สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว

399
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 400 (เล่ม 7)

ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น เสียเธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ
และฐานไม่ทำคืน ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่สละทิฏฐิลามก
สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว
ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ท่านมีทิฏฐิลามก จงละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอ
เสียฐานไม่เห็นอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิ-
ลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง
อาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย
เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่
จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่า
กรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่
สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส
ท่าน ต้องอาบัติแล้วท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น เสีย ท่านมีทิฏฐิ-
ลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ
ที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่
เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็น
ธรรม.

400
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 401 (เล่ม 7)

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็น
อาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง
อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม เธอกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม
เห็นขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลาย
รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัติ
นั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจักทำคืนขอรับ สงฆ์ยกเธอ
เสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิ
ลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจักสละ ขอรับ สงฆ์ยก
เธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ และทำคืนอาบัติ . . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก . . .
เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก . . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น
อาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย
เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมเห็นขอรับ ผมจักทำคืนขอรับ ผมจัก
สละขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่
สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

401
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 402 (เล่ม 7)

อุกเขปนียกรรมที่เป็นธรรม
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ
สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ
แล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ
ที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลาย
รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัติ
นั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอ
เสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิ
ลามกนั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์
ยกเธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ . . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก . . .
เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก. . .
เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น
อาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้น เธอ
พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน
ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่คืนอาบัติ
และฐานไม่สละคืนทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.

402
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 403 (เล่ม 7)

พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น
[๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลคำ
นี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกันกลับทำในที่ลับหลัง การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็น
ธรรมไม่เป็นวินัย.
อุ. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบ
ถาม. . . ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ. . . ให้อมูฬหวินัย
แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย. . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . .
ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยกากรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรตัชชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรปฏิสารณียกรรม. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม. . . ชักภิกษุ
ผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม. . .
อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต . . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ให้อุปสมบทกุลบุตร การ
กระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำเสียในที่ลับหลัง
อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้
สงฆ์ย่อมมีโทษ.

403
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 404 (เล่ม 7)

อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่
สอบถาม. . .ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ . . . ให้อมูฬห-
วินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรตัชชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรปฏิสารณียกรรม. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม. . . ชัก
ภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ
เดิม . . . อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต . . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร
อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้
สงฆ์ย่อมมีโทษ.
[๒๐๐] อุ. กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ทำในที่พร้อมหน้า การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรมเป็นวินัยหรือหนอ
พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.
อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยการ
สอบถาม . . . ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ . . . ให้สติวินัย
แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย. . . ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย. . . ทำ
ตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . . ทำ
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรปฏิสารณียกรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม . . .

404
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 405 (เล่ม 7)

ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส. . . ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม. . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต . . . อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน. . .
อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย กรรม
ที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำในที่พร้อมหน้า อย่างนี้แล
อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่
มีโทษ.
อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยสอบ
ถาม. . . ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ. . . ให้สติวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรสติวินัย. . . ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย . . .ทำตัสสปาปิย-
สิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ตัชชนียกรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณีย
กรรม . . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม . . . ให้ปริวาสแก่
ภิกษุผู้ควรปริวาส . . . ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม. . .
ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต. . . อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน. . . อุปสมบท
กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย
และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.
[๒๐๑] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬิหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติ
วินัย . . . ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ครองอมูฬหวินัย การกระทำนั้น ชื่อว่า กรรม
เป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?

405
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 406 (เล่ม 7)

ภ. อุบายลี ถารกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย.
อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬห-
วินัย . . . ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกาธรรม . . . ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุควร
ตัชชนียกรรม. . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม. . . ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . .
ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม . . .ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม . . .
ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ปฎิสารณียกรรม. . . ทำปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรอุกเขปนียกรรม . . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม . . . ทำอุกเขป-
นียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส. . . ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติ . . . ให้
ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม . . . ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม . . . อัพภานภิกษุผู้ควร
มานัต . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน. . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสม-
บทกุลบุตร. . . อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็น
ธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย อุบาลี
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย . . . ให้สติวินัยแก่ภิกษุ
ผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬห
วินัย. . .ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำตัชชนียกรรมแก่

406
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 407 (เล่ม 7)

ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม. . . ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนีย
กรรม. . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . . ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม. . . ทำนิยส-
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพา
ชนียกรรม. . . ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม. . . ทำอุก-
เขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม . . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรอุกเขปนียกรรม . . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม. . . ทำอุก-
เขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส . . . ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติ . . .
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชัก
เข้าหาอาบัติเดิม . . . ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม . . . อัพภานภิกษุผู้
ควรมานัต . . . ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน. . . ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุป-
สมบทกุลบุตร. . . อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลีชื่อว่ากรรม
ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.
[๒๐๒] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย
. . . ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็น
ธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?
ภ. อุบาลี การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.
อุ สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย . . .
ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม . . . ทำตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม . . . ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม . . .
ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม. . . ทำปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรปฎิสารณียกรรม. . . ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม
. . . ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส . . . ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชัก

407