No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 374 (เล่ม 6)

ดิถีเพ็ญเตือน ๘ อีกก็ควร. แต่ถ้าในอาสาฬหมาส อาจารย์ไม่มา ควรไปในที่
ซึ่งตนจะได้นิสัย.
อรรถกถาเอกานุสสาวนากถา
สองบทว่า โคตฺเตนปิ อนุสฺสาเวตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ
ระบุโคตรสวดประกาศอย่างนี้ว่า ผู้มีชื่ออย่างนี้เพ่งอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ.
สองบทว่า เทฺว เอกานุสฺสาวเน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ
ทำการสวดประกาศอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คนรวมกันได้. อธิบายว่า เราอนุณาต
ให้อาจารย์ ๒ รูปอย่างนี้ ถือ อาจารย์รูป ๑ สำหรับอุปสัมปทาเปกขะคน ๑
อาจารย์อื่นสำหรับอุปสัมปทาเปกขะอีกคน ๑ หรืออาจารย์รูปเดียวสวดกรรม
วาจาประกาศให้อุปสมบทในขณะเดียวกันได้.
คำว่า เทฺว เทฺว ตโย เอกานุสฺสาวเน กาตุ ตญฺจ โข เอเกน
อุปชฺฌาเยน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุทำการสวดประกาศชน ๒ คน
หรือ ๓ คนรวมกัน โดยนัยก่อนนั่นแล. และเราอนุญาตอนุสสาวนกิริยานั้นแล
ด้วยอุปัชฌาย์รูปเดียว. เพราะเหตุนั้นอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คน หรือ ๓ คน
อันอาจารย์รูปเดียว พึงสวดประกาศ กรรมวาจา ๒ หรือ ๓ อันอาจารย์ ๒ รูป
หรือ ๓ รูป พึงสวดด้วยลงมือพร้อมกันทีเดียวอย่างนี้ คือ อาจารย์รูป ๑ พึง
สวดแก่อุปสัมปทาเปกขะรูป ๑. แยก ๆ กันไป. แต่ถ้าอาจารย์ก็ต่างรูป
อุปัชฌาย์ต่างรูปกัน คือ พระติสสเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระสุมน-
เถระ พระสุมนเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระติสสเถระ และต่างเป็น
คณปูรกะของกันและกัน อย่างนี้ควร. และถ้าอุปัชฌาย์ต่างรูปกัน อาจารย์รูป
เดียว อย่างชื่อว่าไม่ควร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้ว่า แต่เราไม่
อนุญาตด้วยอุปัชฌาย์ต่างรูปกันเลย ดังนี้ จริงอยู่การห้ามนี้หมายเอาคำบาลีนี้.

374
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 375 (เล่ม 6)

อรรถกถาอุปสัมปทายัตตวิธี
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐมํ อุปชฺฌํ คาทาเปตพฺโพ นี้ต่อไป
ภิกษุใดย่อมสอดส่องโทษและมิใช่โทษ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่ออุปัชฌาย์.
อุปสัมปทาเปกขะนั้น อันภิกษุพึงให้ว่าถืออุปัชฌาย์นั้นอย่างนี้ว่า ขอท่านเป็น
อุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิดเจ้าข้า.
บทว่า วิตฺถายนฺติ มีความว่า อุปสัมปทาเปกขะทั้งหลาย ย่อมเป็น
ผู้มีตัวแข็งทื่อ.
สองบทว่า อุลฺลุมฺปตุ มํ มีความว่า ขอสงฆ์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด.
ศัพท์ ตาวเทว มีความว่า ในเวลาติดต่อกับเวลาที่อุปสัมปทาเปกขะ
อุปสมบทแล้วทีเดียว.
ข้อว่า ฉายา เมตพฺพา มีความว่า พึงวัดเงาว่าชั่วบุรุษ ๑ หรือว่า
๒ ชั่วบุรุษ.
ข้อว่า อุตุปฺปมาณํ อาจิกฺขิตพฺพํ มีความว่า พึงบอกประมาณฤดู
อย่างนี้ว่า ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูนั่นเอง ชื่อประมาณแห่งฤดูใน
คำนี้ ถ้าฤดูทั้งหลายมีฤดูฝนเป็นต้น ยิ่งไม่เต็ม ฤดูใดของอุปสัมบันใด ยังไม่เต็ม
ด้วยวันมีประมาณเท่าใด, พึงกำหนดวันเหล่านั้น แห่งฤดูนั้น แล้วบอกส่วน
แห่งวัน แก่อุปสัมบันนั้น. อีกประการหนึ่ง พึงบอกประมาณฤดูอย่างนี้ว่า
ฤดูชื่อนี้ทั้งฤดูนั้นแลเต็มหรือยังไม่เต็ม พึงบอกส่วนแห่งวันอย่างนี้ว่า เช้าหรือ
เย็น.
บทว่า สงฺคีติ เป็นต้น มีความว่า พึงประมาณการบอกทั้งหมดมี
บอกกำหนดเงาเป็นต้นนี้แลเข้าด้วยกันบอกอย่างนี้ว่า เธออันใคร ๆ ถามว่า
ท่านได้ฤดูอะไร ? เงาของท่านเท่าไร ? ประมาณฤดูของท่านอย่างไร ส่วน

375
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 376 (เล่ม 6)

แห่งวันของท่านเท่าไร ? ดังนี้ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฤดูชื่อนี้ คือ ฤดูฝนก็ตาม
ฤดูหนาวก็ตาม ฤดูร้อนก็ตาม เงาของข้าพเจ้าเท่านี้ ประมาณฤดูเท่านี้ ส่วน
แห่งวันเท่านี้.
บทว่า โอหาย ได้แก่ ทิ้ง.
สองบทว่า ทุติยํ ทาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุให้เป็นเพื่อน
แก่ภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ ซึ่งจะไปสู่บริเวณจากโรงที่อุปสมบทและให้บอก-
อกรณียกิจ ๔ .
บทว่า ปฌฺฑุปลาโส ได้แก่ ใบไม้มีสีเหลือง.
สองบทว่า พนฺธนา ปมุตฺโต ได้แก่ หล่นแล้วจากขั้ว.
สองบทว่า อภพฺโพ หริตตฺตาย มีความว่า ไม่อาจเป็นของเขียว
สดอีก.
สองบทว่า ปุถุสิลา ได้แก่ ศิลาใหญ่.
ข้อว่า อลพฺภมานาย สามคฺคิยา อนาปตฺติ สมฺโภเค สํวาเส
มีความว่า ความพร้อมเพรียงเพื่อประโยชน์แก่การทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุนั้น
อันภิกษุยังไม่ได้เพียงใด ไม่เป็นอาบัติในเพราะกินร่วม๑ และอยู่ร่วมต่างโดยทำ
อุโบสถ และปวารณาเป็นต้นกับภิกษุนั้น เพียงนั้น.
คำที่เหลือทุกแห่งนับว่าปรากฏแล้วแท้ เพราะเป็นคำที่จะพึงทราบได้
ง่าย โดยทำนองที่กล่าวไว้แล้วในมหาวิภังค์ ด้วยประการฉะนี้.
คำอธิบายความแห่งมหาขันธกะ
อันประดับ ด้วย ๑๗๒ เรื่องในอรรถกถาแห่งพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
๑. สมฺโภเคติ ธมฺมสมฺโภเค อามิสสมฺโภิเค จาติ สารตฺถทีปนี.

376
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 377 (เล่ม 6)

อุโบสถขันธกะ
เรื่องปริพาชกอัญญเดียรถีย์
[๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึง
วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คนทั้ง
หลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก
ได้ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ๆ ย่อมได้พรรคพวก ครั้งนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีพระ-
ราชปริวิตกแห่งพระราชหฤทัยเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ ถึงวัน ๑๔ ด่า ๑๕ ค่ำ-
และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม
คนทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้
ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญ-
เดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง จึงท้าวเธอเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท้าวเธอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลข้อปริวิตกนั้น ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความ
ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔
ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คนทั้งหลายเข้า
ไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความ
เลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ๆ ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระ-

377
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 378 (เล่ม 6)

คุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์
บ้าง หม่อมฉันขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงประชุมกัน
ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้างเถิดพระพุทธเจ้าข้า.
ทรงแสดงธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา-
มาคธราชทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ครั้น
ท้าวเธออันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำประทักษิณเสด็จกลับไป.
พระพุทธานุญาตวันประชุม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า
มูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตให้ประชุมกัน ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่ง
ปักษ์.
ประชุมนั่งนิ่ง
[๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้ประชุมกัน ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ ภิกษุ
เหล่านั้น จึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ แล้ว
นั่งนิ่งเสีย คนทั้งหลายเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาต่างก็เพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรประชุมกันใน

378
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 379 (เล่ม 6)

๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ จึงได้นั่งนิ่งเสียเหมือนสุกรอ้วนเล่า
ธรรมเนียมภิกษุผู้ประชุมกัน ควรกล่าวธรรมมิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
พวกนั้นเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า.
พระพุทธานุญาตให้กล่าวธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘
ค่ำ แห่งปักษ์.
พระพุทธานุญาตปาติโมกขุทเทส
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป ณ ที่สงัดหลีกเร้นอยู่
ได้มีพระปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบท
ที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปติ-
โมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ ครั้นเวลาสายัณห์ พระองค์
เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้
ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็น
ปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปาติโมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวก
เธอ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสวดอย่างนี้.

379
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 380 (เล่ม 6)

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่
แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์ ท่าน
ทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจักสวดปาติโมกข์ พวกเราบรรดาที่มี
อยู่ทั้งหมดจงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาติโมกข์นั้นให้สำเร็จประโยชน์ ท่านผู้ใดมีอาบัติ
ท่านผู้นั้น พึงเปิดเผย เมื่ออาบัติไม่มี พึงนิ่งอยู่ ก็ด้วยความเป็นผู้นิ่งแล
ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓
จบ ในบริษัทเห็นปานนี้ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้เฉพาะรูป ที่ถูกถามผู้เดียว
ฉะนั้น ก็ภิกษุรูปใด เมื่อสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ รู้ลึกได้ ไม่ยอม
เปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ท่านทั้งหลาย ก็
สัมปชานมุสาวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติที่มี
อยู่ เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ.
นิทานุเทสวิภังค์
[๑๕๐] คำว่า ปาติโมกข์ นี้ เป็นเบื้องต้น เป็นประธาน เป็น
ประมุขแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ปาติโมกข์.
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นคำกล่าวที่อ่อนหวาน เป็นคำแสดง
ความเคารพ.
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นชื่อของถ้อยคำที่ประกอบด้วยความ
เคารพและประกอบด้วยความยำเกรง.

380
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 381 (เล่ม 6)

คำว่า จักสวด คือจักบอก จักแสดง จักทำให้ปรากฏ จักริเริ่ม
จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักประกาศ.
บทว่า นั้น ตรัสเรียกปาติโมกข์.
คำว่า ที่มี่อยู่ทั้งหมด ความว่า ภิกษุในบริษัทนั้นมีจำนวนเท่าไร
เป็นเถระก็ตาม นวกะก็ตาม มัชฌิมะก็ตาม เหล่านี้เรียกว่า ที่มีอยู่ทั้งหมด.
คำว่า จงฟังให้สำเร็จประโยชน์ ความว่า จงตั้งใจ มนสิการ
ประมวลเรื่องทั้งหมดด้วยใจ.
คำว่า จงใส่ใจ ความว่า จงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตไม่ซัดส่าย ทั้งใจฟัง.
คำว่า ท่านผู้ใดมีอาบัติ ความว่า ภิกษุเถระก็ตาม นวกะก็ตาม
มัชฌิมะก็ตาม มีอาบัติ ๕ กอง ตัวใดตัวหนึ่ง มีอาบัติ ๗ กอง ตัวใดตัวหนึ่ง.
คำว่า ท่านผู้นั้นพึงเปิดเผย ความว่า ภิกษุนั้นพึงแสดง พึง
เปิดเผยพึงทำให้ตื้น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือใน
บุคคลผู้หนึ่ง.
อาบัติชื่อว่า ไม่มี คือ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ หรือว่าต้อง แต่ออก
แล้ว.
คำว่า พึงนิ่งอยู่ คือพึงนิ่ง ในต้องพูด.
คำว่า ข้าพเจ้าจักทราบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ คือรู้จัก จักทรงจำไว้.
คำว่า ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้ เฉพาะรูปที่ถูกถามผู้เดี่ยว
ความว่า พึงรู้ในบริษัทนั้นว่า ถามเรา ดังนี้ เหมือนภิกษุรูป ๑ ถูกภิกษุ
อีกรูป ๑ ถาม พึงแก้ฉะนั้น.
บริษัทที่ชื่อว่า เห็นปานนี้ ตรัสเรียกภิกษุบริษัท.

381
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 382 (เล่ม 6)

คำว่า การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ความว่า สวดประ-
กาศแม้ครั้งที่ ๑ สวดประกาศแม้ครั้งที่ ๒ สวดประกาศแม้ครั้งที่ ๓.
บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้.
อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้วยังมิได้
ออก.
คำว่า ไม่ยอมเปิดเผย ความว่า ไม่ยอมแสดง ไม่ยอมเปิดเผย
ไม่ยอมทำให้ตื้น ไม่ยอมประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือใน
บุคคลผู้ ๑.
คำว่า สัมปชานมุสาวาท ย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น คือ สัมปชาน-
มุสาวาท. เป็นอะไร เป็นอาบัติทุกกฏ.
คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ความ
ว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่อะไร เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุปฐมฌาน
เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุทุติยฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุ
ตติยฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุจตุตถฌาน เป็นธรรมทำอันตราย
แก่การบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก
กุศลธรรม.
บทว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะเหตุดังนั้น.
บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้.
บทว่า หวังความบริสุทธิ์ คือประสงค์เพื่ออกจากอาบัติ ประสงค์
เพื่อความหมดจด.
อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้ว ยังมิได้
ออก.

382
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 383 (เล่ม 6)

คำว่า พึงเปิดเผย ความว่า พึงทำให้แจ้งในท่ามกลางสงฆ์ ท่าน
กลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง.
คำว่า เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ
ความว่า ความผาสุขมีเพื่ออะไร ความผาสุกมีเพื่อบรรลุปฐมฌาน ความผาสุก
มีเพื่อบรรลุทุติยฌาน. ความผาสุกมีเพื่อบรรลุตติยฌาน ความผาสุกมีเพื่อ
บรรลุจตตุถฌาน ความผาสุกมีเพื่อบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม.
สวดปาติโมกข์วันอุโบสถ
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน ภิกษุทั้งหลายพา
กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
การสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ใน
วันที่ ๑๔ วันที่ ๑๕ และวันที่ ๘ํ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง
คือในวันที่ ๑๔ หรือวันที่ ๑๕.

383