No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 288 (เล่ม 7)

พระพุทธนุญาตผ้าวัสสิกสาฏกเป็นต้น
[๑๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา นางวิสาขา
มิคารมาตา ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป ครั้นแล้ว
ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้ว
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าวัสสิกสาฏก อาคัน-
ตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช ยาคูประจำ
อนุญาตผ้าอุทกสาฎก สำหรับภิกษุณีสงฆ์.
วิสาขาภาณวาร จบ
พระนอนหลับลืมสติ
[๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีตแล้ว
นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว
น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้ามีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปตาม
เสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้น แล้วรับสั่ง
ถามพระอานนท์ว่าอานนท์ เสนาสนะนั่นเปรอะเปื้อนอะไร ?
อา. พระพุทธเจ้าข้า เดี่ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีต
แล้วนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้
สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝันเสนาสนะนี้นั้นจึงเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิพระ-
พุทธเจ้าข้า.

288
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 289 (เล่ม 7)

ภ. ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อที่กล่าวมานั่นย่อม
เป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่
รู้สึกตัว น้ำอสุจิจึงเคลื่อนเพราะความฝัน ภิกษุเหล่าใดนอนหลับ มีสติตั้งมั่น
รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชน ผู้
ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะพึง
เคลื่อนนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย วันนี้เรามีอานนท์เป็นปัจฉาสมณะเที่ยวเดินไปตามเสนาสนะ ได้เห็น
เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ จึงได้ถามอานนท์ว่า เสนาสนะนั่นเปรอะเปื้อน
อะไร อานนท์ชี้แจงว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอัน
ประณีตแล้ว นอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับลืมสติ
ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะน้ำนั้นจึงได้เปรอะเปื้อน
น้ำอสุจิ เราได้กล่าวรับรองว่าข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์
ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้น
นอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน ภิกษุเหล่าใด
นอนหลับ มีสติทั้งมั่น รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง
น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่
น้าอสุจิของพระอรหันต์จะพึงเคลื่อนนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

289
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 290 (เล่ม 7)

นอนหลับลืมสติมีโทษ ๕ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ
๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นทุกข์ ๑ ตื่นเป็นทุกข์ ๑ เห็นความฝันอันลามก ๑
เทพดาไม่รักษา ๑ อสุจิเคลื่อน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืม
สติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้แล.
นอนหลับคุมสติมีคุณ ๕ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติดังมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ
๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก
๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ
มีสติตังมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการนี้แล
พระพุทธานุญาตผ้านิสีทนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย รักษาจีวร
รักษาเสนาสนะ.
พระพุทธานุญาตผ้าปัจจัตถรณะ
สมัยต่อมา ผ้านิสีทนะเล็กเกินไป ป้องกันเสนาสนะได้ไม่หมด ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการผ้าปูนอนใหญ่เพียงใด เราอนุญาตให้ทำผ้าปูนอน
ใหญ่เพียงนั้น.
พระพุทธานุญาตผ้าปิดฝี
[๑๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเวลัฏฐสีสะพระอุปัชฌาย์ของท่าน
พระอานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาดหรืออีสุกสีใส ผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัวเพราะ
น้ำหนองของโรคนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาน้ำชุบ ๆ ผ้าเหล่านั้น แล้วค่อย ๆ ดึง

290
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 291 (เล่ม 7)

ออกมา ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเอาน้ำชุบ ๆ ผ้านั้นแล้วต่อย ๆ ดึงออกมา
ครั้นแล้ว จึงเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางภิกษุเหล่านั้น ได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็นโรคอะไร ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นโรค
ฝีดาดหรืออีสุกอีใส ผ้ากรังอยู่ที่ตัว เพราะน้ำหนอง พวกข้าพระพุทธเจ้าเอา
น้ำชุบ ๆ ผ้าเหล่านั้นแล้วค่อย ๆ ดึงออกไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุที่อาพาธ เป็นฝีก็ดี เป็นพุพองก็ดี
เป็นสิวก็ดี เป็นโรคฝีดาด หรือ อีสุกอีใสก็ดี.
พระพุทธานุญาต ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก
[๑๕๘] ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา ถือผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็คปาก
เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าเข้า ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปากของหม่อมฉัน ซึ่ง
จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่หม่อนฉัน ตลอดกาลนานด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าเช็คหน้า ผ้าเช็ดปาก ครั้นแล้วได้ทรง
ชี้แจง ให้นางวิสาขา มิคารมาตา เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ครั้นนางวิสาขา มิคารมาตา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.

291
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 292 (เล่ม 7)

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตผ้าเช็คหน้า ผ้าเช็คปาก.
องค์ของการถือวิสาสะ ๕ ประการ
[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าโรชะมัลลกษัตริย์ เป็นพระสหายของ
ท่านพระอานนท์ ได้ฝากผ้าโขมพัสตร์ผืนเก่า ๆ ไว้กับท่านพระอานนท์ และ
ท่านพระอานนท์ก็มีความต้องการด้วยผ้าโขมพัสตร์ผืนเก่า ๆ ภิกษุทั้งหลายจึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ เคยเห็นกันมา ๑ เคยคบกันมา ๑ เคยบอกอนุญาต
กันไว้ ๑ เขายังมีชีวิตอยู่ ๑ รู้ว่าเมื่อเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้.
พระพุทธานุญาตผ้าบริขาร
[๑๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายมีไตรจีวรบริบูรณ์แต่ยังต้อง
การผ้ากรองน้ำบ้าง ถุงบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าบริขาร.
พระพุทธานุญาตผ้าที่ต้องอธิฐานและวิกัป
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตไตรจีวรบ้าง ผ้าอาบน้ำฝนบ้าง ผ้าปูนงบ้าง ผ้าปูนอนบ้าง ผ้าปิดฝี
บ้าง ผ้าเช็ดหน้าบ้าง ผ้าเช็ดปากบ้าง ผ้าบริขารบ้าง ผ้าทั้งหมดนั้น ต้องอธิษ-
ฐานหรือวิกัปหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าไตรจีวร เราอนุญาตให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป
ผ้าวัสสิกสาฎกให้อธิษฐานตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากนั้น ให้วิกัป

292
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 293 (เล่ม 7)

ผ้านิสีทนะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าปัจจัตถรณะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่
ให้วิกัป ผ้าปิดฝี ให้อธิษฐานตลอดเวลาที่อาพาธ พ้นจากนั้นให้วิกัป ผ้า
เช็คหน้า ผ้าเช็ดปาก ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าบริขาร ให้อธิษฐาน ไม่
ใช่ให้วิกัป.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า ผ้าขนาดเล็กเพียงเท่าไรหนอ
ต้องวิกัป จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ผ้าขนาดเล็กยาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว โดยนิ้วพระสุคต เราอนุญาต
ให้วิกัป.
สมัยต่อมา ผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุล ของท่านพระมหากัสสป
เป็นของหนัก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการเย็บด้วยด้าย.
มุมสังฆาฏิไม่เสมอกัน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจียนมุมที่
ไม่เสมอออกเสีย.
ด้ายลุ่ยออก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดผ้าอนุวาต ผ้าหุ้มขอบ.
สมัยต่อมา แผ่นผ้าสังฆาฏิลุ่ยออก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เย็บ
ตะเข็บดังตาหมากรุก.
พระพุทธานุาญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด
[๑๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อสงฆ์กำลังทำจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้า
ตัดทั้งหมดไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส

293
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 294 (เล่ม 7)

อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าที่ต้องตัด ๒ ผืน ไม่ต้องตัด
๑ ผืน.
ผ้าต้องตัด ๒ ผืน ไม่ต้องผืนหนึ่ง ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตผ้า ๒ ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด.
ผ้า ๒ ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด ผ้าก็ยังไม่พอ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้น แดพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาต ให้เพิ่มผ้าเพลาะ แต่ผ้าทุกผืนที่ไม่ได้ตัด ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระให้ผ้าแก่โยมมารดาบิดาได้
[๑๖๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่งหลายผืนและท่าน
ปรารถนาจะให้ผ้านั้นแก่โยมมารดาบิดา ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วย
รู้ว่ามารดาบิดา เราจะพึงว่าอะไร เราอนุญาตให้สละแก่มารดาบิดา แต่ภิกษุ
ไม่พึงทำศรัทธาไทยให้ตกไป รูปใดทำให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติให้ครองผ้า ๒ ผืนเข้าบ้าน
[๑๖๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเก็บสังฆาฏิไว้ในวิหารอันธวัน
แล้วครองผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านบิณฑบาตคนร้ายขโมยผ้าสังฆาฎิ
นั้นไป ภิกษุนั้นจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรคร่ำคร่า.
ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า อาวุโส เพราะเหตุไร จึงใช้ผ้าเก่าครอง
จีวรคร่ำคร่าเล่า.

294
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 295 (เล่ม 7)

ภิกษุนั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมเก็บผ้าสังฆาฏิไว้ในวิหารอันธวัน
นี้แล้วครองอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต คนร้ายขโมย
ผ้าสังฆาฏินั้นไป เพราะเหตุนั้น ผมจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรคร่ำคร่า.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึงเข้าบ้าน
รูปใดเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ท่านพระอานนท์ ลืมสติครองแต่ผ้าอุคราสงฆ์กับผ้าอันตร-
วาสกเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ท่านพระอานนท์ว่า
อาวุโสพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามไว้แล้ว มิใช่หรือว่า
ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก ไม่พึงเข้าบ้าน ดังนี้ ไฉนพระคุณเจ้า
จึงมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกเข้าบ้านเล่า.
พระอานนท์ตอบว่าจริง ขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้าม
ไว้แล้วว่า ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึงเข้าบ้าน ก็แต่ว่า ผม
เข้าบ้านด้วยลืมสติ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เหตุที่เก็บผ้าไตรจีวรไว้ได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้ มี ๕ อย่างนี้ คือ เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็น
ว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้กรานกฐิน ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.

295
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 296 (เล่ม 7)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้ำอุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือ
เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้
กรานกฐิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือ
เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้
กรานกฐิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้
แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ ดือ
เจ็บไข้ ๑ ไปนอกสีมา ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ผ้าอาบน้ำฝน
ยังไม่ได้ทำหรือทำค้างไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้
มี ๕ อย่างนี้แล.
ถวายจีวรเป็นขอสงฆ์
[๑๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแส ภิกษุรูปหนึ่งจะพรรษาอยู่แต่ผู้เดียว คน
ทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุ ๔
รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์ แต่เรารูปเดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วย
เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์ ดังนี้ ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของ
สงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุ จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว จนถึงเวลาเดาะกฐิน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุจำพรรษารูปเดียว ประชาชน
ในถิ่นนั้นถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียว จนถึงเวลาเดาะกฐิน.

296
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 297 (เล่ม 7)

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล ประชาชนในถิ่นนั้น
ได้ถวายจีวรเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นจึงได้ดำริดังนี้
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุ ๔ รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์
แต่เราอยู่ผู้เดียว และคนเหล่านั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้า
ถวายแก่สงฆ์ ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี ครั้น
แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปพระนครสาวัตถี แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตไห้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้ากันแจก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุอยู่ผู้เดียวตลอดฤดูกาล ประชา -
ชนในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่าพวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรูปนั้นอธิษฐานจีวรเหล่านั้นว่า จีวรเหล่านี้ของเรา
ถ้าเมื่อภิกษุรูปนั้นยังไม่ได้อธิษฐานจีวรนั้น มีภิกษุรูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่ง
เท่า ๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๒ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น แต่ยังมิได้จับสลาก มีภิกษุ
รูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๓ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น และ
จับสลากเสร็จแล้วมีภิกษุรูปอื่นมา พวกเธอไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง.
สมัยต่อมา มีพระเถระ ๒ พี่น้อง คือ ท่านพระอิสิทาส ๑ ท่านพระ
อิสิภัตตะ ๑ จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้ไปอาวาสไกลบ้านแห่งหนึ่ง-
คนทั้งหลายกล่าวกันว่า นาน ๆ พระเถระทั้งสองชะได้มา จึงได้ถวายภัตตาหาร
พร้อมทั้งจีวร.
พวกภิกษุประจำถิ่นถามพระเถระทั้งสองว่า ท่านเจ้าข้า จีวรของสงฆ์
เหล่านั้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระคุณเจ้าทั้งสอง พระคุณเจ้าทั้งสองจักยินดีรับ
ส่วนแบ่งไหม.

297