No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 222 (เล่ม 71)

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโอปวุยหเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ-
ฉะนี้แล ฯ
จบโอปวุยหเถราปทาน
๕๕. อรรถกถาโอปวัยหเถราปทาน
อปทานของท่านพระโอปวัยหเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภาร ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ เมื่อพระ-
อาทิตย์คือพระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระปรากฏในโลกแล้ว ท่านบังเกิด
ในสกุลอันสมบูรณ์ด้วยสมบัติแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว มีทรัพย์มากมีโภคะ
มากอยู่ครองฆราวาส เลื่อมใสในพระศาสนามีความเลื่อมใสและนับถือมาก
ในพระศาสดา ได้ทำการบูชาด้วยม้าสินธพตัวอาชาไนย ก็แลครั้นบูชาแล้ว
คิดว่า ช้างและม้าเป็นต้นไม่สมควรแก่สมณะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
เราจักถวายกัปปิยะภัณฑ์ ให้ตีราคากัปปิยภัณฑ์นั้น แล้วได้ถวายจีวรอัน
สำเร็จด้วยผ้าฝ้าย ผ้ากัมพล และโกเชาว์เป็นต้น และถวายเภสัชบริขาร
มีการบูรและเปรียงเป็นต้น อันสมควรด้วยกหาปณะ ซึ่งมีราคาตาม
กัปปิยภัณฑ์นั้น ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจาก

222
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 223 (เล่ม 71)

อัตภาพนั้นแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพาหนะเป็นอันมากมีช้างเละม้าเป็นต้น
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เพียบพร้อมด้วยศรัทธา บวชในพระศาสนา
เรียนพระกรรมฐานเจริญวิปัสสนา ตั้งอยู่ในพระอรหัต ตามลำดับแห่งมรรค
ด้วยอำนาจบุญสมภารที่ท่านบำเพ็ญในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏนามว่า
โอปวัยหเถระดังนี้.
ท่านใคร่ครวญว่า เพราะกรรมอะไรหนอ เราจึงได้บรรลุสันติบทนี้
รู้บุพกรรมด้วยโดยประจักษ์ เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตา-
ปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทธสฺส ดังนี้ คำนั้นมีอรรถดังกล่าว
แล้วนั้นแล. บทว่า อาชานียมทาสหํ ความว่า เราได้ถวาย คือได้บูชา
ม้าสินธพผู้มีชาติอันสูงสุดอาชาไนย.
บทว่า สปตฺตภาโร๑ ความว่า บริขาร ๘ อัน ถึงแก่ตนนั้น เป็น
ภาระของผู้ใด ผู้นั้นถือว่ามีภาระอันเป็นของตน อธิบายว่า ผู้ประกอบ
ด้วยบริขาร ๘. บทว่า ขมนียนทาสหํ ความว่า บริขารอันเป็นกัปปิยะ
มีจีวรเป็นต้น อันเหมาะแก่การยังอัตภาพให้เป็นไป. บทว่า จริโม ได้แก่
ภพที่สุด คือภพที่ถึงที่สุด. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโอปวัยหเถราปทาน
๑. บาลี สพฺพตฺถหาโร.

223
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 224 (เล่ม 71)

สปริวาราสนเถราปทานที่ ๖ (๕๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๕๘] เราไปสู่สถานที่อันไม่เศร้าหมอง ประดับด้วยมะลิซ้อน
แล้วได้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ
พระพุทธเจ้าผู้อัครนายกของโลก ผู้ซื่อตรง มี พระหฤทัยมั่นคง
ประทับนั่งบนอาสนะนั้น ทรงประกาศอานิสงส์บิณฑบาตว่า
พืชแม้จะน้อยที่ชาวนาปลูกลงในนาที่ดี มหาเมฆยัง
สายฝนให้ตกเสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ยินดีฉันใด บิณฑบาต
นี้ ท่านปลูกลงในนาดี ผลจักยังท่านให้ยินดี ในภพที่เกิดฉันนั้น.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้อุดม ตรัสดังนี้แล้ว
ทรงรับบิณฑบาต แล้วบ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดรเสด็จไป.
เราสำรวมในพระปาติโมกข์และในอินทรีย์ ขวนขวาย
ในวิเวก ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสปริวาราสนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสปริวาราสนเถราปทาน

224
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 225 (เล่ม 71)

๕๖. อรรถกถาสปริวาราสนเถราปทาน
อปทานของท่านพระสปริวาราสนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นั้น ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลอัน
สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา
เชื่อมผลแห่งทาน ได้ถวายบิณฑบาตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยโภชนะ
มีรสเลิศต่าง ๆ ก็แลครั้นถวายแล้ว ได้ประดับอาสนะที่นั่งฉัน เพื่อ
ประโยชน์แก่การนั่งฉันในโรงฉัน ด้วยดอกมะลิและดอกมัลลิกาเป็นต้น
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้ว ด้วยบุญกรรมนั้น
ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีอย่างต่าง ๆ
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ
เจริญวัยแล้ว มีศรัทธามีความเลื่อมใส บรรพชาแล้วไม่นานนักก็ได้เป็น
พระอรหันต์.
ท่านบรรลุบทอันสงบอย่างนี้แล้ว ใคร่ครวญด้วยญาณว่า เพราะ
บุญอะไรหนอ เราจึงบรรลุสันติบทนี้ เห็นบุพกรรมแล้ว เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส
ดังนี้ คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้ว. บทว่า ปีณฺฑปาตํ อทาสหํ ความว่า
อาหารชื่อว่า บิณฑบาต เพราะกระทำก้อนข้าวที่ได้ในที่นั้น ๆ ให้เป็น
คำ ๆ แล้วกลืนกินคือเคี้ยวกิน เราได้ถวายบิณฑบาตนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า อธิบายว่า ให้พระผู้มีพระภาคเสวย.

225
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 226 (เล่ม 71)

บทว่า อกิตฺตยิ ปิณฺฑปาตํ ความว่า พระองค์ได้ประกาศคุณานิสงส์
แห่งบิณฑบาตที่เราถวายแล้ว.
บทว่า สํวุโต ปาฏิโมกฺขสฺมึ ความว่า เราเป็นผู้สำรวมแล้ว ปิด
กั้นแล้วด้วยปาติโมกขสังวรศีล.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ จ ปญฺจสุ ความว่า เราคุ้มครองแล้วจาก
รูปารมณ์เป็นต้นในอินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น และคุ้มครองซึ่ง
อินทริยสังวรศีล. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสปริวาราสนเถราปทาน

226
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 227 (เล่ม 71)

ปัญจทีปกเถราปทานที่ ๗ (๕๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีบ
[๕๙] เราชื่อสนิทในพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง เป็นผู้มีความเห็นตรง
เราได้ถวายประทีป (ทำการบูชาด้วยประทีป) แวดล้อมไว้ที่
ไม้โพธิ์ ในครั้งนั้นเราเชื่อ จึงได้ทำการบูชาด้วยประทีปที่
ไม้โพธิ์.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดนั้น ๆ เทวดาทั้งหลายย่อมทรงดวงไฟในอากาศ นี้
เป็นผลแห่งการบูชาด้วยประทีป เราย่อมมองเห็นได้ภายใน
ฝาเรือน ภายในหินล้วน ตลอดล่วงภูเขาในที่ร้อยโยชน์
โดยรอบ.
ด้วยกรรมที่เหลืออยู่นั้น เราเป็นผู้บรรลุความสิ้นอาสวะ
เราทรงกายอันเป็นที่สุดนี้อยู่ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้จอมสัตว์สองเท้า.
ในกัปที่ ๓,๔๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า
สตจักขุ มีพระเดชานุภาพมาก มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

227
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 228 (เล่ม 71)

ทราบว่า ท่านพระปัจทีปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปัญจทีปกเถราปทาน
๕๗. อรรถกถาปัญจทิปกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปัญจทีปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล อยู่ครอง
เรือน ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ มีศรัทธา
เลื่อมใส เห็นมหาชนทำการบูชาอยู่ แม้ตนเองก็แวดล้อมต้นโพธิ์ ตาม
ประทีปบูชา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นรุ่งเรืองในภพที่ตนเกิดในที่
ทุกสถานนั้นแล อยู่ในวิมานที่เพียง พร้อมด้วยความรุ่งเรืองเป็นต้น ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ
แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาบรรพชาไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์ ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งการบูชาด้วยประทีป ท่านจึง
ปรากฏนามว่า ทีปกเถระ ดังนี้.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้.

228
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 229 (เล่ม 71)

คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า อุชุทิฏฺฐิ อโหสหํ ความว่า
เราได้ละทิ้งความคดโกงคือมิจฉาทิฏฐิ ได้เป็นผู้สัมมาทิฏฐิ อันตรง ไม่
คดโกงคือได้บรรลุถึงความเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิแล้ว.
ในบทว่า ปทีปทานํ ปาพาสึ มีวินิจฉัยว่า ชื่อว่า ปทีป เพราะ
รุ่งโรจน์โชติช่วงโดยประการ การให้ประทีปนั้น ชื่อว่า ปทีปทาน.
ความว่า เราได้ให้ประทีปนั้น คือได้กระทำการบูชาด้วยประทีป. คำที่เหลือ
มีอรรถตื้นในที่ทั้งปวงทีเดียวแล.
จบอรรถกถาปัญจทีปกเถราปทาน

229
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 230 (เล่ม 71)

ธชทายกเถราปทานที่ ๘ (๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธงและบำรุง
[๖๐] เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ได้ยกธงขึ้นปักไว้ที่ไม้โพธิ์ อันเป็น
ต้นไม้อุดม แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เราเก็บ
ใบโพธิ์ ที่หล่นเอาไปทั้งภายนอก ได้ไหว้ไม้โพธิ์ อันอุดม ดัง
ได้ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ผู้หมดจดทั้งภายในภายนอก
ทรงพ้นวิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ เหมือนดังเฉพาะพระพักตร์
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่อง
บูชา ประทับยืนท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายธงและด้วยการบำรุงทั้งสองนี้ เขาจะไม่ไป
สู่ทุคติตลอดแสนกัป จักได้เสวยความเป็นเทวดารูปงามไม่
น้อยในเทวดาทั้งหลาย.
จักรได้เป็นพระราชาในแว่นแค้นหลายร้อยครั้ง จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามชื่อว่าอุคคตะ ครั้นเสวยสมบัติแล้ว
อันกุศลมูลตักเตือน จักยินดียิ่งในพระศาสนาของพระผู้มี-
พระภาค เจ้าพระนามว่าโคดม เราเป็นผู้มีจิตแน่วแน่เพื่อความ
เพียรสงบไม่มีอุปธิ.
ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในพระศาสนาของพระสัมพุทธเจ้า
ในกัปที่ ๕๑,๐๐๐ ได้เป็นกษัตริย์หลายครั้ง พระนามว่าอุคคตะ
มีเสนามาก ในกัปที่ห้าหมื่นเป็นกษัตริย์พระนามว่าเขมะ.

230
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ – หน้าที่ 231 (เล่ม 71)

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบธชทายกเถราปทาน
๕๘. อรรถกถาธชทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระธชทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ให้กระทำธงด้วยผ้าดี ๆ
มากมาย คือได้กระทำการบูชาด้วยธง. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิด
ในตระกูลสูง เป็นผู้ควรบูชาแล้ว ในภพที่คนเกิดแล้ว ๆ. ครั้นต่อมา
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว
เจริญด้วยบุตรและภรรยา เป็นผู้มีโภคะมาก มียศมี ศรัทธาเลื่อมใสใน
พระศาสดา ละการครองเรือนบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมแล้ว เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธลฺส
ดังนี้. ความแห่งคำนั้น มีอรรถดังกล่าวในก่อนนั้นแล. บทว่า หฏฺโ

231