No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 494 (เล่ม 74)

พร้อมกับเมื่อเราทำสัจกิริยา มาณพ
หวั่นไหวด้วยกำลังพิษไม่รู้สึกตัว ได้ฟื้นกาย
หายโรค ลุกขึ้นได้ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของ
เราไม่มี นี้เป็นสัจบารมีของเรา ฉะนี้แล.
จบ กัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑
อรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.
บทว่า กณฺหทีปายโน อิสิ คือดาบสมีชื่อว่า กัณหทีปายนิะ.
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นชื่อว่า ทีปายนะเข้าไปหาดาบส
มัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนถูกเสียบหลาว ไม่ทอดทิ้งดาบสนั้นด้วยศีลคุณ
ของเขา ได้ยืนพิงอยู่กับหลาวตลอด ๓ ยาม จึงได้ปรากฏชื่อว่า กัณหทีปายนะ
เพราะร่างกายมีสีดำ ด้วยหยาดเลือดแห้งที่ไหลจากร่างกายของดาบสนั้นแล้ว
ลงมาใส่. บทว่า ปโรปญฺญาสวสฺสานิ คือยิ่งกว่า ๕๐ ปี บทว่า อนภิรโต
จรึ อหํ คือเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ยินดี ในเสนาสนะสงัดและใน
ธรรมอันเป็นอธิกุศล. ครั้นบวชแล้วพระมหาสัตว์ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
อยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อจากนั้นก็อยู่อย่างไม่ยินดี.

494
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 495 (เล่ม 74)

ก็เพราะเหตุไร พระมหาบุรุษในอัตภาพหลายแสนมีอัธยาศัยในเนก-
ขัมมะยินดีอยู่พรหมจรรย์ แต่ในจริยานี้ไม่ยินดีพรหมจรรย์นั้น. เพราะความ
หวั่นไหวแห่งความเป็นปุถุชน. ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ครองเรือนใหม่เล่า
เพราะครั้งแรกเห็นโทษในกามทั้งหลาย ด้วยมีอัธยาศัยในเนกขัมมะจึงบวช
เมื่อเป็นดังนั้นพระมหาบุรุษจึงเกิดความไม่ยินดีด้วยมิได้ใส่ใจโดยแยบคาย.
พระมหาบุรุษ แม้เมื่อไม่สามารถบรรเทาความไม่ยินดีนั้นได้ จึงเชื่อกรรมและ
ผลแห่งกรรม ละสมบัติใหญ่ออกจากเรือน ละสมบัติใด ก็กลับไปเพื่อสมบัติ
นั้นอีก. รังเกียจคำติเตียนนี้ว่า กัณหทีปายนะนี้บ้าน้ำลาย กลับกลอกจริง
หนอ เพราะเกรงหิริโอตตัปปะของตนจะแตก. อนึ่งชื่อว่าบุญในการบรรพชานี้
ท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว. และก็ดำรงอยู่มิได้.
เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้ร้องไห้น้ำตานองหน้า ด้วยความทุกข์โทมนัส
ก็ยังอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. ไม่สละพรหมจรรย์นั้น. สมดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
กัณหทีปายนะนั้นออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว
ก็กลับมาอีก เขารังเกียจคำพูดนี้ว่า กัณหที-
ปายนะนี้ บ้าน้ำลายกลับกลอกหนอ เราไม่
ปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์เสียเลย อนึ่ง
ฐานะของสัตบุรุษอันผู้รู้สรรเสริญแล้ว เราจะ
เป็นผู้ทำบุญอย่างนี้.

495
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 496 (เล่ม 74)

บทว่า น โกจิ เอตํ ชานาติ ความว่า ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ย่อม
ไม่รู้ใจที่ไม่ยินดีของเรานั้น คือใจที่ปราศจากความยินดีในการประพฤติ
พรหมจรรย์. เพราะเหตุไร ? เพราะเราไม่บอกแก่ใคร ๆ ว่า ความไม่ยินดี
เป็นไปในใจของเรา. ฉะนั้นใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์จึงไม่รู้ใจนั้น.
บทว่า พฺรหฺมจารี คือชื่อพรหมจารี เพราะเป็นผู้ศึกษาเสมอด้วย
การบรรพชาเป็นดาบส. มณฺฑพฺย คือมีชื่อว่ามัณฑัพยะ บทว่า. สหาโย
คือเป็นสหายที่รัก เพราะเป็นมิตรแท้ทั้งในเวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาเป็น
บรรพชิต. บทว่า มหาอิสิ คือเป็นฤาษีมีอานุภาพมาก. บทว่า ปุพฺพกมฺม-
สมายุตฺโต สูลมาโรปนํ ลภิ ความว่า ประกอบด้วยบุรพกรรมของตนถูก
เสียบด้วยหลาวทั้งเป็น.
ในบทนี้มีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในอดีตกาลพระราชาพระนาม
ว่า โกสัมพิกะครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ. ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ใน
นิคมแห่งหนึ่ง พราหมณ์กุมารได้มีสหายที่รักของเขาชื่อมัณฑัพยะ. ต่อมา
เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมทั้งสองเห็นโทษในกาม จึงบริจาคมหาทานละกาม
เมื่อญาติมิตรบริวารชนร้องไห้คร่ำครวญได้ออกไปสร้างอาศรม ณ หิมวันต-
ประเทศ แล้วบวชเลี้ยงชีพด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และผลไม้ในป่า ด้วย
การเที่ยวขออยู่เกิน ๕๐ ปี. ทั้งสองไม่สามารถข่มกามฉันทะได้. แม้เพียง
ฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้. สองดาบสเที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพอาหารมีรส

496
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 497 (เล่ม 74)

เค็มและเปรี้ยว .ถึงแคว้นกาสี. ณ แคว้นกาสีนั้น ในนิคมหนึ่งสหายครั้ง
เป็นคฤหัสถ์ของทีปายนะชื่อว่า มัณฑัพยะอาศัยอยู่. ทั้งสองจึงเข้าไปหามัณ-
ฑัพยะนั้น. มัณฑัพยะเห็นดาบสทั้งสองก็ดีใจสร้างบรรณศาลา บำรุงด้วย
ปัจจัย ๔ ดาบสทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้นได้ ๓ - ๔ ปี ก็ลามัณฑัพยะนั้นเที่ยวจาริก
ไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เต็มไปด้วยไม้เต็งใกล้กรุงพาราณสี. ที่นั้นทีปายนะอยู่
ตามความพอใจ แล้วไปหามัณฑัพยะสหายของตนในนิคมนั้นอีก. มัณฑัพย-
ดาบสคงอยู่ ณ ที่นั้นเอง.
อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งกระทำโจรกรรมภายในเมืองลักทรัพย์หนี
ถูกพวกเจ้าของเรือน และพวกมนุษย์ที่รักษานครติดตามออกไปทางท่อน้ำ
รีบเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลาของดาบสแล้วหนีไป. พวก
มนุษย์เห็นห่อทรัพย์จึงคุกคามว่า เจ้าชฎิลชั่วคนร้ายทำโจรกรรมในกลางคืน
กลางวันเที่ยวไปโดยเพศของดาบส แล้วช่วยกันทุบตีพาดาบสนั้นไปแสดง
แด่พระราชา. พระราชามิได้ทรงสอบสวนมีพระบัญชาให้เสียบบนหลาว.
พวกมนุษย์นำดาบสนั้นไปยังป่าช้า เสียบบนหลาวไม้ตะเคียน. หลาวมิได้เข้า
ไปในร่างกายของดาบส. แต่นั้นจึงนำหลาวไม้สะเดามา. แม้หลาวนั้นก็มิได้
เข้า. จึงนำหลาวเหล็กมา. หลาวเหล็กก็ไม่เข้า. ดาบสคิดว่า เป็นกรรมเก่า
ของเรากระมังหนอ. ดาบสระลึกชาติได้. ได้เห็นกรรมเก่าด้วยเหตุนั้น. นัยว่า
ดาบสนั้นในอัตภาพก่อนเป็นบุตรของนายช่าง ไปยังที่ที่บิดาถากไม้จับแมลง-
วันตัวหนึ่งจึงเอาเสี้ยนไม้ทองหลางเสียบดุจหลาว. บาปของเขาได้โอกาสที่นี้.

497
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 498 (เล่ม 74)

ดาบสรู้ว่าไม่อาจพ้นจากบาปนี้ไปได้ จึงกล่าวกะพวกราชบุรุษว่า หากพวก
ท่านประสงค์จะเสียบเราที่หลาว. พวกท่านจงนำหลาวไม้ทองหลางมาเถิด
พวกราชบุรุษได้ทำตามนั้นแล้วเสียบดาบสที่หลาว จัดอารักขาแล้วหนีไป.
ในกาลนั้น กัณหทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้เห็นสหายมานานแล้ว
จึงมาหามัณฑัพยดาบส ฟังเรื่องราวนั้นแล้วจึงไปยังที่นั้นยืนอยู่ข้างหนึ่งถามว่า
สหายท่านทำอะไร เมื่อดาบสบอกว่าเราไม่ได้ทำอะไร ? กัณหทีปายนะ ถามว่า
ท่านสามารถรักษาความประทุษร้ายทางใจได้หรือไม่ได้. มัณฑัพยดาบส
ตอบว่า เราไม่มีความประทุษร้ายทางใจต่อพวกราชบุรุษและพระราชาที่จับ
เรา. กัณหทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่าน
เป็นความสุขของเราแล้วนั่งพิงหลาวอยู่ พวกบุรุษที่ดูแลกราบทูลเรื่องราวนั้น
แด่พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า เราไม่ได้สอบสวนทำลงไป จึงรีบเสด็จไป
ณ ที่นั้นตรัสถามทีปายนดาบสว่า เพราะเหตุไร พระคุณท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่
เล่า ? ดาบสทูลว่า อาตมาภาพนั่งคอยรักษาดาบสนี้ มหาราช. พระราชาตรัส
ถามว่า พระคุณท่านทราบความที่ดาบสนี้ทำแล้วหรือจึงได้ทำอย่างนี้ ? ทีปายน
ดาบสทูลถึงกรรมที่ไม่บริสุทธิ์.
ลำดับนั้นทีปายนดาบสกล่าวคำมีอาทิว่า :-
ธรรมดาพระราชาควรเป็นผู้ใคร่ครวญก่อน
ทำ คฤหัสถ์เกียจคร้าน บริโภคกามไม่ดี.

498
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 499 (เล่ม 74)

บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่ใคร่
ครวญก่อนทำก็ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี.
แล้วแสดงธรรมแก่พระราชา.
พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยดาบสไม่ผิดจึงรับสั่งให้นำหลาวออก.
พวกราชบุรุษดึงหลาวแต่ไม่สามารถนำออกได้. มัณฑัพยะกล่าวว่า ข้าแต่
มหาราชอาตมาภาพได้รับโทษเห็นปานนี้ ก็เพราะโทษของกรรมที่ทำไว้ใน
ชาติก่อน. ใคร ๆ ก็ไม่อาจดึงหลาวออกจากร่างกายของอาตมาภาพได้. หาก
พระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้ชีวิตแก่อาตมาภาพ ก็ขอได้รับสั่งให้ทำหลาว
นี้ เสมอกับผิวหนังแล้วเอาเลื่อยตัดเถิด. พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้น. หลาว
ได้อยู่ภายในนั่นเอง. ไม่เกิดเดือดร้อนอย่างไร. นัยว่าในครั้งนั้นทีปายนดาบส
เอาเสี้ยนอย่างเล็กเสียบเข้าไปทางผิวหนังของแมลงวัน. เสี้ยนนั้นยังอยู่ใน
ร่างของแมลงวันนั่นเอง. แมลงวันมิได้ตายด้วยเหตุนั้น แต่ตายด้วยสิ้นอายุ
ของมันเอง. เพราะฉะนั้นแม้มัณฑัพยดาบสนี้จึงยังไม่ตาย. พระราชาทรง
ไหว้ดาบสแล้วทรงขอขมา ทรงให้ดาบสทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานนั่นเอง
ทรงบำรุง. ตั้งแต่นั้นดาบสนั้นจึงมีชื่อว่า อาณิมัณทัพยะ. ดาบสนั้นอาศัย
พระราชาอยู่ ณ พระราชอุทยานนั่นเอง. ส่วนทีปายนดาบสชำระแผลของ
มัณฑัพยดาบสจนหายดีแล้ว จึงไปยังบรรณศาลาที่มัณฑัพยะผู้เป็นสหายของ
ตนครั้งเป็นคฤหัสถ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

499
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 500 (เล่ม 74)

สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเราชื่อว่า มัณ-
ฑัพยะเป็นฤาษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วย
บุรพกรรมถูกเสียบด้วยหลาวทั้งปวง. เราพยา-
บาลมัณฑัพยดาบสนั้นให้หายโรคแล้ว ได้อำ-
ลามาสู่บรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อาปุจฺฉิตฺวาน คืออำลามัณฑัพยดาบสผู้เป็น
สหายของเรา. บทว่า ยํ มยฺหํ สกมสิสมํ คือเข้าไปอยู่ยังบรรณศาลาอัน
เป็นอาศรมของเราเอง ซึ่งมัณฑัพยพราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา เมื่อครั้ง
เป็นคฤหัสถ์สร้างให้.
พวกพราหมณ์เห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปยังบรรณศาลา จึงบอกแก่
สหาย. สหายนั้นฟังแล้วดีใจ จึงพร้อมด้วยบุตรภรรยาถือเอาของหอมดอกไม้
และน้ำผึ้งเป็นต้นเป็นอันมากไปยังบรรณศาลา ไหว้ทีปายนดาบสล้างเท้าให้
ดื่มน้ำ นั่งฟังเรื่องราวของอาณิมัณฑัพยดาบส. ลำดับนั้นบุตรของมัณฑัพยะ
พราหมณ์ชื่อว่ายัญญทัตตกุมาร เล่นลูกข่างอยู่ที่ท้ายที่จงกรม. ณ ที่นั้นงูเห่า
อาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ลูกข่างที่เด็กโยนลงไปบนพื้นได้ไปตกลงบน
หัวของงูเห่าในปล่องจอมปลวก. เด็กไม่รู้จึงล้วงมือลงไปในปล่อง. งูโกรธ
เด็กจึงกัดเข้าที่มือ. เด็กล้มลง ณ ที่นั้นด้วยกำลังของพิษงู. มารดาบิดารู้ว่า
เด็กถูกงูกัดจึงอุ้มเด็กให้เข้าไปนอนลงแทบเท้าของดาบส กล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

500
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 501 (เล่ม 74)

ผู้เจริญ ขอพระคุณท่านได้โปรดใช้ยาหรือมนต์ทำบุตรของกระผมให้หายโรค
เถิด. ทีปายนดาบส กล่าวว่า เราไม่รู้จักยา. เราไม่ใช่หมอ. เราเป็นนักบวช.
มารดาบิดาของเด็กกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นขอพระคุณท่านได้โปรดแผ่เมตตาใน
กุมารนี้แล้วทำสัจกิริยาเถิด. ดาบสกล่าวว่า ดีแล้วเราจักทำสัจกิริยา จึง
วางมือไว้บนศีรษะของยัญญทัตตะ ได้ทำสัจกิริยา ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า :-
พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเราได้พาภรรยา
และบุตรต่างถือสักการะสำหรับต้อนรับแขก
รวม ๓ คนมาหาเรา เรานั่งเจรจาปราศัยกับ
สหายและภรรยาของเขารอยู่ในอาศรมของตน.
เด็กโยนลูกข้างเล่นอยู่ ทำงูเห่าให้โกรธแล้ว
ทีนั้นเด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่อง
จอมปลวก ควานไปถูกเอาหัวงูเห่าเข้า พลมือ
ไปถูกหัวของมัน งูก็โกรธอาศัยกำลังพิษ เคือง
จนเหลือจะอดกลั้นได้กัดเด็กในทันที พร้อม
กัดถูกงูกัดเด็กล้มลงที่พื้นดิน ด้วยกำลังพิษ
กล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ หรือเรามี
ความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบมารดาบิดา

501
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 502 (เล่ม 74)

ของเด็กนั้นผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้สร่างแล้ว ได้
ทำสัจกิริยาอันประเสริฐสุด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อาคจฺฉุํ ปาหุนฺคตํ คือเข้าไปหาพร้อม
ด้วยสักการะต้อนรับแขก. บทว่า วฏฺฏมนุกฺขิปํ คือขว้างลูกข่างที่มีชื่อว่า
วัฏฏะ เพราะหยุดหมุนขณะขว้างลงไป อธิบายว่า เล่นลูกข่าง. บทว่า
อาสีวสมโกปยิ ความว่า เด็กขว้างลูกข่างไปบนพื้นดิน ลูกข่างเข้าไปใน
ปล่องจอมปลวกกระทบหัวงูเห่าซึ่งอยู่ในจอมปลวกนั้นทำให้งูโกรธ. บทว่า
วฏฺฏคตํ มคฺคํ อเนฺวสนฺโต คือความไปยังทางที่ลูกข่างนั้นไป. บทว่า
อาสีวิสสฺส หตฺเถน, อุตฺตมงฺคํ ปรามสิ คือเด็กเอามือของตนซึ่งล้วงเข้า
ไปยังปล่องจอมปลวกถูกหัวงูเห่าเข้า. บทว่า วิสพลสฺสิโต อาศัยกำลังพิษ
คืองูเกิดเพราะอาศัยกำลังพิษของตน. บทว่า อฑํสิ ทารกํ ขเณ คืองูได้
กัดพราหมณ์กุมารนั้น ในขณะที่ลูบคลำนั่นเอง. บทว่า สห ทฏฺโฐ คือ
พร้อมกับถูกงูกัดนั่นเอง. บทว่า อติวิยเสนํ คือพิษร้าย. บทว่า เตน
ความว่าเราเป็นผู้ได้รับทุกข์ เพราะเด็กล้มลงบนพื้นดินด้วยกำลังพิษ. บทว่า
มม วา หสิ ตํ ทุกฺขํ เรามีความรักจึงเป็นทุกข์ คือทุกข์ของเด็กและของ
มารดาบิดานำมาไว้ที่เรา. นำมาด้วยความกรุณาของเราดุจในสรีระของเรา.
๑. ม. อาสิวิเสน.

502
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ – หน้าที่ 503 (เล่ม 74)

บทว่า ตฺยาหํ คือเราปลอบมารดาบิดาของเด็กนั้นโดยนัยมีอาทิว่า อย่าเศร้า
โศกเสียใจไปเลย. บทว่า โสกสลฺลิเน๑ คือมีลูกศรคือความโศก. บทว่า อคฺคํ
คือแต่นั้นเราได้ทำสัจกิริยาอันประเสริฐสูงสุด.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงสัจจกิริยาโดยสรุป จึงตรัส
คาถาว่า :-
เราต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์
มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อแต่นั้นมา
การประพฤติของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ. เรา
ไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความ
สัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็กนี้เถิด พิษจง
ระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตาหเมว คือ ๗ วันตั้งแต่วันที่เราบวช.
บทว่า ปสนฺนจิตฺโต คือมีจิตเลื่อมใสเพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
บทว่า ปุญฺญตฺถิโก คือผู้ต้องการบุญ, ได้แก่ ผู้ประกอบแล้วด้วยความพอใจ
ในธรรม. บทว่า อถาปรํ ยํ จริตํ คือ เพราะฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์
ของเราเกิน ๗ วัน. บทว่า อกามโกวาหิ คือเราไม่ปรารถนาบรรพชา
๑. ม. โสกสลฺลิเต.

503