No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 248 (เล่ม 7)

กับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอให้
ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับด่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า.
พระราชกุมารรับสั่งว่า อยู่เลย พ่อชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้า
คนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า เป็นพระกรุณายิ่งพระ
เจ้าข้า แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย.
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
[๑๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรง
ประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเบื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพา
กันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์
แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยัน
ของพวกพระสนมนั้น ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า พ่อ
อภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้ว
พากันเยย้หยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ย่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระ-
องค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหา
หมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด.
อ. ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม
ทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้.
พ. พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นพ่อจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ.
ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไป
รักษาพระเจ้าอยู่หัว ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า
แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอม

248
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 249 (เล่ม 7)

เสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์ แล้วรักษาโรค
ริดสีควงงอกของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช หายขาดด้วยทายาเพียง
ครั้งเดียวเท่านั้น.
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงหายประชวรจึงรับสั่ง
ให้สตรี ๕๐๐ นาง ตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว
ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เครื่องประดับทั้งปวง
ของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้า.
ชี. อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกว่าเป็น
หน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พ. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุข.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า.
เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์
[๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ป่วยเป็นโรค
ปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคน มารักษา ก็ไม่
สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมาก อนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์
บอกคืน นายแพทย์บางพวกได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจ-
กรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗.
ครั้งนั้นพวกคนร่ำรวยชาวพระนครราชคฤห์ได้มีความปริวิตกว่า
เศรษฐีคหบดีผู้นี้แล มีอุปการมากแก่พระเจ้าอยู่หัวและชาวนิคม แต่ท่านถูก

249
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 250 (เล่ม 7)

นายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี
คหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรม
ในวันท ๗ ก็ชีวกผู้นี้เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่มทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวก
เราพึงทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้ว
จึงพากันไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลแด่พระเจ้าพิม-
พิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
เศรษฐีคหบดีผู้นี้มีอุปการะมากแก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่าน
ถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐี
คหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจ-
กรรมในวันที่ ๗ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลี
พระบาทจงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐี
คหบดี.
ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่ง
ชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไปรักษาเศรษฐีคหบดี.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ
แล้วไปหาเศรษฐีคหบดี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้
ถามเศรษฐีคหบดีว่า ท่านคหบดี ถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัล
อะไรแก่ฉันบ้าง.
ศ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้า
ก็ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. ท่านคฤหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้.

250
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 251 (เล่ม 7)

ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจะนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม ?
ศ. ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้า อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง
ถลกหนังศีรษะ เปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว
แล้วแสดงแก่ประชาชนว่า ท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิท ๒ ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง
ใหญ่ตัวหนึ่ง พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรม
ในวันที่ ๕ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐี
คหบดีในวันที่ ๕ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม
สัตว์ตัวใหญ่นี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ส่วนพวกอาจารย์ที่
ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ เพราะท่านได้เห็น
สัตว์ตัวเล็กนี้ มันจักเจาะกินมันสมองของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๗ เศรษฐี
คหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวเล็กนี้ ชื่อว่า
อันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะ
เย็บหนังศีรษะแล้วได้ทายาสมานแผล.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดีได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง
เดียวตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้.

251
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 252 (เล่ม 7)

ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวาคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้าง
ที่สองตลอด ๗ เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด ๗ เดือนเถิด.
ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์
ว่าท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงาย
ตลอด ๗ เดือนได้ ดังนี้ มิใช่หรือ ?
ศ. ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่
ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้.
ชี. ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนถึงเท่านั้นไม่ได้
แต่ฉันทราบอยู่ก่อนแล้ว เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด
ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้ จะให้รางวัลอะไรแก่ฉัน ?
ศ. ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็
ยอมเป็นทาสของท่าน.
ชี. อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉัน
เลย และท่านก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แก่
พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอแล้ว.

252
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 253 (เล่ม 7)

ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัว
แสนกษาปณ์. ได้ให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์.
เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้
[๑๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีผู้เล่นกีฬา
หกคะเมน ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวย
ที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรค
นั้นเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่ง
ด้วยเอ็น ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าบุตรของ
เราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่
ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เรา
พึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้
รักษาบุตรของเรา ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีไปพระนครราชฤห์
แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ.
บุตรของข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่
เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น
ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระราชโอง
การสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราช
ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด พ่อชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี
แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี.

253
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 254 (เล่ม 7)

ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระราชโองการว่า อย่างนั้นขอเดชะ ฯ
แล้วไปพระนครพาราณสี เข้าไปหาเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี สังเกต
อาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี เชิญประชาชนให้ออก
ไปเสีย ขึงม่านมัดเศรษฐีบุตรไว้กับเสา ให้ภรรยาอยู่ข้างหน้า ผ่าหนังต้อง
นำเนื้องอกที่ลำไส้ออกแสดงแก่ภรรยาว่า เธอจงดูความเจ็บป่วยของสามีเธอ
ข้าวยาคูที่สามีเธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่สามีเธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระ
และปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนี้ สามีเธอนี้จึงซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นดังนี้ แล้วตัดเนื้องอกใน
ลำไส้ออก สอดใส่ลำไส้กลับดังเดิม แล้วเย็บหนังท้องทายาสมานแผล ต่อมา
ไม่นานเท่าไรนัก เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี ได้หายโรคแล้ว.
ครั้งนั้น เศรษฐีชาวพระนครพาราณสีคิดว่า บุตรของเราหายโรคพ้น
อันตรายแล้ว จึงให้รางวัลแก่ชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ชีวก
โกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์นั้นเดินทางกลับมาสู่พระนครราชคฤห์ตาม
เดิม.
เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชวรโรคผอมเหลือง
[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตราชาในกรุงอุชเชนี
ทรงประชวรโรคผอมเหลือง นายแพทย์ที่ใหญ่ ๆ มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคน มา
รักษาก็ไม่อาจทำให้โรคหาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก ครั้งนั้น พระเจ้าจัณฑปัช-
โชตได้ส่งราชทูตถือพระราชสาสน์ ไปในพระราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร จอม
เสนามาคธราชมีใจความว่า หม่อมฉันเจ็บป่วยเป็นอย่างนั้น ขอพระราชทาน
พระราชวโรกาสขอพระองค์โปรดสั่งหมอชีวก เขาจักรักษาหม่อมฉัน พระ-
เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช จึงได้ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด
พ่อชีวก เจ้าจงไปเมืองอุชเชนีรักษาพระเจ้าจัณฑปัชโชต.

254
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 255 (เล่ม 7)

ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระราชโองการ แล้วเดินทางไปเมือง
อุชเชนี เข้าไปในพระราชสำนัก แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชต ได้ตรวจอาการ
ที่ผิดแปลกของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอ
เดชะ ฯ ข้าพระพุทธเจ้าจักหุงเนยใส พระองค์จักเสวยเนยใสนั้น.
พระเจ้าจัณฑปัชโชตรับสั่งห้ามว่า อย่าเลย นายชีวก ท่านเว้นเนยใสเสีย
อาจรักษาเราให้หายโรคได้ด้วยวิธีใด ท่านจงทำวิธีนั้นเถิด เนยใสเป็นของน่า
เกลียด น่าสะอิดสะเอียนสำหรับฉัน.
ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกว่า พระเจ้าอยู่หัวพระองค์
นี้แลทรงประชวรเช่นนี้ เราเว้นเนยใสเสีย ไม่อาจรักษาพระองค์ให้หายโรคได้
เอาละเราควรหุงเนยใสให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ดังนี้ แล้วได้หุง
เนยใสด้วยเภสัชนานาชนิด ให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ครั้นแล้วฉุก
คิดได้ว่า เนยใสที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เสวยแล้ว เมื่อย่อย จักทำให้เรอ
พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ ถ้า
กระไรเราพึงทูลลาไว้ก่อน วันต่อมาจึงไปในพระราชสำนัก เข้าเฝ้าพระเจ้า
จัณฑปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ พวกข้าพระพุทธเจ้า
ชื่อว่าเป็นนายแพทย์ จักถอนรากไม้มาผสมยาชั่วเวลาครู่หนึ่งเช่นที่ประสงค์นั้น
ขอประทานพระราชวโรกาส ขอฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงมีพระราชโอง
การตรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายว่า หมอชีวก
ต้องการไปด้วยพาหนะใด จงไปด้วยพาหนะนั้น ปรารถนาไปทางประตู
ใด จงไปทางประตูนั้น ต้องการไปเวลาใดจงไปเวลานั้น ปรารถนาจะเข้ามา
เวลาใด จงเข้ามาเวลานั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้มีพระราชดำรัสสั่งเจ้าพนัก
งานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลาย ตามที่หมอชีวกกราบทูลขอพระ
ราชานุญาตไว้ทุกประการ.

255
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 256 (เล่ม 7)

ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้
วันละ ๕๐ โยชน์ หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าจัณฑ-
ปัชโชตด้วยกราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด ครั้นให้
พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยเนยใสแล้วก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนครไปโดย
ช้างพังภัทวดี. ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้
ทำให้ทรงเรอขึ้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า พนายทั้ง
หลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่มเนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมา
เร็วไว.
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้าง
พังภัททวดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิด
กับอมนุษย์ เดินทางได้วันละ ๖๐ โยชน์ พระเจ้าปัชโชตจึงดำรัสสั่งกากะมหาด
เล็กว่า พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญหมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์
พระเจ้าอยู่หัวรับส่งให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้แลมีมารยามาก
เจ้าอย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันชีวกโกมารภัจจ์ ผู้กำลังรับ
ประทานอาหารมื้อเช้าในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี จึงได้เรียนแก่ชีวก
โกมารภัจจ์ว่าท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เชิญท่านกลับไป.
ชี. นายกากะ ท่านจงรออยู่เพียงชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร
เชิญท่านรับประทานอาหารด้วยกันเถิด.
ก. ช่างเถิด ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่า นาย
กากะ ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้มีมารยามาก อย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.

256
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 257 (เล่ม 7)

ทันใดนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ได้แซกยาทางเล็บ พลางเคี้ยวมะขาม
ป้อมและดื่มน้ำรับประทาน แล้วได้ร้องเธอเชิญกากะมหาดเล็กว่า เชิญนาย
กากะมาเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทานด้วยกัน กากะมหาดเล็กจึงคิดว่า
หมอคนนี้แลกำลังเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทาน คงไม่มีอะไรจะให้
โทษ แล้วเคี้ยวมะขามป้อมครึ่งผล และดื่มน้ำรับประทาน มะขามป้อมครึ่ง
ผลที่เขาเคี้ยวนั้นได้ระบายอุจจาระออกมาในที่นั่งเอง.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เรียนถามชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์
ชีวิตของข้าพเจ้าจะรอดไปได้หรือ ?
ชีวกโกมารภัจจ์ตอบว่า อย่ากลัวเลย พ่อนายกากะ ท่านจักไม่มี
อันตราย แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้
เพราะเหตุนั้นเราไม่กลับละ แล้วมอบช้างพังภัททวดีแก่นายกากะ เดินทางไป
พระนครราชคฤห์รอนแรมไปโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์แล้วเข้าเฝ้าพร ะ
เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูล เรื่องราวนั้นให้ทรงทราบทุก
ประการ.
พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งว่า พ่อชีวก เจ้าไม่กลับไปนั้นชื่อว่าได้ทำ
ถูกแล้ว เพราะพระราชาองค์นั้นเหี้ยมโหด จะพึงสั่งให้สำเร็จโทษเจ้าเสียก็ได้.
ครั้นพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงหายประชวร ทรงส่งราชทูตไปที่สำนัก
ชีวกโกมารภัจจ์ว่า เชิญหมอชีวกมา เราจักให้พร.
ชีวกกราบทูลตอบไปว่า ไม่ต้องไปก็ได้ พระพุทธเจ้าข้า ขอใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาทจงทรงโปรดอนุสรณ์ถึงความดีของข้าพระพุทธเจ้า.

257