No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 268 (เล่ม 7)

องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บจีวร
[๑๘๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร รับ
จีวรแล้วทิ้งไว้ในที่นั้นแหละ แล้วหลีกไป จีวรเสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ.
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่เก็บไว้ และยังมิได้เก็บ.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้า น้ำที่เก็บจีวร นี้
เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้
ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บ
จีวรชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.

268
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 269 (เล่ม 7)

สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ชอบแก่
สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธอนุญาตเรือนคลัง
[๑๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้
เก็บจีวรไว้ในมณฑปบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวร
ถูกหนูกัดบ้าง ถูกปลวกกินบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ
วิหาร เพิง เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้า ที่สงฆ์จำหมายให้เป็นเรือนคลัง.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้
สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง นี้เป็น
ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้
ให้เป็นเรือนคลัง การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด.
สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

269
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 270 (เล่ม 7)

องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง
[๑๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์ ไม่มีตนเฝ้า
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่
รักษาเรือนคลัง คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย.
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รักษา และยังมิได้รักษา.
วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษา
เรือนคลัง นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ่าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้า
ที่รักษาเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

270
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 271 (เล่ม 7)

สงฆ์สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
แล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธบัญญัติห้ามย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
[๑๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือน
คลัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงย้ายเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง รูปใดย้าย
ต้องอาบัติทุกกฏ.
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้แจกจีวร
[๑๔๖] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์มีมาก ภิกษุทั้ง
หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้าแจก.
สมัยต่อมา สงฆ์ทั้งปวงกำลังแจกจีวรได้ส่งเสียงอื้ออึง ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ปรกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ.
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง.
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ.
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่แจกแล้ว และยังมิได้แจก.

271
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 272 (เล่ม 7)

วิธีสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประ-
กาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร
นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นเจ้าหน้าที่แจกาจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจก
จีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้น พึงพูด.
สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรแล้ว ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนิไว้ด้วยอย่างนี้.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น เจ้าหน้าที่แจกจีวร ได้มีความปริวิตกดังนี้
ว่าควรแจกจีวรอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
แนะวิธีแจกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดเลือกผ้าก่อน แล้วดี
ราคาคิดถัวกัน นับภิกษุ ผูกผ้าเป็นมัด ๆ แล้วตั้งส่วนจีวรไว้.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ได้มีความปริวิตกว่า
พึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนกึ่ง
หนึ่งให้แก่พวกสามเณร.

272
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 273 (เล่ม 7)

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนของตน
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนของคนแก่ภิกษุผู้รีบเดินทางไป.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง ปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนพิเศษ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อให้สิ่งของทดแทนสมกัน.
ครั้งนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่แจกจีวรคิดว่า พึงให้ส่วนจีวรอย่างไรหนอ
คือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้มา หรือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้แก่พรรษา จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้สมยอมส่วนที่บกพร่อง แล้วทำการจับสลาก.
พระพุทธนุญาตน้ำย้อมเป็นต้น
[๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยโคมัยบ้าง ด้วย
ดินแดงบ้าง จีวรมีสีคล้ำ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ อย่าง คือ น้ำย้อม
เกิดแต่รากหรือเง่า ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ ๑ น้ำ
ย้อมเกิดแต่ใบไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ ๑.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยน้ำย้อมที่เย็น จีวรมีกลิ่นสาบ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อย้อมขนาดเล็กเพื่อต้มน้ำย้อม.
น้ำย้อมล้นหม้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกตะกร้อกันล้น.

273
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 274 (เล่ม 7)

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าน้ำย้อมต้มสุกแล้ว หรือยังไม่สุก จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้หยดหยาดน้ำลงในน้ำ หรือหลังเล็บ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายยกหม้อน้ำย้อมลง ทำหม้อกลิ้งไป หม้อแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบวยตักน้ำย้อมอันเป็นภาชนะมีด้าม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่มีภาชนะสำหรับย้อม จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
อ่างสำหรับย้อม หม้อสำหรับย้อม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายขยำจีวรในถาดบ้าง ในบาตรบ้าง จีวรฉีกขาด
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางสำหรับย้อม.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตากจีวรบนพื้นดิน จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องรองทำด้วยหญ้า.
เครื่องรองทำด้วยหญ้าถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ราวจีวร สายระเดียง.
ภิกษุทั้งหลายตากจีวรตอนกลาง น้ำย้อมหยดออกทั้งสองชาย ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกมุมจีวรไว้.

274
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 275 (เล่ม 7)

มุมจีวรชำรุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แค่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตด้ายผูกมุมจีวร.
น้ำย้อมหยดออกชายเดียว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ย้อมจีวร
พลิกกลับไปกลับมา แต่เมื่อหยาดน้ำยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไป.
สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้าเนื้อแข็ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จุ่ม
ลงในน้ำ
สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้ากระค้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทุบ
ด้วยฝ่ามือ.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัด
[๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ใช้จีวรที่ไม่ได้ตัด ใช้จีวร
ที่ย้อมน้ำฝาด มีสีเหมือนงาช้าง ประชาชนจึงพากันเพ่งโทษติเตียน โพนทะนา
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงใช้จีวรที่มิได้ตัด รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญชาให้แต่งจีวร
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางทักขิณาติรีชนบท พระ-
องค์ทอดพระเนตรเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นต้นนาสีเหลี่ยม
พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่าง ๆ ด้วยคันนา

275
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 276 (เล่ม 7)

สั้น ๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกัน
ไป ครั้นแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ
ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูน
คันนาคั่นในระหว่าง ๆ ด้วยคันนาสั้น ๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง
ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่ ?
อา. เห็นตามพระพุทธดำรัส พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลายให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่ ?
อา. สามารถ พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระ-
พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์
แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กราบทูล
ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์เป็นคนเจ้าปัญญา อานนท์ได้ซาบซึ้ง
ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้าชื่อกุสิก็ได้
ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่ออัทฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อ
วิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อดีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆย-
ยกะก็ได้ และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วย
ศัสตรา สมควรแก่สมณะและพวกศัตรูไม่ต้องการ.

276
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 277 (เล่ม 7)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้า
อันตรวาสกตัด.
เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกล
[๑๕0] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครเวสาลี พระองค์
เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกลระหว่างพระนครราชคฤห์ และระหว่างพระนคร
เวสาลีต่อกัน ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุหลายรูป หอบผ้าพะรุงพะรัง บ้างก็
ทูนห่อผ้า ที่พับดังฟูกขึ้นบนศีรษะ บ้างก็แบกขึ้นบ่า บ้างก็กะเดียดไว้ที่สะเอว
เดินมาอยู่ ครั้นแล้ว ได้ทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้ เวียนเมาเพื่อความมักมาก
ในจีวรเร็วนัก เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย ครั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขตพระนครเวสาลีนั้น
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ้าจีวรผืนเดียว ประทับนั่ง
อยู่กลางแจ้งตอนกลางคืน ขณะน้ำค้างตก ในราตรีเหมันตฤดู กำลังหนาว
ตั้งอยู่ระหว่างเดือน ๓ กับเดือน ๔ ต่อกัน ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวจึงได้มีแก่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ จึงห่มจีวรผืนที่สอง ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ความหนาวจึงได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ จึงทรง
ห่มจีวรผืนที่สาม ความหนาวไม่ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อปัจฉิมยามผ่าน
ไปแล้ว ขณะรุ่งอรุณแห่งราตรีอันเป็นเบื้องต้นแห่งความสดชื่น ความหนาว
ได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ จึงทรงห่มจีวรผืนที่สี่ ความหนาวไม่ได้มีแก่

277