No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 238 (เล่ม 7)

การรื้อกฐิน มีการทลีกไปเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นี้เสียละ ดังนี้ จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาส
ปลิโพธขาดที่หลัง.
สองบทว่า จีวรํ อาทาย มีความว่า ถือเอาจีวรที่ยังไม่ทำ (หลีกไป)
บทว่า พหิสีมาคตสฺส มีความว่า ไปสู่วัดอื่นที่ใกล้เคียง.
สองบทว่า เอวํ โหติ มีความว่า ความรำพึงอย่างนั้นย่อมมีเพราะ
ได้เห็นเสนาสนะที่ผาสุก หรือสหายสมบัติในวัดนั้น.
ส่วนการรื้อกฐินมีความเสร็จเป็นที่สุดนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน จริงอยู่
อาวาสปลิโพธนั้น ย่อมขาด ในเมื่อสักว่าเกิดความคิดในจิตขึ้นว่า เราจักไม่
กลับมาละ เท่านั้น. อันที่จริง ถึงในคัมภีร์บริวารท่านก็กล่าวว่า:-
การรื้อกฐินมีความเสร็จเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นิเสียละ ดังนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน
จีวรปลิโพธขาด ก่อเมื่อจีวรเสร็จแล้ว.
แม้ในการแจกมาติกาที่เหลือ พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ แต่ในมาติกาที่เหลือ
มีแปลกกันดังนี้:-
ในการรื้อกฐินมีความตกลงใจเป็นที่สุด ปลิโพธทั้งสองย่อมขาดพร้อม
กัน ในเมื่อมาตรว่าความคิดเกิดขึ้นว่า เราจักไม่ให้ทำจีวรนี้ละ เราจักไม่กลับ
มาละ ดังนี้ทีเดียว. แท้จริง (ในคัมภีร์บริวาร) ท่านก็กล่าวไว้ว่า:-

238
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 239 (เล่ม 7)

การรื้อกฐินมีความตกลงใจเป็นที่สุด
พระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพระอาทิตย์ตรัสไว้แล้ว,
เมื่อภิกษุหลีกไปด้วย คิดว่า เราจักทิ้งอาวาส
นี้เสียละ ดังนี้ ปลิโพธทั้งสองขาดไม่ก่อน
ไม่หลังกัน.
ความขาดปลิโพธในการรื้อกฐินทั้งปวง พึงทราบโดยนัยอย่างนี้:-
ก็แล ความขาดปลิโพธนั้น บัณฑิตอาจทราบได้ตามนัยที่กล่าวนี้
และตามที่มีมาในคัมภีร์บริวาร, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวโดยพิสดาร
ส่วนความสังเขปในกฐินุทธาร ๕ มี นาสนนฺติกา เป็นต้นนี้ ดังนี้:-
ในการรื้อกฐินที่มีความเสียเป็นที่สุด อาวาสปลิโพธขาดก่อน เมื่อจีวร
เสีย จีวรปลิโพธจึงขาด.
ที่มีการฟังเป็นที่สุด จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธขาดพร้อม
กับการฟังของภิกษุนั้น.
ที่มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด อาวาสปลิโพธขาดก่อน, จีวรปลิโพธขาด
ต่อเมื่อสิ้นความหวังจะได้จีวรแล้ว.
ก็การรื้อกฐินมีความสิ้นหวังเป็นที่สุดนี้ มีหลายประเภท มีการแสดง
คลุกคละกันไปกับการรื้อนอกจากนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมได้ในที่ซึ่งไม่
ได้หวัง, ไม่ได้ในที่ซึ่งหวัง, เธอมีความรำพึงอย่างนี้ว่า เราจักทำจีวรนี้ในที่
นี้ละ, จักไม่กลับละ ดังนี้, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแยกตรัส
ให้พิสดารข้างหน้า, ไม่ตรัสไว้ในลำดับนี้. แต่ได้ตรัสการรื้อกฐินมีความก้าว
ล่วงสีมาเป็นที่สุด เป็นลำดับแห่งการรื้อกฐินมีการฟังเป็นที่สุดในลำดับนี้.
ในการรื้อกฐินที่มีความก้าวล่วงสีมาเป็นที่สุดนั้น จีวรปลิโพธขาดก่อน,
อาวาสปลิโพธย่อมขาดต่อภิกษุนั้นอยู่นอกสีมา.

239
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 240 (เล่ม 7)

ในการรื้อกฐิน ที่มีการรื้อพร้อมกัน ปลิโพธ ๒ ขาดไม่ก่อนไม่หลังกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกฐินุทธาร ๗ ในอาทายวารอย่าง
นี้แล้ว, จึงทรงแสดงกฐินุทธาร ๗ เหล่านั้นแลอีกแห่งจีวรที่ภิกษุทำค้างไว้ ใน
สมาทายวารบ้าง ตามที่เหมาะในอาทายสมาทายวารบ้าง.
เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกฐินุทธารทั้งหลาย ซึ่ง
สมด้วยนัยเป็นต้นว่า อนธิฏฺฐิเตน ซึ่งพาดพิงถึงวิธีนี้ว่า เราจักไม่กลับ ดัง
นี้เท่านั้น, ไม่พาดถึงวิธีนี้ว่า เราจักกลับภายในสีมา เราจักไม่กลับ ดังนี้ เลย.
เบื้องหน้าแต่นั้น ครั้นทรงแสดงกฐินุทธารที่มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด
หลายครั้ง โดยนัยอันคลุกคละกับกฐินุทธารนอกนี้ ด้วยนัยเป็นต้นว่า จีวรา-
ลาย ปกฺกมฺติ แล้วทรงแดสงกฐินุทธารทั้งหลายที่สมควรใน มาติกา มี
นิฏฺฐานนฺติกา เป็นอาทิ เนื่องด้วยภิกษุผู้ไปสู่ทิศ และเนื่องด้วยภิกษุผู้มี
ความอยู่สำราญอีก.
ครั้นทรงแสดงกฐินุทธารโดยประเภทอย่างนี้แล้ว, บัดนี้ จะทรงแสดง
ปลิโพธซึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่ปลิโพธทั้งหลาย ที่ตรัสไว้ว่า:-
ปลิโพธทั้งหลาย ย่อมขาดด้วยกฐินุทธารนั้น ๆ ดังนี้ จึงตรัส
คำว่า ภิกษุทั้งหลาย ปลิโพธแห่งกฐินมีองค์ ๒ เหล่านี้ ดังนี้ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺเตน มีความว่า อาวาสนั้นเป็นสถาน
อันภิกษุสละแล้ว ด้วยความสละอันใด ชื่อ ความสละอันนั้น ด้วยความ
สละนั้น.
แม้ในความวางและความปล่อยก็นัยนี้แล คำที่เหลือทุก ๆ สถาน ตื้น
ทั้งนั้นฉะนี้และ.
อรรถกถากฐินขันธกะ จบ

240
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 241 (เล่ม 7)

จีวรขันธกะ
เรื่องคนมีทรัพย์ ชาวพระนครราชคฤห์
[๑๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น พระนครเวสาลี เป็นบุรีมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง
และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มี
สวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ และมีหญิงงามเมือง
ชื่ออัมพปาลีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณ
เฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี คนทั้งหลาย
ที่มีความประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ ๕๐ กษาปณ์
พระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกล่าวประมาณ เพราะนางอัมพปาลีหญิงงามเมือง
นั้น ครั้งนั้น พวกคนมีทรัพย์คณะหนึ่ง เป็นชาวพระนครราชคฤห์ ได้เดินทาง
ไปพระนครเวสาลีด้วยกรณียะบางอย่าง และได้เห็นพระนครเวสาลีมั่งคั่ง กว้าง
ขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง
มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗
สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบ
ด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี
คนทั้งหลายที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ ๕๐
กษาปณ์ และพระนครเวสาลี งามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพ-
ปาลีหญิงงามเมืองนั้น ครั้นพวกเขาเสร็จกรณียะนั้นในพระนครเวสาลีแล้ว กลับ
มาพระนครราชคฤห์ตามเดิม เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้น

241
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 242 (เล่ม 7)

แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ พระนครเวสาลี เป็นบุรีที่มั่งคั่ง
กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗
หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี
๗,๗๐๗ สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเส้นหา
ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉาย ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องและประโคม
ดนตรี คนทั้งหลายประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วยราคาตัวคืนละ ๕๐
กษาปณ์ และพระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพปาลี
หญิงงามเมืองนั้น ขอเดชะฯ แม้ชาวเราจะตั้งหญิงงามเมืองขึ้นบ้าง ก็จะเป็น
การดี
พระราชารับสั่ง พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเสาะหากุมารีผู้มี
ลักษณะงามเช่นนั้น ที่ควรจะคัดเลือกให้เป็นหญิงงามเมือง.
กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์
ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉม
สดราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง พวกคนมีทรัพย์ชาว
พระนครราชคฤห์ จึงได้คัดเลือกกุมารีสาลวดีเป็นหญิงงามเมือง ครั้นนางกุมารี
สาลวดีได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนักก็ได้เป็นผู้ชำนาญ
ในการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการ
ตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์ ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดี
หญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์ นางจึงมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็น
ที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใคร ๆ ทราบว่าเรามีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อม
หมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้สั่งคนเฝ้าประตู
ไว้ว่า ดูก่อนนายประตู โปรดอย่าให้ชายใด ๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน
จงบอกให้เขาทราบว่าเป็นไข้นะ.

242
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 243 (เล่ม 7)

คนเฝ้าประตูนั้นรับคำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า จะปฏิบัติตามคำสั่ง
เช่นนั้น หลังจากนั้น อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย
และสั่งกำชับทาสีว่า แม่สาวใช้ จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่า ๆ แล้วนำออก
ไปทิ้งกองหยากเยื่อ.
ทาสีนั้นรับคำนางว่า ทำเช่นนั้นได้ เจ้าค่ะ ดังนี้ แล้ววางทารกนั้น
ลงบนกระด้งเก่า ๆ นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองหยากเยื่อ.
ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าขายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้
ทอดพระเนตรเห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า
พนาย นั้นอะไร ฝูงการุมกันตอม ?
ม. ทารก พ่ะย่ะค่ะ
อ. ยังเป็นอยู่หรือ พนาย ?
ม. ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ
อ. พนาย ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้น ไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้.
คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาว่า อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ แล้วนำทารก
นั้นไปวังเจ้าชายอภัย มอบแก่นางนมว่า โปรดเลี้ยงไว้ด้วย อาศัยคำว่า ยังเป็น
อยู่ เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก ชีวกนั้น อันเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขา
จึงได้ตั้งนามสกุลว่า โกมารภัจจ์ ต่อมาไม่นานนัก ชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เตียงสา
จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่า ใครเป็นมารดาของ
เกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ.
เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่า
เราเป็นบิดาของเจ้า เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้.

243
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 244 (เล่ม 7)

ชีวกโกมารภัจจ์จึงมีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านั้นแล คนที่ไม่มี
ศิลปะจะเข้าฟังพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้.
เรียนศิลปะทางแพทย์
[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ
เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ จึงไม่ทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางไป
เมืองตักกสิลาเดินรอนแรมไปโดยลำดับถึงเมืองตักกสิลา แล้วเข้าไปหานายแพทย์
ผู้นั้น ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แก่นายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์ กระผมประ-
สงค์จะศึกษาศิลปะ.
นายแพทย์สั่งว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น จงศึกษาเถิด.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย
และวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม ครั้นล่วงมาได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า ตัว
เราเรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้ก็ไม่ลืม แล ะ
เราเรียนมาได้ ๗ ปี แล้วยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไรจักสำเร็จเสียที จึงเข้าไป
หานายแพทย์ผู้นั้นแล้วได้เรียนถามว่า ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มาก
เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และกระผมได้เรียนมา
เป็นเวลา ๗ ปีก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ.
นายแพทย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น เธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมือง
ตักกสิลา ระยะทาง ๑ โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา.
ชีวกโกมารภัจจ์รับคำนายแพทย์ว่า เป็นเช่นนั้นท่านอาจารย์ ดังนั้น
แล้วถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใดที่ไม่
เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่ง จึงเดินทางกลับเข้าไปหานายแพทย์ และได้กราบเรียน
คำนี้ต่อนายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์กระผมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑
โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง.

244
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 245 (เล่ม 7)

นายแพทย์บอกว่า พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอ
จะครองชีพได้ แล้วได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจจ์.
ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ถือเสบียงเล็กน้อยนั้นแล้ว ได้เดินทางมุ่งไป
พระนครราชคฤห์ ครั้นเดินทางไปเสบียงเพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดลงที่เมือง
สาเกตในระหว่างทาง จึงเกิดความปริวิตกว่าหนทางเหล่านี้แลกันดารอัตคัดน้ำ
อัตคัดอาหาร คนไม่มีเสบียงจะเดินไป ทำไม่ได้ง่าย จำเราจะต้องหาเสบียง.
ภาคปฏิบัติงานแพทย์
[๑๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภรรยาเศรษฐีที่เมืองสาเกต เป็นโรคปวด
ศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถ
รักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก ชีวกโกมารภัจจ์จึงเข้าไปสู่เมืองสาเกต
ถามคนทั้งหลายว่า พนาย ใครเจ็บไข้บ้าง ฉันจะรักษา คนทั้งหลายพากัน
บอกว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีนั้นปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี เชิญไปรักษาภรรยา
เศรษฐีเถิดท่านอาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์จึงเดินทางไปบ้านเศรษฐีคหบดี ครั้น
ถึงแล้วได้สั่งคนเฝ้าประตูว่า พ่อนาย ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า
นายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมนาย.
คนเฝ้าประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้นขอรับ อาจารย์
ดังนั้นแล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี แล้วได้กราบเรียนว่า นายขอรับ หมอ
มาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมนาย.
ภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อนายเฝ้าประตู หมอเป็นคนเช่นไร ?
พ. เป็นหมอหนุ่ม ๆ ขอรับ.
ภ. ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่ม ๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นาย
แพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้
ขนเงินไปเป็นอันมาก.

245
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 246 (เล่ม 7)

นายประตูนั้น จึงเดินออกมาหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้เรียนว่า ท่าน
อาจารย์ ภรรยาเศรษฐีพูดอย่างนี้ว่า ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่ม ๆ จัก
ทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่
สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก.
ชี. พ่อนายเฝ้าประตู ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า นาย
ขอรับ หมอสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอนายอย่าเพิ่งให้อะไร ๆ ต่อเมื่อหายโรคแล้ว
นายประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด
นายประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นอย่างนั้น ขอรับอาจารย์ ดังนั้น
แล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ได้กราบเรียนว่า นายขอรับ หมอบอกข่าวมา
อย่างนี้ว่า ขอนายอย่าเพิ่งให้อะไร ๆ ก่อน ต่อเมื่อนายหายโรคแล้วประสงค์
จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด.
ภรรยาเศรษฐีสั่งว่า พ่อนายประตู ถ้าเช่นนั้นเชิญหมอมา.
นายประตูรับคำภรรยาเศรษฐีว่า อย่างนั้นขอรับ แล้วเข้าไปหาชีวก
โกมารภัจจ์ แล้วได้แจ้งให้ทราบว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีขอเชิญท่าน
เข้าไป.
เริ่มรักษาภรรยาเศรษฐี
ลำดับนั้นชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ครั้นแล้วตรวจดูความ
ผันแปรของภรรยาเศรษฐี แล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภรรยาเศรษฐีว่า นายขอรับ
ผมต้องการเนยใสหนึ่งซองมือ ครั้นภรรยาเศรษฐีสั่งให้หาเนยใสหนึ่งซองมือ
มาให้ชีวกแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์จึงหุงเนยใสหนึ่งซองมือนั้น กับยาต่าง ๆ ให้
ภรรยาเศรษฐีนอนหงายบนเตียง แล้วให้นัตถุ์ ขณะนั้นเนยใสที่ให้นัตถุ์นั้น
ได้พุ่งออกจากปาก ภรรยาเศรษฐีจึงถ่มเนยใสนั้นลงในกระโถน สั่งทาสีว่า แม่

246
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 247 (เล่ม 7)

สาวใช้จงเอาสำลีซับเนยใสนี้ไว้ ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้คิดว่า แปลกจริงพวกเรา
แม่บ้านคนนี้ช่างสกปรก เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทั้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้
ส่วนยาของเรามีราคาแพง ๆ มากกว่าปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าว
อะไรแก่เราบ้าง.
ขณะนั้นภรรยาเศรษฐีสังเกตรู้อาการอันแปลของชีวกโกมารภัจจ์ แล้ว
ได้ถามคำนี้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า อาจารย์ท่านแปลกใจอะไรหรือ ?
ชี. เวลานี้เรากำลังคิดอยู่ว่า แปลกจริงแม่บ้านคนนี้ช่างสกปรกเหลือ
เกิน เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทิ้ง ยิ่งใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามี
ราคาแพง ๆ มากกว่าปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง
ภ. อาจารย์ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นคนมีเหย้าเรือน จำเป็นจะต้องรู้จัก
สิ่งที่ควรสงวน เนยใสนี้ยังดีอยู่จะใช้เป็นยาสำหรับทาเท้าพวกทาสหรือกรรมกร
ก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ อาจารย์ท่านอย่าได้คิดวิตกไปเลย ค่าขวัญ
ข้าวของท่านจักไม่ลดน้อย.
คราวนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กำจัดโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐี ซึ่ง
เป็นมา ๗ ปีให้หาย โดยวิธีนัตถุ์ ยาคราวเดียวเท่านั้น ครั้นภรรยาเศรษฐีหาย
โรคแล้ว ได้ให้รางวัลชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรเศรษฐี
ได้ทรามว่ามารดาของเราหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์
บุตรสะใภ้ได้ทราบว่าแม่ผัวของเราหายโรคแล้ว ก็ได้ให้รางวัล ๔,๐๐๐ กษาปณ์
เศรษฐีคหบดีทราบว่าภรรยาของเราหายโรคแล้วได้เพิ่มรางวัลให้อีก ๔,๐๐๐
กษาปณ์ และให้ ทาส ทาสี รถม้าด้วย ชีวกโกมารภัจจ์จึงรับ เงิน ๑๖๐๐๐ กษาปณ์
กับทาส ทาสี และรถม้าเดินทางมุ่งไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระนครราชคฤห์
โดยลำดับ เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์

247