No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 18 (เล่ม 7)

ภิกษุอาพาธเป็นหน่อที่เท้า
[๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นหน่อที่เท้า ภิกษุ
ทั้งหลายพยุงภิกษุรูปนั้นให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระผู้มีพระภาค
เจ้าเสด็จเที่ยวจาริกตานเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุกำลังพยุงภิกษุ
รูปนั้นให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุพวกนั้น
แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็นอะไร ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นหน่อที่เท้า พวกข้าพระพุทธเจ้าต้อง
พยุงท่านรูปนี้ให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธานุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ
[ ๑๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีเท้าชอกช้ำ หรือมีเท้าแตก หรืออาพาธ
มีหน่อที่เท้า สวมรองเท้าได้.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีเท้ามิได้ล้าง ขึ้นเตียงบ้างขึ้นตั่งบ้าง ทั้งจีวร
ทั้งเสนาสนะ ย่อมเสียหาย พวกภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรอง
เท้าในขณะที่คิดว่าประเดี่ยวจักขึ้นเตียง หรือขึ้นตั่ง.
สมัยต่อมา เวลากลางคืน ภิกษุทั้งหลายเดินไปสู่โรงอุโบสถก็ดี สู่ที่
ประชุมก็ดี ย่อมเหยียบตอบบ้าง หนามบ้าง ในที่มืด เท้าทั้งสองได้รับบาดเจ็บ
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

18
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 19 (เล่ม 7)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภายในอาราม เราอนุญาตให้สวมรองเท้า และใช้คบเพลิง ประทีป
ไม้เท้าได้.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้
ครั้นต่อมา ถึงเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระฉัพพัคคีย์ลุกขึ้นสวม
เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าว
ดิรัจฉานกถามีเรื่องต่าง ๆ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์
เรื่องขุนพล เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเปิดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยัง
ภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . ต่างก็เพ่ง
โทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี
ได้ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วยไม้แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฎะ ดังอึกทึก
กล่าวดิรัจฉานกถา มีเรื่องต่าง ๆ คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร. . . เรื่องความ
เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลาย
ให้เคลื่อนจากสมาธิ แล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วย
ไม้ แล้ว เดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่อง

19
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 20 (เล่ม 7)

ต่าง ๆ คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร. . . เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย
ประการนั้น ๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิ
บ้าง จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ อันภิกษุ
ไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล
[๑๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่จาริกทางพระนครพาราณสี
เสด็จพระพุทธดำเนินสู่จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี ทราบว่า พระ-
องค์ประทับอยู่ในป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสีนั้น.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม
เขียงเท้าไม้ จึงให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาล
เล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อมเหี่ยวแห้ง ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้ให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาล
มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลเล็ก ๆ ถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง พระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
ชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.

20
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 21 (เล่ม 7)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์สั่งให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม
ต้นตาลเล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ให้ตัดต้นตาลเล็ก ๆ แล้วเอาใบตาลทำเขียงเท้าสวมเล่า
ต้นตาลเล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ชาวบ้านมีความสำคัญในต้นไม้ว่ามีชีวะ การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบตาล อัน
ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเขียง
เท้าสานด้วยใบตาล จึงได้ให้ตัดต้นไม้ไผ่เล็ก ๆ แล้ว เอาใบไผ่มาทำเขียงเท้า
สวม ไม้ไผ่เล็ก ๆ นั้น ถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้จัดไม้ไผ่
เล็ก ๆ แล้วเอาใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ไม้ไผ่เล็ก ๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อม
เหี่ยวแห้ง พระสมถะเชื้อสายศากยบุตรย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมี
ชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

21
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 22 (เล่ม 7)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า. . .ครั้น แล้วรับ สั่งกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเขียงเท้าสานด้วยใบไผ่ อันภิกษุไม่พึง
สวม รูปใดสวน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด
[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางนครภัททิยะ เสด็จ
พระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนครภัททิยะ ทราบว่า พระองค์ประทับ
อยู่ในป่าชาติยาวัน เขตพระนครภัททิยะนั้น.
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ ตั้งหน้าพากเพียร
ตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน
ด้วยหญ้าทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเอง
บ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง
ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก
ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ พวกเธอละเลยอุเทศ
ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่าง
ก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเล่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ จึง
ได้ทั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้
ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง
เท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน
ด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้ส่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง
ได้เองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ได้ทำเองบ้าง ได้สั่ง

22
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 23 (เล่ม 7)

ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ภิกษุเหล่านั้นได้ล่ะเลยอุเทศ ปริปุจฉา
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลาย
อยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่ง
เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วย
ใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ย่อมละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
เล่าโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้
สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำ
บ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง
เท้าสานด้วยใบเป้ง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ โมฆบุรุษเหล่านั้น
ได้ละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส . . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้า เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระ-

23
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 24 (เล่ม 7)

ต่าย เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง เขียงเท้าสานด้วย
แฝก เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำ เขียงเท้าประดับ
ด้วยเงิน เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ เขียง
เท้าประดับด้วยแก้วผลึก เขียงเท้าประกอบด้วยทองสัมฤทธิ์ เขียงเท้าประดับ
ด้วยกระจก เขียงเท้าทำด้วยดีบุก เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี เขียงเท้าทำด้วยทอง
แดง รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฎ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เขียงเท้าบางชนิดที่สำหรับสวมเดิน อัน
ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับ
ใช้สวมเดิน ๓ ชนิด คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ ๑ เขียงเท้าที่
สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบในที่ชำระ ๑.
พระพุทธบัญญัติห้ามจับโค
[๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ในพระนครภัททิยะ
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางพระนครสาวัตถี เสด็จ
พระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประ-
ทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์จับโคกำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดี ที่เขา
บ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด ถูกต้ององค์
กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง ประชาชนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้จับโคกำลัง
ข้ามน้ำ ที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด

24
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 25 (เล่ม 7)

ถูกต้ององค์กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจับเขาโค หูโค คอโค หางโค ไม่พึงขี่หลังโค รูปใด
จับแลขึ้นขี่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง องค์กำเนิดโค อันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่
พึงถูกต้อง รูปใดถูกต้อง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุไม่พึงฆ่าลูกโค รูปใดฆ่า
พึงปรับอาบัติตามธรรม.
เรื่องยาน
[๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคียี์ขี่ยานซึ่งเทียมด้วยโคตัวเมีย
มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนจึง
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้า
คงคาและแม่น้ำมหี ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง-
ไปด้วยยาน รูปใดไปต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบทเพื่อเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่อาพาธเสียกลางทาง และได้หลีกจากทางนั่งอยู่ ณ
โคนไม้แห่งหนึ่งประชาชนพบภิกษุนั้น จึงเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปไหน
ขอรับ ?
ภิกษุนั้นตอบว่า อาตมาจะไปพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้า.

25
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 26 (เล่ม 7)

ป. นิมนต์มา ไปด้วยกันเถิด ขอรับ.
ภิ. อาตมาไม่อาจ เพราะกำลังอาพาธ.
ป. นิมนต์มาขึ้นยานเถิด ขอรับ.
ภิ. ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามยาน.
ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ ดังนั้นจึงไม่ยอมขึ้นยาน ครั้นไปถึงพระนครสาวัตถี
แล้วจึงแจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้คิดกันว่า ยานที่ทรงอนุญาตนั้นเทียมด้วยโค
ตัวเมีย หรือเทียมด้วยโคตัวผู้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียม
ด้วยโคตัวผู้และยานที่ใช้มือลาก.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่ผาสุกอย่างแรง เพราะความกระเทือนแห่ง
ยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตเก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้า
ที่เขาผูกติดกับไม้คาน.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่
[๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่
คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อ

26
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 27 (เล่ม 7)

ดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ
เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว
เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาด
ขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาด
ในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง ชาวบ้านเที่ยวชม
วิหารไปพบเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ คือ เขียงมีเท้าสงเกินประมาณ เตียง
มีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตร
ลวดลายเครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้
เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็น
ต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทอง
และเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนาง-
ฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่อง-
ลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด
เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้หนังผืนใหญ่
[๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ห้ามที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ จึงใช้หนังผืนใหญ่ คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง
หนังเสือเหลือง หนังเหล่านั้นตัดตามขนาดเตียงบ้าง ตัดตามขนาดตั่งบ้าง

27